กรุงเทพฯ--5 มิ.ย.--ปภ.
1. สถานการณ์อุทกภัย (ระหว่างวันที่ 22 พ.ค.49 - 5 มิ.ย.49) มีพื้นที่ประสบภัย รวม 5 จังหวัด 26 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 165 ตำบล 1,119 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ ลำปาง และน่าน
1.1 มีผู้เสียชีวิต 83 คน จังหวัดอุตรดิตถ์ 71 คน (ลับแล 23 คน ท่าปลา 25 คน เมือง 23 คน) จังหวัดสุโขทัย 7 คน (ศรีสัชนาลัย 6 คน ศรีสำโรง 1 คน) และจังหวัดแพร่ 5 คน (เมือง) สูญหาย 33 คน จังหวัดอุตรดิตถ์ 32 คน (ลับแล 4 คน ท่าปลา 28 คน) และจังหวัดสุโขทัย 1 คน (ศรีสัชนาลัย)
1.2 บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 674 หลัง (จังหวัดอุตรดิตถ์ 447 หลัง จังหวัดแพร่ 137 หลัง จังหวัดสุโขทัย 89 หลัง และน่าน 1 หลัง) เสียหายบางส่วน 2,772 หลัง (จังหวัดอุตรดิตถ์ 2,270 หลัง จังหวัดสุโขทัย 156 หลัง จังหวัดแพร่ 336 หลัง และ จังหวัดน่าน 10 หลัง)
1.3 ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 319,589 คน 101,475 ครัวเรือน อพยพ 11,601 คน ถนน 968 สาย สะพาน 134 แห่ง พื้นที่การเกษตร 481,830 ไร่ วัด/โรงเรียน/สถานที่ราชการ 242 แห่ง พนังกั้นน้ำ 15 แห่ง ท่อระบายน้ำ 282 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 197 แห่ง บ่อปลา 4,795 บ่อ ปศุสัตว์ 76,611 ตัว สัตว์ปีก 260,148 ตัว
2. พื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์ ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย ในพื้นที่อำเภอกงไกรลาศ โดยน้ำได้เอ่อล้น เข้าท่วมในพื้นที่การเกษตรทุกตำบล รวม 11 ตำบล 102 หมู่บ้าน โดยเฉพาะบริเวณริมแม่น้ำยม ระดับน้ำสูงประมาณ 0.70-1.00 เมตร เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำจากอำเภอเมือง ขณะนี้ระดับน้ำทรงตัว
3. สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก
เนื่องจากน้ำในแม่น้ำยมจากจังหวัดสุโขทัย ได้ไหลลงมาในพื้นที่อำเภอบางระกำ ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำยมสูงขึ้น ไหลเอ่อท่วมบ้านเรือนราษฎรพื้นที่ตำบลชุมแสงสงคราม (หมู่ที่ 1,2) ตำบลคุยม่วง (หมู่ที่ 4,7,9,11) และตำบลท่านางงาม (หมู่ที่ 2) รวม 3 ตำบล 7 หมู่บ้าน 500 ครัวเรือน 1,532 คน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40 เมตร และท่วมพื้นที่ทางการเกษตรในพื้นที่ตำบลชุมแสงสงคราม ตำบลคุยม่วง ตำบลท่านางงาม และตำบลบางระกำ รวม 4 ตำบล 15 หมู่บ้าน นาข้าวเสียหาย 35,433 ไร่ พืชไร่ 16 ไร่ พืชส่วน 3 ไร่ รวมทั้งสิ้น 35,452 ไร่ ถนน 24 สาย
น้ำในคลองเมฆ ซึ่งไหลมาจากเขตติดต่อจังหวัดสุโขทัย ยังคงท่วมขังในพื้นที่ลุ่ม ตำบลวังวน ตำบลหนองแขม ตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม
4. ระดับน้ำในลุ่มน้ำยม ในวันนี้ (5 มิ.ย.49) เวลา 06.00 น.
- อำเภอกงไกรลาศ วัดได้ 9.95 ม. (ระดับวิกฤติ 9.00 ม.) สูงกว่าระดับวิกฤติ 0.95 ม.
- ฝายบางบ้า อำเภอบางระกำ วัดได้ 41.90 ม. (ระดับวิกฤติ 41.00 ม.) สูงกว่าระดับวิกฤติ 0.90 ม.
5. ปริมาณน้ำฝนเวลา 01.00 น. วันที่ 4 มิ.ย.49 ถึง 01.00 น. วันที่ 5 มิ.ย.49
- จังหวัดชลบุรี (อ.เกาะสีชัง) 32.0 มม.
- จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อ.เมือง) 27.6 มม.
- กรุงเทพมหานคร (เขตคลองเตย) 22.1 มม.
6. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 5 มิถุนายน 2549 เวลา 06.00 น.
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองกระจาย