รายงานสถานการณ์อุทกภัย สภาวะอากาศ ปริมาณน้ำฝน และสภาพน้ำท่า วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 เวลา 17.00 น.

ข่าวทั่วไป Thursday November 2, 2006 11:46 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 พ.ย.--ปภ.
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยในภาพรวม (ระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม — 1 พฤศจิกายน 2549)
1.1 ระหว่างวันที่ 27-31 สิงหาคม 2549 วันที่ 9-12 กันยายน 2549 และวันที่ 18-23 กันยายน 2549 ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง พายุดีเปรสชั่นเคลื่อนตัวผ่าน (24-25 ก.ย.49) และพายุดีเปรสชั่น “ช้างสาร” (1-3 ต.ค.49) ทำให้มีฝนตกหนักมากในพื้นที่ ระดับน้ำในแม่น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มริมฝั่งของลำน้ำหลายพื้นที่
1.2 พื้นที่ประสบภัย รวม 47 จังหวัด 386 อำเภอ 32 กิ่งอำเภอ 2,549 ตำบล 14,791 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 3,976,841 คน 1,147,439 ครัวเรือน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม นครนายก ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา และกรุงเทพมหานคร
1.3 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 179 คน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 3 คน จังหวัดเชียงใหม่ 7 คน จังหวัดลำปาง 3 คน จังหวัดสุโขทัย 14 คน จังหวัดพิษณุโลก 12 คน จังหวัดพิจิตร 15 คน จังหวัดเพชรบูรณ์ 1 คน จังหวัดนครสวรรค์ 12 คน จังหวัดอุทัยธานี 7 คน จังหวัดชัยนาท 8 คน จังหวัดสิงห์บุรี 18 คน จังหวัดอ่างทอง 14 คน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 18 คน จังหวัดลพบุรี 2 คน จังหวัดสุพรรณบุรี 4 คน จังหวัดปทุมธานี 6 คน จังหวัดปราจีนบุรี 11 คน จังหวัดจันทบุรี 3 คน จังหวัดชัยภูมิ 7 คน ยโสธร 9 คน ร้อยเอ็ด 2 คน จังหวัดพังงา 1 คน และ กรุงเทพมหานคร 2 คน
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 54 หลัง เสียหายบางส่วน 10,213 หลัง ถนน 6,362 สาย สะพาน 356 แห่ง ท่อระบายน้ำ 396 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 547 แห่ง พื้นที่ทางการเกษตร 3,181,925 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 36,806 บ่อ วัด/โรงเรียน 1,140 แห่ง ความเสียหายอื่น ๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเท่าที่สำรวจได้ ประมาณ 448,226,573 บาท (ไม่รวมทรัพย์สิน บ้านเรือน และความเสียหายด้านการเกษตร)
2. พื้นที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 32 จังหวัด
3. ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม และกรุงเทพมหานคร จำนวน 74 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 16 เขต ราษฎรเดือดร้อน 1,170,291 คน 367,512 ครัวเรือน แยกเป็น
3.1 จังหวัดนครปฐม น้ำที่ระบายจากคลองพระยาบรรลือไหลเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางเลน น้ำท่วมในชุมชนตำบลบัวปากท่า เทศบาลตำบลบางหลวง เทศบาลตำบล ลำพญา เทศบาลตำบลบางภาษี และเทศบาลตำบลบางเลน ระดับน้ำสูง 0.30-1.10 ม. แนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อำเภอพุทธมณฑล น้ำท่วมชุมชนริมคลองมหาสวัสดิ์ ริมคลองโยง และริมคลองทวีวัฒนา ระดับน้ำสูง 0.80-1.00 ม. อำเภอนครชัยศรี น้ำท่วมชุมชนตำบลห้วยพลู ตำบลลานตากฟ้า ตำบลบางแก้วฟ้า และตำบลไทยาวาส ระดับน้ำสูง 0.20-0.40 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัด อำเภอ ได้ให้การช่วยเหลือเบื้องต้น และประสานขอความช่วยเหลือจากหน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
3.2 จังหวัดพิษณุโลก น้ำในแม่น้ำยมยังคงสูงล้นตลิ่งเข้าท่วมที่ลุ่มต่ำ ในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางระกำ (7 ตำบล) และอำเภอพรหมพิราม (2 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.30 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
ทุกหน่วยงานยังคงปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง แจกจ่ายเครื่องอุปโภค-บริโภค จำนวน 30,305 ชุด
3.3 จังหวัดพิจิตร ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร เนื่องจากแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ อำเภอวชิรบารมี (3 ตำบล) อำเภอ สามง่าม (3 ตำบล) อำเภอโพธิ์ประทับช้าง (4 ตำบล) อำเภอโพทะเล (8 ตำบล) อำเภอบางมูลนาก (3 ตำบล) และ กิ่งอำเภอบึงนาราง (2 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.40-0.60 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดพิจิตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมอบถุงยังชีพ 80,029 ชุด ข้าวกล่อง 300,048 กล่อง น้ำดื่ม 104,824 ลิตร ยารักษาโรค 5,924 ชุด เรือท้องแบน 13 ลำ เครื่องสูบน้ำ 34 เครื่อง ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
3.4 จังหวัดนครสวรรค์ ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชุมแสง (9 ตำบล) และอำเภอเก้าเลี้ยว (1 ตำบล) และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ (5 ตำบล) อำเภอโกรกพระ (7 ตำบล) อำเภอพยุหะคีรี (5 ตำบล) และอำเภอท่าตะโก (3 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.30-0.60 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัดนครสวรรค์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มอบถุงยังชีพ 109,215 ชุด น้ำดื่ม 59,416 โหล ยาและเวชภัณฑ์ 21,742 ชุด กระสอบทราย 20,000 ใบ เครื่องสูบน้ำ 25 เครื่อง เรือท้องแบน 35 ลำ ห้องน้ำสำเร็จรูป 87 ห้อง ถังน้ำดื่ม 8 ใบ เครื่องจักรกล 28 คัน เต็นท์ 50 หลัง ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
3.5 จังหวัดอุทัยธานี ยังคงมีน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ที่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสะแกกรัง ของอำเภอเมืองฯ ระดับน้ำสูง 0.10-0.30 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัดอุทัยธานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มอบกระสอบทราย 50,000 ใบ ถุงยังชีพ 26,710 ชุด เรือท้องแบน 18 ลำ เต็นท์ 200 หลัง น้ำดื่ม 90,000 ลิตร น้ำดื่ม 56,888 ขวด ชุดเวชภัณฑ์ 15,669 ชุด รวมทั้ง นพค.15 มทบ.31 อปพร. อส. สถานีวิทยุ 934 สนับสนุนกำลังพลรวม 485 นาย ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่
3.6 จังหวัดชัยนาท มีน้ำท่วมใน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ (5 ตำบล) อำเภอมโนรมย์ (4 ตำบล) อำเภอวัดสิงห์ (7 ตำบล) และอำเภอสรรพยา (7 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.30-0.80 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มอบถุงยังชีพ 62,368 ชุด กระสอบทราย 272,800 ใบ น้ำดื่มขนาด 1,000 ลิตร 260 ถัง น้ำดื่มชนิดขวด 2,000 ขวด น้ำประปา 4,933,000 ลิตร ชุดเวชภัณฑ์ 7,948 ชุด เต็นท์ 185 หลัง เครื่องสูบน้ำ 45 เครื่อง เรือท้องแบน 38 ลำ ส้วมชั่วคราว 157 ที่
3.7 จังหวัดลพบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ (8 ตำบล) และอำเภอท่าวุ้ง (9 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.40 ม. ระดับน้ำลดลง
การให้ความช่วยเหลือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำ 93 เครื่อง เรือท้องแบน 46 ลำ รถแบ็คโฮ 2 คัน รถเกรด 4 คัน ถุงยังชีพ 16,616 ชุด รถกู้ภัย 11 คัน และกระสอบทราย 37,800 ใบ กำลังพลจากหน่วยทหาร อปพร. อส. 735 นาย ช่วยเหลือผู้ประสบภัย เสริมคันดินป้องกันน้ำท่วมบริเวณริมคลองชัยนาท-ป่าสัก
3.8 จังหวัดสระบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอดอนพุด (4 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.80-1.20 ม. และอำเภอหนองแซง (1 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50 ม.
การให้ความช่วยเหลือ แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค 4,095 ชุด น้ำดื่ม 24,682 ขวด ยารักษาโรค 4,586 ชุด เสื้อผ้า 45 ชุด เครื่องสูบน้ำ 34 เครื่อง เรือท้องแบน 48 ลำ ถังน้ำขนาด 1,000 ลิตร 30 ถัง เต็นท์ที่พักชั่วคราว 61 หลัง กระสอบทราย 8,272 ถุง อาหารกล่อง 1,520 ชุด พร้อมสนับสนุนน้ำมันเติมเครื่องสูบน้ำ 7,841 ลิตร
3.9 จังหวัดสิงห์บุรี มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรใน 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ อำเภออินทร์บุรี อำเภอพรหมบุรี อำเภอท่าช้าง อำเภอบางระจัน และอำเภอค่ายบางระจัน ระดับน้ำสูง 0.40-1.80 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
1) จังหวัดสิงห์บุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย มอบถุงยังชีพ 68,038 ชุด ยารักษาโรค 22,700 ชุด รถขุด 7 คัน เรือท้องแบน 42 ลำ เครื่องสูบน้ำ 68 เครื่อง รถบรรทุก 56 คัน
2) กำลังพล ทหารหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ 70 นาย ม.พัน 20 รอ. 85 นาย ศูนย์การทหาร ปืนใหญ่ 130 นาย ศูนย์การบินทหารบก 33 นาย มทบ.13 30 นาย กองพันทหารม้าที่ 5 รอ. 1,180 นาย
3.10 จังหวัดอ่างทอง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย ล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มริมแม่น้ำใน 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ อำเภอป่าโมก อำเภอไชโย ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-1.70 ม. ส่วนที่อำเภอแสวงหา อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอสามโก้ (4 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.40-1.45 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัดอ่างทอง อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยทหาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ มูลนิธิฯ องค์กรเอกชน ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย จัดส่งรถผลิตน้ำดื่มเคลื่อนที่ 4 คัน เต็นท์ที่พักอาศัยชั่วคราว 182 หลัง น้ำดื่ม 361,761 ขวด ถุงยังชีพ 74,179 ชุด ยาและเวชภัณฑ์ 22,300 ชุด เรือเหล็ก/ เรือไฟเบอร์/เรือท้องแบน 205 ลำ รถบรรทุก 31 คัน รถยนต์ Pick-up 16 คัน รถ Unimog 7 คัน เครื่องสูบน้ำ 79 เครื่อง สุขาเคลื่อนที่ 155 ห้อง
3.11 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย มีระดับสูงเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นที่ลุ่มริมแม่น้ำในพื้นที่ 16 อำเภอ 3 เทศบาล ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางบาล อำเภอบางไทร อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอมหาราช อำเภอท่าเรือ อำเภอนครหลวง อำเภอบางปะหัน อำเภอบางปะอิน อำเภอบ้านแพรก อำเภอภาชี อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอวังน้อย อำเภออุทัย อำเภอบางซ้าย เทศบาลเมืองเสนา เทศบาลเมืองอโยธยา และเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำสูง 0.20-1.70 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หน่วยทหาร อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มูลนิธิฯ องค์กรเอกชน ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมอบถุงยังชีพ 240,711 ชุด เต็นท์ 183 หลัง เรือท้องแบน 30 ลำ เรือไม้/เรือเหล็ก/เรือไฟเบอร์ 826 ลำ รถบรรทุกน้ำ 40 คัน รถแบ็คโฮ 10 คัน เครื่องสูบน้ำ 100 เครื่อง กระสอบทราย 681,290 ใบ รถผลิตน้ำดื่ม 1 คัน ห้องสุขาลอยน้ำ 70 ห้อง กำลังพล 4,522 คน สนับสนุนหญ้าแห้งอาหารสัตว์ 63,000 กก. ออกหน่วยเคลื่อนที่ตรวจรักษาโรคแจกจ่ายยาเวชภัณฑ์จำนวน 20,884 ชุด ตั้งโรงทานประกอบอาหารเลี้ยงผู้ประสบภัย
3.12 จังหวัดสุพรรณบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของจังหวัด เนื่องจากน้ำที่ท่วมจังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง ไหลหลากเข้าทุ่งทำให้ท่วมบ้านเรือนราษฎร 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ (7 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.45-0.65 ม. และอำเภอบางปลาม้า (7 ตำบล) ระดับน้ำสูง 1.00-1.55 ม. ส่วนอำเภอสองพี่น้อง น้ำท่วมพื้นที่การเกษตร ระดับน้ำสูง 1.00-2.00 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยทหาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมอบถุงยังชีพ 95,234 ชุด กระสอบทราย 300,000 ใบ เครื่องสูบน้ำ 35 เครื่อง พล ร.9 และศูนย์ ปภ. เขต 2 สุพรรณบุรี จัดรถบริการรับส่งประชาชนและเรือท้องแบนให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ที่ประสบภัย
3.13 จังหวัดปทุมธานี น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ ระดับน้ำสูง 0.40-0.50 ม. อำเภอสามโคก และอำเภอลาดหลุมแก้ว ระดับน้ำสูง 0.50-1.00 ม. มีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำหรับอำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี และอำเภอลำลูกกา ระดับน้ำสูง 0.20-0.50 ม. ระดับน้ำทรงตัว
การให้ความช่วยเหลือ
1) จังหวัดปทุมธานีได้ระดมสรรพกำลังจากทุกหน่วยงานไปช่วยเสริมกระสอบทรายริมแม่น้ำ เพื่อป้องกันมิให้น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่เหมือนเช่นปี 2538 ที่ผ่านมา พร้อมกับมอบถุงยังชีพผู้ประสบภัย 16,914 ชุด
2) การประปานครหลวง ได้เสริมกระสอบทราย จำนวน 150,000 ใบ เป็นคันป้องกันน้ำ เพื่อไม่ให้ไหลจากคลองบางกระดีเข้าท่วมบริเวณคลองประปาในพื้นที่ตำบลบางพูน
3.14 จังหวัดนนทบุรี น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงประกอบกับมีน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้มีน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำของอำเภอปากเกร็ด และอำเภอเมืองฯ ระดับน้ำสูง 0.40-0.60 ม. ส่วนพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำของกรมชลประทานจากทุ่งเจ้าเจ็ดผ่านคลองพระยาบรรลือ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางกรวย อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ และอำเภอไทรน้อย ระดับน้ำสูง 0.50-1.85 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
1) จังหวัด หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือท้องแบน 24 ลำ กระสอบทราย 1,768,495 ใบ เครื่องสูบน้ำ 169 เครื่อง ถุงยังชีพภาครัฐและเอกชน 38,204 ชุด สร้างสะพานไม้ชั่วคราว 68 แห่ง กำลังพลช่วยเหลือผู้ประสบภัย 1,379 นาย รวมทั้งช่วยเหลือด้านยารักษาโรค และจัดรถบริการรับส่งประชาชนและเรือท้องแบนให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ที่ประสบภัย
2) จังหวัดได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำคันดินกันน้ำในลำคลองสายหลักและลำคลองสาขา พร้อมประสานกรมชลประทานนำเครื่องสูบน้ำ และเครื่องผลักดันน้ำ เร่งระบายน้ำออกสู่แม่น้ำท่าจีน
3.15 กรุงเทพมหานคร ปริมาณน้ำในเขตทุ่งฝั่งตะวันออกมีมาก ทำให้มีน้ำท่วมขัง 4 เขต ได้แก่ เขตลาดกระบัง (16 ชุมชน) เขตมีนบุรี (2 ชุมชน) เขตหนองจอก (21 ชุมชน) และเขตสายไหม (2 ชุมชน) ระดับน้ำเฉลี่ยสูงประมาณ 0.10-0.40 ม. และพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย คลองมหาสวัสดิ์ นอกแนวคันกั้นน้ำมีราษฎรเดือดร้อนใน 11 เขต 33 ชุมชน 2,111 ครัวเรือน
การให้ความช่วยเหลือ
1) สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ได้เสริมกระสอบทรายเป็นแนวกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจากเดิมที่ทำไว้ 2.50 ม.รทก. เป็น 2.70-2.90 ม.รทก. พร้อมใช้เครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ได้จัดเตรียมกระสอบทรายเพิ่มเติม 600,000 ใบ พร้อมสร้างสะพานไม้เป็นทางเดินชั่วคราว
2) กรุงเทพมหานครและกองบัญชาการทหารสูงสุด ได้จัดส่งกำลังพลพร้อมเครื่องมือ เครื่องจักรกล ดำเนินการขุดลอกคูคลองตามแนวเหนือใต้ของถนนบางนา-ตราด และถนนมอเตอร์เวย์ ประมาณ 20 คลอง เพื่อเปิดทางน้ำไหลให้ระบายน้ำลงอ่าวไทยได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
4. สิ่งของพระราชทาน
1) ในวันนี้ (1 พ.ย.49) มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ โดยการนำของนายดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการ พร้อมคณะจากส่วนกลางมอบเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ราษฎรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี(ที่บริเวณเชิงเลน ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด 500 ชุด ที่เทศบาลบางม่วง ตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ 500 ชุด ที่บริเวณวัดหลังบาง ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ 500 ชุด ที่ อบต.ศาลากลาง อำเภอบางกรวย 400 ชุด ที่บริเวณวัดศรีประวัติ ตำบลปลายบาง อำเภอบางกรวย 600 ชุด) รวมทั้งหมด 2,500 ชุด
2) ในวันนี้ (1 พ.ย.49) สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับ เหล่ากาชาดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำอาหารปรุงสำเร็จไปมอบให้ผู้ประสบอุทกภัยที่ อำเภอบางซ้าย 1,300 ชุด และที่โรงพยาบาลเสนา อำเภอเสนา 200 ชุด
5. การให้ความช่วยเหลือแก่จังหวัดที่ประสบอุทกภัย
1) ในวันนี้ (1 พ.ย.49) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายบัญญัติ จันทน์เสนะ) เป็นประธานในพิธีรับมอบบ้านพักชั่วคราว (เต็นท์ยกพื้น) จำนวน 50 หลัง จากนายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และเครื่องไซเรนเตือนภัยแบบมือหมุน จำนวน 20 เครื่อง จาก บริษัท แอล เจ บรูน่า (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ณ ลานเอนกประสงค์กระทรวงมหาดไทย ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานงานในการบริจาคดังกล่าว
2) เมื่อวันที่ 31 ต.ค.49 อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) เป็นประธานพิธีปล่อยขบวนคาราวาน “ฮอนด้าร่วมใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม” ณ บริเวณศูนย์ขับขี่ปลอดภัยฮอนด้าสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อออกให้บริการตรวจสภาพ บำรุงซ่อมแซม รถจักรยานยนต์ที่ชำรุดเสียหายจากการถูกน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ระหว่างวันที่ 1-3 พ.ย.49 และในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี อุทัยธานี และชัยนาท ระหว่างวันที่ 5-7 พ.ย.49
3) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ดังนี้
(1) เครื่องจักรกล 149 คัน/เครื่อง เรือท้องแบน 184 ลำ รถผลิตน้ำดื่ม 2 คัน เต็นท์ยกพื้น พักอาศัยชั่วคราว 555 หลัง (อ่างทอง 177 หลัง พระนครศรีอยุธยา 88 หลัง สุโขทัย 20 หลัง นครสวรรค์ 50 หลัง อุตรดิตถ์ 124 หลัง น่าน 39 หลัง ชัยนาท 35 หลัง และ สิงห์บุรี 22 หลัง) พร้อมเจ้าหน้าที่ 642 คน และสนับสนุน ถุงยังชีพ 78,498 ชุด ไปปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
(2) จ่ายเงินค่าจัดการศพ 92 ราย รายละ 15,000 บาท กรณีเป็นหัวหน้าครอบครัว รายละ 40,000 บาท เป็นเงิน 2,575,000 บาท (คงเหลือ 87 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการ) ทั้งนี้จังหวัดที่ประสบภัยได้ใช้จ่ายเงินช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ไปแล้ว 315.22 ล้านบาท
(3) จัดส่งถุงยังชีพ ข้าวสารอาหารแห้ง ผ้าขาวม้า ผ้าถุง รองเท้ายาง ไปสนับสนุนจังหวัด ที่ประสบภัย คิดเป็นมูลค่า 41,649,800 บาท
(4) สนับสนุนขวดบรรจุน้ำดื่ม 500,000 ขวด ให้แก่จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง และจังหวัด ลุ่มน้ำเจ้าพระยา สำหรับนำไปบรรจุน้ำดื่มแจกจ่ายช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัย
4) กรมชลประทาน ได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัยในฤดูฝนปี 2549 ทั้งประเทศ รวม 519 เครื่อง ภาคเหนือ จำนวน 211 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 เครื่อง ภาคตะวันออก 9 เครื่อง ภาคกลาง 279 เครื่อง และภาคใต้ 19 เครื่อง ส่วนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำแล้ว 235 เครื่อง (จังหวัดนนทบุรี 88 เครื่อง จังหวัดปทุมธานี 79 เครื่องกรุงเทพมหานคร 26 เครื่อง จังหวัดสมุทรปราการ 31 เครื่อง จังหวัดสมุทรสาคร 11 เครื่อง) เรือนาค 4 ลำ รถนาค 4 คัน และเครื่องผลักดันน้ำ 28 เครื่อง (จังหวัดสมุทรสาคร 6 เครื่อง กรุงเทพมหานคร 23 เครื่อง) นอกจากนี้ได้เตรียมเครื่องสูบน้ำไว้ช่วยเหลืออุทกภัยในภาคใต้ จำนวน 87 เครื่อง
5) ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก ได้ประสานงานให้ นขต.ศบภ.ทบ. จัดกำลังพล 2,669 นาย รถยนต์บรรทุก 226 คัน และเรือท้องแบน 65 ลำ ให้การช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ประสบอุทกภัย พร้อมรับบริจาคเงิน และสิ่งของจากองค์กรภาคเอกชน ประชาชน ยอดบริจาค จำนวน 6,650,501.15 บาท
6. ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 07.00 น วันที่ 31 ต.ค.49 ถึง 07.00 น วันที่ 1 พ.ย.49 วัดได้ ดังนี้
จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อ.เคียนชา) 52.4 มม. จังหวัดปัตตานี (อ.โคกโพธิ์) 38.0 มม.
จังหวัดสงขลา (อ.ระโนด) 36.8 มม. จังหวัดภูเก็ต (อ.เมือง) 35.9 มม.
จังหวัดนราธิวาส (อ.สุคิริน) 23.0 มม. จังหวัดพัทลุง (อ.ศรีบรรพต) 20.0 มม.
7. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (ข้อมูลวันที่ 1 พ.ย.49) โดยกรมชลประทาน
- เขื่อนภูมิพล ปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 13,291 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 171 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็น ร้อยละ 99 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด วันนี้มีการระบาย 21.41 ล้าน ลบ.ม.
- เขื่อนสิริกิติ์ ปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 9,458 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 52 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 99 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด วันนี้มีการระบาย 19.93 ล้าน ลบ.ม.
- เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 904 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 56 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 94 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด วันนี้มีการระบาย 21.16 ล้าน ลบ.ม.
8. สภาพน้ำท่าในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและแนวโน้มสถานการณ์น้ำ (ข้อมูลวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 โดยกรมชลประทาน)
- ปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำสูงสุด 5,960 ลบ.ม./วินาที เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2549 เวลา 06.00 น. เริ่มลดลงในวันที่ 19 ตุลาคม 2549 และลดลงอย่างต่อเนื่องมาจนถึง วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 มีปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 3,228 ลบ.ม./วินาที เมื่อเวลา 06.00 น. และยังคงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
- ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท มีปริมาณน้ำสูงสุด 4,188 ลบ.ม./วินาที เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2549 เวลา 06.00 น. ปริมาณน้ำทรงตัวและเริ่มลดลงเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2549 และลดลงอย่างต่อเนื่องมาจนถึง วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 มีปริมาณน้ำไหลผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา 3,183 ลบ.ม./วินาที เมื่อเวลา 06.00 น. และยังคงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
- ปริมาณน้ำที่ล้นตลิ่งและผันเข้าทุ่งทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงระหว่าง จ.ชัยนาท - จ.พระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำผันและล้นตลิ่งเข้าทุ่ง 1,177 ลบ.ม./วินาที เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2549 และ มีปริมาณน้ำเข้าทุ่งน้อยลงโดยลำดับมาจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 มีปริมาณน้ำผันและล้นตลิ่งเข้าทุ่ง 386 ลบ.ม./วินาที รวมได้ส่งน้ำเข้าพื้นที่ชลประทาน 1.19 ล้านไร่ คิดเป็นปริมาตรน้ำทั้งหมด 514 ล้าน ลบ.ม.
- ปริมาณน้ำไหลผ่านอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำสูงสุด 3,719 ลบ.ม./วินาที เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2549 ปริมาณน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ปริมาณน้ำไหลผ่านอำเภอบางไทร 3,106 ลบ.ม./วินาที
9. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 เวลา 17.00 น.
พายุไต้ฝุ่น “ซิมารอน” เมื่อเวลา 16.00 น. วันนี้ (1 พฤศจิกายน 2549) มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 18.9 องศาเหนือ ลองจิจูด 116.2 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง ประมาณ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้เกือบไม่เคลื่อนที่ และจะไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย
อนึ่ง มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองกระจาย อ่าวไทยมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือในระยะนี้
10. สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4,11,12 จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ ที่คาดว่าจะเกิดภัยให้เตรียมพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม และคลื่นลมแรง ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ โดยจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานงานกับ อำเภอ กิ่งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากเกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นในจังหวัดใด ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ฯ ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนั้นจัดเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลเข้าสนับสนุนทันที
11 ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตามและรายงานให้ทราบต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ