กรุงเทพฯ--10 เม.ย.--สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ในโลกปัจจุบัน การแสวงหาและการจัดการความรู้ (Knowledge) ข้อมูลข่าวสาร (Information) ตลอดจนเทคโนโลยี ที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดวิสัยทัศนเพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศไทยให้ไปสู่สังคมฐานความรู้ (Knowledge based society) และนำไปสู่การจัดตั้ง สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้(องค์การมหาชน) ซึ่งมี สำนักงานอุทยานการเรียนรู้เป็น 1 ใน 7 หน่วยงาน
สำนักอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) ในสังกัดสำนักงานบริหารและพัฒนาความรู้ (องค์การมหาชน) ที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2547 เกิดจากความต้องการสร้าง “ห้องสมุดที่มีชีวิต มีการเปลี่ยนแปลง มีหนังสือดี ทันสมัย อย่างต่อเนี่องตลอดเวลา ไม่ตายตั้งแต่วันสร้าง” ที่สำคัญเพื่อส่งเสริมให้คนไทยรักการอ่านและการเรียนรู้อย่างจริงจัง จึงได้เปิดอุทยานการเรียนรู้ต้นแบบ (Thailand Knowledge Park หรือ TK Park) ณ บริเวณชั้น 6 อาคารเซ็นทรัลเวิลด์พลาซา เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ และเป็นห้องสมุดที่มีมากกว่าหนังสือสำหรับเด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไปที่มุ่งเน้นการปลูกฝังและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ที่ผสมผสานกิจกรรม หนังสือและสื่อหลากหลายรูปแบบที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
ด้วยภารกิจหลัก และแนวคิดที่มุ่งเผยแพร่องค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ ของการบริหารงานห้องสมุดที่ทันสมัย สร้างสรรค์และมีชีวิตชีวา ในรูปแบบอุทยานการเรียนรู้จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ “ห้องสมุดมีชีวต” กับห้องสมุดสาธารณะในชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยมีการจัดประกวดและจัดอบรมสัมมนา ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ห้องสมุดบรรณารักษ์ในเบื้องต้น เพื่อให้นำความรู้กลับไปพัฒนาห้องสมุดในชุมชนที่รับผิดชอบและมุ่งหวังให้มีผลการดำเนินงาน คือ ห้องสมุดมีชีวิต ที่เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีบรรยากาศสร้างสรรค์เป็นห้องสมุดที่มีมากกว่าหนังสือ สะดวกในการเข้าถึงและใช้บริการสาหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไปในชุมชน เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเข้าร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ที่หลากหลาย อันเป็นรากฐานสำคัญในการสนับสนุนส่งเสริมและสร้างพลังสังคมไทยให้เป็นสังคมฐานความรู้
โครงการ “ห้องสมุดมีชีวิต” จัดขึ้นเพื่อเป็นการกระตุ้นส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้เห็นความสำคัญและเกิดการพัฒนาห้องสมุดสาธารณะ ซึ่งเป็นแหล่งค้นคว้าแสวงหาความรู้สำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไปในชุมชนให้เป็น “ห้องสมุดมีชีวิต” โดยมีเอกลักษณ์และความงดงามในแบบเฉพาะตนตามบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและสร้างโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ ของ “ห้องสมุดมีชีวิต” เพื่อเป็นการแบ่งปันประสบการณ์และส่งต่อประกายความคิดและนวัตกรรมการบริหารจัดการของอุทยานการเรียนรู้ไปสู่แนวคิดในการ
ประยุกต์ใช้ส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนและประชาชนทั่วไป เกิดจิตสำนึกในการแสวงหาสั่งสมความรู้และรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ในชุมชนมากขึ้น
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ห้องสมุดสาธารณะทั่วประเทศที่ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป อาทิ
1. ห้องสมุดประชาชนในสังกัดสำนักงานการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ห้องสมุดประชาชนจังดวัด , ห้องสมุดประชาชนอำเภอ , ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี, หอสมุดรัชมังคลาภิเษก
2. ห้องสมุดประชาชนในสังกัดสำนักสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร อาทิ ห้องสมุดประชาชนกรุงเทพมหานคร , บ้านหนังสือ , ห้องสมุดประชาชนเคลื่อนที่
3. ห้องสมุดประชาชน , ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในสังกัดองค์การบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น
4. ห้องสมุดเอกชน , ห้องสมุดของหน่วยงานเอกชนและองค์กรเอกชนต่าง ๆ
5. ห้องสมุดโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่ชุมชนให้การสนับสนุน
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2548 - 31 ตุลาคม 2549
ประเภทของการดำเนินกิจกรรม ประกอบด้วย 2 โครงการ
1. โครงการประกวดห้องสมุดมีชีวิต
2. โครงการอบรมสัมมนา บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด
โครงการ “ห้องสมุดมีชีวิต” มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อเป็นการกระตุ้นส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานต่าง ๆ เห็นความสำคัญและเกิดการพัฒนาห้องสมุดสาธารณะ ซึ่งเป็นแหล่งค้นคว้าแสวงหาความรู้สำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไปในชุมชนให้เป็น “ห้องสมุดมีชีวิต” โดยมีเอกลักษณ์และความงดงามในแบบเฉพาะตนตามบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
2. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและสร้างโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ และผู้ที่สนใจได้พัฒนา “ห้องสมุดมีชีวิต”
3. เพื่อเป็นการแบ่งปันประสบการณ์และส่งต่อประกายความคิดของ “ห้องสมุดมีชีวิต” และนวัตกรรมการบริหารจัดการของอุทยานการเรียนรู้และนำแนวคิดไปประยุกต์ใช้
4. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนและประชาชนทั่วไป เกิดการแสวงหาสั่งสมความรู้
และรักการเรียนรู้ตลอดชีวิตจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ในชุมชนมากขึ้น
กลุ่มเป้าหมาย ห้องสมุดสาธารณะทั่วประเทศที่ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป
1. ห้องสมุดประชาชนในสังกัดสำนักงานบริการการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ :
ห้องประชาชนจังหวัด , ห้องสมุดประชาชนอำเภอ , ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี , หอสมุดรัชมังคลาภิเษก
2. ห้องสมุดประชาชนในสังกัดสำนักสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร : ห้องสมุดประชาชน
กรุงเทพมหานคร , บ้านหนังสือ , ห้องสมุดประชาชนเคลื่อนที่
3. ห้องสมุดประชาชนในสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น : ห้องสมุดประชาชน , ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน
4. ห้องสมุดเอกชน , ห้องสมุดของหน่วยงานเอกชนและองค์กรเอกชนต่าง ๆ
5. ห้องสมุดเฉพาะอื่น ๆ : ห้องสมุดเสมือน , ห้องสมุดแถบเสียง
6. ห้องสมุดโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่ชุมชนให้การสนับสนุน
ระยะเวลาดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2548 - 31 ตุลาคม 2549
เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการประกวด
1. ต้องเป็นห้องสมุดที่เปิดให้บริการตลอดทั้งปี 6 วันทำการยกเว้นวันหยุดราชการแก่สาธารณชนทั่วไป
2. ต้องเป็นห้องสมุดที่มีกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการอ่านกับชุมชน
3. บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดและผู้บริหาร ตลอดจนบุคลากรในห้องสมุดนั้น ๆ มีความสนใจ กระตือรือร้นในการพัฒนาห้องสมุดอย่างต่อเนื่องตลอดโครงการ
4. ถ้าห้องสมุดของท่านได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการต้องมีผู้แทนอย่างน้อย 1 คนเข้าร่วม
กิจกรรมของโครงการ
5. รับจำนวนจำกัดเพียง 200 แห่งที่ส่งใบสมัคร พร้อมหลักฐานครบถวนและตรงตามเงื่อนไข
? กรอกรายละเอียดใบสมัครให้ชัดเจน
? จัดส่ง Portfolio ห้องสมุด ประกอบด้วย
- ข้อมูลเกี่ยวกับห้องสมุด
- ผลงานที่ทำในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี
- แผนงานและกิจกรรมในปี 2549
- แผนงานการปรับปรุงและพัฒนาห้องสมุด
รายละเอียดการดำเนินงานโครงการประกวด
1. ช่วงการเตรียมการ
? ติดต่อประสานงานคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการและคณะกรรมการดำเนินงาน
? จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์โครงการ
? ออกแบบและผลิต TK poster stand
2. ดำเนินการประสานงานห้องสมุดสาธารณะทั่วประเทศ
? ประชาสัมพันธ์เชิญชวนห้องสมุดสาธารณะเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
? เปิดรับสมัคร วันที่ 15 มีนาคม - 20 เมษายน 2549
? ตรวจสอบใบสมัครและหลักฐาน
? รับจำนวนจำกัดเพียง 200 แห่งที่ส่งใบสมัคร พร้อมหลักฐานครบถ้วนและตรงตามเงื่อนไข
3. ห้องสมุดที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการจะได้รับ
? TK poster stand จำนวน 1 ชุด
? ผู้แทน 1 ท่าน ของห้องสมุดที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ได้รับสิทธิ์เข้ารับ
การอบรมตั้งแต่ต้นจนจบโครงการ
4. จัดอบรมสัมมนาบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ครั้งที่ 1 : กรุงเทพมหานคร
ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน (วันที่ 20-22 พ.ค. 2549)
? หัวข้อ “นวัตกรรมห้องสมุด โดยวิทยากรจากต่างประเทศ
- มารู้จักห้องสมุดมีชีวิตกันเถอะ
- สัมมนาเชิงปฏิบัติการ Workshop 4 หัวข้อ (แบ่งกลุ่มย่อยกลุ่มละ 50 คน)
? เยี่ยมชมห้องสมุดต้นแบบ TK park,ห้องสมุดมารวย, ห้องสมุดแสงอรุณ, ห้องสมุดเกอเธ่
? ความเข้าใจในโครงการประกวดห้องสมุดมีชีวิตในรูปแบบที่เหมาะสมกับชุมชน
5. ประสานงานและติดตามการทำแผน และดำเนินการพัฒนา ปรับปรุงของห้องสมุดทั้ง 200 แห่ง หลังเข้ารับการอบรมครั้งที่ 1 ในระยะเวลา 45 วัน
6. จัดอบรม สัมมนา บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ครั้งที่ 2: กรุงเทพมหานคร
ระยะเวลา 2 วัน 1 คืน (วันที่ 7-8 ก.ค. 2549)
หัวข้อ : เน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชน
? บ้านเราคือห้องเรียนที่ยั่งยืน
? เติมชีวิตให้ห้องสมุดของเราอย่างไร (แบ่งกลุ่มย่อย / เลขาฯ กลุ่มสังเกตการณ์)
? ร่วมกันกำหนดตัวชี้วัด KPI (Key Performance Indicator)
? ปรึกษาโครงการประกวดห้องสมุดมีชีวิต
7. ประสานงานและติดตามการทำแผนและดำเนินการพัฒนา ปรับปรุงของห้องสมุดทั้ง 200 แห่ง หลังเข้ารับการอบรมครั้งที่ 2 ในระยะเวลา 45 วัน และส่ง Portfolio สรุปผลการพัฒนาและการดำเนินโครงการของห้องสมุดภายในวันที่ 31 ส.ค. 2549
8. รับและตรวจสอบ Portfolio สรุปผลการพัฒนาและการดำเนินโครงการของห้องสมุดทั้ง 200 แห่ง
9. รับคัดเลือก : พิจารณาคัดเลือกให้เหลือห้องสมุดเพียง 30 แห่ง จากการตรวจสอบ Portfolio
สรุปผลการพัฒนาและการดำเนินโครงการของห้องสมุดทั้ง 200 แห่ง โดยพิจารณาจาก
? เปรียบเทียบผลการดำเนินงานก่อนและหลัง
? สถิติการยืม คืน หนังสือ สื่อ และการใช้บริการของคนในชุมชน
? อัตราการเข้าร่วมกิจกรรม
? อื่น ๆ
หมายเหตุ
1. ห้องสมุดที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือกทั้ง 30 แห่ง จะได้รับเกียรติบัตรสนับสนุนโครงการฯ
2. บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด (ผู้แทนจากห้องสมุด) ทั้ง 30 แห่ง จะได้รับ
เข็มกลัดที่ระลึก บรรณารักษ์ในดวงใจ
10. เข้าเยี่ยมชมห้องสมุดที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือก จำนวน 30 แห่ง (โดยไม่แจ้งล่วงหน้า)
เพื่อคัดสรรห้องสมุดที่มีผลงานดี จำนวน 10 แห่ง โดยพิจารณาจาก
? บรรยากาศของห้องสมุด ความสวยงามเหมาะสมของการจัดสถานที่
? การรณรงค์กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในชุมชน
? การบริการงานห้องสมุดกับชุมชน
? สถิติการยืม คืน หนังสือ สื่อ และการใช้บริการของคนในชุมชน
? อัตราการเข้าร่วมกิจกรรมของคนในชุมชน
? การสำรวจชุมชน
? การประเมินบุคลากร
? อื่น ๆ
หมายเหตุ : ห้องสมุดที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 10 แห่ง (วันที่ 24 ต.ค. 2549) เพื่อค้นหา
? รางวัลชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต จำนวน 1 รางวัล
? รางวัลรองชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต จำนวน 4 รางวัล
เกณฑ์การพิจารณาตัดสิน
? การนำเสนอผลการดำเนินโครงการฯ เปรียบเทียบก่อนและหลังการดำเนินการ
? การพิจารณาในเกณฑ์ สัดส่วนการใช้บริการของชุมชน
? การถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์
? การจัดบรรยากาศการอ่านและกิจกรรม
? อื่น ๆ
ประเภทของรางวัลการประกวด
รอบคัดเลือก จำนวน 30 รางวัล
? รางวัลสำหรับห้องสมุดที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือก จำนวน 30 รางวัล
- เกียรติบัตรสนับสนุนโครงการฯ สำหรับห้องสมุด
- เข็มกลัดที่ระลึก บรรณารักษ์ในดวงใจ สำหรับบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่
ห้องสมุด (ผู้แทนจากห้องสมุด)
รอบชิงชนะเลิศ
? รางวัลสำหรับห้องสมุดที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ จำนวน 10 รางวัล
- งบประมาณสนับสนุนการจัดทำ Presentation จำนวน 10,000 บาท
? รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล
- ทุนปรับปรุงห้องสมุด เพื่อจัดหาหนังสือ อุปกรณ์สารสนเทศ เทคโนโลยี
และอื่น ๆ เพื่อเติมชีวิตห้องสมุด มูลค่า 200,000 บาท
- โล่เกียรติยศ สำหรับหน่วยงาน
- เข็มกลัดเกียรติยศและเกียรติบัตร สำหรับบรรณารักษ์หรือ
เจ้าหน้าที่ห้องสมุด (ผู้แทนจากห้องสมุด)
คณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการ
1. ประธานที่ปรึกษาโครงการ
ศาสตราจารย์คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต (นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี)
2. รองประธานที่ปรึกษาโครงการ
อาจารย์อารีรัตน์ วัฒนสิน (รองเลขาธิการ สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
3. กรรมการที่ปรึกษา
อาจารย์วีระ โรจนพจนรัตน์ (รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม)
รศ.ดร. ชุติมา สัจจานนท์ (ตัวแทนจากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
อาจารย์ประนอม เอี่ยมประยูร (รอง ผอ. สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร)
นายธนะชัย สันติชัยกูล (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย)
คณะกรรมการดำเนินงาน
1. ประธานการดำเนินงาน
ดร.ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล (นายกสมาคมนักแปลและล่ามและรองประธานสมาพันธ์องค์กรเพื่อพัฒนาหนังสือและการอ่าน)
2. รองประธานการดำเนินงาน
คุณผานิต เกิดโชคชัย ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสิ่งพิมพ์ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์)
3. กรรมการ
อาจารย์ละเอียด ศรีวรนันท์ (ชบอ.) ประธานชมรมบรรณารักษ์เอกชน
นายสถาพร ฉันท์ประสูตร นักเขียนอิสระ
นางสาวสงวนศรี ตรีเทพปฏิมา นักเขียนอิสระ
นางรุ่งนภา ทัดท่าทราย นักเขียนอิสระ และรอง บก. วารสารวิทยาศาสตร์สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ผู้รับผิดชอบโครงการ บริษัท แปลน ฟอร์คิดส์ จำกัด
เจ้าของโครงการ : สำนักอุทยานการเรียนรู้
สอบถามรายละเอียดได้ที่
บริษัท แปลน ฟอร์คิดส์ จำกัด
โทร. 02-589-5080 ต่อ 411-413
e-mail : premium@planforkids.com