กรุงเทพฯ--21 ธ.ค.--ทีคิวพีอาร์ (ประเทศไทย)
เป็นข้อเข่าเทียมที่มีความแข็งแรงเทียบเท่ากับข้อเข่าเทียมรุ่นมาตรฐาน และเหมาะสมสำหรับการทำผ่าตัดแผลเล็ก หรือ แบบเนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อยช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติได้อย่างรวดเร็ว
รองศาสตราจารย์นายแพทย์วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท แพทย์ออร์โธปิดิกส์ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมชนิดเนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อย และรองศาสตราจารย์นายแพทย์วิวัตน์ วจนะวิศิษฐ จากโรงพยาบาลรามาธิบดี เผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเสื่อม โดยจัดให้สัมภาษณ์พิเศษเกี่ยวกับ “เทคโนโลยีสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมชนิดเนื้อเยื้อบาดเจ็บน้อย โดยใช้ผิวข้อเข่าเทียมรุ่นใหม่ MISTM Stemmed Tibial Component” ณ ห้องประชุม ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ ชั้น 9 อาคาร 9 ชั้น โรงพยาบาลรามาธิบดี
รองศาสตราจารย์นายแพทย์ วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท ประจำอยู่ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมชนิดเนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อย (Minimally Invasive Surgery for Total Knee Arthroplasty — MISTM Stemmed Tibial Component) โดยเริ่มให้การรักษาด้วยวิธีนี้มาตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2549 โดยใช้ข้อเข่าเทียมรุ่นนี้ในกรณีที่ทำการผ่าตัดแบบเนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อย
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบเนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อย (MIS TKA) แพทย์จะเปิดแผลผ่าตัดเพียงเล็กน้อย ประมาณ 8-10 เซนติเมตร เพื่อหลีกเลี่ยงการตัดกล้ามเนื้อ และลดความชอกช้ำของกล้ามเนื้อจากการผ่าตัด ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในทางเทคนิคการทำผ่าตัดของแพทย์นั้นมีข้อจำกัดเรื่องการใส่ข้อเทียมเข้าไปทดแทนผิวข้อที่ถูกเจียรออกไป ซึ่งการใส่ผิวข้อเทียมเข้าไปในแผลผ่าตัดขนาดเล็ก จำเป็นต้องใช้เครื่องมือผ่าตัดชนิดพิเศษ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวก ทำให้แพทย์สามารถใส่ข้อเข่าเทียมได้ง่ายขึ้น ต่อมาได้มีการวิจัยและพัฒนาผิวข้อเข่าเทียมรุ่นใหม่ขึ้นสำหรับแผลผ่าตัดขนาดเล็ก โดยทำให้ผิวข้อเข่าเทียมด้านล่างมีลักษณะที่แยกออกเป็น 2 ส่วน และสามารถประกอบกันได้ภายในร่างกายผู้ป่วย
“ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ทำการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมโดยใช้การผ่าตัดวิธีเนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อย มาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี รวมประมาณ 450 ราย ซึ่งการผ่าตัดวิธีเนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อยนั้น จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ถูกออกแบบมาพิเศษเพื่อเอื้ออำนวยให้แพทย์สามารถทำผ่าตัดในแผลขนาดเล็กๆ ได้ ซึ่งโดยเฉลี่ย แผลผ่าตัดแบบเนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อยจะยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร แต่เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้อเข่าเทียมแบบ MISTM Stemmed Tibial Component ซึ่งเป็นข้อเข่าเทียมด้านล่างที่ถูกออกแบบโดยแยกออกเป็น 2 ส่วน แทนที่ข้อเข่าเทียมด้านล่างชนิดชิ้นเดียว ซึ่งมีขนาดใหญ่และยาว โดยการพัฒนานี้จะช่วยทำให้แพทย์สามารถทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในแผลขนาดเล็กได้สะดวกขึ้น โดยข้อเข่าเทียมด้านล่างแบบ 2 ส่วนนี้สามารถประกอบกันได้ภายในร่างกายผู้ป่วย จึงช่วยลดขนาดของแผลผ่าตัดให้เล็กลงอีกเล็กน้อย” รองศาสตราจารย์นายแพทย์ วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าว
“เทคโนโลยีสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมชนิดเนื้อเยื้อบาดเจ็บน้อย โดยใช้ผิวข้อเข่าเทียมรุ่นใหม่ MISTM Stemmed Tibial Component ส่งผลให้แพทย์สามารถใส่ข้อเทียมเข้าไปทดแทนผิวข้อของผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น ซึ่งมีความแข็งแรงเทียบเท่ากับข้อเข่าเทียมรุ่นมาตรฐาน แต่ช่วยอำนวยความสะดวกมากขึ้นให้กับแพทย์ในการทำผ่าตัดแบบแผลเล็ก ซึ่งส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์สูงสุด โดยหลังผ่าตัดผู้ป่วยจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้อย่างรวดเร็ว และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หายจากอาการปวดข้อเข่า เดินได้ไกลขึ้น ออกกำลังกายประเภทที่ไม่หนักเกินไปได้ อาทิ เดินเร็ว ว่ายน้ำ เต้นลีลาศ เป็นต้น” รองศาสตราจารย์นายแพทย์วิวัตน์ วจนะวิศิษฐ จากโรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าว
ข้อเข่าเทียมประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ 1. ข้อเข่าเทียมด้านบน (Femur) 2. ข้อเข่าเทียมด้านล่าง (Tibia) 3. พลาสติกรองข้อเข่า (Articular Surface) 4. ลูกสะบ้า (Patella) ซึ่ง MISTM Stemmed Tibial Component คือข้อเข่าเทียมด้านล่างรุ่นใหม่ที่ถูกออกแบบ ให้แยกออกเป็น 2 ส่วนย่อยๆ และสามารถนำมาประกอบกันได้ภายในร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งเมื่อถูกประกอบกันแล้วจะมีขนาดและรูปทรงใกล้เคียงกับรุ่นมาตรฐานซึ่งเป็นแบบชิ้นเดียว จึงทำให้ข้อเข่าเทียมรุ่นใหม่ MISTM Stemmed Tibial Component มีความแข็งแรง และมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับข้อเข่าเทียมแบบมาตรฐาน
ปัจจุบันข้อเข่าเทียมรุ่นใหม่ เป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ออร์โธปิดิกส์ในประเทศไทย และทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสะดวกในการใช้ ช่วยลดเวลาในการทำผ่าตัด ข้อเข่าเทียมรุ่นใหม่ “MISTM Stemmed Tibial Component” นับเป็นตัวเลือกของข้อเข่าที่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดแบบเนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อย ซึ่งมีขนาดของแผลผ่าตัดที่จำกัด ซึ่งคาดว่าจะได้รับความสนใจจากแพทย์ออร์โธปิดิกส์ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบเนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อย
สอบถามรายละเอียด หรือต้องการภาพที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม กรุณาติดต่อที่:
คุณฤทัยวรรณ ตันวงษ์วาน
บริษัท ทีคิวพีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด
โทร. 0-2260-5820 ต่อ 114
โทรสาร. 0-2260-5847-8
อีเมล์ tqprthai@tqpr.com หรือ
คุณสิริรัตน์ จันทวงษ์วาณิชย์
บริษัท ซิมเมอร์ เมดิคัล (ประเทศไทย) จำกัด
โทร. 0-2638-1900 ext. 1924
อีเมล์ sirirat.jantavongvanich@zimmer.com
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net