กรุงเทพฯ--4 พ.ค.--กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
วันที่ 3-6 พฤษภาคม 2553 กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรองรับในการมอบอำนาจในการถ่ายโอนภารกิจด้านน้ำบาดาลแก่เทศบาลและ อบต. หลักสูตร “พนักงานเจ้าหน้าที่” น้ำบาดาลท้องถิ่น (ช่างโยธา) รุ่นที่ 1 และ 2 ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายช่างโยธาของเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมประชุมกว่า 120 คน
การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรองรับในการมอบอำนาจในการถ่ายโอนภารกิจด้านน้ำบาดาลแก่เทศบาลและ อบต. หลักสูตร “พนักงานเจ้าหน้าที่” น้ำบาดาลท้องถิ่น (ช่างโยธา) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้ ทัศนคติ และทักษะความสามารถของเจ้าหน้าที่ของเทศบาลและ อบต. ให้มีความพร้อมสามารถปฎิบัติภารกิจ ในฐานะ “พนักงานเจ้าหน้าที่” น้ำบาดาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยเชิญ ศาสตราจารย์ ดร. อุดม ทุมโฆสิต ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “ปรัชญา แนวคิดการกระจายอำนาจไปสู่ อปท. และการบรรยายเรื่อง “แผนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. การบรรยายเรื่อง “แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจแก่ อปท.” โดยวิทยากรจาก สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สกถ.) สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี
ร่วมด้วยการบรรยายเรื่อง “การบริหารจัดการน้ำบาดาลและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทรัพยากร น้ำบาดาล” “การอนุญาตเจาะน้ำบาดาลและการอนุญาตใช้น้ำบาดาล” “การเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาล” “การเจาะบ่อสาธารณะ การซ่อมบำรุงเครื่องสูบน้ำแบบบ่อลึก และการพัฒนาเป่าล้างบ่อน้ำบาดาล” โดย คณะวิทยากรจาก กรมทรัพยากรน้ำบาดาล พร้อมจัดให้มีการประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยมีการจัดประชุมใน 3 พื้นที่ คือ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 2 รุ่น ดำเนินการจัดไปแล้ว เมื่อวันที่ 27-30 เมษายน 2553 จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 2 รุ่น อยู่ระหว่างดำเนินการขณะนี้ และจังหวัดนครราชสีมากำหนดจัดระหว่างวันที่ 18-22 พฤษภาคม 2553 จำนวน 3 รุ่น
ทั้งนี้ การถ่ายโอนภารกิจด้านน้ำบาดาลแก่เทศบาล และ อบต. 5 ภารกิจ ประกอบด้วย (1) การขุดเจาะบ่อ น้ำบาดาล (รวมการสำรวจแหล่งน้ำทางธรณี การทดสอบหลุมเจาะและเจาะบ่อน้ำบาดาลพร้อมสูบมือโยก) (2) การพัฒนาเป่าล้างบ่อบาดาลเดิม (3) การซ่อมบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำแบบบ่อลึก (4) การเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาล และ (5) การอนุญาตการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางตอนบนสุด น้อยกว่า 4 นิ้ว (100 มิลลิเมตร) และมอบอำนาจ การอนุญาตใช้น้ำบาดาลที่อนุญาตใช้ไม่เกินวันละ 10 ลูกบาศก์เมตร