กรุงเทพฯ--12 ก.พ.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
กรมศุลกากร จับกุมสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาลักลอบนำเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักร โดยการสำแดงเท็จ อาทิ เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า หมวก กระเป๋าเดินทาง แว่นตา นาฬิกา เครื่องคิดเลข ฯลฯ รวมมูลค่ากว่า 30 ล้านบาท
นายสังกรณ์ พึ่งประดิษฐ์ รองอธิบดี กรมศุลกากร แถลงข่าวกรมศุลกากรจับกุมสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ณ บริเวณลานจอดรถ หลังอาคาร 1 กรมศุลกากร คลองเตย กรุงเทพมหานคร
ตามนโยบายของรัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง ได้เร่งรัดปราบปรามสินค้าลักลอบหนีศุลกากร สินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อปกป้องสังคม สร้างความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีอากร และคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ นายชวลิต เศรษฐเมธีกุล อธิบดีกรมศุลกากรได้สั่งการให้ นายสังกรณ์ พึ่งประดิษฐ์ รองอธิบดีกรมศุลกากร วางแผนร่วมกับ นายเสนีย์ เจริญกุล ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรกรุงเทพ มอบหมายให้ นายวินัย ฉินทองประเสริฐ ผู้อำนวยการส่วนควบคุมทางศุลกากร ดำเนินการจับกุมและพบการกระทำความผิด ดังนี้
-วันที่ 24 มกราคม 2550 จับกุมสินค้า ผ้าเช็ดตัว ปลอมเครื่องหมายการค้า HELLO KITTY จำนวน 5,000 ผืน (ร้าน ออล ฟอร์ วัน) ค้อน ปลอมเครื่องหมายการค้า STANLEY จำนวน 4,750 อัน และแผ่นตัดโลหะ (cutting diamond wheel) ปลอมเครื่องหมายการค้า MAKITA จำนวน 7,500 แผ่น (บริษัท ยูไนเต็ด คอสโม คอร์ปอเรชั่น จำกัด) ณ ด่านศุลกากรลาดกระบัง มูลค่ารวมประมาณ 965,000 บาท
-วันที่ 30 มกราคม 2550 จับกุม ลวดเย็บกระดาษ ปลอมเครื่องหมายการค้า MAX ขนาดบรรจุกล่องละ 1,000 Staples จำนวน 11,850 โหล (142,200 กล่อง) (บริษัท โอ.เค.อินเตอร์บิสสิเนส จำกัด) ณ ด่านศุลกากรฉะเชิงเทรา มูลค่าประมาณ 356,000 บาท
-วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550 จับกุม สิ่งเทียมอาวุธปืน จำนวน 1,008 กระบอก (บริษัท อีสเทิร์น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด) ณ สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง มูลค่าประมาณ 1,500,000 บาท
-วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2550 จับกุม กางเกงยีนส์ ปลอมเครื่องหมายการค้า BILLABONG จำนวน 1,970 ตัว (บริษัท ธนา อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต 2006 จำกัด) ณ สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง รวมมูลค่าประมาณ 591,000 บาท
-วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2550 จับกุม สิ่งเทียมอาวุธปืน จำนวน 800 กระบอก (บริษัท พิตต้า จำกัด) ณ ด่านศุลกากรบางเสาธง มูลค่าประมาณ 240,000 บาท
กรณีดังกล่าวเป็นความผิดฐานสำแดงเท็จหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม ข้อกำกัด ตามมาตรา 99,27 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 ประกอบกับมาตรา 16,17 แห่งพ.ร.บ.ศุลกากร(ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 และ มาตรา 108 — 110 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ยังมีของกลางในคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาที่ส่วนควบคุมทางศุลกากร สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ ได้จับกุมไว้แล้วเป็นจำนวนมาก และได้นำมาร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้ เพียงบางส่วน เฉพาะคดีที่เสร็จสิ้นแล้ว ประมาณ 6 ตู้คอนแทนเนอร์ (40 ฟุต) ดังนี้
เสื้อ DKNY, MERCEDES-BENZ, CHANAL, BURBERRY, LOUIS VUITTON จำนวน 3,980 ตัว กางเกงยีนส์ REPLAY จำนวน 250 ตัว เนกไท LOUIS VUITTON จำนวน 1,000 ชิ้น หมวก ADIDAS, LACOSTE, OAKLEY, PUMA, FERRARI, CONVERSE LEVI’S, ECKO, NIKE, NBA, HARLEY DAVIDSON, DIESEL จำนวน 5,506 ใบ รองเท้า NIKE จำนวน 2,640 คู่ เข็มขัด HARLEY DAVIDSON, LEVI’S จำนวน 450 เส้น ผ้าเช็คตัว HELLO KITTY จำนวน 360 ผืน กระเป๋าสตางค์ GUCCI, HELLO KITTY, DORAEMON, POOH, PUCCA, SNOOPY, CHANAL, ESPRIT จำนวน 27,556 ชิ้น กระเป๋าเดินทาง POLO KING, SAMSONITE จำนวน 4,059 ใบ กระเป๋าถือ BALENCIAGA, CHANEL, COACH, FENDI, BALLY, ESPRIT, HERMES จำนวน 2,343 ชิ้น แว่นกันแดด OAKLEY, GUESS, GUCCI, NIKE, REYBAN, ADDIDAS จำนวน 9,720 อัน นาฬิกาข้อมือ BABY-G, SEIKO, RADO, ROLEX, OMEGA, CASIO, SWISS ARMY จำนวน 12,557 เรือน หลอดไฟฟ้า PHILIPS จำนวน 24,936 หลอด รีโมทคอนโทรล PHILLIPS, NEC, JVC, SHARP, SONY, SAMSUNG, SANYO, PANASONIC, NATIONAL, GOLD STAR จำนวน 28,550 ชิ้น เครื่องคิดเลข CITIZEN, CASIO จำนวน 5,144 อัน ตุ๊กตา KIPLING จำนวน 12,000 ตัว ซองโทรศัพท์ HELLO KITTY, PUCCA, SNOOPY, NOKIA จำนวน 10,550 ชิ้น หน้ากากโทรศัพท์มือถือ MOTOROLA, NOKIA, จำนวน 6,870 ชิ้น หัวเทียน NGK จำนวน 8,000 อัน คอมเพรสเซอร์ SANDEN จำนวน 300 ตัว ตลับหมึก EPSON จำนวน 800 อัน ลำโพงติดรถยนต์ BOSS จำนวน 1,180 ชิ้น จอยสติก SONY จำนวน 1,496 ชิ้น ตลับเกม จำนวน 2,000 ชิ้น เครื่องเล่นเกม จำนวน 2,490 ชิ้น และของใช้เบ็ดเตล็ดอื่นๆ เช่น ที่ใส่กระดาษชำระ กระเป๋าใส่ซีดี พวงกุญแจ ของเด็กเล่น น้ำหอมดับกลิ่น ฯลฯ จำนวน 122,172 ชิ้น
อนึ่งในรอบปีงบประมาณ 2548 (พ.ย.48-ก.ย.49) หน่วยตรวจสอบและควบคุม ส่วนควบคุมทางศุลกากร สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ ได้ตรวจพบการกระทำความผิดทางศุลกากร จำนวน 117 ราย มูลค่า 91,071,924 บาท