เตือนภัยข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย !!! ประมาทอาจเกิดก่อนวัย 30

ข่าวทั่วไป Monday April 12, 2010 10:37 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 เม.ย.--ไคโรเมด สหคลินิก โรคข้อเข่าเสื่อมไม่ใช่โรคที่ไกลตัวอีกต่อไป เมื่อความเสี่ยงของการเกิดโรคคุกคามวัยทำงานในช่วง 30 ต้น ๆ ซึ่งหากคุณไม่ป้องกันเสียเนิ่น ๆ อาจจะสายเกินแก้ และต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมายในการเยียวยารักษา หากคุณรู้สึกมีเสียงก็อบแก็บเมื่อคุณขยับข้อเข่าในแต่ละครั้ง อย่าประมาทคิดว่าเป็นเพียงอาการ เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่คุณสามารถละเลยได้ และอดทนอยู่กับอาการเหล่านี้ เพราะอาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรค ข้อเข่าเสื่อมที่ฟ้องคุณอยู่กลาย ๆ ในอดีต โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดขึ้นในกลุ่มผู้สูงวัย ทั้งนี้ สาเหตุหลักมาจากความเสื่อมของร่างกายที่ถูกใช้งานมานานปี ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่อาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ข้อเข่าอย่างหนัก ทั้งในการเดิน การวิ่ง โดยมากมักพบในผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป และพบมากในผู้สูงอายุที่อยู่ในวัย 60 ปีขึ้นไป แต่ในปัจจุบัน ภาวะอาการข้อเข่าเสื่อมพบในบุคคลที่อยู่ในวัยทำงาน 30 — 35 ปีมากขึ้น ซึ่งเกิดจากสาเหตุหลาย ๆ อย่างประกอบกัน นพ. กฤษณ์ ไกรภักดี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ฟื้นฟู ประจำไคโรเมด สหคลินิก เปิดเผยว่า ด้วยพฤติกรรมของคนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งในส่วนของพฤติกรรมการดำเนินชีวิต อาทิ การขึ้น - ลงบันได ซึ่งบ้านในปัจจุบัน มีจำนวนชั้นที่สูงขึ้น ต่างกับในอดีต ที่เพียงจำนวน 1 — 2 ชั้นเท่านั้น ทำให้เกิดอาการเสียดสีของข้อเข่าระหว่างที่เดินขึ้น - ลงบันได พฤติกรรมการบริโภคส่งผลให้น้ำหนักตัวมากขึ้น ส่งผลต่อการรับน้ำหนักของข้อเข่า การออกกำลังกายอย่างไม่ถูกต้อง ที่มีลักษณะยืด งอพร้อมไปกับการ บิดเข่า อาจส่งผลต่อการรับแรงของข้อเข่าได้ การใช้ชีวิตในเมืองซึ่งพื้น มักเป็นคอนกรีตแข็ง ทำให้เกิดแรงกระแทกต่อข้อเข่ามากกว่าพื้นดินหรือพื้นหญ้าอย่างในอดีต นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีก อาทิ ผู้ที่เคยติดเชื้อในข้อ หรือเคยประสบอุบัติเหตุต่าง ๆ จนมีการบาดเจ็บ จะนำมาซึ่งโรคข้อเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้น หรือแม้กระทั่งมีอาการอักเสบเรื้อรังจากโรครูมาตอยด์ ซึ่งจะส่งผลให้ข้อเสื่อมเร็วกว่าคนปกติ “อาการสำคัญที่บ่งชี้ถึงการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม คือ อาการปวดข้อเข่า ข้อติดขัดขยับไม่ออก อาจมีเสียงลั่นดังในข้อคล้ายกระดูกเสียดสีกัน ข้ออักเสบบวม ข้อคดงอข้อขาโก่ง ปัญหาในการเคลื่อนไหวข้อที่ทำได้น้อยลง ซึ่งก่อนหน้านี้ บางท่านอาจมีอาการเตือนมาล่วงหน้า อาทิ เมื่อขยับหัวเข่าแล้วรู้สึกติดขัดบ้าง การเดินในระยะใกล้ ๆ แล้วรู้สึกปวด เมื่อนั่งอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ เช่น นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ จะรู้สึกปวดเข่า หรือเมื่อเปลี่ยนท่าทางลุกขึ้นยืนจะไม่มีแรง” นพ.กฤษณ์ กล่าว หลายคนอาจสงสัยว่า ใครบ้างที่จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ??? และอาจสงสัยว่าหนึ่งในนั้นจะเป็น “ฉัน” หรือเปล่า นพ.กฤษณ์ ไขข้อข้องใจไว้ว่า “ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ได้แก่ ผู้ที่มีอาการเท้าแบน เนื่องจากภาวะการลงน้ำหนักที่ฝ่าเท้าผิดปกติ ไม่ทิ้งตัวลงในแนวตรง ส่งผลให้ข้อรับน้ำหนักไม่ถูกต้อง ทางที่ดีควรตรวจโครงสร้างตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อตรวจสอบความผิดปกติ และเตรียมการรักษาไว้แต่เนิ่น ๆ กลุ่มผุ้สูงอายุ ผู้ที่ใช้งานข้อเข่ารับน้ำหนักมาก หรืออยู่ในท่านที่ถูกกดทับ งอ มากเกินไปบ่อยๆ เช่น นั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ หรือนั่งยองๆ ผู้ที่เล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมที่มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า หรือใช้งานที่มีการกระแทกลงน้ำหนักมากๆ เช่น การวิ่งระยะไกล การเล่นกีฬาบางชนิด เช่น Basket Ball, Football เป็นต้น นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาในเรื่องโครงสร้างร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นแนวกระดูกสะโพกบิด แอ่นตัวผิดปกติ แนวกระดูกสันหลังแอ่น งอตัวมากกว่าปกติ รวมทั้งความผิดปกติทางโครงสร้างที่พบบ่อยในสังคมเมือง คือ เท้าแบน ก็ถือได้ว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากการที่โครงสร้างร่างกายผิดไปจากแนวที่ควรจะเป็น ทำให้การลงน้ำหนักของร่างกายผิดปกติ เพิ่มภาระการรับน้ำหนักของร่างกายให้กับข้อเท้า ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดข้อเข่าเสื่อมได้ ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ ฯลฯ คนอ้วน สตรีที่ผ่านการตั้งครรภ์ เนื่องจากขณะตั้งครรภ์ร่างกายต้องแบกรับน้ำหนักมาก ทำให้การถ่ายเทน้ำหนักผิดปกติ” สำหรับวิธีการรักษานั้น นพ.กฤษณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมนั้น มี 2 วิธีด้วยกัน คือ วิธีไม่ผ่าตัด และวิธีผ่าตัด ซึ่งด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า และการผสมผสานการแพทย์ทางเลือกเข้ามาใช้ในการรักษามากขึ้น ทำให้เกิดแนวทางในการรักษาใหม่ ๆ สำหรับผู้ป่วยโรค ข้อเข่าเสื่อม โดยวิธีการรักษาแบบไม่ผ่าตัดนั้น แบ่งออกเป็น การรักษาด้วยยา ได้แก่ ยาแก้ปวด ลดอักเสบ และยาเสริมสร้างกระดูกอ่อนผิวข้อ การรักษาด้วยวิธีไม่ใช้ยา อาทิ การทำกายภาพบำบัด การออกกำลังเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อต้นขา การใช้อุปกรณ์เสริมช่วยเดิน และอุปกรณ์พยุงเข่า สำหรับวิธีการผ่าตัดนั้น ก็คือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม “แต่ในปัจจุบัน ได้มีการนำเสนอแนวทางการรักษาแนวใหม่ แบบไม่ต้องผ่าตัด เช่น การใช้ยาฉีดเข้าข้อเข่า เพื่อเพิ่มน้ำหล่อเลี้ยงให้กับเข่า ร่วมกับการทำการพัฒนากล้ามเนื้ออย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งประโยชน์ของการรักษาด้วยวิธีการนี้ จะสามารถบรรเทาอาการปวดของโรคข้อเสื่อมและเพิ่มการเคลื่อนไหวในข้อติดได้ ตลอดจนสามารถช่วยลดแรงกระแทกและหล่อลื่นข้อมากขึ้นทำให้ชะลอการเสื่อมของข้อ และลดภาวะของกระดูกอ่อนเสื่อมสภาพได้อีกด้วย” นพ.กฤษณ์ กล่าว แน่นอนว่า ไม่มีใครอยากปล่อยให้เกิดอาการโรคข้อเข่าเสื่อมไปจนถึงสุดปลายทาง แล้วต้องทำงานอย่างหนักเพื่อหาเงินมารักษาอีก ดังนั้น การปรับพฤติกรรมของคุณตั้งแต่วันนี้ หากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยง !!! จึงเป็นเรื่องสำคัญ และขอย้ำว่าการป้องกันย่อมดีกว่าการเยียวยารักษาอย่างแน่นอน นพ.กฤษณ์ ได้ให้คำแนะนำเชิงป้องกันไว้ด้วยว่า ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ข้อเสื่อมมากขึ้น เช่น คุกเข่า นั่งพับเพียบ ขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ควรออกกำลังกายและบริหารข้อเข่าอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ พร้อมกันนั้นก็ไม่ควรละเลย การดูแลแนวโครงสร้างร่างกาย ตรวจหาความผิดปกติโครงสร้าง เช่น เท้าแบน ขายาวไม่เท่ากัน สะโพกบิดเอียง หรือแนวกระดูกสันหลังแอ่นงอ ผิดแนวปกติ ร่วมไปกับการฝึกฝนเรื่องสมดุลย์ และการทรงตัว เพื่อกระจายน้ำหนักให้สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการที่โครงสร้างส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายต้องทำงานมากจนเกินไป และที่สำคัญสำหรับคุณ ๆ ที่รื่นรมย์กับความอิ่มอร่อยของรสชาติอาหาร ควรจะรับประทานอย่างพอเหมาะพอดี หากมีน้ำหนักมากเกินไป ควรจะกำหนดกิจกรรมเพื่อ ลดน้ำหนัก และควบคุมอาหาร ไม่ควรปล่อยให้รสชาติอาหารเย้ายวนจิตใจ จนปล่อยให้เลยเถิด ด้วยรักและเป็นห่วงคุณ ๆ ทั้งหลาย มาร่วมกันดูแลสุขภาพให้แข็งแรงกันตั้งแต่วันนี้ดีกว่า !!! หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ห่วงใยสุขภาพ ไคโรเมด สหคลินิก เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการดูแลสุขภาพ จากภายในสู่ภายนอกอันจะนำไปสู่สุขภาพที่ดีอย่างแท้จริง ปรึกษาปัญหาสุขภาพ โทร 0 2713 6745 — 6 หรือคลิก www.chiromedbangkok.com สนับสนุนข้อมูลโดย ไคโรเมด สหคลินิก (CHIROMED CLINIC) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 0 2682 9880

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ