รายงานสถานการณ์อุทกภัย สภาวะอากาศ ปริมาณน้ำฝน และสภาพน้ำท่า วันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 เวลา 07.00 น.

ข่าวทั่วไป Wednesday November 15, 2006 09:33 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 พ.ย.--ปภ.
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยในภาพรวม (ระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม — 15 พฤศจิกายน 2549)
1.1 ระหว่างวันที่ 27-31 สิงหาคม 2549 วันที่ 9-12 กันยายน 2549 และวันที่ 18-23 กันยายน 2549 ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง พายุดีเปรสชั่นเคลื่อนตัวผ่าน (24-25 ก.ย.49) และพายุดีเปรสชั่น “ช้างสาร” (1-3 ต.ค.49) ทำให้มีฝนตกหนักมากในพื้นที่ ระดับน้ำในแม่น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มริมฝั่งของลำน้ำหลายพื้นที่
1.2 พื้นที่ประสบภัย รวม 47 จังหวัด 406 อำเภอ 32 กิ่งอำเภอ 2,648 ตำบล 16,085 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 4,296,017 คน 1,217,693 ครัวเรือน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม นครนายก ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา และกรุงเทพมหานคร
1.3 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 265 คน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 47 คน พิจิตร 27 คน อ่างทอง 27 คน สิงห์บุรี 21 คน นครสวรรค์ 20 คน สุโขทัย 14 คน พิษณุโลก 12 คน ปราจีนบุรี 12 คน สุพรรณบุรี 15 คน ชัยภูมิ 10 คน ยโสธร 9 คน ชัยนาท 9 คน เชียงใหม่ 7 คน อุทัยธานี 7 คน ปทุมธานี 6 คน ลพบุรี 4 คน แม่ฮ่องสอน 3 คน ลำปาง 3 คน จันทบุรี 3 คน ร้อยเอ็ด 3 คน กรุงเทพมหานคร 2 คน ศรีสะเกษ 2 คน เพชรบูรณ์ 1 คน และพังงา 1 คน
2) 2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 54 หลัง เสียหายบางส่วน 12,015 หลัง ถนน 7,375 สาย สะพาน 490 แห่ง ท่อระบายน้ำ 428 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 561 แห่ง พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย 6,046,111 ไร่ (ข้อมูลจากการบูรณาการระหว่างกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) บ่อปลา/กุ้ง 44,276 บ่อ วัด/โรงเรียน 1,335 แห่ง ความเสียหายอื่น ๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเท่าที่สำรวจได้ ประมาณ 6,432,561,892 บาท
2. พื้นที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 34 จังหวัด (จ.พิษณุโลก และ จ.ชัยนาท เข้าสู่ภาวะปกติ คงมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรที่ลุ่มเป็นบางจุด)
3. ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 13 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม กรุงเทพมหานคร จำนวน 56 อำเภอ 11 เขตแยกเป็น
3.1 จังหวัดพิจิตร ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามง่าม (1 ตำบล) อำเภอโพธิ์ประทับช้าง (4 ตำบล) และอำเภอโพทะเล (4 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.40 ม.
3.2 จังหวัดนครสวรรค์ ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชุมแสง (9 ตำบล) และอำเภอเก้าเลี้ยว (1 ตำบล) และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ (5 ตำบล) อำเภอโกรกพระ (7 ตำบล) อำเภอพยุหะคีรี (4 ตำบล) และอำเภอท่าตะโก (3 ตำบล) ระดับน้ำ
สูงประมาณ 0.10-0.30 ม. ลดลงอย่างต่อเนื่อง
3.3 จังหวัดอุทัยธานี ในพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสะแกกรัง ของอำเภอเมืองฯ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลเกาะเทโพ ท่าซุง และสะแกกรัง ระดับน้ำสูง 0.10-0.25 ม. ระดับน้ำลดลง
3.4 จังหวัดลพบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรที่ติดกับริมแม่น้ำลพบุรีของอำเภอเมืองฯ (8 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.10-0.20 ม. ลดลงอย่างต่อเนื่อง
3.5 จังหวัดสระบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรของอำเภอดอนพุด (3 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.30-0.80 ม. ระดับน้ำลดลง
3.6 จังหวัดสิงห์บุรี ในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ (1 ตำบล) อำเภออินทร์บุรี (1 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.50-0.70 ม. อำเภอพรหมบุรี (2 ตำบล) อำเภอบางระจัน (2 ตำบล) และอำเภอค่ายบางระจัน (1 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.60 ม. ระดับน้ำลดลง
3.7 จังหวัดอ่างทอง ในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ อำเภอป่าโมก อำเภอไชโย ระดับน้ำสูง 0.35-1.10 ม. ส่วนที่อำเภอสามโก้ อำเภอแสวงหา อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอวิเศษชัยชาญ ระดับน้ำสูง 0.30-0.85 ม. ระดับน้ำลดลง
3.8 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในพื้นที่ 13 อำเภอ 3 เทศบาล ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา (14 ตำบล) อำเภอบางบาล (16 ตำบล) อำเภอบางไทร (23 ตำบล) อำเภอผักไห่ (16 ตำบล) อำเภอเสนา (15 ตำบล) อำเภอมหาราช (12 ตำบล) อำเภอบางปะหัน (16 ตำบล) อำเภอบางปะอิน (17 ตำบล) อำเภอบ้านแพรก (5 ตำบล) อำเภอภาชี (8 ตำบล) อำเภอลาดบัวหลวง (6 ตำบล) อำเภอวังน้อย (2 ตำบล) อำเภอบางซ้าย (6 ตำบล) เทศบาลเมืองเสนา เทศบาลเมืองอโยธยา และเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำสูง 0.20-1.00 ม. ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง
3.9 จังหวัดสุพรรณบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของจังหวัด เนื่องจากน้ำที่ท่วมจังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง ไหลหลากเข้าทุ่งทำให้ท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ (3 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.30-0.50 ม. อำเภอบางปลาม้า (7 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.70-1.30 ม. และอำเภอสองพี่น้อง (14 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.85-1.70 ม.
3.10 จังหวัดนครปฐม น้ำที่ระบายจากคลองพระยาบรรลือ คลองพระพิมล คลองบางเลน ไหลเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางเลน (15 ตำบล) เทศบาลตำบลบางหลวง
เทศบาลตำบลลำพญา เทศบาลตำบลบางภาษี และเทศบาลตำบลบางเลน ระดับน้ำสูง 1.00-1.70 ม. อำเภอนครชัยศรี (14 ตำบล) เทศบาลนครชัยศรี (ชุมชนริมคลองบางแก้ว ชุมชนคลองเจดีย์บูชา) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-0.60 ม. อำเภอพุทธมณฑล (4 ตำบล) น้ำท่วมชุมชนริมคลองมหาสวัสดิ์ ริมคลองโยง และริมคลองทวีวัฒนา และอำเภอกำแพงแสน (4 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.50-0.70 ม. เนื่องจากแม่น้ำท่าจีนระบายลงทะเลได้ช้า
3.11 จังหวัดปทุมธานี ในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ อำเภอสามโคก และอำเภอลาดหลุมแก้ว ระดับน้ำสูง 0.50-1.00 ม. เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำหรับอำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี และอำเภอลำลูกกา ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรที่ติดกับริมคลองและพื้นที่การเกษตรบางส่วน ระดับน้ำสูง 0.15-0.30 ม. ระดับน้ำลดลง
3.12 จังหวัดนนทบุรี น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงประกอบกับมีน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้มีน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำของอำเภอปากเกร็ด และอำเภอเมืองฯ ระดับน้ำสูง 0.40-0.60 ม. ส่วนพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำของกรมชลประทานจากทุ่งเจ้าเจ็ดผ่านคลองพระยาบรรลือ และคลองพระพิมลทำให้มีพื้นที่น้ำท่วม 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางกรวย อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ และอำเภอไทรน้อย ระดับน้ำสูง 0.50-1.80 ม.ระดับน้ำทรงตัว
3.13 กรุงเทพมหานคร สถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่ฝั่งตะวันออกเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ยกเว้น พื้นที่นอกแนวคันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์จะมีน้ำท่วมในช่วงที่มีน้ำทะเลหนุน โดยกรุงเทพมหานคร และทุกหน่วยงานยังคงปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง
4. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 เวลา 06.00 น.
มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ฝั่ง อ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปมีฝนชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนที่อาศัย อยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะ 1-2 วันนี้ อนึ่ง ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยแล้ว ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิลดลง
5. ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 01.00 น วันที่ 14 พ.ย.49 ถึง 01.00 น วันที่ 15 พ.ย.49 วัดได้ ดังนี้
จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อ.เมือง) 12.8 มม. จังหวัดพัทลุง (อ.เมือง) 41.4 มม.
จังหวัดตรัง (ท่าอากาศยานตรัง) 2.5 มม.
6. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (ข้อมูลวันที่ 14 พ.ย.49) โดยกรมชลประทาน
- เขื่อนภูมิพล ปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 13,276 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 186 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 99 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด วันนี้มีการระบาย 5.95 ล้าน ลบ.ม.
- เขื่อนสิริกิติ์ ปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 9,443 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 67 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 99 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด วันนี้มีการระบาย 7.98 ล้าน ลบ.ม.
- เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 925 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 33 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 97 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด วันนี้มีการระบาย 0.88 ล้าน ลบ.ม.
7. สภาพน้ำท่าในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและแนวโน้มสถานการณ์น้ำ (ข้อมูลวันที่ 15 พ.ย.49 โดย กรมชลประทาน)
- ปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 1,979 ลบ.ม./วินาที เมื่อเวลา 06.00 น. และยังคงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
- ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท 1,880 ลบ.ม./วินาที เมื่อเวลา 06.00 น. และยังคงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
- ปริมาณน้ำไหลผ่านอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2,431 ลบ.ม./วินาที
๐ ปัจจุบันระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่บริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ลงไปถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้อยู่ต่ำกว่าระดับตลิ่งแล้ว
8. สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4,11,12 จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ปัตตานี และนราธิวาส ที่คาดว่าจะเกิดภัยให้เตรียมพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหา อุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม และคลื่นลมแรง ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่โดยจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานงานกับ อำเภอ กิ่งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากเกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นในจังหวัดใด ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ฯ ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนั้นจัดเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลเข้าสนับสนุนทันที
9.ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตามและรายงานให้ทราบต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ