ไอบีเอ็มประกาศถึงเวลาแล้วที่จะเป็นผู้นำทางนวัตกรรม

ข่าวทั่วไป Monday June 26, 2006 13:19 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 มิ.ย.--ไอบีเอ็ม
ฝ่ายบริหารวางแผนสร้างการเปลี่ยนแปลงและคาดหวังรูปแบบของนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อผลักดันให้เกิดความเจริญเติบโต
บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ประกาศแนวทางสำคัญด้านนวตกรรมว่า นวัตกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการสร้างความได้เปรียบที่ยั่งยืนในการแข่งขันในโลกที่การเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่งและการแข่งขันเพิ่มสูงขึ้นตลอดเวลา นวัตกรรมที่องค์กรต่าง ๆ มีอยู่ทุกวันนี้ ไม่ได้จำกัดเพียงสินค้าหรือบริการเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ภายในองค์กร ทั้งรูปแบบหรือกระบวนการทางธุรกิจ ระบบการบริหารจัดการ วัฒนธรรมองค์กร และนโยบายต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ เป็นผลสรุปจากรายงาน IBM Global CEO Study 2006 ซึ่งทำการสำรวจความคิดเห็นของซีอีโอจากบริษัทชั้นนำทั่วโลกจำนวน 765 คน โดยซีอีโอต่างระบุว่า สองในสามของความพยายามของพวกเขามุ่งเน้นไปที่การสร้างนวตกรรมใหม่ๆ แก่รูปแบบของการทำธุรกิจ (Business Model Innovation) และนวัตกรรมในการดำเนินงาน (Operational Innovation)
ทุกวันนี้ ผู้นำองค์กรต่างมองหานวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรและสร้างการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน ซึ่งการที่จะประสบความสำเร็จได้เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับความเข้าใจที่ถูกต้องในการสร้างสรรรูปแบบธุรกิจ กระบวนการ และการบริหารใหม่ๆ เพื่อสร้างคุณค่าและความแตกต่างให้กับองค์กร รวมถึงการผสมผสานอย่างลงตัวระหว่างเทคโนโลยีกับธุรกิจ รู้จักและเข้าใจเครื่องมือ เทคนิคและความสามารถใหม่ ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างลึกซึ้ง
นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ การประสานระหว่างเทคโนโลยีกับรูปแบบของธุรกิจสามารถเป็นจริงขึ้นมาแล้ว ดังนั้นองค์กรจึงจำเป็นต้องมองหาสิ่งเหล่านี้เพื่อเตรียมตัวเองให้แข็งแกร่งและได้เปรียบในการแข่งขันอยู่เสมอ ซีอีโอ และผู้นำระดับสูงขององค์กรต่างตระหนักดีว่านวตกรรมจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการร่วมมือกัน (Collaboration) ซึ่งไม่เพียงแต่การร่วมมือจากภายในบริษัทเท่านั้น แต่ยังรวมถึง collaboration จากองค์กรอื่นๆ ภายนอกองค์กรอีกด้วย องค์กรที่ยิ่งใหญ่แต่ทำงานโดยลำพัง สามารถคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่ดีเยี่ยมได้ก็จริง แต่องค์กรอื่นที่มีการผสานร่วมมือกันสร้างสรรค์ สามารถสร้างสินค้าที่ดีขึ้น ในปริมาณสูงขึ้น สามารถนำสินค้าเข้าสู่ตลาดได้เร็วขึ้น และมีศักยภาพในการเปลี่ยนโฉมหน้าอุตสาหกรรม
ดร. โพนานี โกเปิลกริชนัน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยไอบีเอ็ม ประเทศอินเดีย กล่าวว่า “นวตกรรม” มีความหมายมากกว่า “สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ” สิ่งสำคัญอยู่ที่เรานำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ต่างหากที่สร้างคุณค่าแก่ลูกค้าของเรา นี้เป็นเหตุผลว่าทำไมนักวิจัยของไอบีเอ็มจึงใช้เวลามากมายในการร่วมมือกับลูกค้าหาหนทางแก้ปัญหาและสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการสร้างความเติบโตแก่ธุรกิจ
ดร.โปรดปราน บุณยพุกกณะ ผู้ช่วยคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่านวัตกรรม ท้าทายความสามารถในการเฟ้นหาสิ่งที่ดีกว่าเพื่อสังคม โครงการ CUVoiceBrowser จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำขึ้นมุ่งเน้นเพื่อช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและมอบโอกาสที่ดีขึ้นให้กับผู้ทุพพลภาพ โครงการนี้ทำการวิจัยและประดิษฐ์เว็บบราวเซอร์เพื่อช่วยคนตาบอดและผู้พิการทางมือและแขนให้สามารถใช้เสียงสั่งงานแทน และได้รับรางวัลจากการประกวด National Software Contest (NSC) 2005 Award ที่จัดขึ้นโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลพิเศษจากสถาบันคนตาบอดแห่งชาติเพื่อการวิจัยและการพัฒนา การวิจัยในครั้งนี้ได้รับความเอื้อเฟื้อจากบริษัทไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ที่ทำให้โครงการนี้สำเร็จลุล่วงได้ในเวลาที่กำหนด โครงการนำร่องนี้ถือเป็นแม่แบบของนวัตกรรมชิ้นเอกเพื่อสังคมไทยชิ้นหนึ่งที่เราภูมิใจ
นอกเหนือไปจากการเสวนาแล้ว ไอบีเอ็มยังได้นำเสนอ สรุปผลงานวิจัย Global Innovation Outlook 2.0 ซึ่งเป็นบทสรุปจากการสนทนาเกี่ยวกับนวัตกรรมระหว่างผู้บริหารทั่วโลก ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ธุรกิจและสังคม โดยเปิดขอบเขตประเด็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในมุมกว้างอันเกี่ยวเนื่องถึงโอกาสที่จะนำไปสู่นวัตกรรมและความก้าวหน้าของสินค้า บริการ กระบวนการทางธุรกิจ รูปแบบทางธุรกิจ นโยบาย วัฒนธรรมและอื่น ๆ อันประกอบด้วย
1. อนาคตขององค์กร
หากยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age) กำลังหลีกทางให้กับยุคแห่งองค์ความรู้ (Knowledge Age) อะไรคือโครงสร้างรากฐานใหม่และหลักการบริหารที่จะกำหนดลักษณะขององค์กรในยุคปัจจุบัน หลักการเหล่านี้จะมีผลต่อบริษัทที่มีอยู่และการแข่งขันอย่างไร อะไรจะตัวบ่งชี้เกี่ยวกับหลักการจัดการและวิธีการวิจัยและพัฒนาในปัจจุบัน คำที่ใช้กันอยู่ เช่น พนักงาน การจ้างงาน บริษัท จะให้ความหมายใหม่ และจะยังเกี่ยวข้องกับธุรกิจขนาดใหญ่อยู่หรือไม่
2. ระบบขนส่ง
หากสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตของมนุษย์คือความต้องการและความปรารถนาที่จะเดินทางได้อย่างสะดวก เทคโนโลยีในศตวรรษแรก จะสามารถเอื้อประโยชน์ต่อความคล่องตัวในการเดินทางได้อยู่หรือไม่ เราจะมีวิธีการสร้างสมดุลให้กับการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของการเดินทางระยะไกล ที่มีความท้าทายจากเมืองที่มีการจราจรหนาแน่น อะไรคือความท้าทายใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในสังคมเมือง และมีวิธีอะไรที่เป็นไปได้ในการใช้สนับสนุนความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในสังคม
3. สิ่งแวดล้อม
หากไม่มีการแบ่งแยกระหว่างโลกทางธุรกิจกับสิ่งท้าทายและโอกาสต่างๆ ในสังคม อะไรคือความสัมพันธ์ ระหว่างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและสภาพสังคมบนโลกใบนี้ อะไรคือความสามารถในการคงอยู่ของสิ่งแวดล้อมที่จะมีผลต่อการสร้างนวัตกรรมให้กับสังคม และอะไรคือคำตอบด้านการจัดการเมื่อเกิดประเด็นปัญหาด้านสภาพแวดล้อมที่สังคมโลกต้องเผชิญขึ้น
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
คุณกฤษณา ศิลประเสริฐ
โทรศัพท์: 0-2273-4639
อีเมล์: krisana@th.ibm.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ