กรุงเทพฯ--22 เม.ย.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
ภายในงานสัมมนาสำหรับนักพัฒนาที่อินเทลจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการสาธิตเพื่อแสดงให้เห็นว่าทางบริษัทได้วางรากฐานสำหรับการพัฒนาฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และโซลูชันพื้นฐานที่ทำงานร่วมกัน เพื่อทำให้การประมวลผลและอุปกรณ์ต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันอย่างราบรื่นและสามารถใช้งานได้สะดวก การบรรยายในงานนี้เริ่มต้นโดยเดวิด (ดาดี) เพิร์ลมัตเวอร์ รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปกลุ่ม อินเทล อาร์คิเทคเจอร์ กรุ๊ป (IAG) ซึ่งได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ของอินเทลเพื่อให้ผู้ใช้เทคโนโลยีได้เข้าใจถึงศักยภาพของระบบประมวลผลที่เชื่อมโยงกันในระบบสื่อสารพื้นฐาน
เพิร์ลมัตเตอร์กล่าวว่า “ภายในปี 2558 จะมีผู้ใช้ระบบประมวลผลที่สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้เพิ่มขึ้นอีก 1 พันล้านคน รวมทั้งมีอุปกรณ์ที่หลากหลายมากขึ้น ดังนั้นการสร้างรูปแบบการใช้งานที่เป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างอุปกรณ์เหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่จะมีประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งสถาปัตยกรรมของอินเทลได้นำเอาทั้งประสิทธิภาพและการใช้พลังงานที่เหมาะสมมารวมกันไว้อย่างลงตัว กลายเป็นพื้นฐานสำหรับอุปกรณ์ประมวลผลทุกชนิดที่สามารถสร้างระบบประมวลผลที่ต่อเนื่องกันแทบไม่มีที่สิ้นสุดเพื่อรองรับรูปแบบการใช้งานที่ครบวงจรเป็นหนึ่งเดียวกัน”
ในกลุ่มระบบประมวลผลระดับไฮเอนต์ เพิร์ลมัตเตอร์ระบุว่าอินเทลได้ก้าวสู่จุดสูงสุดของการเปลี่ยนเข้าสู่การออกแบบชิปด้วยการเปิดตัวอินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ 7500 ซีรีส์รุ่นล่าสุด ที่สร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมที่มีชื่อรหัสว่า Nehalem ที่ได้รับรางวัลมาแล้วมากมาย และในช่วงเวลาไม่ถึง 90 วันที่ผ่านมา อินเทลได้มีการเปิดตัว อินเทล? คอร์? 2010 โปรเซสเซอร์ สำหรับเดสก์ท้อป โน้ตบุ๊ก และเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ออกสู่ท้องตลาดหลายรุ่น โปรเซสเซอร์เหล่านี้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีความเร็วในการประมวลผลที่สูงขึ้น รวมทั้งมีคุณสมบัติใหม่ๆมากมายที่ทำให้คอมพิวเตอร์ชาญฉลาดมากขึ้น คล่องตัวมากขึ้น และมีเสถียรภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิม
นอกจากนั้นเพิร์ลมัตเตอร์ยังได้บรรยายถึงอินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์รุ่นถัดไป ที่ใช้สถาปัตยกรรมรุ่นใหม่ที่มีชื่อรหัสว่าแซนดี้ บริดจ์ (Sandy Bridge) อีกด้วย โดยตั้งเป้าเอาไว้ว่าจะเริ่มผลิตได้ภายในปลายปี 2553 สถาปัตยกรรมใหม่นี้พัฒนาขึ้นด้วยวัสดุชนิด Hi-K โดยใช้เทคโนโลยีการผลิต 32 นาโนเมตร (nm) รุ่นที่สองของอินเทล โปรเซสเซอร์เหล่านี้จะเป็นโปรเซสเซอร์รุ่นแรกที่รองรับการทำงานของชุดคำสั่ง อินเทล? แอดวานซ์ เวคเตอร์ เอ็กซ์เทนชั่น (Intel? Advanced Vector Extension หรือ Intel AVX) โดยชุดคำสั่งนี้จะเข้ามาเร่งแนวโน้มของการนำเอาระบบประมวลผลเลขทศนิยมปริมาณมากๆ ไปใช้แอพลิเคชั่นเอนกประสงค์ อาทิเช่น ระบบประมวลผลระบบ วิดีโอ และเสียง รวมทั้งแอพลิเคชั่นเชิงวิศวกรรม อย่างการทำโมเดลและการวิเคราะห์ 3D งานจำลองสภาพด้านวิทยาศาสตร์และระบบวิเคราะห์ทางการเงิน เป็นต้น นอกจากนั้นแซนดี้บริดจ์ยังรองรับการทำงานของชุดคำสั่ง อินเทล? เออีเดส อินสตรัคชั่น (Intel? AES New Instruction หรือ Intel? AES-NI) ได้ โดยเป็นชุดคำสั่งซอฟต์แวร์ 7 คำสั่ง ซึ่งใช้ในการเร่งความเร็วเมื่อต้องการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูลโดยเฉพาะ รวมทั้งยังมีกราฟิกคอร์รุ่นที่หกของอินเทลในตัว ในอนาคต จะมีการออกแบบให้มีระบบเร่งความเร็วในการประมวลผลสำหรับเลขที่เป็นทศนิยม งานด้านวิดีโอ และซอฟต์แวร์ต้องการพลังในการประมวลผลของโปรเซสเซอร์มากเป็นพิเศษ ซึ่งมักเป็นการใช้งานในมีเดียแอพลิเคชันชนิดต่างๆ
นอกจากนั้น เพิร์ลมัตเตอร์ยังได้พูดถึง “สมาร์ททีวี” ที่เขาหมายถึงสิ่งที่อินเทลกำลังเข้ามาช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ในการชมโทรทัศน์ให้กับผู้คนทั่วไป โดยนำอินเทอร์เน็ตมาผสมผสานการทำงานเข้ากับการออกอากาศทางทีวี ข้อมูลส่วนตัว และความสามารถในการค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้อย่างลงตัว หัวใจสำคัญของนวัตกรรมใหม่ชนิดนี้ คือ อินเทล คอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ (CE) ซิสเต็ม-ออนชิป (SoC) อินเทล? อะตอม? โปรเซสเซอร์ ซีอี 4100 (Intel? Atom? Processor CE4100) ที่เป็นการนำเสนอซีพียูประสิทธิภาพสูง ควบคู่กับระบบถอดรหัสวิดีโอแบบ HD และระบบเสียงระดับโลก รวมทั้งระบบกราฟิกที่ทันสมัยเอาไว้ในตัว เป้าหมายก็คือการนำเอาเนื้อหาข้อมูลส่วนตัว เว็บไซต์โปรด และเครือข่ายทางสังคมมาแสดงผลทางทีวีด้วยการนำเสนอแบบใหม่ ซีอี 4100 โปรเซสเซอร์ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับอุปกรณ์คอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องเล่นแผ่นบลูเรย์ กล่องเซ็ททอปบ็อกซ์ และทีวีดิจิตอลโดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยให้คุณได้รับประสบการณ์จากการชม “สมาร์ททีวี” อย่างแท้จริง
อินเทล? อะตอม? โปรเซสเซอร์ ได้รับการออกแบบให้กินไฟต่ำ ทำให้สามารถนำไปใช้ในเซ็กเมนท์ใหม่ๆ ขึ้นมาในตลาด ตั้งแต่อุปกรณ์มือถือ เน็ตบุ๊ก ไปจนถึงอุปกรณ์คอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ และแอพพลิเคชั่นฝังตัว (embedded) เป็นต้น คอร์ของอินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์มีคุณลักษณะเด่นในเรื่องการใช้พลังงานต่ำมาก ราคาถูก และมีขนาดเล็ก ซึ่งสามารถนำไปใส่ใน SoC สำหรับตลาดเซ็กเมนท์ต่างๆ โดยขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานและเงื่อนไข I/O ที่ต้องการ
ตลาดโมบายล์อินเทอร์เน็ตยังคงเติบโตและเข้าถึงอุปกรณ์ชนิดต่างๆ มากขึ้น ด้วยเหตุนี้เพิร์ลมัตเตอร์จึงกล่าวถึงแนวโน้มในการเติบโตของอุปกรณ์มือถือรุ่นใหม่ๆ อาทิเช่น แท็บเบล็ตและสมาร์ทโฟน เป็นต้น เขาอธิบายเพิ่มเติมว่ากฎของมัวร์ พร้อมทั้งการรวมเอาสถาปัตยกรรม การออกแบบ และเทคนิคขั้นตอนการผลิต จะทำให้สถาปัตยกรรมของอินเทลมีอัตราการใช้พลังงานที่ลดลงอย่างมาก ในขณะเดียวกันสถาปัตยกรรมของอินเทลยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับอินเทอร์เน็ต แอพลิเคชันที่เน้นการใช้มีเดีย และระบบมัลติทาสกิงในอุปกรณ์พกพาที่มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องอยู่ในขณะนี้ต่อไป
นอกจากนี้เพิร์ลมัตเตอร์ยังได้พูดถึงแพลตฟอร์ม “มัวร์สทาวน์” (Moorestown) ที่จะเปิดตัวในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ตามเป้าที่วางไว้ได้อย่างแน่นอน เขาระบุว่าอินเทลได้ทำการปรับแต่งแพลตฟอร์มของสถาปัตยกรรมและใส่เทคนิคที่ทันสมัยลงไปมากมาย อาทิเช่น ระบบบริหารพลังงานสำหรับระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่และระบบ distributed power gating เพื่อช่วยให้ระบบมีประสิทธิภาพดีขึ้น และช่วยลดการใช้พลังงานลงไปได้อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นตอนที่โปรเซสเซอร์ไม่มีการทำงานหรือทำงานอยู่ก็ตาม และเพื่อเป็นช่วยให้ผู้ฟังเห็นภาพชัดขึ้น เขาได้สาธิตให้เห็นว่า ขณะที่โปรเซสเซอร์อยู่เฉยๆ มีอัตราการใช้พลังงานลดลง 50 เท่า และขณะฟังเพลง อัตราการใช้พลังงานลดลง 10 เท่า เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์ม “เมนโลว์” (Menlow) รุ่นแรกของอินเทล
นอกจากนั้นเพิร์ลมัตเตอร์ยังประกาศถึงความร่วมกับผู้ผลิตพีซีอย่าง “ตงฟาง” (Tongfang*) และ ”ฮานวอน” (Hanvon*) เพื่อเปิดตัวคลาสเมทพีซีที่แปลงสภาพได้รุ่นใหม่ออกมาสู่ท้องตลาด ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างดีไซน์และความทนทาน จนกลายมาเป็นพีซีที่มีฟังก์ชันครบถ้วนพร้อมกับเสริมประสิทธิภาพโดยการใส่คุณสมบัติ e-reading ลงไป แถมยังปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้น และใช้พลังงานอย่างประหยัดมากขึ้นอีกด้วย การออกแบบเพื่อรองรับการทำงานอย่างคล่องตัวของคลาสเมทพีซีรุ่นใหม่นี้จะตอบรับการใช้งานของเหล่านักเรียนและนักศึกษาโดยตรง นอกจากนั้นหน้าจอสัมผัสสไตล์แทบเบล็ตยังช่วยให้เหล่านักเรียนใช้งานได้คล่องตัวมากขึ้นด้วย การพัฒนาคุณสมบัติใหม่ๆ เหล่านี้ออกมาเป็นผลพวงมาจากงานวิจัยด้านมานุษยวิทยาเกี่ยวกับนักเรียนและอาจารย์อย่างครอบคลุมทุกแง่มุมนั่นเอง
เรเน เจมส์ บรรยายเรื่องการไขอนาคตกับอินเทล
ผู้ที่ทำการบรรยายเป็นคนที่สองในวันแรกของงานคือนางเรเน เจมส์ รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปซอฟต์แวร์แอนด์เซอร์วิสกรุ๊ปของอินเทล โดยมีเนื้อหาที่เน้นย้ำถึงวิสัยทัศน์ของอินเทลเรื่องการทำงานหลากหลายของอุปกรณ์ต่างๆ อย่างกลมกลืน ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ รถยนต์ หรือแม้แต่ตัวบ้านเอง ที่จะทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลของตนเองได้ง่ายและต่อเนื่องมากขึ้น เรเนมองว่าสภาพแวดล้อมที่รองรับการทำงานที่เป็นหนึ่งเดียวกัน บนสถาปัตยกรรมการประมวลผลพื้นฐานร่วมกันจะช่วยให้นักพัฒนาเข้าถึงผู้ใช้ได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ในตลาดใดก็ตาม
นอกจากนั้นเรเนยังได้พูดถึงระบบประมวลผลคลาวด์คอมพิวติ้ง ที่เปรียบเสมือนตัวเชื่อมที่เข้ามาประสานการทำงานของแพลตฟอร์มประมวลผลแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยได้เชิญ ดร.จิเรน หลิว ประธานและซีอีโอของบริษัท นูซอฟท์ คอปอเรชั่น กล่าวบรรยายถึงเรื่องนี้โดยเฉพาะ ดร.หลิวทำการสาธิตให้เห็นว่าระบบที่สร้างจากสถาปัตยกรรม อินเทล คลาวด์ บิลเดอร์ (Intel Cloud Builder) จะเป็นตัวเสริมการทำงานของโซลูชั่นใหม่ๆ สามารถเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ตรวจสุขภาพและการวินิจฉัยที่อยู่ห่างไกลออกไป เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการแพทย์อย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน
เรเนล่าวว่า “เทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว ในขณะที่อินเทลกำลังจัดองค์ประกอบเหล่านี้ให้เข้าที่ โดยเริ่มตั้งแต่ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งไปจนถึงอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กที่สุด เพื่อมอบประสบการณ์การประมวลผลที่สมจริงให้แก่ผู้ใช้ ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ใดก็ตาม ผลพวงจากการทำงานร่วมกันของเหล่านักพัฒนา และพันธมิตรของเรา รวมทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่สอดประสานการทำงานร่วมกันอย่างลงตัว อินเทลมั่นใจว่าเราจะสามารถนำผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดออกสู่ตลาดไปถึงมือผู้ใช้อย่างกว้างขวางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”
เรเนกล่าวว่า หลังจากที่ได้มีข่าวว่าอินเทลและโนเกีย*จะรวมระบบปฏิบัติการ Moblin* และโครงการโอเพ่นซอร์ส Maemo* ไปเป็นแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์สำหรับลีนุกซ์ที่มีชื่อว่า MeeGo* อุตสาหกรรมก็ให้การตอบรับ MeeGo กันอย่างกว้างขวาง MeeGo อยู่ภายใต้การดูแลของกองทุนลีนุกซ์ (Linux Foundation) ในฐานะของโครงการโอเพ่นซอร์สเต็มรูปแบบที่บริษัทผู้ผลิตโออีเอ็ม ผู้ค้าระบบปฏิบัติการ ผู้ให้บริการเครือข่าย และผู้ค้าประเภทอื่นๆ สามารถนำไปใช้งานได้ โดยตั้งเป้าไปที่การทำงานในอุปกรณ์หลากรูปแบบ อาทิเช่นสมาร์ทโฟน เน็ตบุ๊ก แท็บเบล็ต มีเดียโฟน ทีวีที่มีระบบสื่อสารในตัว รวมทั้งระบบข้อมูลและสร้างความบันเทิงในรถยนต์ เป็นต้น
นอกจากนั้นเรเนยังได้ประกาศว่าตอนนี้ผู้ขายและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในจีนสามารถเข้ามาขอรับสิทธิประโยชน์จากโครงการ อินเทล อะตอม ดิเวลล็อปเปอร์ โปรแกรม ได้แล้ว โดยการจำหน่ายแอพลิเคชันของตนผ่านทางเว็บไซต์ Intel AppUpSM Center รุ่นเบต้า เรเนยังบอกอีกว่า เมื่อไม่นานมานี้มีการปรับปรุงเพื่อขยายศูนย์เบต้าสำหรับ Intel AppUp ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการจำหน่ายแอพลิเคชันที่ทำงานบน MeeGo และ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์* สำหรับผู้ใช้ในอเมริกา แคนาดา และอีก 27 ประเทศในยุโรป การเติบโตดังกล่าวเปิดโอกาสให้นักพัฒนาแอพลิเคชันชาวจีนในโครงการ อินเทล อะตอม ดิเวลล็อปเปอร์ โปรแกรม มีโอกาสเข้าถึงตลาดสำคัญสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ ได้ทั่วโลก และในขณะนี้ เว็บไซต์ดังกล่าวยังจำหน่ายแอพลิเคชันผ่านสกุลเงินต่างๆ ได้แก่ เหรียญสหรัฐฯ ยูโร หรือปอนด์สเตอลิง
อินเทล (NASDAQ:INTC) เป็นผู้นำระดับโลกในด้านนวัตกรรมซิลิกอน สร้างสรรค์เทคโนโลยี สินค้า รวมทั้งการริเริ่มต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการทำงานของผู้คนอย่างต่อเนื่อง ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทลได้ที่ www.intel.com/pressroom , www.intel.com/th, blogs.intel.com, ทวิตเตอร์ @Intelthailand และ เฟสบุ๊ค IntelThailand
ติดต่อ:คุณดรรชนีพร พฤกษ์วัฒนานนท์ คุณอรวรรณ ชื่นวิรัชสกุล บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
โทรศัพท์: (66 2) 648-6000 โทรศัพท์: (66 2) 627-3501
e-Mail: dudchaneeporn.pruckwattananon@intel.com e-Mail: orawan@carlbyoir.com.hk