จากผลการสำรวจของวีซ่า พบว่า 1 ใน 5 ของลูกค้าในเขตเอเชียแปซิฟิก ลุกขึ้นต่อต้านการฉ้อโกงบัตรเครดิต

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 9, 2010 07:53 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 มี.ค.--สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ ผู้บริโภคเชื่อว่าตนเป็นผู้แบกรับภาระความรับผิดชอบสำหรับการป้องกันการฉ้อโกงการใช้บัตรเครดิต ปัจจุบันนักช้อปในแถบเอเชียแปซิฟิกฉลาดมากขึ้น เพราะมีวิธีใช้จ่ายผ่านบัตรชำระเงินได้อย่างปลอดภัย สามารถลดความเสี่ยงในการลักลอบใช้บัตรชำระเงินได้อย่างชาญฉลาด เพราะนักช้อปเหล่านี้ได้ศึกษา วิธีการใช้จ่ายด้วยบัตรชำระเงินอย่างปลอดภัยกับวีซ่า ทำให้การใช้จ่ายผ่านบัตรมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น จากการสำรวจวิธีการป้องกันการโจรกรรมข้อมูลจากบัตรชำระเงิน ใน12เดือนที่ผ่านมา พบว่า 32%ของนักช้อปเชื่อถือระบบ Verified by Visa และ 32 % หลีกเลี่ยงการซื้อสินค้าจากร้านค้าที่ไม่คุ้นเคย นอกจากนี้อีก 31 % จะใช้รหัสที่แตกต่างกันในแต่ละวัตถุประสงค์ เมื่อถามว่าใครคือผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในการลักลอบใช้บัตรเครดิตมากที่สุด พบว่า19 เปอร์เซ็นต์ ของลูกค้าที่ใช้จ่ายผ่านบัตร มีบทบาทสำคัญในการหยุดการลักลอบใช้บัตรเครดิตมากที่สุด ตามมาด้วย 17 เปอร์เซ็นต์ คือ บริษัทที่จัดทำบัตร และบริษัทที่ดำเนินการด้านเครือข่ายการชำระเงิน คุณสมบูรณ์ ครบธีรนนท์ ผู้จัดการบริษัท วีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “การรักษาความปลอดภัยในการใช้จ่ายเป็นความรับผิดชอบส่วนรวม และจากการสำรวจแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคเป็นผู้นำด้านการป้องกันการทุจริต ซึ่งวีซ่าได้ให้การช่วยเหลือผู้บริโภคด้วยวิธีการแก้ปัญหาด้านความปลอดภัยสำหรับการใช้บัตรชำระเงิน และแบ่งปันทักษะความรู้กับผู้ที่มีส่วนร่วมในระบบบัตรชำระเงินเพื่อทำให้การลักลอบใช้บัตรนั้นมีอัตราคงที่หรือลดลงกว่าเดิม” จากข้อมูลที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามในประเด็นสำคัญ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยในใช้บัตรชำระเงิน พบว่า 55 เปอร์เซ็นต์ คือ การขโมยรหัสบัตร 50 เปอร์เซ็นต์ จากการขโมยของใช้ส่วนตัว และ49 เปอร์เซ็นต์ จากการขโมยคัดลอกข้อมูลบัตรเอทีเอ็ม ซึ่งทั้งหมดนี้คือ 3 เหตุผลหลักที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยในการใช้บัตร นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจากอินโดนีเซีย (52 เปอร์เซ็นต์) และสิงคโปร์ (48 เปอร์เซ็นต์) รู้สึกไม่มั่นใจในการรักษาความปลอดภัยในการใช้จ่ายผ่านบัตรชำระเงิน ถึงแม้ว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะรู้สึกว่า ผู้ถือบัตรทุกคน คือ บุคคลที่มีหน้าที่ป้องกันการลักลอบใช้บัตร แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ตอบแบบสอบถาม 27 เปอร์เซ็นต์ คิดว่าเมื่อเกิดการลักลอบใช้บัตรขึ้น ส่วนหนึ่ง เกิดจากความผิดของบริษัทที่ให้บริการบัตรชำระเงิน และอีก 18 เปอร์เซ็นต์ คือ ความผิดที่เกิดจากร้านค้า และลูกค้าผู้ใช้บัตรชำระเงินเอง เครื่องมือรักษาความปลอดภัยในการชำระเงินสำหรับลูกค้า 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถาม (31 เปอร์เซ็นต์) ได้ใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกันไปจากรหัสปกติที่ใช้ ใน 12 เดือนที่ผ่านมา เพื่อเป็นการป้องการลักลอบการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวกับธุรกรรมด้านการเงิน เช่น บัตรเอทีเอ็ม, บัตรเดบิต, บัตรเครดิต และการทำธุรกรรมออนไลน์ จากการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามโดยเฉลี่ยจะเปลี่ยนรหัสผ่านในทุกๆ 2-3เดือน คุณสมบูรณ์ ครบธีรนนท์ ยังอีกกล่าวว่า ผู้ถือบัตรชำระเงินส่วนใหญ่คุ้นเคยกับระบบความปลอดภัยและการใช้รหัสผ่านที่ได้รับ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นสามารถป้องกันการโจรกรรมทางการเงินได้ ถ้าบัตรเกิดการสูญหาย และทางร้านค้าสามารถสอบถามรายละเอียดเพื่อยืนยันการเป็นเจ้าของบัตรได้นอกจากนี้ยังมีวิธีง่ายๆ ก็คือการเปลี่ยนรหัส และพิน อย่างสม่ำเสมอ และใช้รหัสที่แตกต่างกันในแต่ละวัตถุประสงค์ หรือมั่นใจได้ว่ารหัสที่เลือกใช้ เป็นรหัสที่ยากต่อการคาดเดา ไม่แต่เท่านี้ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในการชำระเงิน ยังให้คำแนะนำว่า รหัสควรจะประกอบด้วยการผสมผสานระหว่างตัวอักษรและตัวเลข ผู้ตอบแบบสอบถามยังระบุไว้อีกว่า ทางเลือกที่จะป้องกันการลักลอบการใช้บัตรในอีก 2 ปีข้างหน้า คือ การลงทะเบียนเพื่อรับแจ้งข้อมูลการใช้บัตรผ่านโทรศัพท์มือถือ (51 เปอร์เซ็นต์), ลงทะเบียนเพื่อรับการโทรแจ้งจากทางธนาคาร (48 เปอร์เซ็นต์) และการช้อปปิ้งกับร้านค้าที่คุ้นเคยเท่านั้น (46 เปอร์เซ็นต์) เกี่ยวกับวีซ่า วีซ่าคือบริษัทผู้ให้บริการด้านเครือข่ายการชำระเงินระดับโลก แก่ลูกค้าบุคคล ธุรกิจ และสถาบันการเงิน ตลอดจนองค์กรรัฐ ในกว่า 200 ประเทศทั่วโลกด้วยเทคโนโลยีด้านเงินตราดิจิตอลที่รวดเร็ว ปลอดภัยและวางใจได้ โดยมี VisaNet หนึ่งในระบบเครือข่ายการทำงานด้านเงินตราดิจิตอลที่ทันสมัยมากที่สุดระบบหนึ่งของโลกเป็นรากฐาน ซึ่งสามารถประมวลและควบคุมการทำธุรกรรมได้กว่า 10,000 รายการในหนึ่งวินาที พร้อมด้วยระบบป้องกันการปลอมแปลงสำหรับลูกค้าบุคคล และการรับประกันการชำระเงินสำหรับร้านค้า วีซ่าไม่ใช่ธนาคารและมิได้มีบริการการออกบัตร เพิ่มวงเงินเครดิต หรือกำหนดอัตราค่าบริการแก่ผู้ถือบัตร หากแต่ให้บริการนวัตกรรมซึ่งส่งเสริมให้สถาบันการเงินสามารถมอบทางเลือกที่มีความหลากหลายให้แก่ลูกค้าได้ เช่น บริการชำระเงินจากยอดเงินในบัตรเดบิต หรือการใช้จ่ายด้วยวงเงินล่วงหน้าผ่านผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตต่างๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมด้านข่าวประชาสัมพันธ์ กรุณาติดต่อ ธัญญวรรณ ศุระศรางค์ หรือ วรางคณา พวงศิริ บริษัท สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด โทร. 02 653-2717-9 อีเมล์ warangkana@spark.co.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ