กรุงเทพฯ--29 เม.ย.--ทีวีบูรพา
“รายการกบนอกกะลา” อาสาพาเดินทางเลาะขอบคันนาทำความรู้จัก “หนูนา” งานนี้กบแนน (สุดารัตน์ เกิดสว่าง ) จะนำผู้ชมบุกถึงถิ่นเจ้าตัวน้อยหนูนาเพื่อทำความรู้จักเจ้าสัตว์ที่หากพูดถึงหนูใคร ๆ ก็ต้องร้องยี้ เพราะดูสกปรกน่ารังเกียจ แต่จะมีใครสักกี่คนที่มองเบื้องหลัง นา นา น่ารู้ กับเรื่องราวชีวิต ของหนูนั้นก็มีด้านดีซุกซ่อนอยู่ด้วย หนูจะไม่มีดีในสายตาใครบ้างไม่สำคัญ เพราะถ้าเป็นหนูนาย่านบางบัว ทอง สุพรรณบุรี แล้วละก็ สถานะของหนูจะเปลี่ยนเป็นสินค้าสำคัญ นั่นคือ หนูนาย่าง อาหารริมทางที่เรียก ร้องความสนใจให้นักเดินทางซื้อเป็นของว่างรสเด็ดแต่จะมีใครตั้งข้อสังเกตบ้างว่า หนูนาที่ขายกันอยู่ริม ทางนี้ เป็นหนูนาชนิดใด มาจากไหน และหนูนากับหนูบ้านตัวโต ๆ นั้นแตกต่างกันอย่างไร
หนูไทยในความคุ้นคยของชาวบ้านชาวนานั้นมี 6 ชนิด หนูพุกใหญ่ หนูพุกเล็ก หนูนาใหญ่ หนูนา เล็ก หนูหริ่งนาหาสั้น หนูหริ่งนาหางยาวหนูนาหรือหนูพุกใหญ่ เพราะมีขนาดใหญ่ที่สุด เมื่อตัวเต็มวัยจะ หนักประมาณ 1 กิโล หน้าสั้น ขนหลังสีดำปนน้ำตาล หางมีเกล็ดสีดำ พบได้ทุกภาคของประเทศไทย นัก ล่าหนูยังคงเป็นความหวังอันยิ่งใหญ่ของชาวนาที่จะช่วยปราบและกำจัดหนูนาที่กัดกินต้นข้าว นักล่าจะ เรียนรู้พฤติกรรมและถิ่นที่อยู่อาศัยของหนูนา
หนูนาจะขุดรูเท่าลำตัวอาศัยอยู่ตามคันนา บางสายพันธุ์ก็จะซุกซ่อนตัวอยู่ตามต้นข้าวกลางนากลาง วันจะหลับนอนผักผ่อนอยู่ในบ้าน แต่จะตาสว่างออกหากินยามค่ำคืน ดังนั้นช่วงเวลาวางกรงดักหนูต้องทำ เวลาตอนเช้าไปจนถึงเย็นก่อนตกดิน โดยจะขับรถมอเตอร์ไซด์ตระเวนไปตามคันนา เลือกผืนนาที่กำลังตั้ง ท้องหรือมีรวงข้าว หารูหนูตามคันนา ค้นหาร่องรอยของหนูจากการขลุยดินที่ิยู่บนปากรูหนู และรอยตีน หนูตามทางเดิน พอรุ่งเช้านักล่าหนูก็จะมากู้กรงหนู วนหนึ่ง ๆ ชีวิตของหนูจะถูกไล่ล่านับพันๆตัวติดตาม เรื่องราว นา นา น่ารู้ของ หนูนา โปรตีนดั้งเดินของท้องทุ่งที่ไม่มีวันหมดไป ในกบนอกกะลาวันศุกร์ที่ 7 พ.ค. นี้ 20.40 น. ทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี