เอกชน ผนึกนักวิชาการ กำจัดจุดอ่อน อุตฯพลาสติกและแม่พิมพ์ไทย ยกขบวนกองทัพเครื่องจักรกว่า 150บริษัท จาก20ประเทศทั่วโลก

ข่าวทั่วไป Wednesday May 4, 2005 14:11 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 พ.ค.--รี้ด เทรดเด็กซ์
เอกชน ผนึกนักวิชาการ กำจัดจุดอ่อน อุตฯพลาสติกและแม่พิมพ์ไทย ยกขบวนกองทัพเครื่องจักรกว่า 150บริษัท จาก20ประเทศทั่วโลก สัมมนากว่า 20หัวข้อ เสริมแกร่งผู้ผลิตพลาสติกไทย
นายชัยณรงค์ ลิมป์กิตติสิน ผู้อำนวยการสายอุตสาหกรรม บริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯผนึกนักวิชาการ ร่วมกำจัดจุดอ่อน อุตฯพลาสติกและแม่พิมพ์ไทย ยกขบวนกองทัพเครื่องจักรกว่า 150บริษัท จาก20ประเทศทั่วโลก สัมมนากว่า 20หัวข้อ เสริมแกร่งผู้ผลิตพลาสติกไทย ในงานอินเตอร์พลาสไทยแลนด์ ครั้งที่ 14 คาดนักอุตสาหกรรมร่วมงานมากกว่า 45,000คน เงินสะพัดจากการซื้อขายเครื่องจักรมากกว่าพันล้านบาท
อุตสาหกรรมพลาสติกเติบโตอยู่สูงมาก ความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศของอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้ารวมถึงเครื่องใช้ในครัวเรือนซึ่งต้องใช้วัสดุทำจากพลาสติกต่างมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องในปี2004ตัวเลขในการส่งออกสินค้าพลาสติกมีมูลค่ามากกว่า1.4แสนล้านบาทและความต้องการใช้พลาสติกยังคงเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้บรรดาผู้ผลิตผู้ประกอบการและนักอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องต้องปรับตัวให้ทันความต้องการเหล่านั้นอยู่เสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งความทันสมัยของเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
ดังนั้นบริษัทจึงเตรียมจัดงาน“อินเตอร์พลาส ไทยแลนด์ 2005”ครั้งที่ 14 งานแสดงเทคโนโลยีการผลิตที่จัดขึ้นเพื่ออุตสาหกรรมพลาสติกครบวงจร อาทิ เครื่องรีด ฉีด เป่า ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กเพื่อเสริมศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมพลาสติกไทยก้าว สู่เวทีโลกได้ ระหว่างวันที่ 2 —5 มิถุนายน 2548 ณ ไบเทค บางนา โดยใช้พื้นที่ 20,000 ตารางเมตร มีบริษัทเข้าร่วมแสดงเทคโนโลยีมากกว่า 150 บริษัท จาก 20 ประเทศทั่วโลก อาทิ ญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน ฮ่องกง เยอรมัน อิตาลี อเมริกา อังกฤษ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมชมงานมากกว่า 45,000คน และมีเงินสะพัดจากการซื้อขายเครื่องจักรมากกว่า 1พันล้านบาท
นายสงกรานต์ บุลาเลิศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท มหาธานีแมคชีนเนอร์รี่ จำกัด เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมพลาสติกยังเติบโตอีกมาก โดยเฉพาะการผลิตขวดพลาสติก PET ที่มีการใช้สูงอย่างต่อเนื่องทั่วโลก
เพราะน้ำหนักเบากว่าการใช้แก้วหรืออลูมิเนียม และทนต่อแรงกระแทก ซึ่งวัสดุประเภทนี้ทั่วโลกเติบโตปีละไม่ต่ำกว่า 8 —10% ขณะที่เมืองไทยการเติบโตสูงกว่า 10 % และมีแนวโน้มโตอย่างต่อเนื่อง เพราะบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มและอาหารหลายประเภทใช้กันมากขึ้น บริษัทเป็นผู้ผลิตขวดพลาสติกฝีมือคนไทยเตรียมนำ เครื่องเป่าขวดพลาสติกรุ่นใหม่ออกสู่ตลาด 2 รุ่นในงานอินเตอร์พลาสไทยแลนด์ ได้แก่ เครื่องเป่าขวดขนาด 20 ลิตร ซึ่งจะมาทดแทนถังอลูมิเนียมใส่น้ำมันพืชและเครื่องเป่าขวดทนความร้อนใส่น้ำเกลือ ทางการแพทย์ขนาด 1 ลิตร และจะใช้โอกาสนี้ขยายตลาดส่งออกสู่ปากีสถานและมาเลเซียเพิ่มจากเดิมที่ส่งออกสู่ อเมริกา ฮาวาย ลิเบียและเวียดนาม
นายเคนอิจิ อินางากิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โตชิบา แมชชีน (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า “อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยมีอัตราการเติบโตสูงมาก ส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตมีความต้องการเครื่องฉีดพลาสติกชิ้นส่วนตั้งแต่ขนาดเล็กและขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก บริษัทเตรียมนำเครื่องฉีดพลาสติกระบบไฟฟ้ารุ่น EC100C ซึ่งผลิตที่โรงงานเซี่ยงไฮ้ แสดงในงานโดยมีคุณสมบัติพิเศษด้านความเร็วในการฉีดสินค้า 4 ชิ้นใช้เวลาเพียง 3 วินาทีเหมาะสำหรับอุตสาหกรรมทุกประเภท โดยเฉพาะ ชิ้นส่วนยานยนต์ และอิเล็คทรอนิกส์ บริษัทฯมีผลประกอบการเติบโต 20เปอร์เซ็นต์ทุกปี โดย 60 เปอร์เซ็นต์เป็นรายได้จากเครื่องจักรสำหรับผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
โดยเมื่อปีที่แล้วบริษัทมีผลประกอบการ 300 ล้านบาท ซึ่งปีที่แล้วบริษัทฯจำหน่ายเครื่องจักรทั้งปีจำนวน180 เครื่อง
และในปีนี้ยอดจำหน่ายเครื่องจักร 3 เดือนแรก(มค.-มีค.) บริษัทฯจำหน่ายเครื่องจักรไปแล้วกว่า 90 เครื่อง
คาดว่าปีนี้จะเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วมากกว่า 10เปอร์เซ็นต์
นายณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการ สถาบันไทย — เยอรมัน (ทีจีไอ) ศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีการผลิตมาตราฐานระดับสากลสำหรับภาคอุตสาหกรรมไทย ชี้ไทยขาดบุคลากรด้านอุตสาหกรรมแม่พิมพ์
ส่งผลกระทบการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมหลักของประเทศ อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์
ซึ่งปัจจุบัน ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกรถยนต์ 1 ล้านคันภายใน 5 ปี และ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับหนึ่ง อย่างต่อเนื่อง คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20%ของมูลค่าการส่งออกรวมของประเทศ โดยเฉพาะการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญเป็นอันดับ 2ของโลกและมีสัดส่วนส่งออกถึง 67% ของการส่งออกรวมของโลก ทั้ง 2 อุตสาหกรรมนี้ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้พลาสติกเป็นส่วนประกอบและต้องใช้แม่พิมพ์จำนวนมากมาช่วยในการ ผลิต โดยขณะนี้ไทยนำเข้าแม่พิมพ์และชิ้นส่วนสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆจากต่างประเทศด้วยมูลค่าไม่ต่ำกว่า3 หมื่นล้านบาทต่อปี ขณะที่เราส่งออกแม่พิมพ์เพียง 2 -3พันล้านบาทต่อปีเท่านั้น โดยมีหลายสาเหตุที่ต้องนำเข้า ได้แก่ ความต้องการแม่พิมพ์ที่มีคุณภาพสูง ไม่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ ผู้ผลิตภายในประเทศไม่สามารถผลิตได้ทันตามความต้องการ และแม่พิมพ์จากต่างประเทศมีราคาต่ำกว่าสั่งซื้อแม่พิมพ์ภายในประเทศ
เหตุนี้ไทยจึงต้องเร่งพัฒนาบุคลากรทั้งในระดับช่างเทคนิคและในระดับการจัดการ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ให้สูงขึ้นกว่าเดิม สถาบันไทย-เยอรมัน เตรียมจัดสัมมนาครั้งใหญ่ ด้านเทคโนโลยีแม่พิมพ์ขึ้น ในงานอินเตอร์พลาสไทยแลนด์ ในหัวข้อ“การพัฒนาการผลิตแม่พิมพ์เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ” และ หัวข้อ “มิติใหม่ในการวิเคราะห์การพัฒนาบุคลากรสำหรับภาคอุตสาหกรรม” ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการพัฒนาความสามารถในการผลิตของตนเอง เพื่อสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ โดยเน้นให้ผู้ประกอบการแม่พิมพ์ได้เห็นถึงสภาพการผลิตแม่พิมพ์ของไทย ลักษณะการผลิตของโรงงานแม่พิมพ์ของไทยและยุโรป ทิศทางในการพัฒนาการผลิตแม่พิมพ์ของไทย การสร้างเครือข่ายของโรงงานแม่พิมพ์ เป็นต้น เพื่อผู้ประกอบการผลิตแม่พิมพ์ไทย จะนำไปปรับปรุงการบริกหาร การจัดการและพัฒนาโรงงานของตนให้สามารถแข่งขันทั้งตลาดภายในประเทศและแข่งในตลาด โลกได้ (จบ)
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อเกศินี 0-2636-7272 ต่อ 156 / 01-9893416--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ