ผลประกอบการธุรกิจกองทุนครึ่งปี 50 เติบโตรวมกว่าร้อยละ 17

ข่าวทั่วไป Thursday July 26, 2007 11:40 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ก.ค.--ตลท.
นายมาริษ ท่าราบ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน นำทีมกรรมการสมาคมฯ แถลงผลประกอบการธุรกิจกองทุนครึ่งปีซึ่งมีขนาดทรัพย์สินสุทธิขยายตัวรวม
กว่าร้อยละ 17 โดยกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนส่วนบุคคล เติบโตร้อยละ 21.30, 7.66 และ 8.15 ตามลำดับ พร้อมชูนโยบายสร้างความหลากหลาย
ในกองทุนรวม เพิ่มทางเลือกการลงทุนรูปแบบใหม่ รุกการลงทุนต่างประเทศทั้งในธุรกิจกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล ขณะที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเน้นผลัก
ดันกองทุนบำเหน็จบำนาญและ employee’s choices ทั้งนี้ นายกสมาคมฯ ได้ย้ำว่า สมาชิกของสมาคมฯ มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนในบริษัทจดทะเบียนที่มี
ศักยภาพ และมีบรรษัทภิบาลที่ดี
นายมาริษ ท่าราบ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุนและประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนรวม นำทีมกรรมการสมาคมประกอบด้วย นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน อุปนายก
สมาคมและประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล นางสาวอารยา ธีระโกเมน อุปนายกสมาคมและประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แถลงผลประกอบการกลุ่ม
ธุรกิจกองทุนครึ่งปี 2550 เปรียบเทียบกับปี 2549 มีผลประกอบการที่เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในทุกกลุ่ม โดยมีรายละเอียดดังนี้
ภาพรวมธุรกิจกองทุน
ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2550 กองทุนรวมจำนวน 834 กอง มียอดทรัพย์สินสุทธิรวม 1,472,984 ล้านบาท เติบโตจาก 1,214,300 ณ สิ้นปี 2549 คิด
เป็นร้อยละ 21.30 ขณะที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมียอดทรัพย์สินสุทธิรวม 416,273 ล้านบาท เติบโตจาก 386,657 ณ สิ้นปี 2549 คิดเป็นร้อยละ 7.7 ส่วน
กองทุนส่วนบุคคล มียอดทรัพย์สินสุทธิรวม 159,339 ล้านบาท เติบโตจาก 147,328 ณ สิ้นปี 2549 คิดเป็นร้อยละ 8.2 โดยทุกกลุ่มกองทุนมียอดทรัพย์สิน
สุทธิ ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2550 รวมกันคิดเป็นเงินทั้งสิ้น 2,048,596 ล้านบาท
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ(ล้านบาท) 2547 2548 2549 มิ.ย.2550 เติบโต
กองทุนรวม 687,363 962,021 1,214,300 1,472,984 21.30%
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 305,462 345,896 386,657 416,273 7.66%
กองทุนส่วนบุคคล 134,091 142,547 147,328 159,339 8.15%
รวม 1,126,916 1,450,464 1,748,285 2,048,596 17.18%
กลุ่มธุรกิจกองทุนรวม
กลุ่มธุรกิจกองทุนรวมแยกตามประเภทการลงทุน พบว่ากองทุนรวมทั่วไปประเภทกองทุนตราสารหนี้เป็นกองทุนที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยมีสัดส่วนมูลค่า
ทรัพย์สินสุทธิคิดเป็นร้อยละ 58.94 ของกองทุนรวมทั้งหมด และมียอดการเจริญเติบโตในครึ่งปีแรกร้อยละ 36 ในขณะที่กองทุนหุ้นมีการเจริญเติบโตร้อยละ
19 ส่วนกองทุนอสังหาริมทรัพย์ และกองทุนรวมหน่วยลงทุนซึ่งยังมีสัดส่วนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเพียงร้อยละ 3.44 และ 1.54 ตามลำดับเป็นกองทุนที่ได้รับ
ความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมียอดการเจริญเติบโตในครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 37 ซึ่งกลุ่มนี้ได้แก่กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIF) เป็น
ส่วนใหญ่ และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1)
ในด้านผลตอบแทนของของทุนรวม แยกตามประเภทกองทุนทั่วไป ได้แก่ กองทุนหุ้น กองทุนผสม และกองทุนตราสารหนี้ พบว่า ในจำนวนกองทุนหุ้น 96 กองทุน มี
กองทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนได้สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานซึ่งใช้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) เป็นเกณฑ์สูงถึง 87 กองทุน โดยอันดับที่หนึ่ง
สอง และสาม สามารถสร้างผลตอบแทนในรอบครึ่งปีได้คิดเป็นร้อยละ 25.13, 24.08 และ 23.73 ตามลำดับเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานหรือดัชนีตลาดหลักทรัพย์
ที่ให้ผลตอบแทนเท่ากับร้อยละ 14.26 ส่วนผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี กองทุนหุ้นที่มีผลการดำเนินงานสูงสุด 3 ลำดับแรกนั้น ให้ผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุนเท่ากับ
ร้อยละ 32.20, 30.92 และ 30.76 ตามลำดับ ในขณะที่เกณฑ์มาตรฐานหรือ SET Index ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนเพียงร้อยละ 14.55
ในขณะที่กองทุนผสมจำนวน 49 กองทุน อันดับที่หนึ่ง สอง และสาม สามารถสร้างผลตอบแทนในรอบครึ่งปีได้คิดเป็นร้อยละ 21.60, 20.79 และ 20.57 ตามลำดับ
ส่วนผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี กองทุนรวมผสมที่มีผลการดำเนินงานสูงสุด 3 ลำดับแรกนั้น ให้ผลตอบแทนแก่
ผู้ลงทุนเท่ากับร้อยละ 28.37, 22.71 และ 22.53 ตามลำดับ
ส่วนกองทุนตราสารหนี้ทั่วไป อันดับที่หนึ่ง สอง และสาม สามารถสร้างผลตอบแทนในรอบครึ่งปีได้คิดเป็นร้อยละ 7.40, 6.56 และ 5.61 ตามลำดับ ส่วนผล
ตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีกองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีผลการดำเนินงานสูงสุด 3 ลำดับแรกนั้น ให้ผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุนเท่ากับร้อยละ 18.92, 13.79 และ 13.59
ตามลำดับ
กลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2550 มียอดทรัพย์สินสุทธิรวม 416,273 ล้านบาท เติบโตจาก 386,657 เมื่อสิ้นปี 2549 คิดเป็นร้อยละ
7.66 จำนวนนายจ้าง 8,257 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.62 และจำนวนพนักงานที่เป็นสมาชิกจำนวน 1,849,708 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.66
กลุ่มธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล
ธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2550 มียอดทรัพย์สินสุทธิรวม 159,339 ล้านบาท เติบโตจาก 147,328 เมื่อสิ้นปี 2549 คิดเป็นร้อยละ 8.15
ตารางที่ 1 แสดงอัตราการเจริญเติบโตของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ประเภทกองทุน/มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (ลบ.) 2547 2548 2549 มิ.ย.50 สัดส่วน เติบโต
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ 668.10 713.73 679.84 776.79 - 14.26%
กองทุนรวมทั่วไป
กองทุนหุ้น 79,903 80,413 83,435 99,511 6.76 19.27%
กองทุนตราสารหนี้ 114,252 385,331 637,930 868,223 58.94 36.10%
กองทุนผสม 285,417 280,457 257,677 248,569 16.88 -3.53%
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์(กอง1) 1,979 19,156 36,930 50,680 3.44 37.23%
กองทุนรวมหน่วยลงทุน 3,440 9,784 16,536 22,713 1.54 37.35%
รวมกองทุนทั่วไป 484,991 775,141 1,032,508 1,289,696 87.56 24.91%
กองทุนรวมพิเศษ
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนต่างประเทศ 24,057 13,967 8,651 9,478 0.64 9.56%
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์(กอง 2) 51,310 45,753 48,247 47,989 3.26 -0.53%
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์(กอง 3) 41,155 23,767 16,598 15,749 1.07 -5.12%
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์(กอง 4) 85,850 103,393 108,296 110,072 7.47 1.64%
รวมกองทุนพิเศษ 202,372 186,880 181,792 183,288 12.44 0.82%
รวมทั้งสิ้น 687,363 962,021 1,214,300 1,472,984 100.00 21.30%
RMF 12,238 18,456 25,475 28,824 1.96 13.15%
LTF 5,635 14,176 25,186 32,116 2.18 27.52%
FIF 29,943 29,702 34,251 2.33 15.32%
ตารางที่ 2 แสดงผลตอบแทนของกองทุนรวมแยกตามประเภทการลงทุน
กองทุนหุ้น จำนวนกอง ผลตอบแทน ผลตอบแทนย้อนหลัง
Equity Funds ณ29มิย50 อันดับ ครึ่งปีแรก2550 1ปี 3ปี 5ปี
96 1 25.13% 32.20% 74.98% 283.16%
2 24.08% 30.92% 71.23% 229.13%
3 23.73% 30.76% 69.03% 229.09%
เกณฑ์มาตรฐาน(ดัชนีตลาดหลักทรัพย์) 14.26% 14.55% 20.62%
กองทุนที่มีผลการดำเนินสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 87
กองทุนที่มีผลการดำเนินงานต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 9 96 10.92%
กองทุนผสม จำนวนกอง ผลตอบแทน ผลตอบแทนย้อนหลัง
Mixed Funds ณ29มิย50 อันดับ ครึ่งปีแรก2550 1ปี 3ปี
เฉพาะกองทุนผสมแบบสมดุล 49 1 21.60% 28.37% 55.60%
และแบบยืดหยุ่น ไม่รวมชนิดความ 2 20.79% 22.71% 49.68%
เสี่ยงสูง และความเสี่ยงต่ำ 3 20.57% 22.53% 46.71%
49 1.54%
กองทุนตราสารหนี้ จำนวนกอง ผลตอบแทน ผลตอบแทนย้อนหลัง
General Fixed Income Funds ณ29มิย50 อันดับ ครึงปีแรก2550 1ปี 3ปี
เฉพาะกองทุนตราสารหนี้ทั่วไป 58 1 7.40% 18.92% 21.03%
2 6.56% 13.79% 20.70%
3 5.61% 13.59% 17.49%
58 1.51%
ประกาศนโยบาย พัฒนาทางเลือกการลงทุนรูปแบบใหม่ เพิ่มความหลากหลายในการลงทุน พร้อมยกระดับมาตรฐานจรรยาบรรณ
นายกสมาคมกล่าวต่อไปว่า เมื่อพิจารณาจำนวนเงินลงทุนในกองทุนรวมทั้งสิ้น 2.05 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน เทียบกับเงินฝากธนาคารทั้งระบบ 6.80 ล้านล้าน
บาท แสดงให้เห็นว่าธุรกิจกองทุนยังมีโอกาสที่จะเติบโตได้อีกมาก กลุ่มบริษัทจัดการกองทุนจึงมีนโยบายที่ชัดเจนที่จะประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาธุรกิจกองทุนให้เจริญเติบโตออกไป โดยการพัฒนาทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลายเพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การ
จัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการศึกษา (EMF) ควบคู่ไปกับการลงทุนประเภทต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ สนับสนุนการออมเพื่อวัยเกษียณผ่านกองทุนสำรอง
เลี้ยงชีพ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนหุ้นระยะยาว LTF กองทุนอสังหาริมทรัพย์ กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ และกองทุนรูปแบบอื่นๆ
ขณะเดียวกันก็มีนโยบายที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมให้มีความโปร่งใสในการจัดการ และเข้มงวดเรื่องจรรยาบรรณ มาตรฐาน และแนวปฏิบัติต่างๆ ตลอดจนสนับสนุน
การกำกับกิจการที่ดี (Good Governance) ของบริษัทจดทะเบียน เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนได้เข้าใจมุมมองของผู้จัดการกองทุน และนำไปปรับปรุงมาตรฐานการ
ปฏิบัติของบริษัทจดทะเบียนเอง ซึ่งจะต้องมีความโปร่งใส ตัวอย่างเช่นการที่ กองทุนภายใต้การจัดการของ บลจ. จะไปลงคะแนนตามวาระการประชุมผู้ถือหุ้น
ของบริษัทจดทะเบียน หากเป็นวาระที่เห็นชัดเจนว่าเป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานแต่เกิดผลเสียต่อผู้ถือหุ้น กองทุนก็อาจลงมติคัดค้าน เป็นต้น
ซึ่งต่อไป ทางสมาคมฯ จะรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ไว้ที่เวบไซท์สมาคมฯ เพื่อเป็นแนวทางให้ บริษัทจดทะเบียนพิจารณา
นอกจากนี้ สมาคม ฯ จะเร่งจัดทำข้อมูลวัดผลการดำเนินงานกองทุนรวม โดยมีฐานข้อมูลรวมที่ทันสมัย ระดับมาตรฐานสากลของ Lipper รวมทั้งรวบรวมข้อมูล
เกี่ยวกับมาตรฐาน จรรยาบรรณ ตลอดจนแนวปฏิบัติและผลการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทจดทะเบียนของกองทุนต่างๆ ไว้ในเว็บไซต์ของสมาคม
เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้ลงทุนสามารถเข้าไปศึกษาและทำความเข้าใจก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเน้นผลักดันกองทุนบำเหน็จบำนาญและ Employee’s choices
นางสาวอารยา ธีระโกเมน ประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแถลงความคืบหน้าของการพัฒนาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพว่าที่ผ่านมา
คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 2530 แล้ว ซึ่งจะมีผลดีหลายประการคือ 1.อนุญาตให้สมาชิกกองทุน
บำเหน็จบำนาญสามารถดอนย้ายเงินกองทุนไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ 2.จัดให้มี Employee’s choices เพื่อให้พนักงานที่เป็นสมาชิกกองทุนสามารถเลือก
นโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเอง และ 3.สมาชิกที่เกษียณอายุสามารถทยอยรับเงินเป็นงวดๆ ได้
สำหรับความคืบหน้าเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) สมาคมเสนอให้มีการบริหารจัดการกองทุนและการจัดทำทะเบียนสมาชิกในแบบที่
เป็น Decentralized Management ซึ่งจะช่วยเพิ่มการแข่งขันและประสิทธิภาพในการบริษัทจัดการกองทุนซึ่งจะทำให้สมาชิกกองทุนได้ประโยชน์สูงสุด คาดว่า
กองทุนนี้จะเกิดขึ้นได้หลังจากปี 2551
กองทุนส่วนบุคคลรุกขยายฐานผู้ลงทุนและผลักดันการลงทุนในต่างประเทศ
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน ประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลแถลงนโยบายกลุ่มธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลว่า กลุ่มธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลได้มีการติดตามความ
คืบหน้าในการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝากอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากมีการจัดตั้งจะมีผลให้วงเงินฝากธนาคารไม่ได้รับการคุ้มครองเต็มจำนวนดังเช่นในปัจจุบัน
ซึ่งจะทำให้ผู้ออมต้องหันมาให้ความสำคัญกับการบริหารเงินออมให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ จึงควรเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจแก่บุคคลทั่วไป
ในการพิจารณาทางเลือกในการออมเงินมากขึ้น เพื่อจะได้เตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ขณะเดียวกัน กลุ่มก็มีนโยบายที่จะผลักดันให้มีการอนุญาตให้กองทุนส่วนบุคคลและบุคคลทั่วไปสามารถนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
ปัจจุบันซึ่งเป็นช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งตัว สมาคมได้ดำเนินการหารือร่วมกับสำนักงานกลต. เพื่อนำเสนอแนวทางดังกล่าวต่อธนาคารแห่งประเทศไทยไปแล้ว
ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าจะมีการอนุญาตให้กองทุนส่วนบุคคลสามารถนำเงินไปลงทุนยังต่างประเทศได้ โดยมีวงเงินสำหรับกองทุนส่วนบุคคลแต่ละกองทุนที่มีผู้
ลงทุนเป็นนิติบุคคลไว้ที่ 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เช่นเดียวกับกองทุนรวมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ส่วนกรณีกองทุนส่วนบุคคลแต่ละกองทุนที่มีผู้ลงทุน
เป็นบุคคลธรรมดาจะถูกจำกัดวงเงินไว้ที่ 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อจากนี้หากแนวทางดังกล่าวได้รับการความเห็นชอบก็คือการกำหนดแนว
ทางการบริหาร จัดการ และระบบการรายงานที่ดีเพื่อลดความกังวลเรื่องความเสี่ยงและการสร้างความมั่นใจในการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศให้กับผู้ลงทุน
สมาคมฯ จะจัดรายการพบปะกับผู้สื่อข่าวเป็นประจำ
สุดท้าย นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการด้านวิเทศสัมพันธ์ ได้ชี้แจงว่า ต่อไปนี้ สมาคมฯ จะจัดงานพบปะกับผู้สื่อข่าวไตรมาสละครั้ง เพื่อเผยแพร่ผลงาน
สมาคมให้สาธารณชนรับทราบ และเปิดโอกาสให้ซักถามเรื่องต่างๆได้ทั่วถึงกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
โทรศัพท์ 02-2640900
โทรสาร 02-2490904

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ