กพช. คาดออกประกาศเชิญชวนประมูล IPP ได้ในมิ.ย.เปิดรับข้อเสนอภายใน ต.ค.

ข่าวทั่วไป Tuesday June 5, 2007 16:06 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 มิ.ย.--กพช.
ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติอนุมัติแผน PDP ในปี 50-64 พร้อมกันนี้คาดว่าจะออกประกาศเชิญชวนให้ประมูลรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) จำนวน 3,200 เมกะวัตต์ ได้ในเดือน มิ.ย.50 และเปิดรับข้อเสนอภายใน ต.ค.50 โดยคาดว่าจะสามารถลงนามการซื้อขายไฟฟ้าได้ราว มิ.ย.51 เพื่อส่งไฟเข้าระบบในปี 55-57
กพช.ยังเห็นชอบแนวทางและขั้นตอนการจัดตั้งกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า โดยกำหนดให้โรงไฟฟ้าทุกแห่งต้องจ่ายเงินเข้ากองทุน แบ่งเป็น ช่วงระหว่างการก่อสร้างให้จ่ายตามกำลังการผลิตติตั้งของโรงไฟฟ้าในอัตรา 50,000 บาท/เมกะวัตต์/ปี หรือไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท/ปี และช่วงที่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบแล้วให้จ่ายตามหน่วยพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้เป็นประจำทุกเดือน ในอัตราที่แตกต่างกันตามการปล่อยมลภาวะจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า โดยก๊าซธรรมชาติ 1 สต./หน่วย, น้ำมันเตาหรือดีเซล 1.5 สต./หน่วย, ถ่านหิน,ลิกไนต์ 2 สต./หน่วย และพลังงานหมุนเวียน แยกเป็น เชื้อเพลิงที่ผลิตจากพลังงานชีวมวล กาก เศษวัสดุเหลือใช้ และขยะ จะเก็บ 1 สต./หน่วย ส่วนพลังน้ำ เก็บ 2 สต./หน่วย ขณะที่พลังงานลมและแสงอาทิตย์ไม่ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนฯ หลักเกณฑ์ดังกล่าวให้นำมาใช้ทันทีในการประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจาก IPP โดยกำหนดอัตราการจ่ายเงินเข้ากองทุนฯ ไว้ในประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้า ส่วนโรงไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบันให้ดำเนินการตั้งแต่ 1 ก.ค.50 (InfoQuest)
ความเห็นและคำแนะนำ :
จำนวนเมกะวัตต์ที่จะเปิดให้ผู้ผลิตเอกชนเข้าประมูลที่ 3,200 เมกะวัตต์ ในเดือน มิ.ย. 50 นับว่าเป็นไปตามคาด (ใกล้เคียงกับตัวเลขที่เคยเปิดเผยที่ 3,000 เมกะวัตต์) หรือประมาณ 4 โรง (โรงละ 800 เมกะวัตต์) และคาดว่าเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้ใน มิ.ย. 51 หรือ ประมาณ 1 ปี หลังจากประกาศรับซื้อ (คาดจะรู้ผลผู้ชนะประมูลก่อน มิ.ย. 51) ซึ่งเท่ากับว่าผู้ผลิตเอกชนจะมีระยะเวลาประมาณ 3.5 ปี ในการดำเนินการโรงไฟฟ้า เพื่อส่งไฟฟ้าเข้าระบบในปี 55-57 ตามแผน PDP 2007
การที่กพช. มีมติไม่ให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ตลอดจนบริษัทลูกที่ กฟผ.ถือหุ้นเกิน 50% เข้าร่วมประมูล IPP ดังกล่าว ไม่มีผลกระทบกับ EGCO และ RATCH ในการเข้าประมูลเนื่องจากกฟผ. ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวในสัดส่วน 25% และ 45% ตามลำดับ น้อยกว่าเงื่อนไขที่ระบุไว้ อีกทั้งส่วนของกฟผ. เองก็จะได้รับการจัดสรรจำนวนเมกะวัตต์ของโรงไฟฟ้าใหม่ที่จะเข้าไปดำเนินการ (แยกต่างหากจากจำนวน 3,200 เมกะวัตต์ ของเอกชนที่ระบข้างต้น)
คาดการจัดตั้งกองทุนพัฒนาชุมชุมในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า หรือ Energy Tax ถือเป็นการดำเนินการเชิงรุก เพื่อลดแรงต่อต้านจากชุมชนในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นผลดีกับแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ในอนาคต โดยคาด Energy Tax ดังกล่าว ไม่ได้เป็นภาระกับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน เนื่องจากอัตราการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนในช่วงที่โรงไฟฟ้าจ่ายไฟเข้าระบบจะอยู่ในอัตราประมาณ 1-2 สต./หน่วย หรือประมาณ 50-100 ล้านบาท/ปี
คาดผู้ผลิต IPP ส่วนใหญ่จะยื่นประมูลโรงไฟฟ้าก๊าซฯ ในการประมูลรอบแรก อาทิ EGCO, RATCH, TOP, GLOW, TECO (บริษัทย่อยของ RATCH) และคาดเป็นการยื่นประมูลโรงไฟฟ้าในโซนภาคตะวันออก และภาคกลางเป็นหลัก เนื่องจากในโซนดังกล่าวมีความพร้อมของระบบสายส่ง อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายตัวแปรนอกเหนือจากความพร้อมของระบบสายส่ง ที่จะเป็นองค์ประกอบในการคัดเลือกผู้ชนะประมูล
จากกรณีศึกษา หากชนะประมูลโรงไฟฟ้า IPP ใหม่ขนาด 800 เมกะวัตต์ (ภายใต้สมมติฐานของ Project IRR ที่ 12-15%, ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ US$0.75 ล้าน/1 เมกะวัตต์, อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนที่ 3 : 1 เท่า, WACC 11%, LT-growth Rate 1%) จะเพิ่มมูลค่าพื้นฐานให้กับผู้ผลิต

แท็ก ผลิตไฟฟ้า  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ