วาโซ่ เทรนนิ่ง จัดอบรมและสัมมนาเรื่องวิเคราะห์เจาะลึกเกี่ยวกับคำพิพากษา คดีแรงงานใหม่ล่าสุด (2547-2549)

ข่าวทั่วไป Tuesday March 6, 2007 10:41 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 มี.ค.--วาโซ่ เทรนนิ่ง
ขอเชิญร่วมอบรมและสัมมนาเรื่องวิเคราะห์เจาะลึกเกี่ยวกับคำพิพากษา คดีแรงงานใหม่ล่าสุด (2547-2549) รวม 24 คดี ครอบคลุมกว่า 39 เรื่องแรงงาน
ข้อพิพาทสำคัญๆ ที่ฝ่ายลูกจ้าง ฟ้องฝ่ายนายจ้างในศาลแรงงาน นายจ้าง ผู้บริหารควรทำความเข้าใจ
วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม 2550
เวลา 09.00-16.00
ณ โรงแรมรอยัลปรินเซสหลานหลวง
ถนนหลานหลวง
คำพิพากษาฎีกาคดีแรงงาน หมายถึง คำพิพากษาของศาลสูงสุดของประเทศ ที่ได้ตัดสินปัญหาที่มีการพิพาทกันของคู่ความด้านแรงงาน 2 ฝ่าย ที่มีความคิดเห็นหรือมุมมอง หรือความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน ส่วนใหญ่แล้ว มากกว่า 90% จะเป็นข้อพิพาทที่ฝ่ายลูกจ้างฟ้องฝ่ายนายจ้างในศาลแรงงานหลังจากศาลแรงงานพิพากษาคดีให้คู่ความฝ่ายใดชนะคดีก็ตาม คู่ความอีกฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา ก็จะอุทธรณ์ไปที่ศาลฎีกา
หลังจากศาลฎีกา ได้ตรวจข้ออุทธรณ์ ตรวจคำฟ้อง คำให้การและพยานหลักฐานต่างๆรวมทั้ง คำวินัจฉัยของศาลแรงงานแล้ว ศาลฎีกาก็จะทำคำวิเคราะห์เป็นคำพิพากษาอีกครั้งซึ่งคำพิพากษาศาลฎีกานั้น จะใช้เป็น จะใช้เป็นบรรทัดฐานเทียบเคียงกับเหตุการณ์เรื่องราวที่คล้ายคลึงกันได้ในภายหน้า
นั่นคือ เมื่อมีเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่เกิดเป้นข้อพิพาทเหมือนกัน ศาลแรงงาน ก็จะใช้แนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกาเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินคดีความ เพียงแต่คู่ความฝ่ายที่เห็นว่า แนวคำพิพากษาฎีกาคดีเรื่องใดสามารถนำมาสนับสนุนกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นให้เกิดประโยชน์แก่ฝ่ายตนได้มากกว่า จะต้องเป็นผู้กล่าวอ้างยกขึ้นมาให้ศาลแรงงานพิจารณา ศาลแรงงานจะไม่ยกคำพิพากษาฎีกาที่คู่ความไม่กล่าวอ้างมาวินิจฉัยให้เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ดังนั้น การมาเรียนรู้และทำความเข้าใจในคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงานใหม่ล่าสุด (ปี 2547-2549) จะเป็นการเรียนลัดที่เกิดประโยชน์สูงในระยะเวลาอันสั้น ด้วยการวิเคราะห์เจาะลึกจากวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญในคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงานโดยเฉพาะ
จึงเป็นโอกาสอันดี ที่ท่านผู้เป็นเจ้าของกิจการ เจ้าของสถานประกอบการ ผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล ผู้บริหารด้านแรงงานสัมพันธ์ ผู้บริหารด้านวินัย ผู้บริหารด้านกฎหมาย รวมทั้งผู้บังคับบัญชาในระดับต่างๆ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ด้านต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น จะได้มาเรียนรู้กรณีศึกษาจากคำพิพากษาฎีกาต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญและคร่ำหวอดในวงการแรงงานมามากกว่า 28 ปี ในการเข้าร่วมสัมมนาในหลักสูตรดังกล่าว โดยจะวิเคราะห์เจาะลึกในคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงานล่าสุดใหม่ๆในปี 2547-2549
กำหนดการอบรม
08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-16.00 น.
1. การนำทรัพย์สินของนายจ้างไปแสวงหาประโยชน์เพื่อผู้อื่น
2. เอกสารที่นำส่งศาลแรงงานในวันสืบพยาน
3. การกำหนดให้ลูกจ้างหญิง เกษียณอายุก่อนลูกจ้างชาย
4. รัฐวิสาหกิจให้ลูกจ้างเกษียณเมื่ออายุครบ 55 ปี
5. ลูกจ้างทำผิดข้อตกลงในสัญญาจ้าง เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
6. ค่าชั่วโมงบินเป็นค่าจ้าง
7. การยุบหน่วยงานและเลิกจ้างลูกจ้าง
8. ค่าเสียหายฟ้องได้กี่เท่าของเงินเดือน
9. ขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างที่เฉี่อยงาน
10. ลาป่วยบ่อยมาก ไม่เป็นความผิด ลงโทษไม่ได้
11. ลาป่วยบ่อย จะใช้เป็นเหตุเลิกจ้างได้หรือไม่
12. การค้ำประกัน และการชดใช้
13. เกษียณอายุ
14. ลดตำแหน่งจากผู้ว่าการ มาเป็นที่ปรึกษา
15. กรรมการต้องไม่มีส่วนได้เสียกับกิจการที่ตนเป็นกรรมการอยู่
16. ธนาคารมีนโยบายเร่งปล่อยสินเชื่อ ลูกจ้างปล่อยสินเชื่อโดยละเลยระเบียบ
17. ลูกจ้างไม่มีความผิด ทำไมนายจ้างจึงเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยชอบ
18. ขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างในขณะเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานได้
19. ทดลองงาน 6 เดือน เป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเลิกจ้างแน่นอนหรือไม่
20. ทดลองงานได้เพียง 1 เดือนเศษ ผลงานไม่พอใจ เลิกจ้างได้หรือไม่
21. ธุรกิจของนายจ้างลดลง ให้หยุดบางส่วนได้ไหม
22. พนักงานตรวจแรงงาน สั่งให้จ่ายค่าจ้างเต็ม 100% จ่ายไม่ครบได้โดยชอบ
23. มีงานเป็นครั้งคราว เหตุใดไม่ถือเป็นงานครั้งคราว
24. มีหลักฐานเป็นใบลาออก แต่เป็นการเลิกจ้างที่ต้องจ่ายค่าชดเชย
25. การลาออก การเลิกจ้างที่นายจ้างต้องระวัง
26. ข่มขู่ว่าจะนำตำรวจมาจับถ้าไม่เขียนใบลาออก การลาออกมีผลเป็นการลาออก
27. ขู่ว่าจะไม่จ่ายเงินเดือนให้ ถ้าไม่เขียนใบลาออก การลาออกเป็นโมฆะ
28. หนังสือเลิกจ้างต้องระบุข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่กระทำผิด โดยละเอียดหรือไม่
29. สั่งพักงานเพื่อการสอบสวนโดยงดจ่ายค่าจ้าง
30. การจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงาน
31. การเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างที่กระทำความผิดวินัยร้ายแรง
32. ถ้าไม่ผ่านการทดลองงานให้นายจ้างเลิกจ้างได้ ไม่มีผลผูกพันตามสัญญา
33. การจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย
34. เลิกจ้างเพราะทำความผิดกรณีร้ายแรง ต้องออกใบสำคัญการทำงานให้ด้วย
35. เลิกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชย ทำไมลูกจ้างจึงมีสิทธิมาฟ้องศาลแรงงาน
36. นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างที่มีผลประเมินเกรด B ถือว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
37. นายจ้างสั่งลงโทษตัดค่าจ้าง ตัดเงินเดือนลูกจ้างได้อย่างไร
38. การสอบสวนไม่เป็นไปตามระเบียบและขั้นตอน การเลิกจ้างเป็นธรรม
39. ลักษณะคำเตือนที่ถูกต้องและผลของหนังสือเตือน
วิทยากร
อ.รุ่งเรือง บุตรประคนธ์
- อดีตประธานผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานกลาง
- ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านกฎหมายแรงงาน
ผู้ศึกษาฎีกาคดีแรงงานมามากกว่า 35,000คดี
ฯลฯ
ค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนต่อหลักสูตร ต่อท่าน
ท่านละ 3,000 บาท + ภาษี 7 % = 3,210 บาท
กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238 บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอยสามวา 29 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510
วิธีการสำรองที่นั่ง
โทรสำรองที่นั่ง ที่ โทร.0-29062211-2
แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127 ใบสมัคร แผนที่สถานที่อบรม
E-mail: ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์
วิธีการชำระเงิน
เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือ โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-2-10250-7
แฟ็กซ์ใบ Pay in ไปที่ 0-29062127
การแจ้งยกเลิกการอบรม
ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วมสัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น
กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วัน หากไม่แจ้งตามกำหนด
ท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมเอกสาร เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน
To unsubscribe from this, Click Unsubscribe
ยกเลิกการรับข่าวสาร คลิ๊ก Unsubscribe

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ