กรุงเทพฯ--3 พ.ค.--สกว.
ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งถือเป็นปัญหาเร่งด่วนที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งหาทางแก้ไข ทั้งนี้จากข้อมูลพบว่าในบางพื้นที่ของประเทศมีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งมากกว่า 25 เมตรต่อปี โดยในช่วง 28 ปีที่ผ่านมามีการกัดเซาะในพื้นที่ซึ่งเป็นที่ราบน้ำทะเลขึ้นถึงและป่าชายเลนพังทลายหายไปประมาณ 1 กิโลเมตร ซึ่งในที่นี้มี 5 จังหวัดที่เป็นพื้นที่อ่อนไหวและพบว่าอัตราการกัดเซาะชายฝั่งทะเลรุนแรงที่สุดในประเทศไทยคือ จังหวัดฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
สำหรับพื้นที่ในจังหวัดสมุทรปราการพบว่าในช่วง 38 ปีที่ผ่านมาชายฝั่งของสมุทรปราการถูกกัดเซาะไปแล้วประมาณ 11,104 ไร่ และในอีก 20 ปีข้างว่าคาดว่าจะถูกกัดเซาะอีกกว่า 37,657 ไร่ กอรปกับในปีนี้ธนาคารโลกได้จัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมประเทศไทยที่เน้นเรื่องการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งขึ้นภายใต้โครงการ Dissemination Strategy of the Thailand Environment Monitor (TEM2005) ธนาคารโลกได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดเวทีเสวนาขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมสะท้อนปัญหา และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงได้ลงนามบันทึกความร่วมมือกับจังหวัดสมุทรปราการ ดำเนินงานในโครงการ “ศึกษาบูรณาการเชิงพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของจังหวัดสมุทรปราการ” ขึ้นในวันอังคารที่ 9 พฤษภาคม 2549 เวลา 09.00 — 17.00 น. ณ สโมสรท้ายเรือหลวงแม่กลอง ป้อมพระจุลจอมเกล้า จังหวัดสมุทรปราการ โดยในงานจะมีการนำเสนอสภาพปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทยและยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหา พร้อมนำเสนอกรณีศึกษาปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ และรูปแบบการแก้ไขปัญหา (รายละเอียดตามกำหนดการ)
กำหนดการประชุมเวทีเสวนา
7.00 น. ออกเดินทาง (ขึ้นรถ ณ ตึกเอสเอ็มทาวเวอร์ สกว.)
7.30 — 10.30 น. ศึกษาดูงานปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบ้านขุนสามจีน จ.สมุทรปราการ
โดยคุณวิมาณ เวชสกุล ผู้ช่วยนักวิจัย
โครงการศึกษาบูรณาการเชิงพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะลของจังหวัดสมุทรปราการ
10.30 — 11.00 น. บรรยายพิเศษ เรื่อง สภาพปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทย
และยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหา
โดย นายสุรพล กฤษณามระ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
11.00 — 12.00 น. ผลกระทบด้านการกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้นกับชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน
และพลังของชุมชนในการร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหา
โดย นางสมร เข่งสมุทร ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 9 ตำบลแหลมฟ้าผ่า
และ นายวัชรินทร์ ศรีสุข เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยประจำชุมชน
12.00 — 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 — 14.00 น. สาเหตุและแนวโน้มการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของจังหวัดสมุทรปราการในอนาคต
รูปแบบในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของสมุทรปราการ : กรณีศึกษาบ้านขุนสมุทรจีน
โดย รศ. ดร. ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
14.00 — 15.00 น. เวทีเสวนาประชาคม (1) :
ความต้องการของชุมชนและความเหมาะสมของรูปแบบการแก้ไขปัญหาที่เสนอ
โดย ดร.ไมตรี วสันติวงศ์
15.00 -15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.00 — 15.00 น. เวทีเสวนาประชาคม (2) :
บทบาทของชุมชนด้านการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในพื้นที่
โดย ดร.ไมตรี วสันติวงศ์
17.00 น. เดินทางกลับ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สกว