กรุงเทพฯ--18 มี.ค.--ทีวีบูรพา
รายการ “ กบนอกกะลา“ ครั้งนี้ 2 พิธีกร ก้อง (ชณัฐ วุฒิวิกัยการ) และ ออม (สุชยา โมกขเสน) จะพาไปเปิดประสบการณ์แบบภูมิปัญญาไทยกับการเดินทางตามหา “ยาหอม” สุดยอดสมุนไพรไทยที่ ทุกวันนี้ไม่ว่ายามใดก็เรียกหายาหอมกันถ้วนหน้า
ในชีวิตประจำวันของคนไทย เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดอาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ไปจน ถึงวิงเวียนศีรษะ สิ่งแรกที่คนเรามองหากรือหยิบฉวยเพื่อช่วยบรรเทาอาการจากโลกลม ก็คือ “ยาลม หรือ ยาหอม” แต่ยาหอมนั้นคืออะไร ทำมาจากอะไร และเหตุใดจึงอยู่คู่เลือดลมคนไทยมาช้านานและยังได้รับ ความนิยมไม่เสื่อมคลาย
“ยาหอม” เป็นยาสามัญประจำประเทศไทยมาหลายร้อยปี แต่เดิมเป็นยาของคนชั้นสูงที่ใช้เฉพาะ ในวังและเมื่อเวลาผ่านไปจึงค่อย ๆ เผยแพร่เข้าสู่ร้านขายยา สาเหตุที่ยาหอมนั้นแก้โรคลมสารพัดได้ผล ชะงักนั้นก็เพราะเกิดจากการรวมตัวของสุดยอดสมุนไพรหลายสิบชนิด บางทีก็ถือเป็นของหายากมากๆ เช่น หญ้าฝรั่น ที่สำคัญยาหอมจะได้ชื่อว่ายาหอมไม่ได้ หากขาดเครื่องหอมทั้ง 3 ชนิด คือ เกสรทั้ง 5 ดอกไม้ กลิ่นหอม 5 ชนิด สรรพคุณบำรุงเลือดลมและหัวใจ ประกอบด้วย เกสรบัวหลวง ดอกมะลิ ดอกพิกุล และ สารภี สุดท้ายคือดอกบุนนาค ที่ต้องบุกป่าฝ่าดงเข้าไปเก็บในป่าลึกเป็นสินค้าราคาดีสำหรับนักเก็บของป่า
ชะมดเช็ด สมุนไพรที่ได้จากการเช็ดของสัตว์ที่ชื่อว่า ชะมด กบนอกกะลาจึงอาสาพาไปบุกฟาร์มที่ เลี้ยงชะมดมากที่สุดในประเทศที่ จ.เพชรบุรี เพื่อไปทำความรู้จักกับเจ้าสัตว์สารพัดประโยชน์ตัวนี้ ไม้กฤษณา เปลือกไม้กลิ่นหอมที่มีมูลค่าดุจทองคำ ร่วมกันไขปริศนาของไม้กฤษณาที่ จ.ตราด จังหวัดที่ได้ ขึ้นชื่อว่ามีไม้กฤษณามากที่สุดในโลก
เมื่อภารกิจผลิกแผ่นดินเดินทางตามหาสุดยอดสมุนไพรไทยนั้นสำเร็จแต่ใช่ว่าจะได้ยาหอมมาโดยง่ายเพราะกว่าจะผลิตยาหอมได้นั้นต้องใช้ทั้งความพิถีพิถัน รอคอย ความอดทนกับการทำงานกับกรุ่นควัน และความร้อนยและศาสตร์การแพทย์ที่สืบทอดกันมาอีกหลายขั้นตอนกว่าจะออกมาเป็นยาหอมให้เราได้ ดอมดม ติดตามเรื่องราวของตำนานยาแผนไทยกับภารกิจแกะรอยสมุนไพรไทยความหอมของเกสร ทั้ง 5 สัตว์แปลกหน้าที่ชื่อชะมด และไม่กฤษณาได้ในรายการ “กบนอกกะลา” ในวันศุกร์ที่ 26 มี.ค. และ 2 เม.ย.นี้ เวลา 20.40 น. ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี