กรุงเทพฯ--9 เม.ย.--สำนักปลัดนายกฯ
สำนักปลัดนายกฯอนุมัติงบประมาณ ศก.พอเพียงเพื่อยกระดับชุมชนทั้ง84,563 หมู่บ้าน/ชุมชน ทั่วประเทศ ของงบประมาณปี52 ยึดโครงการส่วนรวมเป็นเกณฑ์ ย้ำหมู่บ้านห้ามแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว
โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน เดินหน้าประชุมคณะอนุกรรมการอำนวยการในคณะกรรมการบริหารโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน เพื่อเตรียมความพร้อมในการอนุมัติโครงการฯ จัดสรรงบ ประมาณให้กับหมู่บ้าน/ชุมชน
วันที่ 9 เมษายน 2553 โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน จัดประชุมคณะอนุกรรมการอำนวยการในคณะกรรมการบริหารโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ห้อง 203 กรมประชาสัมพันธ์ ซอยอารีย์สัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร โดยมี นายมีชัย วีระไวทยะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการ, นาย สนธิ เตชานันท์ ประธานอนุกรรมการ, นาย กำพล แกล้วทนงค์ รองประธานอนุกรรมการ, นาย วิลาศ โลหิตกุล รองประธานอนุกรรมการ, นาย ปราโมช รัฐวินิจ อนุกรรมการ, นางวิสุนี บุนนาค อนุกรรมการ เข้าร่วมการประชุม
นายปราโมช รัฐวินิจ ผู้อำนวยการโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี(สปน.) กล่าวว่า โครงการชุมชนพอเพียงมีความพร้อมแล้วจะเริ่มอนุมัติงบประมาณให้กับชุมชนทั้ง84,563 หมู่บ้าน/ชุมชน ตามที่สำนักสำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน เสนอปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อที่ดำเนิน การจัดสรรให้กับหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ยังคงค้างอยู่ของปี2552 ที่แต่ละหมู่บ้าน /ชุมชนเสนอโครงการเข้ามาเพื่อขอรับงบประมาณดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามกำหนดขั้นตอนในการพิจารณาจัดสรร อนุมัติโครงการฯ งบประมาณใหม่ทั้งหมด จะมีอนุกรรมการอำนวยการฯพิจารณาเห็นชอบก่อน เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าบางโครงการที่หมู่บ้าน/ชุมชนนำเสนอเข้ามานั้น ไม่มีการเสนอขอ แต่มีการอนุมัติโครงการ รวมถึงการขอไม่ตรงไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จึงทำให้เกิดปัญหาร้องเรียน/ร้องทุกข์ตามมา
ผู้อำนวยการโครงการฯ ยังกล่าวอีกว่า ตามหลักเกณฑ์การพิจารณากลั่นกรองโครงการฯ ในปี 2553นี้ หมู่บ้าน/ชุมชนที่มีอยู่ 84,563แห่งทั่วประเทศ จะต้องมีการบริหารจัดการโครงการก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและที่เกิดประโยชน์ ต่อชุมชนโดยรวมเป็นประการสำคัญ เช่น โครงการเลี้ยงเป็ด-ไก่-ปลา-โค โครงการลานค้าชุมชน การพัฒนาฝีมืออาชีพ การผลิตปุ๋ยชีวภาพจากมูลสัตว์ โครงการหัตถกรรมหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งโครงการดังกล่าวจะมิใช่เกิดประโยชน์เฉพาะบุคคล เหมือนเช่นที่ผ่านมา เช่น การจัดซื้อเครื่องจักร โรงสีข้าวชุมชน ตู้น้ำหยอด เหรียญพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องทำปุ๋ยหมัก ซื้อรถ เป็นต้น ดังนั้นทางหมู่บ้าน/ชุมชนจะต้องมีรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน โดยเฉพาะฐานข้อมูลที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะได้ขออนุมัติจัดสรรงบประมาณโอนเงินลงไป
“ระบบฐานข้อมูลใหม่นี้ ทางโครงการฯ ได้นำระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ในการตรวจสอบ ค้นหา จะช่วยให้ลดข้อผิดพลาดและซ้ำซ้อนการทำงานลงไปได้ หรือแม้กระทั่งตรวจสอบข้อทุจริตโครงการต่างๆ มีการปฏิบัติจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตามทางอนุกรรมการฯ จะมีการติดตามประเมินผลงานของหมู่บ้าน/ชุมชน หลังจากที่ได้รับอนุมัติโครงการฯ ไปแล้วด้วย” ผอ.โครงการฯ กล่าว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 026299227 chumchon