ไทยพาณิชย์วางใจเลือกเทคโนโลยีไอบีเอ็มเสริมประสิทธิภาพระบบไอทีรองรับบริการลูกค้าต่อเนื่องสูงสุด24 ชั่วโมง

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 10, 2010 14:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 พ.ค.--ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารไทยพาณิชย์พัฒนาศักยภาพสูงสุดของการให้บริการ โดยใช้เทคโนโลยี “พาราเลล ซิสเพล็กซ์” ภายใต้แนวคิดระบบอัจฉริยะ(Smarter System) จากไอบีเอ็มนับเป็นธนาคารแห่งแรกของไทยที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าว มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพของระบบคอร์แบงก์กิ้ง (Core Banking) ให้มีความต่อเนื่องของระบบสูงสุดถึง 99.999% มั่นใจลูกค้าสามารถเข้าใช้บริการได้ต่อเนื่องตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง ดร. อมฤต เหล่ารักพงษ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายประมวลผลเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารไทยพาณิชย์มุ่งเน้นให้บริการทางการเงินที่ครบวงจร เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงการใช้ทรัพยากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อ ยกระดับเครือข่ายการให้บริการและเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าที่ใช้บริการเพิ่มขึ้น ล่าสุด ธนาคารไทยพาณิชย์ได้เลือกเทคโนโลยี “พาราเลล ซิสเพล็กซ์” ระบบอัฉริยะของไอบีเอ็มมาสนับสนุนเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของการให้บริการของธนาคาร คือการที่ระบบต่างๆ ต้องสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีการขัดข้องหรือมีปัญหาเกิดขึ้น โดยเฉพาะระบบที่เป็นหัวใจหลักของธนาคารอย่างคอร์แบงกิ้ง (Core Banking) ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์กลางในการประมวลผลธุรกรรมที่ลูกค้าทำผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ สาขาของธนาคาร เครื่องเอทีเอ็ม อินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือดังนั้นระบบคอร์แบงกิ้งของธนาคารจึงต้องสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง พาราเลล ซิสเพล็กซ์ เป็นเทคโนโลยีคลัสเตอร์ขั้นสูงของไอบีเอ็ม ที่ใช้หลักการทำงานคู่ขนานของเมนเฟรมสองตัว โดยเปรียบเสมือนระบบคอร์แบงกิ้งของธนาคารมีหัวใจสองดวงที่ทำงานคู่ขนานกัน และทำงานทดแทนกันได้ตลอดเวลา ซึ่งหากมีเหตุขัดข้องประการใดอาทิ การบำรุงรักษาระบบไอทีตามปกติ หรือระบบไอทีเกิดการหยุดชะงักด้วยเหตุการณ์อันไม่คาดฝันใดๆงานจะถูกส่งไปประมวลผลที่โปรเซสเซอร์อีกตัวหนึ่งทันทีโดยอัตโนมัติ (Disaster Recovery)ทำให้ธนาคารสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยระบบที่ปฏิบัติงานได้เต็มประสิทธิภาพตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ 99.999% (Five nines) ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดในปัจจุบัน ธนาคารเล็งเห็นว่าเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพจะเป็นแรงผลักดันสำคัญต่อนวัตกรรมทางผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่จะทำให้ธนาคารแข่งขันได้ในระยะยาว และด้วยความเชื่อมั่นในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การให้บริการ ความเป็นมืออาชีพ และความเชี่ยวชาญของไอบีเอ็ม ธนาคารจึงไว้วางใจเลือกใช้เทคโนโลยีจากไอบีเอ็มเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการลูกค้าได้อย่างสูงสุด ไอบีเอ็มจึงเป็นพันธมิตรสำคัญที่ทำให้ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นธนาคารที่มี นวัตกรรมด้านระบบไอทีที่ทันสมัยที่สุดของประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของเราในการเป็นธนาคารชั้นนำของประเทศที่ให้บริการอย่างครบวงจร และก้าวสู่ต้นแบบธนาคารอัจฉริยะของไทยต่อไป ด้าน นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจคอมพิวเตอร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ธนาคารสามารถใช้กลยุทธ์เพื่อพัฒนาเป็นธนาคารอัจฉริยะหรือ Smarter Banking ในการสร้างการเติบโตของผลกำไร บริหารต้นทุนได้อย่างคล่องตัว รวมถึงการพัฒนาการบริหารความเสี่ยงด้วยการเลือกใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในเชิงกลยุทธ์สถาบันการเงินแห่งอนาคตจะต้องมีปัจจัยที่จำเป็นต่อความสำเร็จในอนาคต ด้วยการใช้ความสามารถในการวิเคราะห์และเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ เพื่อสร้างความต่อเนื่องของข้อมูลทั่วทั้งองค์กร” เราได้นำความสามารถที่เรามีเข้าสนับสนุนเป้าหมายของธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้ธนาคารเหล่านั้นดำเนินงานได้อย่างรวดเร็วและมีความยืดหยุ่นในสภาสะเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ที่พึ่งพึงความรู้และความคิด เช่น Banking Industry Framework ของไอบีเอ็ม หรือ เทคโนโลยีพื้นฐานสำหรับธุรกิจการเงินธนาคาร ในการนำโซลูชั่นด้านธนาคารอัจฉริยะมาใช้ในการลดต้นทุนและลดความเสี่ยงให้แก่ลูกค้า โซลูชั่นดังกล่าวรวมถึงการบริหารข้อมูลลูกค้า การบริหารความเสี่ยง การชำระเงินและความปลอดภัย และการเปลี่ยนแปลงระบบคอร์แบงก์กิ้ง รวมถึงซอฟต์แวร์และโซลูชั่นอื่นๆ ที่เฉพาะเจาะจงสำหรับธุรกิจการเงินธนาคาร ตลอดจนการรองรับมาตรฐานต่างๆ ของธุรกิจการเงินธนาคาร” ทั้งนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์วางใจเลือกไอบีเอ็มเป็นผู้ติดตั้งระบบอัฉริยะ (Smarter System) ซึ่งครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานไอที ด้วยการใช้ฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และบริการจากไอบีเอ็ม โดยได้เลือกใช้ ไอบีเอ็ม เซิร์ฟเวอร์ซิสเต็ม ซี10 (System z10) รุ่นเอ็นเตอร์ไพรส์ คลาส (Enterprise Class) ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ z/OS v1.7 โดยเซิร์ฟเวอร์ซิสเต็ม ซี10 จำนวนสามตัวจะรองรับฐานข้อมูลของธนาคารที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจในแต่ละวัน รวมถึงการทำงานออนไลน์และงานที่มีปริมาณมาก และได้ติดตั้งเทคโนโลยี ไอบีเอ็ม พาราเลล ซิสเพล็กซ์เพื่อทำให้เซิร์ฟเวอร์ซิสเต็ม ซี10 ทั้งสามตัวทำงานร่วมกันเสมือนหน่วยเดียว นอกจากนี้ธนาคารยังได้ใช้ ไอบีเอ็ม ซิสเต็มสตอเรจ DS8300 สำหรับการรักษาข้อมูลที่สำคัญของธนาคาร ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมของไอบีเอ็ม ประเทศไทย ได้ที่ www.facebook.com/IBMThailand รายละเอียดเกี่ยวกับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สามารถดูได้ที่ www.scb.co.th เกี่ยวกับธุรกิจการเงินและการธนาคารจากไอบีเอ็ม ด้วยความเป็นผู้นำกว่า 80 ปี ในการช่วยสถาบันการเงินต่างๆ ใช้เทคโนโลยีเพื่อความสำเร็จของธุรกิจ ไอบีเอ็มจึงเป็นพันธมิตรที่สำคัญของธุรกิจการเงินและการธนาคาร โดยให้บริการแก่ธนาคารรายใหญ่ของโลกทั้งหมด ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญนับพันคน ซึ่งนับเป็นทีมงานให้คำปรึกษาด้านธุรกิจการเงินและการธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีเครือข่ายอยู่ในธุรกิจการเงินและการธนาคารทั่วโลก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสนับสนุนลูกค้าธุรกิจการเงินและการธนาคารจากไอบีเอ็ม สามารถดูได้ที่ www.ibm.com/banking เกี่ยวกับเทคโนโลยี “พาราเลล ซิสเพลกซ์” จากไอบีเอ็ม พาราเลล ซิสเพล็กซ์ คือเทคโนโลยีคลัสเตอร์ขั้นสูง ซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมของไอบีเอ็มที่ช่วยให้องค์กรบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้วยความสามารถของการเป็นโซลูชั่นที่ตอบสนองธุรกิจซึ่งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และช่วยให้การดำเนินธุรกิจมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น ทั้งนี้ พาราเลล ซิสเพล็กซ์ ทำงานอยู่บนระบบเมนเฟรมคู่ จึงสามารถย้ายการทำงานไปยังโปรเซสเซอร์อีกตัวหนึ่งได้โดยอัตโนมัติ หากเกิดปัญหาขึ้นในระบบ ไม่ว่าจะเป็นกระแสไฟขัดข้องฉุกเฉิน หรือช่วงเวลาที่ต้องมีการซ่อมบำรุงที่ทำให้ระบบไอทีบางส่วนต้องหยุดการทำงานชั่วคราว พาราเลล ซิสเพล็กซ์ ซึ่งมีความเสถียรภาพสูงสุดถึง 99.999% ได้ผ่านการพิสูจน์มาแล้วว่าช่วยลดระยะเวลาการหยุดชะงักของระบบไอทีเหลือเพียงประมาณ 5 นาทีต่อปี นับเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ภายใต้แนวคิดใหม่ของไอบีเอ็มซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องคุณสมบัติของโครงสร้างไอทีที่ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ (Dynamic Infrastructure) เพื่อตอบสนองความต้องการหลักของลูกค้าคือ ช่วยลดค่าใช้จ่าย ลดความเสี่ยง และเสริมสร้างศักยภาพของการจัดการระบบไอทีด้วยการใช้พลังงานที่ลดน้อยลง แต่ยังคงความเสถียรภาพและประสิทธิภาพสูง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กมลวรรณ มักการุณ โทรศัพท์ 02-2734889 อีเมล์: kamolwan@th.ibm.com ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กุณฑลี โพธิ์แก้ว โทรศัพท์ 02-5444501 อีเมล์:

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ