กรุงเทพฯ--6 พ.ค.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
ประเด็นข่าว
ขั้นตอนการผลิตและเทคโนโลยีสำหรับซิลิกอนชั้นยอดจากอินเทลทำให้ชิปรุ่นใหม่นี้มีอัตราการใช้พลังงานของแพลตฟอร์มขณะไม่ได้ทำงานลดลงมากกว่า 50 เท่าพร้อมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดขนาดของชิปลงอีกด้วย1
แพลตฟอร์มนี้ทำให้อุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก มีประสิทธิภาพการทำงาน “เหมือนพีซี” อาทิการท่องอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ระบบมัลติทาสกิ้ง ระบบวิดีโอ 1080p สมบูรณ์แบบ ระบบกราฟิก 3 มิติ และระบบประชุมร่วมผ่านวิดีโอหลายจุดพร้อมกัน อย่างไร้ขีดจำกัด
ชิปอะตอม z6xx ซีรีส์รุ่นใหม่ใช้ขั้นตอนการผลิตแบบ 45 nm ที่ใช้พลังงานต่ำรุ่นใหม่ของอินเทล ใส่ทรานซิสเตอร์ 140 ล้านชิ้นลงไปใน ซิสเต็ม ออน ชิป (หรือ SoC) นอกจากนั้นแพลตฟอร์มนี้ยังมีคอนโทรลเลอร์ฮับ (เอ็มพี 20) พร้อมกับ มิกซ์ ซิกแนล ไอซีเฉพาะในตัวอีกด้วย
แพลตฟอร์มที่ผสานการทำงานเข้าด้วยกันนี้สามารถรองรับการทำงานของระบบปฏิบัติการได้หลากชนิดและตอบความต้องการของตลาดระดับต่างๆ อาทิสมาร์ทโฟนระดับไฮเอนต์ แทบเบล็ต และอุปกรณ์ขนาดพกพา
วันนี้ อินเทล คอร์ปอเรชั่นเปิดตัวอินเทล?อะตอม?แพลตฟอร์มล่าสุด (ชื่อรหัสเดิมคือ “มัวร์สทาวน์”) ที่มีจุดเด่นจากการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมที่ประหยัดพลังงาน ความเชี่ยวชาญในการออกแบบทรานซิสเตอร์และแผงวงจร บวกกับเทคนิคขั้นตอนการผลิตที่โดดเด่นของอินเทล
แพกเก็จเทคโนโลยีรุ่นใหม่นี้มีอัตราการใช้พลังงานที่ต่ำมาก1 จะช่วยให้อินเทลมีโอกาสบุกตลาดอุปกรณ์ประมวลผลที่กว้างขวางยิ่งขึ้น อาทิสมาร์ทโฟนระดับไฮเอนต์ แทบเบล็ต และอุปกรณ์โมบายล์ขนาดพกพาชนิดอื่นๆ อีกมาก ชิปรุ่นนี้ยังคงจุดเด่นด้านผลิตภัณฑ์ของอินเทลเอาไว้เหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพสูงที่รองรับการทำงานของแอพลิเคชั่นสำหรับอินเทอร์เน็ตและสื่อต่างๆ ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นได้อย่างครอบคลุม มีซอฟต์แวร์ให้เลือกหลากหลาย และมีความสามารถในการรองรับการทำงานมัลติทาสกิ้งสำหรับแอพลิเคชั่นต่างๆมากมาย อาทิระบบวิดีโอ HD และระบบประชุมร่วมผ่านวิดีโอหลายจุดพร้อมกันเป็นต้น
นายอนันด์ จันทราเซเคอร์ รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มอัลตร้า โมบิลิตี้ กล่าวว่า “อินเทลได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ชนิดแรกที่จัดว่าเป็นการเปิดประตูให้อินเทลอาร์คิเทคเจอร์ (IA) บุกตลาดสมาร์ทโฟนได้ ซึ่ง “มัวร์สทาวน์” จะช่วยให้อินเทลสามารถ ปรับคุณสมบัติของอินเทล อาร์คิเทคเจอร์ พร้อมๆกับลดอัตราการใช้พลังงาน ต้นทุน และขนาดของแพลตฟอร์มลงไปได้อย่างมาก เพื่อให้เหมาะกับตลาดอุปกรณ์มือถือต่างๆ และผลจากความพยายามของเราทำให้ อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น พร้อมๆกับมีอัตราการใช้พลังงานที่ต่ำกว่าเดิมอย่างมาก เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีทางเป็นไปได้ที่อุปกรณ์มือถือจะกลายเป็นคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงที่พกพาได้และมีขนาดเล็ก”
อุปกรณ์ที่สร้างสรรค์มาให้มีการใช้พลังงานน้อยและมีประสิทธิภาพระดับชั้นนำอุตสาหกรรม
แพลตฟอร์มนี้ประกอบด้วยอินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ Z6xx ซีรีส์ (ชื่อรหัสเดิมคือ “ลินคอร์ฟ” [Lincroft] ซิสเต็มส์ออนชิป [SoC]) อินเทล แพลตฟอร์ม คอนโทรลเลอร์ฮับ เอ็มพี 20 (ชื่อรหัสเดิมคือ “แลงเวลส์” [Langwell]) และ มิกซ์ ซิกแนล ไอซ๊ (MSIC) ชื่อเดิมคือ “ไบรเออร์ทาวน์” (Briertown)
แพลตฟอร์มนี้ได้ถูกจัดวางตำแหน่งใหม่ให้มีอินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ Z6xx ในตัว โดยประกอบด้วยคอร์ของอินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์แบบ 45 nm ที่มีระบบกราฟิก 3D ระบบเข้ารหัสและถอดรหัสวิดีโอ รวมทั้งหน่วยควบคุมความจำและจอภาพอยู่ภายในการออกแบบเป็น SoC เพียงชิ้นเดียว นอกจากนั้น ในแพลตฟอร์มนี้ยังมี MP 20 แพลตฟอร์มคอนโทรลเลอร์ฮับที่รองรับการทำงานของระบบได้หลายระดับและI/O บล็อคหลายชนิดอีกด้วย และ MSIC ยังมีการจัดสรรพลังงานและการชาร์จแบตเตอรี พร้อมทั้งยังมีการรวมเอาส่วนประกอบแบบอนาล็อกและดิจิตอลหลายชนิดไว้ในตัวอีกด้วย
องค์ประกอบเหล่านี้เมื่อทำงานร่วมกัน ทำให้ชิปรุ่นใหม่มีอัตราการใช้พลังงานที่ต่ำกว่าเดิมเป็นอย่างมาก อาทิการใช้พลังงานที่ลดลงมากกว่า 50 เท่าขณะที่ไม่มีการทำงาน และมีอัตราการใช้พลังงานลดลงมากกว่า 20 เท่า เมื่อทำงานเกี่ยวกับระบบเสียง ส่วนในขณะท่องเว็บและดูวิดีโอใช้พลังงานลดลงถึง 2-3 เท่า ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นอัตราการใช้พลังงานในระดับแพลตฟอร์ม เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์รุ่นก่อนหน้านี้ของอินเทล1 พลังงานที่ประหยัดได้เหล่านี้สามารถเทียบเท่ากับการทำงานในภาวะสแตนด์บายที่ยาวนานถึงกว่า 10 วัน หรือการฟังเพลงได้นานกว่า 2 วัน และการท่องเว็บได้กว่า 5 ชั่วโมง3 และเมื่อบวกกับประสิทธิภาพในการประมวลผลที่สูงขึ้นมากกว่า 1.5-3 เท่า ระบบกราฟิกที่ดีขึ้น 2-4 เท่า ประสิทธิภาพในการประมวลผลจาวาสคริปท์ที่ดีขึ้น 2-4 เท่า รองรับการถอดรหัสวิดีโอ HD 1080p ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และการบันทึกวิดีโอแบบ 720p HD ได้ นวัตกรรมรุ่นใหม่ที่ใช้พลังงานต่ำนี้จะช่วยให้อุปกรณ์ประมวลผลขนาดเล็กสำหรับพกพาสามารถใช้งานได้สมบูรณ์แบบเหมือนกับการใช้พีซี4
SoC รุ่นใหม่พัฒนามาจาก C6 state ของการออกแบบชิปอะตอมรุ่นแรก โดยมีการใส่ state รุ่นใหม่ที่กินไฟต่ำเป็นพิเศษลงไป (S0i1 และ S0i3) ซึ่งทำให้ SoC รุ่นใหม่มีอัตราการใช้งานอยู่ที่ 100 ไมโครวัตต์5 ถ้าหากดูจากระดับแพลตฟอร์มแล้ว อินเทลมีการพัฒนาระบบควบคุมการใช้พลังงานของระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ที่ละเอียดลงไปด้วย เพื่อใช้ในการควบคุมสภาพการใช้พลังงานขณะที่ไม่ได้ทำงานหรือขณะทำงานขององค์ประกอบทุกส่วนของระบบ โดยขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งาน เทคนิคการควบคุมซอฟต์แวร์นี้นำไปประยุกต์ใช้กับช่องทางการจ่ายไฟให้กับระบบพลังงานและสัญญาณนาฬิกาทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบจ่ายพลังงานของ SoC และระบบจ่ายพลังงานอื่นๆ ของระบบด้วย นอกจากนั้นอินเทลยังใช้เทคโนโลยีการผลิต Hi-k metal gate ในระดับ 45nm 2 LP SoC รุ่นใหม่ เพื่อรองรับการออกแบบทรานซิสเตอร์สำหรับ I/O ที่ใช้โวลเทจสูงๆ หลากชนิดอีกด้วย
คุณสมบัติควบคุมพลังงานเหล่านี้เมื่อทำงานร่วมกับอินเทล? เบิรสท์ เพอฟอร์แมนซ์ เทคโนโลยี ( Intel? Burst Performance Technology) ซึ่งเป็นระบบเรียกใช้ประสิทธิภาพสูงตามความต้องการ และเทอร์โบโหมดของอินเทล เบิร์สท์ สำหรับเรียกใช้แบนด์วิธสูงตามความต้องการ แล้วก็จะช่วยทำให้สามารถพัฒนาอุปกรณ์มือถือหลากชนิดที่มีประสิทธิภาพสูงและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่ออุปกรณ์พกพาหลากหลายชนิดในตลาด
เบลลิ คุททานา หัวหน้าแผนกสถาปัตยกรรมของ อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ กล่าวว่า “หลังจากที่เราพัฒนาอินเทลอะตอมโปรเซสเซอร์รุ่นแรกที่มีอัตราการใช้พลังงานลดลง 10 เท่าออกมาได้แล้ว เราได้สร้างความท้าทายให้ตัวเองในเรื่องของการลดอัตราการใช้พลังงานในระดับแพลตฟอร์มลง โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 50 เท่า ซึ่งเรารู้สึกดีใจอย่างมากที่สามารถทำได้ดีกว่าระดับที่ตั้งไว้ ไปพร้อมๆกับการปรับปรุงให้ประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น และเรารู้สึกภูมิใจในเหล่าสถาปนิกและนักออกแบบที่เข้ามาช่วยสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆให้เกิดขึ้นกับสถาปัตยกรรมของอินเทล”
การวางจำหน่าย
อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ Z6xx ซีรีส์ พร้อมทั้งอินเทล แพลตฟอร์ม คอนโทรลเลอร์ฮับ เอ็มพี 20 และ มิกซ์ ซิกแนล ไอซี เริ่มออกวางจำหน่ายแล้ว
แพลตฟอร์มใหม่นี้มีความเร็วหลายระดับตั้งแต่ 1.5 GHz สำหรับสมาร์ทโฟนระดับไฮเอนต์ ไปจนถึง 1.9 GHz สำหรับแทบเบล็ตและอุปกรณ์มือถือชนิดอื่นๆ ชิปรุ่นนี้ยังสามารถรองรับการทำงานของระบบสื่อสาร Wi-Fi, 3G/HSPA และ WiMAX รวมทั้งรองรับการทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการหลากชนิด อาทิแอนดรอยด์ (Android) มีโก (Meego) และโมบลิน (Moblin) อีกด้วย แถมอินเทลยังได้เตรียมการรวมเอาแอพพลิเคชั่นและระบบต่างๆ เพื่อรองรับการใช้งาน ซอฟต์แวร์และการท่องอินเทอร์เน็ตที่สมบูรณ์แบบสำหรับทั้งนักพัฒนาและผู้บริโภค ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเข้าไปดูได้ที่ www.intel.com/pressroom/kits/atom/z6xx/index.htm
เกี่ยวกับอินเทล
อินเทล (NASDAQ:INTC) เป็นผู้นำระดับโลกในด้านนวัตกรรมซิลิกอน สร้างสรรค์เทคโนโลยี สินค้า รวมทั้งการริเริ่มต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการทำงานของผู้คนอย่างต่อเนื่อง ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทลได้ที่ www.intel.com/pressroom , www.intel.com/th, blogs.intel.com, ทวิตเตอร์ @Intelthailand และ เฟสบุ๊ค IntelThailand
Intel, Intel Atom และ Intel logo เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ อินเทล คอร์ปอเรชั่น หรือสำนักงานสาขาในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ขอสงวนสิทธิ์
* ชื่อและยี่ห้ออื่นอาจถูกอ้างอิงถึงโดยถือเป็นทรัพย์สินของชื่อยี่ห้อนั้นๆ
1Compared to Intel’s first-generation Atom Processor platform (“Menlow”)
2Intel 45nm product is manufactured on a lead-free process
3Assumes 1500mAh battery
4As compared to today’s industry-leading smartphones
5 Intel measured data at S0i3 using an Intel Atom “Moorestown” beta test platform
For more information on performance tests and performance of Intel products, visit www.intel.com/performance/resources/limits.htm and www.intel.com/performance
ติดต่อ:สุภารัตน์ โพธิวิจิตร คุณอรวรรณ ชื่นวิรัชสกุล
บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
โทรศัพท์: (66 2) 648-6000 โทรศัพท์: (66 2) 627-3501
e-Mail: suparat.photivichit@intel.com e-Mail: orawan@carlbyoir.com.hk