รายงานสถานการณ์อุทกภัย สภาวะอากาศ ปริมาณน้ำฝน และสภาพน้ำท่า 2549 วันที่ 14 ตุลาคม 2549 เวลา 20.00 น.

ข่าวทั่วไป Monday October 16, 2006 08:47 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ต.ค.--ปภ.
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยในภาพรวม (ระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม — 14 ตุลาคม 2549)
1.1 ระหว่างวันที่ 27-31 สิงหาคม 2549 วันที่ 9-12 กันยายน 2549 และวันที่ 18-23 กันยายน 2549 ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง พายุดีเปรสชั่นเคลื่อนตัวผ่าน (24-25 ก.ย.49) และพายุดีเปรสชั่น “ช้างสาร” (1-3 ต.ค.49) ทำให้มีฝนตกหนักมากในพื้นที่ ระดับน้ำในแม่น้ำมีปริมาณน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มริมฝั่งของลำน้ำหลายพื้นที่
1.2 พื้นที่ประสบภัย รวม 46 จังหวัด 290 อำเภอ 19 กิ่งอำเภอ 1,729 ตำบล 9,601 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 2,452,563 คน 638,966 ครัวเรือน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม นครนายก ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ยโสธร ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา และกรุงเทพมหานคร
1.3 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 48 คน จังหวัดเชียงใหม่ 7 คน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2 คน จังหวัดลำปาง 2 คน จังหวัดสุโขทัย 7 คน จังหวัดพิษณุโลก 7 คน จังหวัดนครสวรรค์ 1 คน จังหวัดเพชรบูรณ์ 1 คน สิงห์บุรี 1 คน จังหวัดอ่างทอง 4 คน จังหวัดพิจิตร 1 คน จังหวัดปราจีนบุรี 5 คน จังหวัดจันทบุรี 4 คน จังหวัดปทุมธานี 2 คน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1 คน จังหวัดชัยภูมิ 1 คน จังหวัดอุบลราชธานี 1 คน และจังหวัดพังงา 1 คน สูญหาย 2 คน (จังหวัดเชียงใหม่ 1 คน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 1 คน)
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 44 หลัง เสียหายบางส่วน 8,005 หลัง ถนน 3,347 สาย สะพาน 263 แห่ง ท่อระบายน้ำ 385 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 463 แห่ง พื้นที่ทางการเกษตร 1,836,418 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 19,559 บ่อ วัด/โรงเรียน 466 แห่ง ความเสียหายอื่น ๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเท่าที่สำรวจได้ ประมาณ 305,289,193 บาท
2. พื้นที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 30 จังหวัด โดยทุกหน่วยงานยังคงปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย แจกจ่ายเครื่องอุปโภค บริโภค น้ำดื่ม การฟื้นฟูล้างทำความสะอาดถนนในเขตเทศบาล โรงเรียน สถานีอนามัย และการซ่อมแซมถนน สะพาน ที่ชำรุดเสียหายให้สามารถใช้การได้ในเบื้องต้นแล้ว
สถานการณ์ปัจจุบัน
3. พื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 16 จังหวัด เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่านพื้นที่สูงกว่าตลิ่ง ได้แก่จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี ปราจีนบุรี และกรุงเทพมหานคร ดังนี้
3.1 จังหวัดลพบุรี มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีระดับต่ำกว่าน้ำในคลองชัยนาท-ป่าสัก และจากน้ำเหนือเขื่อนป่าสัก ฯ ล้นตลิ่งใน 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอท่าวุ้ง อำเภอ บ้านหมี่ อำเภอเมือง อำเภอชัยบาดาล อำเภอพัฒนานิคม อำเภอท่าหลวง อำเภอลำสนธิ และ อำเภอโคกสำโรง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 ม.
การให้ความช่วยเหลือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำ 93 เครื่อง เรือท้องแบน 46 ลำ และถุงยังชีพ 9,006 ชุด รถกู้ภัย 11 คัน กระสอบทราย 16,650 ใบ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
3.2 จังหวัดสระบุรี น้ำจากแม่น้ำป่าสักเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 4 ตำบล อำเภอวิหารแดง 2 ตำบล อำเภอหนองแค 1 ตำบล อำเภอเสาไห้ 4 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.40 ม. อำเภอบ้านหมอ 4 ตำบล 1 เทศบาล และอำเภอหนองแซง 4 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80 -1.00 ม.
การให้ความช่วยเหลือ ได้มีการอพยพราษฎร จำนวน 40 ครัวเรือน 200 คน พร้อมแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค 700 ชุด น้ำดื่ม 5,810 ขวด และยารักษาโรค 505 ชุด
3.3 จังหวัดในลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่าน รวม 4 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ ริมแม่น้ำ และพื้นที่การเกษตรในที่ลุ่มที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ได้แก่
- จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางระกำ 9 ตำบล อำเภอพรหมพิราม 9 ตำบล อำเภอเมือง 1 ตำบล อำเภอวัดโบสถ์ 6 ตำบล
ํอนึ่ง เนื่องจากมีฝนตกในเขตพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางกระทุ่ม 2 ตำบล อำเภอนครไทย 2 ตำบล และอำเภอชาติตระการ 1 ตำบล ทำให้เกิดน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรบางส่วน คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติในวันพรุ่งนี้
- จังหวัดสุโขทัย จำนวน 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีสำโรง 11 ตำบล อำเภอเมือง 6 ตำบล อำเภอกงไกรลาศ 11 ตำบล อำเภอคีรีมาศ 10 ตำบล อำเภอสวรรคโลก 3 ตำบล อำเภอศรีสัชนาลัย 8 ตำบล และอำเภอด่านลานหอย 7 ตำบล
- จังหวัดพิจิตร จำนวน 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 11 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลท่าฬ่อ) อำเภอสามง่าม 4 ตำบล อำเภอวชิรบารมี 4 ตำบล อำเภอโพธิ์ประทับช้าง 7 ตำบล อำเภอโพทะเล 9 ตำบล อำเภอตะพานหิน 10 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลเมืองตะพานหิน) อำเภอบึงนาราง 5 ตำบล และ อำเภอบางมูลนาก 9 ตำบล
- จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 16 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลนครนครสวรรค์) อำเภอชุมแสง 11 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลทับกฤช) อำเภอเก้าเลี้ยว 5 ตำบล อำเภอโกรกพระ 8 ตำบล 2 เทศบาล (เทศบาลตำบลโกรกพระ และเทศบาลตำบลบางประมุง) อำเภอพยุหะคีรี 7 ตำบล อำเภอบรรพตพิสัย 13 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลบรรพตพิสัย) และอำเภอท่าตะโก 10 ตำบล
ส่วนการให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ นั้น ทุกหน่วยงานยังคงปฏิบัติงานการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง
ระดับน้ำในแม่น้ำยม ที่ฝายบางบ้า อำเภอบางระกำ เมื่อเวลา 07.00 น. วันที่ 14 ต.ค.49 ระดับน้ำสูง 42.99 ม. (ระดับตลิ่ง 40.50 ม.) ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 2.49 ม.
๏ ระดับน้ำในแม่น้ำยม เมื่อเวลา 07.00 น. วันที่ 14 ต.ค.49 ที่สถานี Y.33 อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 10.49 ม. (ระดับตลิ่ง 10.00 ม.) สูงกว่าตลิ่ง 0.49 ม. ที่สถานี Y.4 อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 6.48 ม. (ระดับตลิ่ง 7.45 ม.) ต่ำกว่าตลิ่ง 0.97 ม. และที่ฝายยางบ้านกง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 10.60 ม. (ระดับตลิ่ง 9.00 ม.) สูงกว่าตลิ่ง 1.60 ม.
3.4 จังหวัดชัยนาท มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 8 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลเมืองชัยนาท) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.80 ม.
2) อำเภอสรรพยา มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา 7 ตำบล 2 เทศบาล (เทศบาลตำบลสรรพยา และเทศบาลโพนางดำ) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.20-1.60 ม.
3) อำเภอหันคา มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน เกือบทุกตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.70-1.20 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มอบถุงยังชีพ จำนวน 13,000 ชุด กระสอบทราย จำนวน 272,800 ใบ น้ำดื่ม ขนาด 1,000 ลิตร 150 ถัง เต็นท์ 170 หลัง น้ำประปา 984,000 ลิตร เครื่องสูบน้ำ จำนวน 45 เครื่อง เรือท้องแบน 3 ลำ ชุดเวชภัณฑ์ 6,487 ชุด
3.5 จังหวัดอุทัยธานี มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสะแกกรังเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ 9 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลอุทัยใหม่) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 ม.
2) อำเภอหนองขาหย่าง น้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยขุนแก้วและแม่น้ำสะแกกรัง เอ่อเข้าท่วมในพื้นที่ 6 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.70 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดอุทัยธานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มอบถุงยังชีพ 17,686 ชุด เรือท้องแบน 18 ลำ เต็นท์ 200 หลัง น้ำดื่ม 90,000 ลิตร ชุดเวชภัณฑ์ 7,928 ชุด รวมทั้ง นพค.15 มทบ.31 อปพร. อส. สถานีวิทยุ 934 สนับสนุนกำลังพลรวม 275 นาย ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่
3.6 จังหวัดสิงห์บุรี มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี 6 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลอินทร์บุรี) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.20-1.60ม. อำเภอพรหมบุรี 6 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 1.20-1.70 ม. อำเภอท่าช้าง 4 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-0.70 ม. และอำเภอเมือง ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลเมืองสิงห์บุรี) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.20-2.10 ม.
ํ พนังกั้นน้ำคลองชลประทานที่ตำบลบางกระบือชำรุดแตก จำนวน 3 จุด ความยาว จุดละ 3-4 ม. และ 8-9 ม. และพนังกั้นน้ำคลองชลประทานที่ตำบลต้นโพธิ์ (หมู่ที่ 1) ชำรุดแตก จำนวน 1 จุด ความยาว 8-9 ม. ซึ่งกันพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองสิงห์บุรีพนังกั้นน้ำเลียบถนนวิไลจิตรเริ่มมีรอยร้าว และมีน้ำซึมกว่า 20 จุด น้ำเริ่มไหลเข้าท่วมชุมชนตลาดเป็นบริเวณกว้าง
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดสิงห์บุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นและได้เสริมแนวกั้นน้ำรอบตัวเมืองในพื้นที่เศรษฐกิจ กำลังพลทหารหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ 70 นาย กองพัน 20 รอ. 85 นาย ศูนย์การทหารปืนใหญ่ 130 นาย และศูนย์การบินทหารบก 33 นาย ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
3.7 จังหวัดอ่างทอง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อยมีระดับสูงขึ้น ท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง เกิดน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 10 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลเมืองอ่างทอง) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.30-2.10 ม. แนวกั้นน้ำในเขตเทศบาลเมืองอ่างทองพังหลายจุดทำให้น้ำในเขตพื้นที่ตำบลศาลาแดงขยายวงกว้าง และมีระดับน้ำสูงเฉลี่ยประมาณ 1.10 ม.
2) อำเภอป่าโมก มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 7 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลป่าโมก ชุมชนที่ 1-2,8-10) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-1.20 ม.
3) อำเภอไชโย มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 7 ตำบล 2 เทศบาล (เทศบาลตำบลจระเข้ร้อง เทศบาลตำบลเกษไชโย) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-1.50 ม.
4) อำเภอแสวงหา มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 5 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.80 ม.
5) อำเภอวิเศษชัยชาญ มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 12 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80-1.00 ม.
6) อำเภอโพธิ์ทอง น้ำจากแม่น้ำน้อยท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 3 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.90 ม.
7) อำเภอสามโก้ มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 5 ตำบล ระดับสูงประมาณ 0.50-0.80 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่งเรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์ 8 ลำ รถผลิตน้ำดื่มเคลื่อนที่ 1 คัน เต็นท์ที่พักอาศัยชั่วคราว 120 หลัง น้ำดื่ม 120,000 ขวด ถุงยังชีพ 30,000 ชุด และจังหวัดระดมเรือท้องแบนจากหน่วยงานต่าง ๆ และในพื้นที่ใกล้เคียง 30 ลำ
- หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษจังหวัดลพบุรีและมณฑลทหารบกที่ 13 จังหวัดลพบุรี พล ป.(ป.พัน 721) กองบิน 2 ช.พัน 1 รอ.(พล.1 รอ.) จัดส่งกำลังพลพร้อมเครื่องจักรกล ระดมเครื่องมือ เรือท้องแบน พร้อมเจ้าหน้าที่ 863 นาย ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง (อ.เมือง 603 นาย อ.ป่าโมก 160 นาย อ.ไชโย 100 นาย)
- โครงการชลประทานอ่างทอง สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 16 เครื่อง ติดตั้งในเขตเทศบาลเมืองอ่างทอง
3.8 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อยมีระดับสูงขึ้นท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 6 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอพระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไหลเข้าท่วมในพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลภูเขาทอง และตำบลบ้านใหม่ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.90-1.23 ม.
2) อำเภอบางบาล น้ำในแม่น้ำน้อยท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตร 16 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 1.10-1.38 ม.
3) อำเภอบางไทร น้ำในแม่น้ำน้อยท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 2 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80-1.30 ม.
4) อำเภอผักไห่ ระดับน้ำในแม่น้ำน้อยท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 4 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 1.10-1.60 ม.
5) อำเภอเสนา มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 7 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลเมืองเสนา) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.70-1.10 ม.
6) อำเภอมหาราช มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 5 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.70-1.80 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หน่วยทหาร อำเภอ เทศบาล องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย มอบถุงยังชีพ ยาและเวชภัณฑ์ เรือท้องแบน 30 ลำ รถผลิตน้ำดื่ม 1 คัน เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย
3.9 จังหวัดสุพรรณบุรี มีน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มริมแม่น้ำท่าจีน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 12 ตำบล อำเภอบางปลาม้า 14 ตำบล และอำเภอสองพี่น้อง 8 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัด กรมชลประทาน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มอบกระสอบทราย 200,000 ถุง เครื่องสูบน้ำ จำนวน 144 เครื่อง เรือท้องแบน จำนวน 4 ลำ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
3.10 จังหวัดปทุมธานี น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณสูงขึ้นเนื่องจากน้ำทางเหนือได้ไหลหลาก ลงมาทำให้เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 6 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 8 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
2) อำเภอสามโคก มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 10 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลบางเตย) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 ม.
3) อำเภอคลองหลวง มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 7 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.70 ม.
4) อำเภอธัญบุรี มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 1 ตำบล 2 เทศบาล ได้แก่
เทศบาลเมืองรังสิต บริเวณ หมู่บ้านสร้างบุญ ตลาดสุชาติรังสิต และหมู่บ้านรัตนโกสินทร์สองร้อยปี เทศบาลตำบล
ธัญบุรี มีน้ำท่วมขังภายในชุมชนคลองขวาง ชุมชนเคหะรังสิตคลอง 6 และชุมชนคลองหก และตำบลบึงยี่โถ ระดับน้ำ สูงประมาณ 0.10-0.20 ม.
5) อำเภอลำลูกกา มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 8 ตำบล 3 เทศบาล (เทศบาลเมืองคูคต เทศบาลตำบลลำลูกกา เทศบาลตำบลลำไทร) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม.
6) อำเภอลาดหลุมแก้ว มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 6 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลระแหง) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
1) จังหวัดปทุมธานีได้ระดมนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคไปช่วยเสริมกระสอบทรายริมแม่น้ำหมู่บ้านไวท์เฮ้าส์ อำเภอคลองหลวง เพื่อป้องกันมิให้น้ำไหลเข้าท่วมหมู่บ้านเหมือนเช่นปี 2538 ที่ผ่านมา
2) การประปานครหลวง ได้เสริมกระสอบทราย จำนวน 150,000 ใบ เป็นคันป้องกันน้ำเพื่อไม่ให้ไหลจากคลองบางกระดีเข้าท่วมบริเวณคลองประปา
3.11 จังหวัดนนทบุรี แม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงขึ้นประกอบกับมีน้ำทะเลหนุนจึงทำให้น้ำเอ่อล้นไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มและบ้านเรือนราษฎรริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งลำคลองสาขาของแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปากเกร็ด อำเภอเมือง อำเภอบางบัวทอง อำเภอไทรน้อย อำเภอบางใหญ่ และ อำเภอบางกรวย
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้นำกระสอบทรายและทราย ไปมอบให้กับอำเภอต่าง ๆ เพื่อนำไปแจกจ่ายแก่ราษฎรในพื้นที่ที่ประสบภัย 250,000 กระสอบ ทราย 8,000 คิว และถุงยังชีพ 8,000 ชุด รวมทั้งช่วยเหลือด้านยารักษาโรค
3.12 จังหวัดปราจีนบุรี น้ำในแม่น้ำปราจีนบุรี เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรี 7 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลกบินทร์) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 ม. อำเภอศรีมหาโพธิ 9 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลศรีมหาโพธิ) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-0.80 ม. อำเภอศรีมโหสถ 4 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม. อำเภอเมือง 11 ตำบล 2 เทศบาล (เทศบาลตำบลโคกมะกอก และเทศบาลนาปรือ) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80-1.70 ม. และอำเภอประจันตคาม 2 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.60 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัด หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือท้องแบน 17 ลำ เครื่องสูบน้ำ 17 เครื่อง รถแบ็คโฮ 2 คัน รถยนต์บรรทุก 11 คัน รถยก 1 คัน รถกระเช้า 1 คัน ถุงยังชีพ น้ำดื่ม และยาสามัญประจำบ้าน 5,022 ชุด พร้อมกำลังพลช่วยเหลือผู้ประสบภัย
3.13 กรุงเทพมหานคร ได้เกิดฝนตกต่อเนื่อง ระหว่างวันที่ 10-11 ต.ค.49 และน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ระบายเข้าทุ่งฝั่งตะวันออกมีปริมาณมาก ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ ดังนี้
- เขตลาดกระบัง มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 37 ชุมชน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
- เขตมีนบุรี มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 13 ชุมชน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.50 ม.
- เขตหนองจอก มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 21 ชุมชน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
- เขตลาดพร้าว มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 1 ชุมชน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10 ม.
- เขตคลองสามวา มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 24 ชุมชน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.
- เขตสะพานสูง มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ถนน 3 สาย ระดับน้ำสูงประมาณ 0.05-0.15 ม.
- เขตสายไหม มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 ชุมชน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.40 ม.
- และพื้นที่นอกคันกั้นน้ำริมฝั่งเจ้าพระยาใน 11 เขต 33 ชุมชน ราษฎรเดือดร้อน 2,111 ครัวเรือน
การให้ความช่วยเหลือ
- สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ได้เสริมกระสอบทรายเป็นแนวกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้สามารถกันน้ำได้ที่ระดับ +2.70 ม.รทก. (เดิม+2.50 ม.รทก.) พร้อมใช้เครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
- กรุงเทพมหานคร และกองบัญชาการทหารสูงสุด ได้จัดส่งกำลังพลพร้อมเครื่องมือ เครื่องจักรกล ดำเนินการขุดลอกคูคลองตามแนวเหนือใต้ของถนนบางนา-ตราด และถนนมอเตอร์เวย์ ประมาณ 20 คลอง เพื่อเปิดทางน้ำไหลให้ระบายน้ำลงอ่าวไทยได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
4. สิ่งของพระราชทาน
1) ในวันนี้ (14 ต.ค.49) พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาเสด็จเยี่ยมราษฎรที่ประสบอุทกภัยและติดตาม “โครงการนำร่องช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยให้วัดเป็นศูนย์กลาง” ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมูลนิธิอาสาเพื่อนพึง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ในพื้นที่อำเภออินทร์บุรี และอำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี และประทานเสื้อ ชูชีพให้กับผู้แทนกองทัพเรือและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 ราย ประทานปลอกแขนอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก ให้กับผู้ดูแล “คลังอาหารและน้ำดื่ม” จำนวน 10 ราย จากนั้นประทับเรือที่นั่งเยี่ยมราษฎรตามเส้นทางที่จะไปยัง วัดโพธิ์ลังกา พร้อมกับประทานถุงยังชีพแก่ผู้พิการ คนชรา และประทานนมผงเด็กอ่อน เสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการโรคร้ายแรงที่มากับน้ำ และเสด็จประทับเรือที่นั่งไปทรงเยี่ยมราษฎรตามเส้นทางที่ไปยังวัดโพธิ์ศรี พร้อมกับประทานถุงยังชีพแก่คนชรา ประทานนมผงเด็กอ่อน โดยมี นายปราณีต บุญมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี คณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดสิงห์บุรี ข้าราชการ และประชาชน เฝ้ารับเสด็จ ฯ
2) ตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2549 เป็นต้นไป สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย โดยนางสาวสุนี โพธิ์ทองคำ หัวหน้าหน่วยสนับสนุนบริการบรรเทาทุกข์ นำครัวเคลื่อนที่สำหรับประกอบอาหารพร้อมรับประทานแก่ผู้ประสบอุทกภัยและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน รองรับได้มื้อละ 1,000 ชุด จำนวน 2 มื้อ/วัน โดยปฏิบัติงานที่สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดอ่างทอง
5. การตรวจสถานการณ์อุทกภัย
- ในวันนี้ (14 ต.ค.49) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายบัญญัติ จันทน์เสนะ) และคณะแม่บ้านมหาดไทย เดินทางไปจังหวัดจันทบุรีเพื่อตรวจเยี่ยมศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยจังหวัดจันทบุรี และมอบถุงยังชีพที่ชุมชนวัดโรมันคาทอลิก ตำบลจันทนิมิต 500 ชุด ชุมชนริมน้ำ เขตเทศบาลเมืองจันทบุรี 200 ชุด และ อบต.ท่าช้าง 300 ชุด ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
6. การสนับสนุนให้ความช่วยเหลือแก่จังหวัดที่ประสบอุทกภัยของหน่วยงาน
1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ระดมกำลังเครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมืออุปกรณ์ และเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯเขตต่าง ๆ เข้าไปช่วยเหลือและฟื้นฟูบูรณะในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย ดังนี้
1.1 ประเภทและจำนวนเครื่องจักรกล 91 คัน/เครื่อง เรือท้องแบน 154 ลำ เต็นท์ยกพื้นพักอาศัยชั่วคราว 177 หลัง
1.2 ด้านเจ้าหน้าที่ 560 คน และแจกจ่ายถุงยังชีพ 63,500 ชุด
2) ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก ได้ประสานงานให้ นขต.ศบภ.ทบ. จัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์ ระหว่างวันที่ 13-14 ต.ค.49 จัดกำลังพล 2,674 นาย รถยนต์บรรทุก 144 คัน และเรือท้องแบน 25 ลำให้การช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ประสบอุทกภัย
3) มูลนิธิร่วมกตัญญู (หงี่เต็กตึ๊ง) สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 9 ลำ พร้อมเจ้าหน้าที่ ถุงยังชีพ จำนวน 3,500 ชุด ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง พร้อมให้อาสาสมัครในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยคอยสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่
7. ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 07.00 น วันที่ 13 ต.ค.49 ถึง 07.00 น วันที่ 14 ต.ค.49 วัดได้ ดังนี้
จังหวัดนครสวรรค์ (อ.พยุหะคีรี) 91.2 มม. จังหวัดสุพรรณบุรี (อ.เมือง) 34.8 มม.
จังหวัดจันทบุรี (อ.เมือง) 29.6 มม. จังหวัดปราจีน (อ.เมือง) 21.5 มม.
จังหวัดนครศรีธรรมราช (กิ่ง อ.นบพิตำ) 72.0 มม. (อ.หัวไทร) 68.5 มม.
จังหวัดชุมพร (อ.พะโต๊ะ) 49.7 มม. จังหวัดพังงา (ตะกั่วป่า) 70.6 มม.
จังหวัดระนอง (อ.เมือง) 60.6 มม. จังหวัดภูเก็ต (อ.เมือง) 44.6 มม.
8. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (ข้อมูลวันที่ 14 ต.ค.49)
- เขื่อนภูมิพล ปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 13,304 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 159 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็น ร้อยละ 99 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด
- เขื่อนสิริกิติ์ ปริมาตรน้ำในอ่าง 9,407 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 103 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็น ร้อยละ 99 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด
- อ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ปริมาตรน้ำ 580 ล้าน ลบ.ม. (รับน้ำได้อีก 130 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 82 ของความจุ มีการระบายน้ำ จำนวน 104.00 ลบ.ม./วินาที และระบายน้ำโดยวิธีกาลักน้ำได้ 3.30 ลบ.ม./วินาที (วางท่อ 10 แถว) รวมระบายน้ำทั้งหมด 107.30 ลบ.ม./วินาที เพื่อพร่องน้ำในอ่างฯไว้รอรับน้ำหลากในช่วงฝนชุก
9. สภาพน้ำเจ้าพระยา
9.1 วันที่ 14 ต.ค.49 มีปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ จำนวน 5,685 ลบ.ม./วินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท จำนวน 3,800 ลบ.ม./วินาที และมีปริมาณน้ำระบายจากเขื่อนพระรามหก จำนวน 747 ลบ.ม./วินาที ทำให้ปริมาณน้ำที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีจำนวน 4,547 ลบ.ม./วินาที ทำให้เกิดผลกระทบในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นบริเวณกว้างในหลายพื้นที่ (กรณีปริมาณน้ำ
เจ้าพระยาไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเกิน 2,500 ลบ.ม./วินาที จะทำให้น้ำท่วม อ.สรรพยา จ.ชัยนาท สองฝั่งเจ้าพระยาของ จ.สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล)
๐สถิติการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาจังหวัดชัยนาท เมื่อคราวเกิดอุทกภัยเมือปี 2538 และปี 2545
- 5 ต.ค.2538 ระบายน้ำสูงสุด 4,557 ลบ.ม./วินาที
- 10 ต.ค.2545 ระบายน้ำสูงสุด 3,950 ลบ.ม./วินาที
9.2 ในพื้นที่ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่างได้มีการระบายน้ำและสูบน้ำลงแม่น้ำนครนายก วันละ 1.32 ล้าน ลบ.ม. ระบายและสูบน้ำลงแม่น้ำบางปะกง วันละ 6.24 ล้าน ลบ.ม. ระบายและสูบออกทะเล วันละ 22.91 ล้าน ลบ.ม. และในพื้นที่ทุ่งฝั่งตะวันตกมีการระบายน้ำและสูบน้ำออกสู่แม่น้ำท่าจีนวันละ 11.83 ล้าน ลบ.ม.ระบายน้ำและสูบผ่านคลองมหาชัย 0.29 ล้าน ลบ.ม. ส่วนในแม่น้ำเจ้าพระยามีโครงการคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีการเปิด-ปิดบานโดยการระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้เร็วขึ้น ซึ่งจะเปิดบานระบายน้ำในช่วงน้ำทะเลลง และปิดบานระบายน้ำในช่วงน้ำทะเลขึ้น โดยวันนี้ (14 ต.ค.49) สามารถระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ลงแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง จำนวน 14.50 ชั่วโมง โดยมีปริมาณน้ำผ่านสูงสุด ประมาณ 26.10 ล้าน ลบ.ม.
10. จากการตรวจสอบสภาวะฝนจากสถานีเรดาร์อุตุนิยมวิทยา ในวันนี้ (14 ต.ค.49) เวลา 17.30 น. พบ กลุ่มฝนกำลังอ่อนถึงปานกลาง ปกคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ มหาสารคาม ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม ราชบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
11. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 14 ตุลาคม 2549 เวลา 17.00 น.
ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้ มีฝนตกหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางแห่งในระยะนี้ ส่วนภาคอื่นๆ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-14 ของพื้นที่
อนึ่ง ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นในตอนเช้า
12. สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4,11,12 และรวมทั้งจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ ที่คาดว่าจะเกิดภัยให้เตรียมพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม และคลื่นลมแรง ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ โดยจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานงานกับ อำเภอ กิ่งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากเกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นในจังหวัดใด ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ฯ ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนั้นจัดเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลเข้าสนับสนุนทันที
13. ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตามและรายงานให้ทราบต่อไป
หมายเหตุ หากประสงค์จะรับข้อมูลทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email) โปรดแจ้ง Email ไปยัง
Disasterthailand@yahoo.com หรือ โทรสาร 0-2241-7450-6 (กลุ่มงานปฏิบัติการ ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ