กรุงเทพฯ--8 เม.ย.--ธนาคารเอชเอสบีซี
อัตราเงินเฟ้อเดือนมีนาคมของไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (เทียบกับร้อยละ 3.7 ในเดือนกุมภาพันธ์)
สถานการณ์เงินเฟ้อ
หากตัดปัจจัยของฤดูกาลออกไป อัตราเงินเฟ้อของไทยในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อน ซึ่งต่ำกว่าระดับร้อยละ 0.4 ของเดือนที่ผ่านมา และต่ำกว่าประมาณการของเอชเอสบีซี ราคาข้าวที่ตกลงอย่างต่อเนื่องและการแข็งค่าของเงินบาทยังเป็นปัจจัยที่กดดันภาวะเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปรับลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 3.7 ของเดือนที่แล้ว มาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 เป็นผลมาจากราคาสินค้าอาหารของเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งต่ำกว่าเดือนที่แล้วที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ผลที่ตามมาคือ ราคาสินค้าอาหารสดลดลงราวร้อยละ 1.4 ขณะที่ราคาพลังงานแกว่งตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จากเดือนก่อน
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่ไม่รวมอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากร้อยละ 0.3 ของเดือนก่อน เป็นร้อยละ 0.4 ในเดือนมีนาคม
ผลที่เกิดขึ้น
ราคาน้ำมันดิบที่เริ่มทะยานสูงขึ้นอาจมีผลกดดันต่อราคาสินค้า แต่ชดเชยได้ด้วยอัตราการใช้กำลังการผลิตในประเทศที่ยังคงติดลบ กำลังการผลิตส่วนเกินในระบบ และการแข็งค่าของเงินบาทจะช่วยพยุงแรงกดดันของเงินเฟ้อ ราคาสินค้าที่ค่อนข้างต่ำที่เกิดขึ้นจะช่วยกระตุ้นการเติบโตเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในปี 2553 ซึ่งเป็นการเติบโตที่มีอัตราการบริโภคภายในประเทศเป็นปัจจัยสำคัญ
เอชเอสบีซี คาดว่ากนง.จะยังมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ตามเดิมในการประชุมวันที่ 21 เมษายน เนื่องจากตระหนักถึงความตึงเครียดทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง และผลกระทบต่อการเติบโตเศรษฐกิจ โดยมองว่ายังสามารถคอยดูอัตราเงินเฟ้อในระดับปัจจุบันได้ระยะหนึ่ง นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าประมาณการในช่วงร้อยละ 0.5-3.0
อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางมีแนวโน้มที่จะขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ซึ่งถือเป็นอัตราที่ต่ำสุดในภูมิภาค เอชเอสบีซี เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ในการประชุมของกนง. ในเดือนมิถุนายน
ประเด็นที่จับตา
ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศเมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่าจะเริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากที่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายมานานเกือบปี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เอชเอสบีซี เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะยังไม่ขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมคณะกรรมการกนง. เดือนเมษายนนี้ แต่จะปรับขึ้นในเดือนมิถุนายนแทน โดยการปรับขึ้นราวร้อยละ 0.25 ในระยะเวลา 3 เดือน ไม่ได้เกิดจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เพิ่มขึ้นเป็นสาเหตุหลัก แต่จะส่งสัญญาณที่ส่อแววการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ ทำให้การพึ่งพามาตรการกระตุ้นของภาครัฐน้อยลง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วรนันท์ สุทธปรีดา, สาวิตรี หมวดเมือง โทรศัพท์ 0-2614-4609, 0-2614-4606
หมายเหตุถึงบรรณาธิการ:
1. ธนาคารเอชเอสบีซีในประเทศไทย
เอชเอสบีซีเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกในประเทศไทย เปิดสำนักงานให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2431 ด้วยประสบการณ์ด้านการเงินการธนาคารและเครือข่ายสาขากว้างขวางทั่วโลก รวมกับความรู้ความชำนาญของบุคลากรภายในประเทศ ธนาคารเอชเอสบีซีเปิดให้บริการด้านการเงินและการธนาคารเต็มรูปแบบ ทั้งบริการด้านเงินฝาก สินเชื่อธุรกิจ พาณิชย์ธนกิจ ธุรกิจสถาบันการเงิน บริการด้านบริหารเงินและตลาดทุน บริการดูแลและรับฝากหลักทรัพย์ บริการการค้าและเครือข่ายธุรกิจระหว่างประเทศ และบริการด้านการชำระเงินและบริหารเงินสดแก่ลูกค้าประเภทองค์กร ตลอดจนบริการบุคคลธนกิจและธุรกิจบัตรเครดิตแก่ลูกค้าประเภทบุคคล ธนาคารเอชเอสบีซีได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในด้านบริการที่ได้มาตรฐานสูง ความมีจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ และเจตนารมณ์ในการมุ่งมั่นบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม
2. เอชเอสบีซี โฮลดิ้ง พีแอลซี หรือ กลุ่มเอชเอสบีซี
กลุ่มเอชเอสบีซี เป็นสถาบันผู้ให้บริการด้านการเงินและการธนาคารที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สำนักงานใหญ่
ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันมีเครือข่ายสาขาประมาณ 8,000 แห่งใน 88 ประเทศและเขตปกครอง
ทั้งในยุโรป เอเชีย แปซิฟิก ตะวันออกกลาง อเมริกา และแอฟริกา ให้บริการแก่ลูกค้าจำนวน 100 ล้านคนทั่วโลก
มีสินทรัพย์รวม 2,364,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552) ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้ง
คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งกลุ่มเอชเอสบีซี