กระทรวงสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมนักวิจัยระดับแนวหน้าเพื่อเน้นย้ำถึงปัญหาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและโรคปอดบวม

ข่าวทั่วไป Friday March 30, 2007 11:31 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 มี.ค.--ทีคิวพีอาร์
* เชื้อฮิบและนิวโมคอคคัส สองแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและโรคปอดบวม ซึ่งคุกคามชีวิตของเด็กในประเทศแถบเอเชียใต้ *
ทุก ๆ ปี โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโรคปอดบวมที่ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต ได้คร่าชีวิตเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีทั่วโลกประมาณ 2 ล้านราย และโดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้าได้เข้าร่วมหารือการประชุมขึ้นในกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เพื่อที่จะย้ำถึงสองสาเหตุหลักของโรคปอดบวมและโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่คอยคุกคามชีวิตนี้ อันได้แก่ เชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า เฮโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซ่า ชนิดบี (หรือ “ฮิบ”) และ สเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี หรือที่เราเรียกว่า เชื้อนิวโมคอคคัส เมื่อเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้เข้าสู่ปอด ซึ่งจะทำให้เกิดปอดบวมชนิดที่พบได้ทั่วไป อีกทั้งยังสามารถลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด และ/หรือน้ำไขสันหลัง ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แต่ปัจจุบันเรามีวัคซีนที่สามารถป้องกันการติดเชื้อดังกล่าวได้แล้ว
ความจำเป็นที่จะต้องเกิดความพยายามอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่องเพื่อหาทางป้องกันโรคร้ายนี้ทำให้ในวันนี้ทางองค์การอนามัยโลกและกระทรวงสามธารณสุขได้ร่วมมือกันจัดงานประชุมของบรรดานักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญขึ้น เนื่องจากเชื้อฮิบและเชื้อนิวโมคอคคัสถือว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กกว่า 1.4 ล้านรายทั่วโลกในแต่ละปี ความพยายามที่จะรับรู้ถึงความรุนแรงของระดับปัญหาในเอเชียจึงทวีความสำคัญมากขึ้นทุกขณะ
“การเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพต่อโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและโรคปอดบวมได้ช่วยทำให้เราเข้าใจถึงระดับความรุนแรงของปัญหาและสามารถประเมินผลถึงประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการติดเชื้อดังกล่าว” ดร. ฌอน-มารี ออคโว่-เบเล่ ผู้อำนวยการแผนกวัคซีนภูมิคุ้มกันและชีววิทยา องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าว
เป็นเรื่องน่าเศร้าที่พบว่าเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี มีโอกาสติดเชื้อนิวโมคอคคัสมากกว่าเด็กปกติ ถึง 40 เท่า ดังนั้นประเทศที่มีอัตราของเชื้อเอชไอวีสูง ดังเช่นประเทศไทย เชื้อฮิบและเชื้อนิวโมคอคคัส จึงกลายเป็นภาระต่อระบบการบริการด้านสุขภาพของประเทศ
ดร. ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเวชกรรมป้องกัน กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย กล่าวว่า “รัฐบาลไทยได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะลดอัตราการเสียชีวิตในเด็ก และพร้อมที่จะต่อสู้กับโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและโรคปอดบวม วัคซีนป้องกันเป็นสิ่งที่สามารถช่วยเหลือเกี่ยวกับด้านสุขภาพที่ง่ายและมีประสิทธิภาพสูง และแม้ว่าประเทศไทยจะมีอัตราการใช้วัคซีนสูง แต่ก็ยังมีภารกิจสำคัญที่ต้องทำอีกมากในการแนะนำการใช้วัคซีนสำคัญใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและภาคเอกชนรวมถึงองค์กรต่างๆ ทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วขึ้น เพื่อป้องกันการเสียชีวิตและความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วย”
ดร. ลานา ฮาจเจ๊ะ ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการ องค์กรช่วยเหลือและปกป้องเด็กจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (The Hib Initiative) กล่าวว่า “นด้วยการเฝ้าระวังอย่างเป็นระบบและความพยายามในการประสานงานกันเพื่อแนะนำวัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสและฮิบ ทำให้เราสามารถช่วยชีวิตเด็กได้นับล้านๆคน และขยับเข้าใกล้เป้าหมายขององค์การสหประชาชาติที่ต้องการลดอัตราของเสียชีวิตของเด็กลงสองในสามส่วนภายในปี พ.ศ. 2558 (The UN Millennium Development Goal of reducing child mortality by two thirds by 2015)”
ดร. ออริน เลอวีน ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร ของ PneumoADIP ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะเร่งการนำเข้าและการใช้วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีความต้องการวัคซีนสูง ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของสหพันธ์ GAVI (สหพันธ์โลกสำหรับวัคซีนและภูมิคุ้มกัน) ให้ความเห็นว่าปัจจุบันนับว่าเป็นเวลาที่น่าตื่นเต้นอย่างยิ่งที่มีการร่วมมือกันในการป้องกันโรคอันมีสาเหตุจากเชื้อนิวโมคอคคัส จากการสนับสนุนทางการเงินอย่างต่อเนื่องจากสหพันธ์ GAVI และ Advanced Market Commitment (AMC) จะทำให้เด็กในประเทศกำลังพัฒนาที่อยู่ในโครงการได้รับวัคซีนนิวโมคอคคัสและสามารถเริ่มป้องกันการเสียชีวิตในเด็กของกลุ่มนี้เร็วขึ้น ภายในปี 2551
การประชุมเครือข่ายเฝ้าระวังเชื้อนิวโมคอคคัสและฮิบได้รับการสนับสนุนโดยองค์การอนามัยโลก, องค์กรวางแผนเพื่อเร่งรัดการพัฒนาและการแนะนำวัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส (PneumoADIP) ของสหพันธ์ GAVI และองค์กรช่วยเหลือและปกป้องเด็กจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (The Hib Initiative) และผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้าจากประเทศต่างๆในแถบทวีปเอเชีย มาประชุมร่วมกัน อาทิ บังกลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีเหนือ มองโกเลีย เนปาล ศรีลังกา ประเทศไทย และเวียดนาม ความสำคัญแห่งการประชุมครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความใส่ใจของประชาคมโลกต่อโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและโรคปอดบวมที่เิกิดจากเชื้อนิวโมคอคคัส และ เชื้อฮิบ และความจำเป็นในการหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วนในทั่วทุกภูมิภาค
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์: www.HibAction.org และ www.PreventPneumo.org
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
ฮานส์ วิสท์
ผู้อำนวยการฝ่ายการสื่อสาร
GAVI’s PneumoADIP
โทร: +1 410 736 8243
อีเมล์: hkvist@jhsph.edu
เซลิน่า เฮย์ลอค
ที่ปรึกษา
Ruder Finn Communications
โทร: +44 (0)7768 823 989
อีเมล์: shaylock@ruderfinn.co.uk
ลัวส์ ไพรเวอร์-ดัมม์, MIBS
ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การสื่อสาร
องค์กรช่วยเหลือและปกป้องเด็กจากโรคเยื่อหุ้มสมอง
อักเสบ (The Hib Initiative)
โทร: +1 484 354 8054 อีเมล์: lprivord@jhsph.edu
ฤทัยวรรณ ตันวงษ์วาน
ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
บริษัท ทีคิวพีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด
โทร. 02 260 5820 โทรสาร 02 260 5847 — 8
อีเมล์: tqprthai@tqpr.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ