กรุงเทพฯ--21 มี.ค.--ซีเกท เทคโนโลยี
ทีมหุ่นยนต์พลาสมา-ซี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและทีม Revenger จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีครองตำแหน่งแชมป์ร่วมกัน ในการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์ ประเทศไทย 2549 ซึ่งจัดโดยบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทยและคณะ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การแข่งขันระหว่างพลาสมา-ซี และ Revenger ในรอบชิงชนะเลิศ ได้แสดงให้เห็นถึงความสามัคคีและทีมสปิริต ความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ตลอดจนความสามารถทางด้านเทคนิคที่เท่าเทียมกันทำให้ คณะกรรมการตัดสินให้ทั้งสองทีม เป็นแชมป์การแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทย 2549 ร่วมกัน โดยทีมชนะเลิศทั้งสองทีมได้รับรางวัลเงินสด รวมกัน 250,000 บาท
คณะผู้จัดงานยังมอบรางวัลอื่น ๆ แก่ทีมหุ่นยนต์ โดยทีมหุ่นยนต์ที่ได้รับถ้วยรางวัลรองชนะเลิศได้แก่ทีมไข่นุ้ย จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และทีมหุ่นยนต์ที่ได้รับรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยมซึ่งเป็นรางวัลเงินสด 30,000 บาท ได้แก่ทีมอัศวินน้อย จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ทีมหุ่นยนต์ที่ได้รับรางวัล Technical Challenge ได้แก่ ทีมพลาสมา-ซี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัล ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟซีเกทขนาดความจุ 250 กิกะไบต์ จำนวน 3 ตัว
วัตถุประสงค์หลักของการจัดการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทยคือการพัฒนาความรู้และความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนิสิตและนักศึกษาไทย เพื่อให้พวกเขามีความชำนาญพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับ ความสำเร็จในการทำงานของพวกเขาในอนาคต
รองศาสตราจารย์ ดร. ประภาส จงสถิตย์วัฒนา นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย กล่าวว่า “การแข่งขันฟุตบอล หุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทยเน้นหนักในการพัฒนาความชำนาญในการทำงานเป็นทีมของนิสิตนักศึกษาไทย การทำงาน เป็นทีมซึ่งทำให้นิสิตนักศึกษาเหล่านี้เรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาร่วมกันและริเริ่มสร้างสรรค์แนวทางแก้ไขปัญหาที่ท้าทาย ต่าง ๆ ที่พวกเขาต้องเผชิญในโลกของการทำงานในภาคอุตสาหกรรม และในครั้งนี้เราบรรลุวัตถุประสงค์นั้นแล้วโดย จะเห็นได้จากการครองแชมป์ร่วมกันของทั้งสองทีม”
นายสัมพันธ์ ศิลปนาฏ รองประธานฝ่ายปฏิบัติการโรงงานโคราช บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “บริษัทซีเกทมีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมกับสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทยและคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการจัดการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทยในปีนี้ ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ทีมชนะเลิศได้แสดงให้เห็นประโยชน์ซึ่งเป็นประสบการณ์ในการนำความรู้มาปฏิบัติจริงจากการแข่งขันนี้ โดยพวกเขาได้นำ ความคิดใหม่ ๆ ความกระตือรือร้นและความทุ่มเทมาสู่สาขาหุ่นยนต์และเทคโนโลยี”
สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2543 โดยกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจ และดำเนินงานเกี่ยวข้อง กับวิศวกรรมหุ่นยนต์อันประกอบไปด้วย นักวิชาการ นักวิจัย และนักอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ และเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ เป็นศูนย์กลางทางด้านข่าวสารในวิทยาการใหม่ ๆ ของหุ่นยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ท่านสามารถติดต่อสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทยได้ที่ โทร. 0-2218-6982 และ 0-2218-6956 หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ www.trs.or.th
ซีเกทเป็นผู้นำทั่วโลกในการออกแบบ การผลิตและการตลาดฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ การพัฒนาผลิตภัณฑ์อันหลากหลาย สำหรับองค์กร เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Mobile Computing) และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (Consumer Electronics) รูปแบบการดำเนินธุรกิจของซีเกทช่วยเสริมสร้างความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีและการผลิต ระดับโลกเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีคุณภาพในระดับชั้นนำของอุตสาหกรรมไปยังลูกค้าทั่วโลก รวมทั้งเป็นผู้ผลิตที่มีต้นทุนต่ำในทุกตลาดที่เรามีส่วนร่วม บริษัทมีความมุ่งมั่นในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัลและมี คุณภาพดีที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการบันทึกข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซีเกทได้รับการยกย่องให้เป็นบริษัทแห่งปี 2006 จากนิตยสารฟอร์บส์ ท่านสามารถพบซีเกทได้ทั่วโลกและพบข้อมูลซีเกทที่ www.seagate.com
ซีเกท ซีเกท เทคโนโลยีและโลโก้เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกาของบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี แอลแอลซี เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนอื่น ๆ ทั้งหมดเป็นทรัพย์สินของเจ้าของตามที่กล่าวมา ข้างต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
รองศาสตราจารย์ ดร. ประภาส จงสถิตย์วัฒนา นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย โทร. 0-2218-6982 และ 0-2218-6956
นางสาวขวัญจิต สุดสวัสดิ์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด
โทร. 0-2715-2919