SCB ผนึก SCG ติดปีกนวัตกรรมเชื่อมข้อมูลเครือข่ายธุรกิจการค้า พลิกโฉมโลกการค้าต่างประเทศ

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 31, 2010 08:13 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--31 มี.ค.--ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับเอสซีจี เปิดมิติใหม่แห่งบริการธุรกรรมการค้าต่างประเทศ “Export Collection Intelligence” ครั้งแรกแห่งการเชื่อมโยงข้อมูลเครือข่ายธุรกิจการค้าระหว่างธนาคาร เอสซีจี ลูกค้า และบริษัทในเครือแบบ Real Time ตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ พรรณแข นันทวิสัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า “ โลกการค้าต่างประเทศมีการแข่งขันอย่างรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวอย่างเช่นในปัจจุบัน ความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการจึงเป็นสิ่งสำคัญ ธนาคารมองเห็นแนวโน้มธุรกิจขององค์กรขนาดใหญ่ที่หันมาให้ความสนใจกับการหานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานภายในองค์กร จึงพัฒนาบริการ Trade Service Solution มาเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า ซึ่งนับว่าเป็นการสร้างปรากฎการณ์ใหม่ให้กับการทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ โดยลูกค้าไม่ต้องเสียเวลากับการบริหารจัดการและดำเนินการแบบเดิม ๆ อีกต่อไป และในครั้งนี้ ธนาคารได้ร่วมมือกับ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ครบวงจรรายใหญ่ พัฒนาบริการธุรกรรมการค้าต่างประเทศ “Export Collection Intelligence” สำหรับการส่งออกเคมีภัณฑ์ทั้งหมด โดยใช้ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) ในการเชื่อมโยงข้อมูลเครือข่ายธุรกิจการค้าระหว่างธนาคาร กับเอสซีจี ลูกค้า บริษัทในเครือ และ Network ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องแบบ Real Time โดยให้บริการครอบคลุมทั้งคำสั่งซื้อ การจัดเตรียมเอกสารการค้าระหว่างประเทศ และขั้นตอนการรับชำระเงิน ด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว ทำให้ช่วยลดระยะเวลาในการบริหารจัดการงานเอกสาร ลดจำนวนพนักงาน และรองรับปริมาณธุรกรรมที่เพิ่มมากขึ้น สำหรับกลยุทธ์หลักของบริการด้านธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศนั้น ธนาคารให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการบริหารจัดการและดำเนินการ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเรียกเก็บเงินได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการช่วยพัฒนาธุรกิจให้ลูกค้าเติบโตได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ธนาคารเน้นให้บริการแก่ฐานลูกค้าเก่าที่มีอยู่กว่า 10,000 ราย และคาดว่าในปีนี้ ไทยพาณิชย์จะมีมาร์เก็ตแชร์ในบริการนี้อย่างน้อย 50 %” อภิรดี ดุรงค์พันธุ์ Head, Business Services Office บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด กล่าวว่า “เอสซีจีได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำธุรกิจอย่างยั่งยืนในอาเซียนภายในปี 2015 และหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญสู่การบรรลุเป้าหมายนี้ ก็คือ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการ ที่ผ่านมา นอกจากจะผลักดันการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม(High Value Added - HVA) แล้ว เอสซีจี เคมิคอลส์ ยังมุ่งพัฒนาระบบการให้บริการและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพด้วย โปรแกรม Export Collection Intelligence ที่เรามุ่งมั่นพัฒนาขึ้น เป็น Business Model รูปแบบใหม่ในประเทศไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ระบบ Infrastructure ของงาน Back Office ทำให้บริษัทสามารถรองรับการขยายตัวด้านการส่งออก ที่เพิ่มกว่า 1 เท่าตัวได้ ” นวัตกรรม Export Collection Intelligence ประกอบด้วยงาน 2 ส่วนหลัก คือ การ Outsource เอกสารส่งออก และการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างธนาคารกับเอสซีจี ผ่านระบบ Data Link ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกลูกค้าในการ Create Order และตรวจ Delivery Schedule ได้แบบ Real time ได้รับเอกสารเพื่อดำเนินพิธีการศุลกากรอย่างรวดเร็ว และยังสามารถติดตามผลเอกสารที่ส่งออกทั้งหมดจาก Web หรือ Automatic E-Mail ได้ สำหรับเอสซีจี เคมิคอลส์ ระบบนี้ ช่วยให้เราลดกำลังคนได้ แม้ปริมาณงานจะเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว โดยใช้คนเพียง 6 คน เพื่อรองรับยอดขาย Export 900,000 เมตริกตันต่อปี หรือประมาณ 25,200 Invoices ต่อปี จากเดิมที่เคยใช้คนถึง 30 คน รองรับยอดขาย Export 500,000 เมตริกตันต่อปี หรือ ประมาณ 8,400 Invoice ต่อปี นับเป็นการยกระดับการทำงานของ Back Office อย่างแท้จริง นอกจากนี้ จำนวน Activity ที่ต้องติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ ก็ลดลง ลดกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน เพิ่มความถูกต้องแม่นยำตลอดสายงาน ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 1,200 บาทต่อ Invoice หรือ คิดเป็น 16.4 ล้านบาท ต่อปี ความร่วมมือกับธนาคารในการพัฒนา “Export Collection Intelligence” นี้ นับเป็นมิติใหม่ของบริการการค้าต่างประเทศ ด้วยการทำงานบน Open Platform ที่เชื่อมต่อระบบภายในของ 2 องค์กรเข้าด้วยกัน ทำงานเสมือนเป็นองค์กรเดียวกัน มีผู้เชี่ยวชาญด้าน Trade Finance ช่วยเสริมแรงในการทำธุรกิจ ทำให้เรามีความมั่นใจที่จะเดินหน้ารุกตลาดใหม่ ๆ มากขึ้น โดยไม่ต้องกังวล เพราะมี “คู่คิด คู่ค้า คู่พัฒนา” ด้านการเงินที่ไว้ใจได้ เชื่อว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมธุรกิจซึ่งกันและกัน และทำให้เราพัฒนาและเติบโตขึ้นไปพร้อมๆ กันอย่างยั่งยืน”

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ