รายงานสถานการณ์อุทกภัย สภาวะอากาศ ปริมาณน้ำฝน และสภาพน้ำท่า เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2549 เวลา 18.00 น.

ข่าวทั่วไป Wednesday September 27, 2006 11:13 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 ก.ย.--ปภ.
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำ และพายุดีเปรสชั่น (ระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม — 26 กันยายน 2549)
1.1 ระหว่างวันที่ 27-31 สิงหาคม 2549 วันที่ 9-12 กันยายน 2549 และวันที่ 18-23 กันยายน 2549 ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง และพายุดีเปรสชั่นเคลื่อนตัวผ่าน (24-25 ก.ย.49) ทำให้มีฝนตกหนักมากในพื้นที่ เป็นเหตุทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำมีปริมาณน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มริมฝั่งของลำน้ำหลายพื้นที่
1.2 พื้นที่ประสบภัย รวม 24 จังหวัด 122 อำเภอ 8 กิ่งอำเภอ 712 ตำบล 3,755 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 499,586 คน 151,123 ครัวเรือน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน สุโขทัย พิษณุโลก แพร่ กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ ลำพูน ลำปาง ตาก พิจิตร พะเยา เพชรบูรณ์ จันทบุรี พังงา นครสวรรค์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ชัยภูมิ เชียงราย และสิงห์บุรี
1.3 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 12 คน จังหวัดลำปาง 2 คน (อำเภอแม่เมาะ 1 อำเภองาว 1) จังหวัดสุโขทัย 3 คน (อำเภอเมือง 1 อำเภอสวรรคโลก 2) จังหวัดพิษณุโลก 5 คน (อำเภอบางระกำ) จังหวัดเพชรบูรณ์ 1 คน (อำเภอเมือง) และจังหวัดชัยภูมิ 1 คน (อำเภอจัตุรัส)
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 23 หลัง เสียหายบางส่วน 1,065 หลัง ถนน 943 สาย สะพาน 176 แห่ง ท่อระบายน้ำ 347 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 435 แห่ง พื้นที่ทางการเกษตร 888,151 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 5,294 บ่อ วัด/โรงเรียน 81 แห่ง ความเสียหายอื่น ๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเท่าที่สำรวจได้ ประมาณ 143,045,157 บาท
2. พื้นที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ ลำพูน ลำปาง พะเยา เพชรบูรณ์ จันทบุรี พังงา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สระบุรี และเชียงราย โดยทุกหน่วยงานยังคงปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่ม การฟื้นฟู ล้างทำความสะอาดโรงเรียน สถานีอนามัย และการซ่อมแซมถนน สะพาน ที่ชำรุดเสียหายให้สามารถใช้การได้แล้ว
3. พื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 9 จังหวัด เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่านพื้นที่สูงกว่าตลิ่ง ได้แก่จังหวัดชัยภูมิ พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ ตาก สิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา ดังนี้
3.1 จังหวัดชัยภูมิ น้ำในแม่น้ำชีเอ่อล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร อำเภอบ้านเขว้า ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นการเกษตรที่ตำบลลุ่มลำชี (หมู่ที่ 10,14,16,17) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 ม. ระดับน้ำลดลง
การให้ความช่วยเหลือ
- สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชัยภูมิ อำเภอ เทศบาล อบต. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้ออกให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว
- อำเภอบ้านเขว้ามอบถุงยังชีพ 500 ชุด ช่วยเหลือผู้ประสบภัยตำบลลุ่มลำชี
3.2 สำหรับจังหวัดในลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่าน รวม 4 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ริมแม่น้ำ และพื้นที่การเกษตรในที่ลุ่มที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ได้แก่
- จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางระกำ 10 ตำบล (ต.บางระกำ ต.ปลักแรด ต.บึงกอก ต.หนองกุลา ต.ชุมแสงสงคราม ต.นิคมพัฒนา ต.บ่อทอง ต.ท่านางงาม ต.คุยม่วง และ ต.วังอิทก) อำเภอพรหมพิราม 3 ตำบล (ต.ท่าช้าง ต.หนองแขม และ ต.พรหมพิราม)
- จังหวัดสุโขทัย จำนวน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสวรรคโลก 10 ตำบล (ต.ป่ากุมเกาะ ต.ในเมือง ต.วังไม้ขอน ต.นาทุ่ง ต.ย่านยาว ต.คลองกระจง ต.ท่าทอง ต.เมืองบางยม ต.เมืองบางขลัง และ ต.หนองกลับ)อำเภอศรีสำโรง 12 ตำบล (ต.สามเรือน ต.วัดเกาะ ต.บ้านนา ต.วังทอง ต.วังใหญ่ ต.คลองตาล ต.ทับผึ้ง ต.บ้านไร่ ต.บ้านซ่าน ต.ราวต้นจันทน์ ต.เกาะตาเลี้ยง และ ต.วังลึก) อำเภอเมือง 8 ตำบล 1 เทศบาล (ต.ยางซ้าย ต.ปากพระ ต.บ้านสวน ต.บ้านหลุม ต.ตาลเตี้ย ต.วังทองแดง ต.ปากแคว ต.บ้านกล้วย และเทศบาลตำบลบ้านสวน) อำเภอ กงไกรลาศ 10 ตำบล (ต.ท่าฉนวน ต.บ้านกร่าง ต.กง ต.ป่าแฝก ต.หนองตูม ต.ไกรกลาง ต.กกแรต ต.บ้านใหม่สุขเกษม ต.ไกรนอก และ ต.ดงเดือย) และ อำเภอคีรีมาศ 5 ตำบล (ต.บ้านป้อม ต.ทุ่งหลวง ต.สามพวง ต.โตนด และ ต.หนองกระดิ่ง)
- จังหวัดพิจิตร จำนวน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 8 ตำบล (ต.ในเมือง ต.ฆะมัง ต.บ้านบุ่ง ต.ปากทาง ต.ย่านยาว ต.สายคำโห้ ต.ป่ามะคาบ และ ต.หัวดง) อำเภอสามง่าม 3 ตำบล (ต.รังนก ต.กำแพงดิน และต.สามง่าม) อำเภอวชิรบารมี 3 ตำบล (ต.วังโมกข์ ต.หนองหลุม และ ต.บ้านนา) อำเภอโพธิ์ประทับช้าง 1 ตำบล (ต.วังจิก) อำเภอโพทะเล 8 ตำบล (ต.ทะนง ต.ท่าขมิ้น ต.ท่าบัว ต.ท่านั่ง ต.ท่าเสา ต.ท้ายน้ำ ต.บางคลาน และ ต.โพทะเล)
- จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 10 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลนครนครสวรรค์ ต.เกรียงไกร ต.พระหลวง ต.บึงเสนาท ต.แควใหญ่ ต.วัดไทรย์ ต.บ้านแก่ง ต.กลางแดด ต.สวรรค์ออก ต.พระนอน และ ต.บ้านมะเกลือ) อำเภอชุมแสง 11 ตำบล (ต.โคกหม้อ ต.บางเคียน ต.ท่าไม้ ต.ฆะมัง ต.พิกุล ต.หนองกระเจา ต.พันลาน ต.เกยไชย ต.ทับกฤชใต้ ต.ทับกฤช และ ต.ไผ่สิงห์) อำเภอหนองบัว 2 ตำบล (ต.ห้วยร่วม และ ต.ห้วยถั่วเหนือ) อำเภอเก้าเลี้ยว 1 ตำบล (ต.หนองเต่า) อำเภอโกรกพระ 4 ตำบล (ต.ยางตาล ต.โกรกพระ ต.บางมะฝ่อ ต.บางประมุง อำเภอพยุหะคีรี 3 ตำบล (ต.ยางขาว ต.พยุหะ และ ต.ย่านมัทรี) อำเภอบรรพตพิสัย 2 ตำบล (ต.หนองตางู และ ต.หนองกรด) และ อำเภอท่าตะโก 1 ตำบล ระดับน้ำสูงเฉลี่ยประมาณ 0.50-0.80 ม. มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนการให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ นั้น ทุกหน่วยงานยังคงปฏิบัติงานการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง
- ระดับน้ำในแม่น้ำยม ที่ฝายบางบ้า อำเภอบางระกำ เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 26 ก.ย.49 ระดับน้ำสูง 42.76 ม. (ระดับตลิ่ง 40.50 ม.) ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 2.26 ม.
- ระดับน้ำในแม่น้ำยม เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 26 ก.ย.49 ที่สถานี Y.33 อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 10.58 ม. (ระดับตลิ่ง 10.00 ม.) สูงกว่าตลิ่ง 0.58 ม. ที่สถานี Y.4 อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 6.58 ม. (ระดับตลิ่ง 7.45 ม.) ต่ำกว่าตลิ่ง 0.87 ม. และที่ฝายยางบ้านกง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 10.43 ม. (ระดับตลิ่ง 9.00 ม.) สูงกว่าตลิ่ง 1.43 ม.
3.3 จังหวัดตาก น้ำในแม่น้ำวังเอ่อล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 2 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอสามเงา น้ำเอ่อไหลเข้าท่วมในพื้นที่การเกษตร 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลยกกระบัตร (หมู่ที่ 1-5,7-10) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80-1.50 ม. ราษฎรหมู่ที่ 1,2,9 ได้ขนย้ายสิ่งของที่จำเป็นไปไว้ในที่สูง ตำบลวังจันทร์ (หมู่ที่ 1-4) เนื่องจากแม่น้ำวังที่จะไหลไปสมทบกับแม่น้ำปิงคับแคบ ทำให้น้ำระบายไม่ทันเอ่อล้นเข้าท่วม ในพื้นที่ คาดว่าประมาณ 4-5 วัน จะลดลงเข้าสู่ภาวะปกติ
2) อำเภอบ้านตาก น้ำเอ่อไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรของตำบลแม่สลิด (หมู่ที่ 1-5,10,11) โดยเฉพาะหมู่ที่ 4,5,11 น้ำท่วมสูงประมาณ 1.00-1.30 ม. ในวันนี้ (26 ก.ย.49) อบต.แม่สลิด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อปพร. กำลังทำการอพยพราษฎร (เด็กและผู้สูงอายุ) ไปอาศัยอยู่ที่โรงเรียนวัดยางโอง
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดตาก ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 8 กำแพงเพชร สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดตาก ตชด.34 และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำเครื่องจักร เรือท้องแบน และกำลังพล เข้าช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่
- เหล่ากาชาดจังหวัดได้นำถุงยังชีพไปแจกจ่ายให้แก่ราษฎรที่ประสบภัย
3.4 จังหวัดสิงห์บุรี มีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรที่อำเภออินทร์บุรี 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่านาง (หมู่ที่ 7-11) ตำบลชีน้ำร้าย (หมู่ที่ 1-8) และตำบลทองเอน (หมู่ที่ 5-15) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
3.5 จังหวัดอ่างทอง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรพื้นที่การเกษตร ที่อยู่ริมน้ำซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง เกิดน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรพื้นที่การเกษตร 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลจำปาหล่อ (หมู่ที่ 1-6) ตำบลบ้านอิฐ (หมู่ที่ 10 ) ตำบลย่างซื่อ (หมู่ที่ 1,3,4) และตำบลบ้านแห (หมู่ที่ 6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.70 ม. ระดับน้ำสูงขึ้น
2) อำเภอป่าโมก มีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลโผงเผง (หมู่ที่ 1-8) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.90-1.50 ม. ตำบลบางปลากด (หมู่ที่ 6) และตำบลบางเสด็จ (หมู่ที่ 2,3,5,6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-0.50 ม. ระดับน้ำสูงขึ้น
3) อำเภอไชโย มีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร 1 เทศบาล 6 ตำบล ได้แก่ เทศบาลตำบลจระเข้ร้อง (หมู่ที่ 2,4,7) ตำบลซะไว (หมู่ที่ 1-3) ตำบลตรีณรงค์ (หมู่ที่ 1-3) ตำบลชัยฤทธิ์ (หมู่ที่ 1) ตำบลหลักฟ้า (หมู่ที่ 1,2) ตำบลไชยภูมิ (หมู่ที่ 6) และตำบลเทวราช (หมู่ที่ 1-7) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-0.50 ม. ระดับน้ำสูงขึ้น
4) อำเภอแสวงหา มีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรที่ตำบลบ้านพราน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอ่างทอง ได้จัดส่งถุงยังชีพให้อำเภอป่าโมก เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ประสบภัย
- อำเภอป่าโมก อบต.โผงเผง อบต.บางเสด็จ และ อปพร. เสริมคันกั้นน้ำโดยนำกระสอบทรายไปวางเป็นแนวป้องกันไว้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน พร้อมเร่งสูบน้ำระบายออกในจุดที่ทำแนวป้องกันในเขตชุมชน
3.6 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อยมีระดับสูงขึ้นเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่มริมฝั่งบางจุดใน 5 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอพระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไหลเข้าท่วมในพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลภูเขาทอง และตำบลบ้านใหม่ ซึ่งอยู่นอกแนวป้องกั้นน้ำท่วม ระดับน้ำสูง 0.70-1.00 ม.
2) อำเภอบางบาล น้ำในแม่น้ำน้อยได้เอ่อท่วมในพื้นที่บ้านเรือนราษฎรริมน้ำ และพื้นที่การเกษตร 16 ตำบล ได้แก่ ตำบลน้ำเต้า (หมู่ที่ 1-8) ตำบลทางช้าง (หมู่ที่ 1-6) ตำบลวัดตะกู (หมู่ที่ 1-9) ตำบลกบเจ้า (หมู่ที่ 1-9) ตำบลบางหลวง (หมู่ที่ 1-5) ตำบลไทรน้อย (หมู่ที่ 1-10) ตำบลบ้านกุ่ม (หมู่ที่ 1-9) ตำบลบางบาล (หมู่ที่ 1-9) ตำบลวัดยม (หมู่ที่ 1-4) ตำบลสะพานไทย (หมู่ที่ 1-5) ตำบลพระขาว (หมู่ที่ 1-7) ตำบลบางหัก (หมู่ที่ 1-8) ตำบลบางหลวงโดด (หมู่ที่ 1-4) ตำบลบางชะนี (หมู่ที่ 1-5) ตำบลบ้านคลัง (หมู่ที่ 1-7) และตำบลมหาพราหมณ์ (หมู่ที่ 1-10) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.70-1.00 ม. ระดับน้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มสถานการณ์น้ำท่วมจะขยายวงกว้างออกไปอีก
3) อำเภอบางไทร น้ำในแม่น้ำน้อยได้เอ่อท่วมในพื้นที่บ้านเรือนราษฎรริมน้ำ และพื้นที่การเกษตร 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลกระแชง (หมู่ที่ 1,2,3,5) และตำบลช้างน้อย (หมู่ที่ 1-5) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.60-0.80 ม.
4) อำเภอผักไห่ ระดับน้ำในแม่น้ำน้อยเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรพื้นที่การเกษตร 8 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าดินแดง (หมู่ที่ 1-8) ตำบลบ้านใหญ่ (หมู่ที่ 5,6) ตำบลลาดชิต ตำบลกุฎี (หมู่ที่ 12) ตำบลนาคู ตำบลหน้าโคก ตำบลอมฤต และตำบลโคกช้าง ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-1.40 ม.
5) อำเภอเสนา น้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมพื้นการเกษตรใน 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลรางจระเข้ ตำบลบ้านกระทุ่ม ตำบลสามกอ ตำบลหัวเวียง ตำบลบ้านโพธิ์ ตำบลบ้านแพน และตำบลบางนมโค ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.40 ม.
4. สิ่งของพระราชทาน
เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2549 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ได้เสด็จไปที่ตำบลชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เพื่อตรวจสภาพน้ำท่วม ทรงเยี่ยมราษฎรและประทานถุงยังชีพพระราชทานแก่ผู้ประสบภัย จำนวน 1,000 ชุด
5. การให้ความช่วยเหลือของกระทรวงมหาดไทย
5.1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดส่งเรือท้องแบนไปช่วยเหลือในพื้นประสบภัยของจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา จำนวน 57 ลำ และแจกจ่ายถุงยังชีพ จำนวน 47,000 ชุด สนับสนุนให้แก่จังหวัดเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย
5.2 วันนี้ (26 ก.ย.49) อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง (นายฐิระวัตร กุลละวณิชย์) พร้อมคณะได้เดินทางไปตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยที่จังหวัดอ่างทอง โดยได้ติดตามโครงการก่อสร้างเขื่อน คสล. ป้องกันน้ำท่วม ที่อำเภอไชโย และมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ที่อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง
5.3 วันนี้ (26 ก.ย.49) ผู้ว่าราชการจังหวัดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ประชุมร่วมกับอธิบดีกรมชลประทาน ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 10,11,12 ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อวางแผนบูรณาการบริหารจัดการน้ำที่ผ่านจังหวัดนครสวรรค์สูงสุด ในวันที่ 28 ก.ย.49 ปริมาณ 2,600 ลบ.ม./วินาที โดยจะควบคุมผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในวันที่ 29 ก.ย.49 ปริมาณ 2,100 ลบ.ม./วินาที โดยจะรับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้งสองฝั่ง รวมทั้งควบคุมน้ำผ่านเขื่อนพระรามหก ไม่เกิน 300 ลบ.ม./วินาที ปริมาณน้ำเจ้าพระยาที่ผ่านอำเภอบางไทรจะอยู่ไม่เกิน 2,500 ลบ.ม./วินาที
6. ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 07.00 น วันที่ 25 ก.ย.49 ถึง 07.00 น วันที่ 26 ก.ย.49 วัดได้ ดังนี้
จังหวัดตาก (อ.อุ้มผาง) 61.5 มม.
จังหวัดอุดรธานี (อ.น้ำโสม) 105.0 มม
จังหวัดชัยภูมิ (อ.บำเหน็จณรงค์) 93.0 มม
จังหวัดขอนแก่น (อ.ชุมแพ) 89.4 มม.
จังหวัดบุรีรัมย์ (อ.ประโคนชัย) 88.0 มม.
จังหวัดลพบุรี (อ.พัฒนานิคม) 62.0 มม.
จังหวัดจันทบุรี (อ.ขลุง) 80.7 มม.
จังหวัดชุมพร (อ.สวี) 64.8 มม.
จังหวัดระนอง (อ.กระบุรี) 183.4 มม.
7. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (ข้อมูลวันที่ 26 ก.ย. 49)
- เขื่อนภูมิพล ปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 12,195 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 1,267 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 91 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด
- เขื่อนสิริกิติ์ ปริมาตรน้ำในอ่าง 8,847 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 663 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 93 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด
- อ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ปริมาตรน้ำ 606 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 85 ของความจุ มีการระบายน้ำ จำนวน 104.00 ลบ.ม./วินาที และระบายน้ำโดยวิธีกาลักน้ำได้ 3.30 ลบ.ม./วินาที (วางท่อ 10 แถว) สูบน้ำ 3.33 ลบ.ม./วินาที รวมระบายน้ำทั้งหมด 107.30 ลบ.ม./วินาที เพื่อให้มีน้ำเหลือในอ่าง ฯ ประมาณร้อยละ 71 ของความจุอ่าง ฯ ในช่วงต้นเดือนตุลาคม
8. สภาพน้ำเจ้าพระยา
8.1 วันที่ 26 ก.ย.49 มีปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ จำนวน 2,468 ลบ.ม./วินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท จำนวน 2,109 ลบ.ม./วินาที และมีปริมาณน้ำระบายจากเขื่อนพระรามหก จำนวน 229 ลบ.ม./วินาที ทำให้ปริมาณน้ำที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีจำนวน 2,338 ลบ.ม./วินาที ทำให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นบางจุด (กรณีปริมาณน้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเกิน 2,500 ลบ.ม./วินาที จะทำให้น้ำท่วม อ.สรรพยา จ.ชัยนาท สองฝั่งเจ้าพระยา ของ จ.สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล)
8.2 กรมชลประทานจะบริหารจัดการน้ำในการควบคุมน้ำหลาก โดยรับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่ให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ในทุ่งเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง ผ่านประตูระบายน้ำปากแม่น้ำน้อย แม่น้ำสุพรรณ และคลองชัยนาท-ป่าสัก โดยควบคุมปริมาณน้ำที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ให้อยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน 2,500 ลบ.ม./วินาที ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
9. จากการตรวจสอบสภาวะฝนจากสถานีเรดาร์อุตุนิยมวิทยา ในวันนี้ (26 ก.ย.49) เวลา 16.30 น. พบ กลุ่มฝนกำลังอ่อน ปกคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดน่าน พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ชัยภูมิ มหาสารคราม นครราชสีมา ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี กรุงเทพฯ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง สตูล พัทลุง และยะลา
10. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 26 กันยายน 2549 เวลา 17.00 น.
ร่องความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรงพาดจากหย่อมความกดอากาศต่ำในประเทศพม่าตอนล่างผ่านภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือและภาคกลางด้านตะวันตก รวมทั้งภาคใต้มี ฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในระยะ 1-2 วันนี้ (26-27 กันยายน 2549) ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณพื้นที่ลุ่ม พื้นที่ลาดเชิงเขา และใกล้ทางน้ำไหลบริเวณจังหวัดตาก เชียงใหม่ สุโขทัย พิจิตรกำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และพังงา ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ส่วนคลื่นลมในทะเลอันดามัน จะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร โดยเฉพาะบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือในระยะนี้
11. สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประกาศแจ้งเตือนให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1-12 และรวมทั้งจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ที่คาดว่าจะเกิดภัย ให้เตรียมพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และโคลนถล่ม ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ โดยจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานงานกับ อำเภอ กิ่งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากเกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นในจังหวัดใด ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ฯ ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนั้นจัดเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลเข้าสนับสนุนทันที
12. ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตามและรายงานให้ทราบต่อไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
(กลุ่มงานปฏิบัติการ) โทร. / โทรสาร 0-2241-7450 - 6 สายด่วน 1784

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ