AOS (เอโอเอส) แนวโน้มใหม่ที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมสตอเรจ

ข่าวทั่วไป Tuesday August 15, 2006 11:17 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 ส.ค.--คอร์ แอนด์ พีค
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
แอพพลิเคชั่น เป็นตัวผลักดันที่สำคัญในกระบวนการธุรกิจและการตัดสินใจ เนื่องจากสิ่งนี้มีผลต่อการเติบโตขององค์กร ความเสี่ยง และการได้รับผลกำไร ก่อนหน้านี้การตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ของผู้บริหารอาวุโสจะเน้นไปที่การนำส่งข้อมูลที่ถูกต้องไปยังบุคคลที่เหมาะสม (หรือแอพพลิเคชั่น) ในเวลาที่เหมาะสม ดังนั้นการลงทุนด้านไอทีและธุรกิจโดยรวมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
อย่างไรก็ตาม การขยายแอพพลิเคชั่น อย่างต่อเนื่องและจำนวนข้อมูลที่แอพพลิเคชั่น เหล่านี้สร้างขึ้นมา กำลังเพิ่มภาระให้กับพนักงานและมีผลต่องบประมาณของบริษัท โดยแต่ละแอพพลิเคชั่น ที่นำมาใช้ในองค์กรก็เพื่อตอบสนองความต้องการด้านไอทีที่ไม่ซ้ำกันภายใต้เงื่อนไขของต้นทุน ความจุ ประสิทธิภาพ และระดับความพร้อมใช้งาน การปรับใช้โซลูชั่น ที่ทำให้บริษัทใช้สินทรัพย์ให้เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการใช้งานแอพพลิเคชั่น ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว และปรับปรุงประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่น ที่มีอยู่ ตลอดจนลดต้นทุนได้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก
ข้อมูลล้นทะลัก: ปัญหาใหม่ของธุรกิจ
การขยายแอพพลิเคชั่น อย่างต่อเนื่องและปริมาณข้อมูลที่แอพพลิเคชั่นเหล่านี้สร้างขึ้นมาเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดความเครียดกับพนักงานในฝ่ายบริหารไอทีและงบประมาณของบริษัท โดยที่ต้นทุน ความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และระดับความพร้อมใช้งานของแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่อย่างหลากหลายในองค์กรนั้น เกิดขึ้นจากความต้องการที่แตกต่างในสภาพแวดล้อมไอทีองค์กร การใช้สินทรัพย์สตอเรจให้เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการเติบโตที่รวดเร็วของแอพพลิเคชั่นใหม่ และยังต้องสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่น ที่มีอยู่และลดต้นทุนได้จึงเป็นประเด็นจำเป็นต่อผู้บริหารไอทีเมื่อพวกเขาต้องเลือกโซลูชั่นสตอเรจใหม่
ความสำเร็จของธุรกิจขึ้นอยู่กับการใช้แอพพลิเคชั่นที่หลากหลาย
หลายบริษัทกำลังใช้ชุดแอพพลิเคชั่น เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้องค์กรปัจจุบันประสบความสำเร็จเห็นได้จากผลการศึกษาของบริษัท ไอดีซี ที่ชื่อว่า 2005 Trends in Storage Survey (การสำรวจแนวโน้มของสตอเรจในปี 2005) ได้ทำการสำรวจจากผู้บริหารไอทีจำนวน 270 คนของบริษัทในสหรัฐที่มีพนักงานมากกว่า 100 คน และพบว่าแอพพลิเคชั่นด้านธุรกรรม เช่น ERP, CRM และ OLTP (OnLine Transaction Processing) เป็นกลุ่มที่ใช้เนื้อที่ในสตอเรจองค์กรมากที่สุด (จำนวน 32.1% ของความจุโดยเฉลี่ย) ขณะที่เซิร์ฟเวอร์จัดการไฟล์และ การพิมพ์ใช้น้อยมาก (แค่ 2.8%) และน้อยกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์เล็กน้อย ส่วนชุดแอพพลิเคชั่น ใหม่ ได้แก่ อีเมล์และเนื้อหาดิจิทัลใช้ความจุของสตอเรจ 7.7% และ 10.8% ตามลำดับ นั่นหมายความว่าผู้บริหารด้านไอทีจะต้องปรับใช้สถาปัตยกรรมสตอเรจที่สนับสนุนความต้องการที่แตกต่างกันในองค์กร และต้องลดความซับซ้อนของโครงสร้างพื้นฐาน ลดการบริหารจัดการมากเกินไป และต้องทำให้ต้นทุนต่ำลงด้วย
การสำรวจครั้งนี้ยังพบด้วยว่าผู้ตอบแบบสอบถามกำลังจัดสรรความจุของสตอเรจมากถึง 1 ใน 4 (27.6%) สำหรับป้องกันข้อมูลที่จัดเก็บในดิสก์ หลายบริษัทกำลังกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลตลอดอายุการใช้งานทั้งในระยะสั้นและยาว
ผู้บริหารเหล่านี้บอกว่าแอพพลิเคชั่นที่ผลักดันให้เกิดการขยายตัวของสตอเรจอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การป้องกันข้อมูลและการกู้คืนข้อมูลที่เสียหาย (50.2%) ตามมาด้วยความต้องการของระบบเก็บข้อมูลระยะยาว (46.8%) นอกจากนี้ ยังมีแอพพลิเคชั่น ใหม่ที่ได้รับความสนใจอย่างมากอีกสองรายการ นั่นคืออีเมล์และเนื้อหาดิจิทัล
ดังนั้นองค์กรจึงต้องพัฒนาแผนธุรกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถป้องกันข้อมูลและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไขทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว พวกเขาต้องการหุ้นส่วนสตอเรจที่สามารถส่งมอบโซลูชั่น สตอเรจที่ช่วยให้มั่นใจได้ว่าแอพพลิเคชั่น ต่างๆ นั้นจะพร้อมใช้งานโดยที่ปริมาณข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมากต้องมีความเป็นเอกภาพด้วย
การใช้สินทรัพย์สตอเรจให้เหมาะสม
ในระหว่างปี 2548-2551 บริษัท ไอดีซี คาดการณ์ว่าความจุสตอเรจองค์กรที่บริษัทต่างๆ ทั่วโลกต้องการใช้ต่อปีจะเพิ่มขึ้น 367% จาก 1,786 เพตาไบต์ เป็น 6,652 เพตาไบต์ นอกจากนี้ ผู้จัดการไอทียังแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าจะไม่เพิ่มจำนวนพนักงานเพื่อมาจัดการกับความจุของสตอเรจที่เพิ่มเกือบสี่เท่าตัวนี้
ด้วยภาวะเศรษฐกิจและความไม่แน่นอนของธุรกิจบังคับให้ผู้บริหารต้องตรวจสอบค่าใช้จ่ายของระบบสตอเรจใหม่ และหันมาให้ความสำคัญกับการใช้สินทรัพย์สตอเรจที่มีอยู่แล้วให้เกิดผลตอบแทนสูงสุด ดังนั้นจึงต้องมองหาโซลูชั่น ด้านการบริหารจัดการที่สามารถแก้ปัญหาเรื่องสตอเรจ ข้อมูล และจัดการกับแอพพลิเคชั่น ที่หลากหลายในองค์กรให้ได้
สตอเรจที่ใช้แอพพลิเคชั่น อย่างเหมาะสม (Application Optimized Storage): กำหนดแนวทางความต้องการด้านธุรกิจและไอทีได้
การปรับใช้สตอเรจให้เหมาะสมเพื่อบรรลุความต้องการที่ไม่ซ้ำกันของแอพพลิเคชั่นจำเป็นต้องใช้โซลูชั่น ที่ทำให้สตอเรจสามารถใช้แอพพลิเคชั่นได้อย่างเหมาะสม โดยมีส่วนประกอบดังนี้
- สถาปัตยกรรมตัวควบคุมสตอเรจที่เป็นเครือข่าย (Network Storage Controller) ที่ทำให้ผู้จัดการสตอเรจสามารถสร้างกลุ่มสตอเรจเสมือนจริงที่มีขนาดใหญ่และไดนามิก (คล่องแคล่ว) พร้อมทั้งปรับปรุงส่วนประกอบสำคัญของสตอเรจ (เช่น แคช การเชื่อมต่อเครือข่าย และขนาดของระบบเสมือนจริง) ให้เหมาะสมกับแอพพลิเคชั่น ที่กำหนด
- ชุดของซอฟต์แวร์จัดการสตอเรจที่สามารถจัดการความจุสตอเรจได้โดยอัตโนมัติ สามารถเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างชั้นของสตอเรจที่แตกต่างกัน สามารถป้องกันและกู้คืนข้อมูลได้
- ระบบสตอเรจและบริการจะต้องมีคุณสมบัติในการแก้ปัญหาให้องค์กรได้ทันเวลาและให้ผลตอบแทนสูงสุดในการลงทุนด้านสตอเรจ
พื้นฐาน: ตัวควบคุมสตอเรจที่เป็นเครือข่าย
ความต้องการสตอเรจที่สามารถใช้แอพพลิเคชั่น ได้อย่างเหมาะสมและความต้องการในซอฟต์แวร์จัดการสตอเรจกำลังกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาระบบสตอเรจรุ่นใหม่ ที่บริษัท ไอดีซีเรียกว่า “ตัวควบคุมสตอเรจที่เป็นเครือข่าย” ออกมาแล้ว สิ่งนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถขยายความสามารถของระบบสตอเรจระดับบนแต่ละระบบให้เป็นกลุ่มสตอเรจที่มีประสิทธิภาพ และเสถียรภาพ โดยโซลูชั่น เหลานี้ ได้แก่
- การเชื่อมต่อและทำให้ระบบสตอเรจที่แตกต่างกันจำนวนมากกลายเป็นระบบเสมือนจริงขนาดใหญ่ที่สามารถจัดการได้ราวกับว่าเป็นระบบเดียว
- ลดความซับซ้อนในการจัดการด้วยการใช้ชุดสตอเรจและซอฟต์แวร์การจัดการข้อมูล
- ปรับขนาดได้อย่างรวดเร็วและคุ้มค่าโดยไม่รบกวนการดำเนินการที่อยู่
- สามารถจัดสรรแหล่งทรัพยากรสตอเรจแบบชั้นให้กับแอพพลิเคชั่น ที่หลากหลายได้อย่างลงตัว
สตอเรจแบบชั้น(Tiered Storage): เสริมประสิทธิภาพสตอเรจ
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การพัฒนาในเทคโนโลยีความจุสูงและต้นทุนต่ำได้ส่งเสริมความสามารถของสตอเรจข้อมูล ลดต้นทุน และก่อให้เกิดแนวคิดสตอเรจแบบชั้นที่สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่น ที่แตกต่างกันได้ในองค์กรเดียว
ในการสำรวจของบริษัทไอดีซีพบว่าการรวมระบบสตอเรจเข้าด้วยกัน ก็เพื่อให้เกิดความจุที่เพิ่มขึ้น และสิ่งนี้ได้ผลักดันให้เกิดสตอเรจแบบชั้น เนื่องจากคุ้มค่ามากขึ้นในการสำรองข้อมูลแอพพลิเคชั่น ทั้งจากภายในและระยะไกล สามารถเก็บข้อมูลได้ยาวนานตามข้อบังคับของกฎหมายและเพื่อประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ด้านธุรกิจ และช่วยให้แผนกไอทีสามารถแก้ปัญหาการใช้แอพพลิเคชั่น ที่แตกต่างกันในองค์กรได้
ความท้าทายของเอโอเอส
เอโอเอส เป็นแนวโน้มใหม่ที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมสตอเรจ เนื่องจากเป็นการเชื่อมโยงระบบสตอเรจและแอพพลิเคชั่น ต่างๆ เข้าด้วยกัน จะเห็นได้ว่าเมื่อบริษัทต่างๆ มองหาการลงทุนที่ทำให้สตอเรจที่มีอยู่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและให้ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ พวกเขาต้องการโซลูชั่น สตอเรจที่ทำให้กระบวนการจัดการแอพพลิเคชั่น และไอทีง่ายขึ้น ขณะที่ช่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์สินทรัพย์และเสริมประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่น โดยรวมและลดต้นทุนด้วย
บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ผู้นำด้านระบบสตอเรจ (ระบบจัดเก็บข้อมูล) ซอฟต์แวร์ และบริการ ให้กับองค์กรทั่วโลกได้นำเสนอ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการสตอเรจที่ครบวงจร ภายใต้ชื่อโซลูชั่น Application Optimized StorageTM หรือ (AOS) โซลูชั่น นี้เหมาะกับบริษัททั้งหลายที่กำลังมองหาผลตอบแทนสูงสุดในด้านการลงทุนแอพพลิเคชั่น ของพวกเขา
พื้นฐานของโซลูชั่น เอโอเอส คือ TagmaStoreTM Universal Storage Platform และ Network Storage Controller ซึ่งสนับสนุนการทำงานทั้งในระดับโมดูลและระบบเสมือนจริงขนาดใหญ่พร้อมทั้งจำลองแบบข้อมูลในสภาพแวดล้อมสตอเรจแบบชั้น (การจัดเก็บข้อมูลแบบแบ่งระดับชั้น) ขององค์กรขนาดใหญ่ นอกจากนี้โซลูชั่น เอโอเอสยังมีส่วนประกอบอื่นที่สำคัญ ได้แก่ ชุดซอฟต์แวร์ HiCommand ที่ทำให้เกิดความสามารถในการปรับขนาดสตอเรจ จัดการข้อมูลและแอพพลิเคชั่น ภายใต้สภาพแวดล้อมสตอเรจที่แตกต่างกัน
ความร่วมมือของมืออาชีพด้านสตอเรจอย่างบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ และพันธมิตรของบริษัท ในการส่งมอบโซลูชั่น เอโอเอสจะก่อให้เกิดพื้นฐานที่มั่นคงในการสร้างสถาปัตยกรรมสตอเรจองค์กรที่สามารถปรับขยายได้อย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงความต้องการในแอพพลิเคชั่น ขององค์กรโดยไม่ไปรบกวนกิจกรรมทางธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่หรือใช้ทรัพยากรด้านไอทีมากเกินไป
โดย นายทวีศักดิ์ แสงทอง ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ — ประเทศไทย
สื่อมวลชน สอบถามรายละเอียด กรุณาติดต่อ:
คุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด โทร: 02-439-4600 ต่อ 8300
อีเมล์: srisuput@corepeak.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ