กรุงเทพฯ--15 ส.ค.--โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกรกฎาคม 2549 ด้วยปริมาณการขาย 50,638 คัน ลดลง 0.5 % แบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 14,442 คัน เพิ่มขึ้น 7.4% รถเพื่อการพาณิชย์ 36,196 คัน ลดลง 3.3% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 33,151 คัน ลดลง 2.7%
ทางด้านสถิติการขายสะสม 7 เดือนของปี 2549 มีปริมาณทั้งสิ้น 385,414 คัน ลดลง 2.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 108,682 คัน เพิ่มขึ้น 4.2% รถเพื่อการพาณิชย์ 276,732 คัน ลดลง 5.4% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้จำนวน 253,361 คัน ลดลง 4.3%
ประเด็นสำคัญ
1. ตลาดรถยนต์ ในช่วง 7 เดือนแรก มีอัตราการเจริญเติบโตลดลงเล็กน้อย ด้วยยอดขายรวม 385,414 คัน ลดลง 2.9% เป็นผลมาจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ โดยปัจจัยดังกล่าวได้ส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงต่อเนื่อง ทั้งนี้ ปัจจัยดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเจริญเติบโตลดลง 5.4% และตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเม้นท์นี้ มีอัตราการเติบโตลดลง 4.3% สำหรับตลาดรถยนต์นั่งเติบโต 4.2% เนื่องจากความนิยมอย่างต่อเนื่องของรถยนต์นั่งรุ่นใหม่ที่แนะนำสู่ตลาด อาทิ โตโยต้า ยาริส, โซลูน่า วีออส รุ่นปรับปรุงโฉม, ฮอนด้า ซีวิค และนิสสัน ทิด้า
2. ตลาดรถยนต์ในเดือน กรกฎาคม มีปริมาณการขาย 50,638 คัน ลดลงเล็กน้อย 0.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่เป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจทั้งราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก โดยรถยนต์นั่ง มีปริมาณขาย 14,442 คัน เพิ่มขึ้น 7.4% เนื่องจากการแนะนำรถยนต์นั่งรุ่นใหม่ และกิจกรรมส่งเสริมการขายของค่ายรถอย่างต่อเนื่อง ขณะที่รถเพื่อการพาณิชย์ มีปริมาณการขายลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 เช่นเดียวกับรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน ยอดขายที่ลดลง 8.7% ตามสถิติการขายแล้วถือว่าอยู่ในระดับปกติ คือโดยเฉลี่ยเดือนกรกฏาคมจะมีปริมาณการขายที่น้อยกว่าเดือน มิถุนายนอยู่ที่ 8.5%
3. ตลาดรถยนต์เดือนสิงหาคม มีแนวโน้มระดับการขายที่ดีขึ้น แม้ว่าตามสถิติการขายแล้ว เดือนสิงหาคมจะเป็นเดือนที่มียอดขายต่ำที่สุด ของครึ่งปีหลัง อย่างไรก็ตาม ในเดือนสิงหาคมได้มีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด ได้แก่ รถกระบะไฮลักซ์ วีโก้ ดีโฟร์ดี คอมมอนเรล 2500 ซีซี เทอร์โบ อินเตอร์คูลเลอร์, รถยนต์นั่ง คัมรี โฉมใหม่ของโตโยต้า รถกระบะ อีซูซุ ดีแมกซ์ ตลอดจนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายและข้อเสนอเช่าซื้อที่น่าสนใจจากค่ายรถยนต์ต่างๆ จะเป็นปัจจัยบวกทำให้ตลาดรถยนต์ยังคงเป็นไปตามที่คาดไว้ สำหรับปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจ อาทิราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยและปัจจัยอื่นๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระดับที่รุนแรงมากนัก
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกรกฎาคม 2549
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 50,638 คัน ลดลง 0.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 23,895 คัน เพิ่มขึ้น 17.7% ส่วนแบ่งตลาด 47.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,179 คัน ลดลง 15.8% ส่วนแบ่งตลาด 22.1%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 5,286 คัน เพิ่มขึ้น 25.5% ส่วนแบ่งตลาด 10.4%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 14,442 คัน เพิ่มขึ้น 7.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 6,699 คัน เพิ่มขึ้น 1.1% ส่วนแบ่งตลาด 46.4%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 5,246 คัน เพิ่มขึ้น 27.1% ส่วนแบ่งตลาด 36.3%
อันดับที่ 3 นิสสัน 742 คัน เพิ่มขึ้น 148.2% ส่วนแบ่งตลาด 5.1%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* ปริมาณการขาย 33,151 คัน ลดลง 2.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 16,279 คัน เพิ่มขึ้น 27.8% ส่วนแบ่งตลาด 49.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,281 คัน ลดลง 17.4% ส่วนแบ่งตลาด 31.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,118 คัน ลดลง 35.8% ส่วนแบ่งตลาด 6.4%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 1,935 คัน
โตโยต้า 1,488 คัน — อีซูซุ 419 คัน — ฟอร์ด 28 คัน
4.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 36,196 คัน ลดลง 3.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 17,196 คัน เพิ่มขึ้น 25.7% ส่วนแบ่งตลาด 47.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,179 คัน ลดลง 15.8% ส่วนแบ่งตลาด 30.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,118 คัน ลดลง 38.2% ส่วนแบ่งตลาด 5.9%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม — กรกฎาคม 2549
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 385,414 คัน ลดลง 2.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 160,210 คัน ลดลง 0.3% ส่วนแบ่งตลาด 41.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 98,430 คัน ลดลง 2.7% ส่วนแบ่งตลาด 25.5%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 38,914 คัน เพิ่มขึ้น 35.7% ส่วนแบ่งตลาด 10.1%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 108,682 คัน เพิ่มขึ้น 4.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 52,129 คัน ลดลง 2.1% ส่วนแบ่งตลาด 48.0%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 38,593 คัน เพิ่มขึ้น 39.2% ส่วนแบ่งตลาด 35.5%
อันดับที่ 3 นิสสัน 3,642 คัน ลดลง 21.6% ส่วนแบ่งตลาด 3.4%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* ปริมาณการขาย 253,361 คัน ลดลง 4.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 102,391 คัน เพิ่มขึ้น 1.3% ส่วนแบ่งตลาด 40.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 91,910 คัน ลดลง 2.8% ส่วนแบ่งตลาด 36.3%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 16,821 คัน ลดลง 14.1% ส่วนแบ่งตลาด 6.6%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 16,305 คัน
โตโยต้า 12,397 คัน — อีซูซุ 3,447 คัน — ฟอร์ด 321 คัน — มิตซูบิชิ 140 คัน
4.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 276,732 คัน ลดลง 5.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 108,081 คัน เพิ่มขึ้น 0.7% ส่วนแบ่งตลาด 39.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 98,430 คัน ลดลง 2.7% ส่วนแบ่งตลาด 35.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 16,835คัน ลดลง 18.5% ส่วนแบ่งตลาด 6.1%