กรุงเทพฯ--24 มี.ค.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
อินเทลเปิดตัวโปรเซสเซอร์ที่ปลอดภัยสูงสุดสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์
โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ที่ผลิตด้วย Hi-k metal gate และ 32nm รุ่นที่สอง
ผสานระบบรักษาความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และการประหยัดพลังงาน เข้าด้วยกันอย่างลงตัว
ประเด็นข่าว:
- โปรเซสเซอร์ผลิตด้วยเทคโนโลยีการผลิต 32 นาโนเมตรรุ่นแรกสำหรับกลุ่มลูกค้าองค์กรมีระบบรักษาความปลอดภัยในตัว เพิ่มสมรรถนะด้านความถูกต้องปลอดภัยของข้อมูลและระบบเวอร์ชวลเซชันของเซิร์ฟเวอร์
- เพิ่มประสิทธิภาพของเซิร์ฟเวอร์ได้สูงสุดถึงร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับเซิร์ฟเวอร์โปรเซสเซอร์รุ่นอื่นๆ ดาต้าเซ็นเตอร์สามารถใช้เซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่นี้แทนเซิร์ฟเวอร์แบบซิลเกิ้งคอร์ที่ต้องใช้มากถึง 15 เครื่อง คืนทุนในช่วงเวลาเพียง 5 เดือนเท่านั้น
- โปรเซสเซอร์ชนิดฝังตัวรุ่นแรกที่มีหกคอร์ ให้ประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับอุปกรณ์ต่อเชื่อมต่างๆ
- เดสก์ท้อปโปรเซสเซอร์ระดับสุดยอดไฮเอนด์ มาพร้อมประสิทธิภาพที่น่าทึ่งเพื่อใช้สร้าง ดิจิตอลคอนเท้น แปลงภาพ 3 มิติ ใช้งานมัลติทาสกิ้งหนักๆ และการเล่นเกมพีซีแบบสุดขั้ว
อินเทล คอร์ปอเรชั่น เปิดตัว อินเทล? ซีออน? โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5600 ซึ่งเป็นโปรเซสเซอร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์รุ่นแรกที่ผสานรวมระบบรักษาความปลอดภัยชนิดสมบูรณ์แบบ สมรรถนะการทำงานสูงสุด และประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงาน เข้าไว้ด้วยกัน โดยที่คุณสมบัติด้านความปลอดภัยนั้น มีอยู่สองชนิดคือ Intel? AES-NI (Intel? Advanced Encryption Standard New Instruction) และ Intel? TXT (Intel? Trusted Execution Technology) ซึ่งช่วยเสริมประสิทธิภาพในการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูล ส่งผลให้การทำรายการข้อมูลและระบบเวอร์ชวลไลเซชันปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ทำให้ดาต้าเซ็นเตอร์มีระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งเพื่อรองรับระบบคลาวด์
โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่นี้เป็นชิปสำหรับเซิร์ฟเวอร์และเวิร์กสเตชั่นรุ่นแรกที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 32 นาโนเมตรรุ่นใหม่ โดยมีการนำเอาทรานซิสเตอร์ high-k metal gate รุ่นที่สองของอินเทลมาใช้เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานและลดอัตราการใช้พลังงานลง โปรเซสเซอร์ซีรี่ส์นี้มีจำนวนคอร์มากถึง 6 คอร์ต่อโปรเซสเซอร์ และให้ประสิทธิภาพได้สูงสุดถึงร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับอินเทล? ซีออน? ซี่รี่ส์ 5500 โปรเซสเซอร์ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 45 นาโนเมตร นอกจากนี้ ดาต้าเซ็นเตอร์ยังสามารถใช้เพียงเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่เพียงเครื่องเดียว แทนการใช้เซิร์ฟเวอร์แบบซิงเกิ้ลคอร์จำนวน 15 เครื่องได้อย่างน่าทึ่ง โดยสามารถคืนทุนได้ภาในระยะเวลาเพียง 5 เดือนเท่านั้น
ประโยชน์ที่ดาต้าเซ็นเตอร์จะได้จากอินเทล ซีออน ซีรี่ส์ 5600 โปรเซสเซอร์ คือ ระบบประหยัดพลังงาน เซิร์ฟเวอร์ชนิดสองซ็อกเก็ตที่ใช้ อินเทล ซีออน L5640 โปรเซสเซอร์ เป็นรุ่นที่กินไฟต่ำ และให้ประสิทธิภาพเทียบเท่ากับโปรเซสเซอร์รุ่นที่ดีที่สุดก่อนหน้านี้ คือ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ X5570 แต่ใช้พลังงานน้อยกว่าร้อยละ 30 ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ www.intel.com/performance/server/xeon/summary.htm
เคิร์ก สกาวเกน รองประธานและผู้จัดการทั่วไป อินเทล อาร์คิเทคเจอร์ กรุ๊ป กล่าวว่า “อินเทล ซีออนโปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5600 จะกลายเป็นโครงสร้างหลักสำหรับการประมวลผลในระดับเมนสตรีมในไม่ช้า เพราะมีคุณสมบัติด้านการรักษาความปลอดภัยรุ่นใหม่ที่ช่วยให้ผู้จัดการแผนกไอทีมั่นใจในระบบมากขึ้น
นอกจากนั้นประสิทธิภาพที่ดีขึ้น รวมถึงระบบเวอร์ชวลไลเซชั่นของเซิร์ฟเวอร์คุณสมบัติด้านการประหยัดพลังงานที่มีการพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม จะช่วยเสริมประสิทธิภาพของระบบเซิร์ฟเวอร์ให้รองรับแอพลิเคชั่นได้หลากหลายชนิด นับตั้งแต่การการทำทรานซ์แอคชั่นข้อมูลไปจนถึงการใช้เวิร์กสเตชั่นสำหรับงานของวงการแพทย์ เช่น การบันทึกภาพและข้อมูลดิติตอลต้นแบบ เป็นต้น”
ระบบการรักษาความปลอดภัยที่รัดกุมมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบัน ฝ่ายไอทีต้องเผชิญกับภัยคุกคามและสถาปัตยกรรมใหม่ๆ ในด้านเทคโนโลยี ตลอดจนกฎกติกาทั้งหลายที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมักจะกลายเป็นอุปสรรคให้ต้องเปลี่ยนโครงสร้างหลักของระบบการประมวลผลให้ทันสมัยขึ้นกว่าเดิม อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5600 สามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี ด้วยคุณสมบัติพิเศษต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้ใช้มั่นใจในเรื่องความสมบูรณ์ของข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น
เทคโนโลยีที่มีอยู่ใน อินเทล ซีออน โปรเซสซอร์ 5600 ซีรี่ส์ ประกอบด้วย Intel AES-NI ซึ่งเป็นชุดคำสั่งใหม่ที่อินเทลนำมาใช้กับโปรเซสเซอร์ในตระกูลอินเทล คอร์ 2010 รุ่นใหม่นี้เป็นครั้งแรก โดยชุดคำสั่งนี้จะช่วยเร่งการทำงานของชุดคำสั่ง AES ให้ทำได้เร็วยิ่งขึ้นเมื่อต้องเข้ารหัสและถอดรหัสแอพลิเคชั่นชนิดต่างๆ เช่น การเข้ารหัสดาต้าเบส การเข้ารหัสดิสก์เต็มรูปแบบ รวมถึงการทำทรานซ์แอคชั่นข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย เป็นต้น
ส่วนเทคโนโลยี Intel TXT ที่มีอยู่ในโปรเซสเซอร์รุ่นนี้เช่นกันนั้น จะมีคุณสมบัติด้านความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นที่ต้องการของการทำงานในระบบคลาวด์ โดยทำให้แพลตฟอร์มมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและและยังมีคุณสมบัติที่ช่วยป้องกันความปลอดภัยให้กับแอพลิเคชันที่มีการโอนถ่ายกันระหว่างเซิร์ฟเวอร์ที่ทำเวอร์ชวลไลเซชั่นอีกด้วย คุณสมบัติในฮาร์ดแวร์ที่มีอยู่ในโปรเซสเซอร์รุ่นนี้จะคอยป้องกันไม่ให้ซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายเข้ามาสู่ระบบได้ ทำให้สามารถรันแอพลิเคชั่นและข้อมูลที่สำคัญได้อย่างปลอดภัยเมื่อมีการทำงานในลักษณะเวอร์ชวลไลเซชั่น
เทคโนโลยี Intel TXT และ Intel AES จะทำงานร่วมกันเพื่อช่วยให้ระบบเวอร์ชวลไลเซชั่นมีประสิทธิภาพและทำงานได้ดีขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้การเรียกใช้ เคลื่อนย้าย หรือพักการทำงานของระบบเวอร์ชวลไลเซชั่น มีความปลอดภัยมากขึ้น
ประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ใช้พลังงานลดลง
ระบบรักษาความปลอดภัยของอินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5600 ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะสูงขึ้นทั้งในด้านประสิทธิภาพ สมรรถนะการใช้งานที่ปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ และคุณสมบัติด้านการประหยัดพลังงาน จึงช่วยให้การทำงานของดาต้าเซ็นเตอร์มีประสิทธิภาพโดยรวมสูงขึ้น นอกจากนี้เทคโนโลยีต่างๆ อาทิเช่น อินเทล? เทอร์โบบูสต์ เทคโนโลยี (Intel? Turbo Boost Technology) อินเทล?ไฮเปอร์ เธรดดิ้ง เทคโนโลยี (Intel? Hyper-Threading Technology) และ อินเทล? เวอร์ชวลไลเซชั่น เทคโนโลยี (Intel? Virtualization Technology) ที่ได้รับพัฒนาให้ทันสมัยมากขึ้นนั้น จะทำให้ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนระดับของสมรรถนะของการทำงานได้ตามความต้องการ ทำงานในลักษณะมัลติทาสกิ้งได้ดียิ่งขึ้น และพึงพอใจกับระบบไอทีโดยรวมที่มีเสถียรภาพและบริหารจัดการได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
สำหรับอินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5600 รุ่นคว๊อดคอร์ที่รองรับการปรับความถี่ได้เต็มที่นั้น มีความเร็วได้สูงสุดจนถึง 3.46 GHz โดยมี TDP (Thermal Design Point) ที่ 130 วัตต์ ส่วนโปรเซสเซอร์ชนิดหกคอร์มีความเร็วสูงสุดถึง 3.33 GHz โดยมี TDP ที่ 130 วัตต์ ส่วนโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ที่มีหกคอร์ จะมีความเร็วสูงสุดที่ 2.93 GHz และมี TDP ที่ 95 วัตต์ สำหรับโปรเซสเซอร์สี่คอร์แบบมาตรฐานจะมีความเร็วสูงสุดที่ 2.66 GHz โดยมี TDP ที่ 80 วัตต์ ในขณะที่โปรเซสเซอร์หกและสี่คอร์รุ่นกินไฟต่ำจะมีค่า TDP ที่ 60 วัตต์และ 40 วัตต์ตามลำดับ
นอกจากนั้น อินเทลยังได้ประกาศวางจำหน่ายอินเทล? ซีออน? โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ L3406 โดยมุ่งเจาะตลาดเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กที่ใช้ซิงเกิ้ลโปรเซสเซอร์เป็นหลัก อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ L3406 มีค่า TDP เพียง 30 วัตต์ จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่มีขนาดบางซึ่งต้องการวางได้จำนวนมากในพื้นที่จำกัดและกินไฟต่ำ
ประสิทธิภาพที่ทำสถิติระดับโลก
อินเทล? ซีออน? โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5600 มีประสิทธิภาพที่เหนือกว่ารุ่นก่อนหน้านี้ คือ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ 5500 และเป็นโปรเซสเซอร์แบบสองซ็อกเก็ตสำหรับเซิร์ฟเวอร์และเวิร์กสเตชั่นรวม 12 รุ่นซึ่งมีสถิติด้านประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับในระดับโลก
โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่นี้มีสมรรถนะที่โดดเด่นด้านการใช้พลังงานที่มีมีประสิทธิภาพ และสร้างสถิติใหม่ด้านสมรรถนะของเซิร์ฟเวอร์แบบซิงเกิ้ลโหนด (single-node) และมัลติโหนด (multi-node) จากการทดสอบด้วยเบนช์มาร์ก SPEC*power_ssj2008 สำหรับเซิร์ฟเวอร์แบบซิงเกิ้งโหนดที่ใช้ทดสอบเป็นของไอบีเอ็ม* รุ่น IBM* x3650 M3 ทำคะแนนได้ 2,927 ssj_ops/watt ซึ่งเป็นประสิทธิภาพในระดับที่สูงกว่าอินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 ถึงร้อยละ 42 ส่วนเซิร์ฟเวอร์แบบมัลติโหนดเป็นเครื่องรุ่น IBM* dx360 M3 ทำคะแนนได้ 3,038 ssj_ops/watt ซึ่งสูงกว่าโปรเซสเซอร์รุ่นก่อนหน้านี้ร้อยละ 31 สำหรับเซิร์ฟเวอร์รุ่น PRIMERGY* RX300 S6 server ของฟูจิตซึ* ที่เป็นแบบสองซ็อกเก็ตที่ใช้ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ L5640 จะมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ X5570 แต่กินไฟต่ำกว่าร้อยละ 30
นอกจากนี้ เซิร์ฟเวอร์รุ่น PRIMERGY* RX300 S6 server ของฟูจิตซึ* ยังทำลายสถิติโลกในด้านประสิทธิภาพด้าน Java* (ทดสอบโดย SPECjbb2005* ได้ผล 928,393 bops สูงกว่าโปรเซสเซอร์รุ่นก่อนหน้านี้ร้อยละ 46) และประสิทธิภาพด้าน ERP (ทดสอบโดย SAP*-SD 2-Tier ERP 6.0 Unicode ทำได้ 4,860 คะแนน สูงกว่าโปรเซสเซอร์รุ่นก่อนหน้าร้อยละ 27) ส่วนประสิทธิภาพด้าน web serving (ทดสอบโดย SPECweb2005* ทำได้ 104,422 คะแนน สูงกว่าโปรเซสเซอร์รุ่นก่อนหน้าร้อยละ 25)
เซิร์ฟเวอร์จากเดลล์* รุ่น PowerEdge* R710 ก็สามารถสร้างสถิติใหม่สำหรับประสิทธิภาพของแพลตฟอร์ม 2S จากการทดสอบด้วยเบนช์มาร์ก SPECint*rate_base2006 โดยทำได้ 355 คะแนน และเบนช์มาร์ก SPECfp*rate_base2006 ซึ่งทำได้ 248 คะแนน
นอกจากนั้นเซิร์ฟเวอร์ของซิสโก้* รุ่น UCS* B250 M2 ซึ่งใช้ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ X5680 จำนวน 2 ตัว ยังสร้างสถิติใหม่สำหรับประสิทธิภาพด้านการทำเวอร์ชวลไลเซชั่นจากการทดสอบด้วยเบนช์มาร์ก VMMark* โดยทำได้ 35.83 คะแนน ที่ 26 tiles สูงกว่าโปรเซสเซอร์รุ่นก่อนหน้าร้อยละ 42 ส่วนรุ่น UCS* B200 M2 ซึ่งทดสอบด้วย SPEComp* Mbase2001 และรุ่น UCS* B250 M2 ก็สามารถทำสถิติโลกได้เช่นกันจากการทดสอบด้วย SPECjAppServer2004*
ข้อมูลและผลการทดสอบเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่www.intel.com/performance/server/xeon/summary.htm
โปรเซสเซอร์แบบฝังตัวรุ่นใหม่
นอกเหนือจากโปรเซสเซอร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์องค์กรแล้ว อินเทลยังเปิดตัวโปรเซสเซอร์ที่มีความโดดเด่นเพื่อเจาะตลาดประมวลผลด้วยโปรเซสเซอร์แบบฝังตัวจำนวน 3 รุ่น ประกอบด้วย โปรเซสเซอร์ชนิดหกคอร์รุ่นแรก คือ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ E5645 และ L5638 และโปรเซสเซอร์แบบคว๊อดคอร์อีก 2 รุ่นคือ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ L5618 และ E5620 ซึ่งโปรเซสเซอร์ทุกรุ่นดังกล่าวมีอายุการใช้งานนาน 7 ปี และเหมาะกับสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีข้อจำกัดด้านความร้อนและต้องการระบบสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูง พร้อมทั้งยังช่วยให้การโอนถ่ายแอพลิเคชั่นระหว่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง
โปรเซสเซอร์รุ่นเอ็กซ์ตรีมที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 32 นาโนเมตร
ขณะเดียวกัน อินเทลยังประกาศวางจำหน่ายโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ คือ อินเทล? คอร์? ไอเซเว่น 980Xโปรเซสเซอร์ เอ็กซ์ตรีม เอดิชั่น ซึ่งมีหกคอร์และใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 32 นาโนเมตร และนับเป็นรุ่นแรกที่ประมวลผลชิ้นงานได้พร้อมๆ กันถึง 12 เธรด จึงจัดอยู่ในกลุ่มโปรเซสเซอร์อินเทลสำหรับ เดสก์ท้อประดับไฮเอนด์ที่มีประสิทธิภาพสูง เหมาะสำหรับการสร้างดิจิตอลคอนเทนท์ เรนเดอร์ภาพ 3 มิติ ทำงานแบบมัลติทาสกิ้ง และเล่นเกมไฮเอนด์ และยังรองรับ** มาเธอร์บอร์ดส่วนใหญ่ในตลาดที่ใช้อินเทล? X58 เอ็กซ์เพรส ชิปเซ็ตได้ด้วย ทางด้านความเร็วของโปรเซสเซอร์นั้น ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 3.33 GHz แต่สามารถโอเวอร์คล็อกได้อีก*** ผู้ใช้จึงสามารถปรับแต่งความเร็วได้ตามต้องการ ส่วน อินเทล? สมาร์ท แคช ขนาด 12 MB ที่ให้มาด้วยก็มีขนาดใหญ่กว่าโปรเซสเซอร์รุ่นยอดนิยมของอินเทลที่มีอยู่ในปัจจุบันถึงร้อยละ 50 โดยในงาน เกม ดิเวลล็อปเปอร์ คอนเฟอเรนซ์ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ซานฟรานซิสโก ยังได้มีการนำเอาเกมส์ที่ต้องใช้การประมวลผลแบบเธรดสูงๆ และโปรแกรมสร้างดิจิตอลคอนเทนท์มาแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์ด้วย เช่น Ubisoft* R.U.S.E*, Napoleon: Total War ของบริษัท Sega* พร้อมด้วยโปรแกรม Cakewalk* จากโซนาร์ โปรดิวเซอร์* เป็นต้น
ไมค์ ซิมป์สัน ครีเอทีฟ ไดเรกเตอร์ ของบริษัท ครีเอทีฟ แอสเซมบลี ซอฟต์แวร์* กล่าวว่า “Napoleon: Total War เป็นเกมซึ่งพัฒนาขึ้นโดยใช้กลไกการทำงานแบบมัลติเธรดรุ่นที่สอง ทำให้อินเทล คอร์ ไอเซเว่น 980X โปรเซสเซอร์ ช่วยสร้างประสบการณ์ที่ให้อารมณ์สมจริงแก่ผู้เล่น ราวกับว่าเผชิญกับการทำสงครามจริงๆ เลยทีเดียว นอกจากนี้ จำนวนคอร์ที่เพิ่มมากขึ้นในอินเทล คอร์ ไอเซเว่น 980Xโปรเซสเซอร์ ยังทำให้การภาพและเคลื่อนไหวของกองทหารที่กำลังสู้รบกันอยู่ทั้งบนบกและในทะเลมีรายละเอียดที่ชัดเจนและคมชัดมากขึ้นกว่าเดิม”
เซิร์ฟเวอร์และเวิร์กสเตชั่นพร้อมวางจำหน่าย
ขณะนี้ ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ทั่วโลก อาทิเช่น ซิสโก้* เดลล์* ฟูจิตซึ* เอชพี* ไอบีเอ็ม* และ ออราเคิล* ได้เริ่มนำเซิร์ฟเวอร์และเวิร์กสเตชั่นที่ใช้อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5600 วางจำหน่ายในตลาดแล้ว และจะทยอยเปิดตัวผลิตภัณฑ์รุ่นต่างๆ มากขึ้นอีกในอนาคตอันใกล้ ทางด้านซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนแพลตฟอร์ม อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5600 ต่างก็ให้การตอบรับเป็นจำนวนมากเช่นกัน อาทิ ซิทริกซ์* ไอบีเอ็ม* ไมโครซอฟท์* โนเวลล์* ออราเคิล* เรดแฮท* แซบ เอจี* และ วีเอ็มแวร์* เป็นต้น ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความร่วมมือกันระหว่างอินเทลและผู้ค้าซอฟต์แวร์รายใหญ่ๆ ในการพัฒนาแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพยอดเยี่ยมดังกล่าวได้ที่ http://www.intel.com/business
ราคาจำหน่ายของ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5600 อยู่ระหว่าง 387 ถึง 1,663 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับจำนวนซื้อ 1,000 ชิ้น ส่วนโปรเซสเซอร์แบบฝังตัว รุ่น E5645, L5638 และ L5618 มีราคา 958, 958 และ 530 เหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับต่อจำนวนซื้อ 1,000 ชิ้น ในขณะที่อินเทล? คอร์ ไอ เซเว่น 980X โปรเซสเซอร์ มีราคา 999 เหรียญสหรัฐฯ ต่อจำนวนซื้อ 1,000 ชิ้น และเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับตัวแทนจำหน่ายในการจำหน่ายโปรเซสเซอร์ซีรี่ส์ใหม่ อินเทล?เซิร์ฟเวอร์ บอร์ด และระบบที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบันที่ใช้กับอินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 ซึ่งมีอยู่แล้วนั้น สามารถใช้กับ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5600 รุ่นใหม่นี้ได้ด้วยเช่นกัน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5600 สามารถดูได้ที่ www.intel.com/xeon สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการทดสอบประสิทธิภาพระดับโลกและข้อมูลอ้างอิงอื่นๆ สามารถดูได้ที่ www.intel.com/performance/server/xeon/summary.htm
และสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ อินเทล? คอร์ ไอเซเว่น 980X โปรเซสเซอร์ สามารถดูได้ที่
www.intel.com/products/processor/corei7ee/index.htm.
อินเทล (NASDAQ:INTC) เป็นผู้นำระดับโลกในด้านนวัตกรรมซิลิกอน สร้างสรรค์เทคโนโลยี สินค้า รวมทั้งการริเริ่มต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการทำงานของผู้คนอย่างต่อเนื่อง ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทลได้ที่ www.intel.com/pressroom , www.intel.com/th, blogs.intel.com, ทวิตเตอร์ @Intelthailand และ เฟสบุ๊ค IntelThailand
Intel Microelectronics (Thailand) Ltd.
87 M. Thai Tower, 9th Floor
All Seasons Place, Wireless Road, Lumpini
Patumwan, Bangkok 10330
Thailand
Tel: (662) 648-6000
Fax: (662) 654-0666
ติดต่อ:
คุณดรรชนีพร พฤกษ์วัฒนานนท์ คุณอรวรรณ ชื่นวิรัชสกุล
บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
โทรศัพท์: (66 2) 648-6000 โทรศัพท์: (66 2) 627-3501
e-Mail: dudchaneeporn.pruckwattananon@intel.com e-Mail: orawan@carlbyoir.com.hk