29 องค์กรสังคม ร่วมโรดแมบภาคพลเมือง แก้วิกฤติเฉพาะหน้า-หาทางออกระยะยาว

ข่าวทั่วไป Monday April 26, 2010 11:04 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 เม.ย.--สพม. ประเด็นการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจการเมือง ผู้แทนเครือข่าย องค์กรทางสังคมร่วมเสนอว่า ต้องพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองให้พ้นระบบการชี้นำ, ให้ชุมชนหรือเครือข่ายรวมตัวกันตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยภาคประชาชน หรือตั้งสภาปฏิรูปที่มีผู้แทนจากทุกภาคส่วน รวมถึงเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งและปรับปรุงกฎหมายเพื่อลดทอนอำนาจรัฐ สร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง สำหรับประเด็นปฏิรูปสวัสดิการชุมชน มีข้อเสนอ 3 แนวคิดคือ 1.รัฐเป็นผู้จัดระบบสวัสดิการ แต่ต้องไม่เน้นประชานิยม อาจกำหนดเป็นกฎหมายเพื่อป้องกันการแทรกแซงของนักการเมือง และเพิ่มเติมเรื่องที่อยู่อาศัย การศึกษา บำนาญผู้สูงอายุ 2.ชุมชนเป็นผู้จัดระบบสวัสดิการกันเอง ด้วยการดึงทุนทางสังคมเดิมมาเป็นกลไกขับเคลื่อน ตลอดจนส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน และ 3. ท้องถิ่นจัดสวัสดิการ โดยอาศัยความร่วมมือเชื่อมประสานระหว่างชุมชนกับภาครัฐ ทั้งนี้ต้องยึดหลักครอบคลุมถ้วนหน้า มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไม่ใช่การสงเคราะห์แบบหยิบยื่น สุดท้ายประเด็นปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ให้ภาพรวมข้อเสนอว่า กระบวนการพิจารณาควรคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลย เช่น การเลือกทนายความ มาตรฐานรวมถึงกระบวนการตรวจสอบ, ประชาชนควรมีส่วนร่วมในคณะกรรมการปฏิรูปยุติธรรม, ปรับระบบการพิจารณาคดีจากกล่าวหาเป็นไต่สวน, สร้างกลไกที่ดีเพื่อแก้ภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้น และส่งเสริมความรู้ประชาชนด้านกฎหมาย รวมถึงเสนอให้มีกองทุนเยียวยาหรือช่วยเหลือจำเลยที่เป็นชาวบ้าน สุดท้ายคือการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดความเท่าเทียมทุกระดับ นายสน รูปสูง รองประธาน สพม. กล่าวว่า หลังจากนี้เครือข่ายต่างๆควรนำกรอบโรดแมบที่นำเสนอวันนี้ไปขับเคลื่อนใน ระดับหมู่บ้านก่อน เพราะหากรอแนวทางใหญ่อาจต้องใช้เวลา แต่หากทำในระดับชุมชนเล็กๆ อาจมีการปรับเปลี่ยนหรือได้ข้อเสนอเพิ่มเติมที่สอดคล้องกับปัญหามากกว่า ทั้งนี้มีหลักการที่ต้องยึดถือไว้ 3 ประการ คือ ต้องเกิดจากประชาชนอย่างแท้จริง, เป็นแนวทางที่เกิดจากล่างขึ้นบน และต้องเป็นการปฏิรูปทุกมิติของสังคม .

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ