มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจับมือไมโครซอฟท์ มุ่งสร้างสังคมการเรียนรู้ยุคดิจิตอลด้วยเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง แห่งแรกในประเทศไทย

ข่าวเทคโนโลยี Monday May 10, 2010 14:11 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 พ.ค.--ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจับมือไมโครซอฟท์ มุ่งสร้างสังคมการเรียนรู้ยุคดิจิตอลด้วยเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง แห่งแรกในประเทศไทย พัฒนาการศึกษามิติใหม่ เพื่อยกระดับสู่การเป็นสถาบันแนวหน้าด้านการเรียนการสอนของโลก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมมือกับไมโครซอฟท์ พัฒนาการศึกษามิติใหม่ Hybrid Learning 2.0 สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แบบสังคมใหม่ยุคดิจิตอล (Digital Lifestyle) เพื่อเป็นการผนวกอัจฉริยภาพทางการคิดด้านวิทยาการสำหรับโลกไอที เข้ากับ “ซอฟต์แวร์” และการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตหรือบนเมฆ (Cloud-based) ที่มีลักษณะเป็น “บริการ” สาธารณะมากขึ้น ในรูปแบบที่เรียกว่า software plus service โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเพื่อเสริมทักษะในการเรียนรู้ สร้างประสบการณ์ใหม่ในการเรียนการสอน และทำให้ชีวิตประจำวัน และการสื่อสารในสังคมชุมชนออนไลน์เป็นเรื่องง่าย โดยไมโครซอฟท์ได้สร้างสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่เป็นแบบ interactive สร้างประสบการณ์ใหม่ในการเรียนรู้แบบ cloud-based services แก่นักศึกษา สามารถทำงานได้ทุกอุปกรณ์ บนระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อเป็นการยกระดับการศึกษาสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แบบสังคมใหม่ยุคดิจิตอลอย่างแท้จริง ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง ไมโครซอฟท์มองการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ว่าเป็นการศึกษาสำหรับทุกคนในยุคสังคมอุดมปัญญา หรือ knowledge-based โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาสร้างสรรค์แนวคิดการเรียนรู้แบบใหม่ที่เรียกว่า คลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อการศึกษา เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงองค์ความรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ และให้นักเรียนสามารถมีปฎิสัมพันธ์กับอาจารย์ เพื่อนๆ และชุมชนออนไลน์ได้ในทุกที่ทุกเวลา ผ่านการทำงานและการใช้งานของอุปกรณ์และแนวคิด 3 จอ คือ จอคอมพิวเตอร์ เบราว์เซอร์ และมือถือ โดยนักศึกษาสามารถเข้าถึงบทเรียนเพื่อทบทวน และโต้ตอบกับอาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นผ่านเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม โดยนักศึกษาสามารถดึงข้อมูลและบทเรียนพร้อมคำสั่งที่ผู้สอน upload ไว้นำไปใช้งาน แก้ไข หรือเพื่อการเรียนรู้ ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทั้งนี้ภายใต้ความร่วมมือนี้ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้รับการสนับสนุนบริการออนไลน์ และสิทธิประโยชน์การใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์จากโครงการต่างๆ ของไมโครซอฟท์ด้วย เช่น โครงการ Microsoft DreamSpark, โครงการ Microsoft BizSpark, โครงการ Microsoft WebsiteSpark, โครงการ Microsoft Imagine Cup และ โครงการ MSDNAA ให้กับอาจารย์และนักศึกษาได้ใช้งานเพื่อการเรียนการสอน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้เพื่อยกระดับให้มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นสถาบันชั้นแนวหน้าด้านการเรียนการสอนที่ทันสมัยของโลก โดยเน้นการสร้างทักษะการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมยุคดิจิตอล รวมทั้งจัดตั้ง Microsoft IT Academy Programs ในมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาได้รับ World-Class Microsoft Certificate ก่อนจบการศึกษาอีกด้วย รศ.ดร.จีรเดช อู่สวัสดิ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า “รู้สึกดีใจที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในการนำเทคโนโลยี Cloud Computing ของไมโครซอฟท์มาช่วยเสริมและพัฒนาระบบการเรียนรู้ยุคใหม่ Hybrid Learning 2.0 สร้างสังคมการเรียนรู้ในยุคดิจิตอลได้อย่างสมบูรณ์ และนักศึกษารวมทั้งบัณฑิตของมหาวิทยาลัยจะได้ประโยชน์จากความร่วมมือครั้งนี้อย่างสูงสุด” มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมีความพร้อมด้านโครงสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถรองรับระบบ Hybrid Learning อยู่แล้ว ซึ่งนักศึกษาที่สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีในปีนี้ จะได้รับแจกคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ้กคนละ 1 เครื่องที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 7 และไมโครซอฟท์ออฟฟิศ 2010 เพื่อใช้ประโยชน์ในการเรียน โดยนักศึกษาสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับระบบไวไฟ ได้ครอบคลุมทั่วมหาวิทยาลัย เพื่อใช้ในการดาวน์โหลดเนื้อหาการเรียนการสอนในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย และค้นหาข้อมูลประกอบการเรียนตามหัวข้อที่อาจารย์ผู้สอนกำหนดก่อนเข้าชั้นเรียน ที่สามารถเชื่อมต่อพร้อมกันได้ถึง 33,000 เครื่อง สำหรับสร้างสังคมการเรียนรู้แบบใหม่นี้ จะช่วยให้นักศึกษามีความเพลิดเพลินในการเรียนช่วยสร้างปฎิสัมพันธ์ใหม่กับอาจารย์ผู้สอนในการโต้ตอบและติดต่อสื่อสารกันอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยทุกคน ให้มีความรอบรู้ด้านไอที ซึ่งสอดรับกับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคตอีกด้วย นางสาวปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “จากพันธกิจในการส่งเสริมการศึกษาของเยาวชนไทย ด้วยความเชื่อมั่นว่าเยาวชนที่มีคุณภาพคือปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ไมโครซอฟท์จึงมุ่งหวังให้มีการนำไอทีเข้ามาช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษา ผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการศึกษา อย่างกระทรวงศึกษาธิการ และสถาบันการศึกษาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และในวันนี้ไมโครซอฟท์มีความยินดีที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมีแนวคิดที่จะปฏิรูปการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย ด้วยเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์ ในรูปแบบ Cloud Computing อันเป็นที่มาของความร่วมมือในครั้งนี้ ซึ่งเชื่อว่าด้วยศักยภาพของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำของไทยที่มีความพร้อม ประกอบกับเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์ จะเสริมซึ่งกันและกันให้เกิดการเรียนการสอนในรูปแบบ Cloud Computing ที่มีประสิทธิภาพ ในการพัฒนาศักยภาพการเรียนการสอนระหว่างอาจารย์และนักศึกษา อีกทั้งเพิ่มขีดความสามารถการใช้งานด้านไอที อันจะนำไปสู่การยกระดับการศึกษาของไทยให้สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้ต่อไป” มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจะเริ่มใช้งานเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งของไมโครซอฟท์ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป โดยจะนำมาผนวกเข้ากับการเรียนการสอนแบบ Hybrid Learning ที่ใช้อยู่เดิม ซึ่งนักศึกษาทุกคนจะได้รับสิทธิ์การใช้งานด้านไอทีภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ เพื่อต่อยอดสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับไมโครซอฟท์ บริษัท ไมโครซอฟท์ (Nasdaq “MSFT”) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2518 เป็นผู้นำระดับโลกด้านบริการซอฟต์แวร์ และโซลูชั่นที่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของผู้ใช้และองค์กรธุรกิจ ไมโครซอฟท์เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ ไมโครซอฟท์ คอร์ป ประเทศสหรัฐอเมริกา และ/หรือ ประเทศอื่นๆ ชื่อบริษัทและผลิตภัณฑ์ที่มีการกล่าวถึงในเอกสารชุดนี้อาจจะเป็นเครื่องหมายการค้าของเจ้าของนั้นๆ หมายเหตุ: หากท่านต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไมโครซอฟท์ สามารถดูได้ที่ http://www.microsoft.com/presspass/ ในส่วนของหน้าข้อมูลบริษัท รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยหอการค้า กรุณาติดต่อ บริษัท เดอะ เวย์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด จตุพล นาคนิ่ม (ต้อม) , วลี อร่ามยิ่ง (บี) รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับไมโครซอฟท์ กรุณาติดต่อ: คุณศุภาดา ชัยวงษ์ ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน ประเทศไทย โทรศัพท์: 0-2627-3501 ต่อ 209 โทรสาร: 0-2627-3510 Email: sjaidee@th.hillandknowlton.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ