กรุงเทพฯ--19 เม.ย.--แฟรนคอม เอเซีย
ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (Atherogenic Dyslipidemia) เนื่องจากระดับไตรกลีเซอไรด์ (TG) ในเลือดสูง (204 mg/dL หรือ 2.3 mmol/L หรือสูงกว่า) และมีไฮเดนซิตี้ไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอล (HDL-C) ในระดับต่ำ (34 mg/dL หรือ 0.88 mmol/L หรือต่ำกว่า) สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ (Cardiovascular) ได้อีก 31% ด้วยการเพิ่มยา Fenofibrate นอกเหนือจากการใช้ยา Simvastatin ทั้งนี้พบว่าการรักษาผู้ป่วยดังกล่าวจำนวน 20 รายเป็นระยะเวลานาน 5 ปีจะลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจได้ 1 ราย
ผลวิจัยจากโครงการควบคุมความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือ ACCORD (Action to Control Cardiovascular Risk in Diabetes) ซึ่งได้รับการเผยแพร่ออนไลน์ผ่านทางวารสาร New England Journal of Medicine(1) พบว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติจะมีโอกาสเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ (การเสียชีวิตจากโรคหัวใจ ภาวะหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง) มากกว่ากลุ่มที่ไม่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติถึง 70% และในความเป็นจริงแล้วผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติมีความเสี่ยงพอๆกับผู้ที่เคยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ (17.3% และ 18.1% ตามลำดับ)
ศาสตราจารย์ฌอง-ชาร์ลส์ ฟรูชาร์ต ประธานโครงการ Residual Risk Reduction Initiative (R3i) ซึ่งเป็นมูลนิธิเชิงวิชาการของภาคเอกชนในสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา โครงการ R3i ได้ให้ความสำคัญกับสมมติฐานที่ว่า ความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยที่ได้รับยา Statin มีความสัมพันธ์กับภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (2,3) และผลการวิจัยจากโครงการ ACCORD ก็เป็นเครื่องยืนยันสมมติฐานดังกล่าวและยืนยันว่าการเพิ่มยา Fenofibrate นอกเหนือจากการใช้ยา Statin จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจได้ ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวก็สอดคล้องกับคำแนะนำของสมาคมโรคเบาหวานแห่งอเมริกา (4) และ National Cholesterol Education Program Adult Treatment Panel III(5)”
ประสิทธิภาพของยา Fenofibrate จะเห็นได้เฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยมาก่อนว่าเป็นโรคเบาหวานที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ไม่ใช่ผู้ป่วยทุกคนที่ร่วมการวิจัย “แม้ผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติจะมีเพียง 17% ของผู้ป่วยทั้งหมดในโครงการ ACCORD แต่ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวกลับมีปัญหากว่ากลุ่มอื่นมาก ตอนนี้เราจึงผนวกหัวข้อดังกล่าวไว้ในการศึกษา REsiduAl risk Lipids and Standard Therapies (REALIST) ซึ่งได้รับทุนจากโครงการ R3i และกำลังมีการศึกษาที่โรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด รวมถึงศูนย์วิชาการชั้นนำอีกกว่า 20 แห่งทั่วโลก” ศาสตราจารย์แฟรงค์ แซคส์ จากโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด ในบอสตัน สหรัฐอเมริกา และรองประธานโครงการ R3i กล่าว
นอกจากนั้นผลการศึกษาจากโครงการ ACCORD ยังเผยว่ายา Fenofibrate สามารถลดการเกิดภาวะไมโคร และแมคโครอัลบูมินูเรีย (Micro- and Macro-albuminuria) หรือการเกิดโปรตีนอัลบูมินในปัสสาวะ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ ถึงโรคไตที่เกิดจากเบาหวาน ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวสอดคล้องกับผลจากการศึกษาทางคลินิกก่อนหน้านี้ (6,7) “ภาวะ แทรกซ้อนทางไตอันเกิดจากโรคเบาหวานเป็นปัญหาใหญ่มาก ดังนั้นการได้รู้ว่ายา Fenofibrate สามารถช่วย ผู้ป่วยได้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก” ศาสตราจารย์มิเชล เฮอร์แมนส์ จากมหาวิทยาลัย Cliniques Universitaires Saint-Luc ในบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม และเลขาธิการโครงการ R3i กล่าว
นอกจากนั้นผลการศึกษายังยืนยันว่าการเพิ่มยา Fenofibrate นอกเหนือจากการใช้ยา Simvastatin ไม่ได้ส่งผล ให้ความเสี่ยงในการเกิดภาวะผิดปกติของเซลล์กล้ามเนื้อ ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน หรือภาวะตับอ่อนอักเสบ มีมากเกินไป และในความเป็นจริงแล้วผู้ป่วยที่ได้รับยา Fenofibrate มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ และหลอดเลือดหัวใจและการเสียชีวิตด้วยสาเหตุอื่นน้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา Simvastatin เพียงอย่างเดียว
โครงการ R3i เป็นผู้นำการวิจัยใหม่เกี่ยวกับภาวะไขมันในเลือดผิดปกติในผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2
ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปและมีการแพร่หลายเพิ่มขึ้นมากหลังเกิดการแพร่กระจายไปทั่วโลกของโรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome)(8) ดังนั้นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง สูงกว่าครึ่งในสหรัฐอเมริกาที่รับการรักษาด้วยยา Statin อาจต้องรับยาอื่นเพิ่มเพื่อลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และ/หรือเพิ่มระดับ HDL-C(9)
โครงการ R3i กำลังพยายามรับมือกับปัญหาอันใหญ่หลวงนี้ “เมื่อพิจารณาจากอัตราการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโรคเบาหวานประเภทที่ 2 โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา การจัดการกับภาวะไขมันในเลือดผิดปกติจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในฐานะที่เป็นมูลนิธิด้านการวิจัยอิสระเพียงแห่งเดียวที่ให้ความสำคัญกับปัญหานี้ R3i จึงเร่งพัฒนาแนวทางยุทธศาสตร์ในการลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ปัจจุบันเรากำลังทำการศึกษา REALIST ซึ่งเป็นการศึกษาด้านระบาดวิทยาทั่วโลกเป็นครั้งแรก เพื่อแสดงให้เห็นถึงความแพร่หลายของ ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติรวมถึงผลที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ และผลการศึกษาจากโครงการ ACCORD ทำให้เราตัดสินใจว่าจะทำการวิเคราะห์ผู้ป่วยกลุ่มย่อยที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (ไตรกลีเซอไรด์ สูง และ/หรือระดับ HDL-C ต่ำ) ซึ่งมาจากผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ในการวิจัยยา Fibrate” ศาสตราจารย์ฟรูชาร์ต กล่าว
ข้อมูลสำหรับบรรณาธิการ
เกี่ยวกับโครงการ ACCORD
โครงการ ACCORD เป็นการศึกษาแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภท 2 ที่จัดทำขึ้นในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาโดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันหัวใจ ปอด และเลือดแห่งชาติ (NHLBI) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ในสหรัฐอเมริกา โดยการศึกษาครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อทดสอบว่า การใช้ยาลดไขมันในกลุ่ม Fenofibrate ร่วมกับยา Simvastatin เพื่อลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มระดับไขมัน HDL-C ที่อยู่ในระดับต่ำนอกเหนือจากการลดระดับไขมัน LDL-C นั้นจะมีประสิทธิภาพในการลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 ที่มีความเสี่ยงสูง 5,518 รายได้ดีกว่าการรักษาด้วยยา Statin เพียงอย่างเดียวหรือไม่ ทั้งนี้ คณะวิจัยได้เลือกทำการศึกษายา Fenofibrate เนื่องจากผลการทดลองกลุ่มย่อยที่ทำขึ้นก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประเภท 2 หรือในกลุ่มผู้ป่วยโรคอ้วนและกลุ่มโรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) (10-14) นอกจากนี้โครงการนี้ยังเป็น โครงการแรกที่ทำการศึกษาเรื่องการใช้ยา 2 กลุ่มร่วมกันในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2
อย่างไรก็ตาม ในการศึกษานี้ยังครอบคลุมผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวนมากกว่าที่ปัจจุบันได้รับคำแนะนำให้ใช้ยา Fenofibrate กล่าวคือ มากกว่า 80% ของผู้ป่วยในการศึกษานี้พบว่ามีระดับ TG น้อยกว่า และ HDL-C สูงกว่าที่แนะนำให้รับการรักษาอยู่ในปัจจุบัน
แม้ว่าผลการศึกษาโครงการ ACCORD จะไม่พบว่าสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในประชากรทั้งหมดที่เข้าร่วมการศึกษา อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้พบว่า การรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยการใช้ยา Fenofibrate ร่วมกับยา Simvastatin ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติที่มี TG >204 มก./ดล.และ HDL