กรุงเทพฯ--4 ม.ค.--Group Chief Operating Project
การเปิดงานแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2549 มีท่าน เผชิญ ไพโรจน์ศักดิ์ ท่านผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
นายแพทย์ มนูญ ลีเชวงวงศ์ ประธานมูลนิธิง่วงอย่าขับ นายจรุง กาญจนภูมิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ.เชลล์ ออโต้เซิร์ฟ ประเทศไทย จำกัด
และกลุ่มผู้บริหาร บ.แคดเบอรี่ อาดัมส์ ประเทศไทย จำกัด ( เดนทีน ไอซ์ ) โดย พล.ต.ต.ดร. สุวิระ ทรงเมตตา รอง ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. กล่าวว่าจากผลการศึกษาพบว่า การอดนอนมีผลต่อการขับรถเหมือนกับการดื่มแอลกอฮอล์ที่ระดับ 50 มก.เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่า “เมา” และหากคนที่อดนอนดื่มแอลกอฮอล์ ก็จะมีผลต่อการขับรถ เนื่องจากแอลกอฮอล์สูงมีฤทธิ์ไปกดระบบประสาทเหมือน ยากล่อมประสาทและยานอนหลับการง่วงแล้วขับรถนั้นเป็นอุบัติเหตุที่กฎหมายไม่อาจควบคุมความผิดในขณะที่ง่วงแล้วขับรถ แต่ด้วย โครงการรณรงค์ “ความปลอดภัย ง่วงอย่าขับ” เป็นการสร้างจิตสำนึก และกระตุ้นเตือน ให้กับผู้ขับขี่รถบนท้องถนน ตระหนักถึงความสำคัญของการขับขี่ ที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาการจราจร และลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจร ด้วยการขับรถอย่างมีสติ และไม่ง่วงนอนในขณะขับขี่
จากสาเหตุสถิติอุบัติเหตุด้านการจราจรในรอบปีที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตจำนวน 13,000 คน มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 350,000 คน และมีทรัพย์สินเสียหายกว่า 50,000 ล้านบาท พบว่าในเขตทางหลวงทั่วประทเศ อาการหลับใน หรือ ง่วงแล้วขับ เป็นสาเหตุลำดับที่ 2 รองจากสาเหตุการขับรถเร็วเกินอัตรากว่าที่กฎหมายกำหนด
การรณรงค์ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนมีสติและจิตสำนึก ง่วงอย่าขับ ในการขับขี่ เป็นกิจกรรมที่ดีมาก อันจะส่งผลดีต่อการลด การสูญเสียชีวิต การบาดเจ็บและทุพลภาพ และการสูญเสียทรัพย์สิน อันเนื่องมาจาก อุบัติเหตุ จราจรบนท้องถนนได้เป็นอย่างมาก
วิธีการป้องกัน การง่วงในขณะขับขี่รถ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการเดินทาง ผู้ที่ทำหน้าที่ในการ ควบคุมรถ ขจะต้อง เตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนการเดินทาง และขณะเดินทาง ด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอก่อนเดินทาง และ ขณะเดินทาง
ในการเดินทางไกล เมื่อขับรได้ระยะหนึ่ง ต้องมีการจอดแวะพักผ่อน หรือเปลี่ยนอริยาบท เพื่อผ่อนคลายความเครียด และความง่วงเหงา หาวนอน รวมทั้งกระต้นให้ร่างกายสุดชื่นกระปี้กระเป่า พร้อมที่จะขับขี่รถต่อไป
การเสริมสร้างความพร้อมของสมรรถภาพทางร่างกาย สามารถกระทำได้ ด้วยการ ออกไปนอกรถ สูดอากาศสดชื่น หายใจยาวๆ หลายครั้ง เพื่อดึงเอากาซออกซิเจนเข้าปลอด หลังจากที่แออัดยัดเยียดนั่งอยู่ในรถ ขาดอากาศที่บริสุทธิ์มาเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญอีกอันหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนและหลับใน ถ้าโอกาสอำนวย สามารถนอนหลับสัก 15 นาที แล้วตื่นขึ้นมา ล้างหน้าล้างตา แล้วดื่มกาแฟแก่ๆ หรือเครื่องดื่มที่มีกาแฟอีน จะทำให้ร่างกายมีความร้อมในการขับรถมากที่สุด
ระหว่างการขับขี่ ถ้ามีการใช้หมากฝรั่งชลอความง่วง และผู้ที่นั่งไปด้วย ช่วยดูทาง และคอยบอกทาง หรือบอกเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ เกี่ยวกับทางข้างหน้า จะเป็นการช่วยให้ผู้ขับขี่มีความตื่นตัว มีประสิทธิภาพในการขับขี่รถมากที่สุด และจะเป็นการเดินทางที่ปลอดภัยมากที่สุดสำหรับผู้ร่วมเดินทางทุกคน หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การรณรงค์โครงการ”ความปลอดภัย ง่วงอย่าขับ” ครั้งนี้จะช่วย ลดความสูญเสียทางด้านจราจร คือ ลดอุบัติเหตุ ผู้บาดเจ็บ ผู้ทุพพลภาพ และการสูญเสียชีวิต รวมตลอดถึง ลดความเสียหายของทรัพย์สินที่เกิดจากอุบัติเหตุการจราจร ได้อย่างเป็นรูปธรรม อันเป็นการยกระดับความปลอดภัยบนถนน และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนทั้งประเทศโดยส่วนรวม
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net