ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลก แตะระดับก่อนภาวะเศรษฐกิจถดถอย นีลเส็นพบผู้บริโภคชาวไทยออมเพิ่มขึ้น

ข่าวทั่วไป Thursday May 13, 2010 10:41 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 พ.ค.--นีลเส็น การสำรวจออนไลน์ของผู้บริโภคทั่วโลกชิ้นล่าสุดจาก นีลเส็น ผู้นำด้านการวิจัยทางการตลาดและข้อมูลชั้นนำของโลก พบว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกในไตรมาสที่1 ของปีได้ฟื้นตัวขึ้นถึงจุดสูงสุดตั้งแต่ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีว่า โลกยังคงฟื้นตัวจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ผู้บริโภคทั่วโลกเริ่มที่จะกลับมาใช้จ่ายอีกครั้ง โดยผู้บริโภคจำนวนมากเหล่านี้เป็นแรงขับเคลื่อนให้ดัชนีความเชื่อมั่นของโลกเพิ่มขึ้น 6 จุดจากระดับที่ 86 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 มาแตะที่ระดับ 92 ในไตรมาสแรกของปีนี้ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกเพิ่มขึ้นใน 44 ประเทศจาก 55 ประเทศที่เราทำการสำรวจทั้งหมด โดยประเทศที่มีความเชื่อมั่นสุดสุดเป็นอันดับหนึ่งคือ อินเดีย (127) อินโดนีเซีย (116) นอร์เวย์ (115) ยังคงเป็นชาติที่คงระดับความเชื่อมั่นสูงสุดของโลก ในขณะที่ ลิทัวเนีย (46) โครเอเชีย (48) และ โปรตุเกส (51) เป็นชาติที่มีความเชื่อมั่นในระดับต่ำที่สุด ส่วนประเทศที่นีลเส็นพบความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมากที่สุดจากการสำรวจในรอบนี้ ได้แก่ ไต้หวัน ( บวก 14 ) สิงคโปร์ (บวก 11) อิสราเอล (บวก 10) เม็กซิโก (บวก 10) โคลัมเบีย (บวก 9) ในขณะที่กรีซ ( ลบสิบห้า ) เป็นประเทศที่พบดัชนีความเชื่อมั่นที่ลดลงมากที่สุด สืบเนื่องมาจาก วิกฤติทางด้านการเงินของประเทศ ในประเทศไทย ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคตกลงไปถึงจุดต่ำสุดที่ระดับที่ 81 ในช่วงต้นปี 2552 ซึ่งเกิดจาการได้รับผลกระทบทางวิกฤติทางการเงิน และเริ่มฟื้นตัวขึ้นเรื่อยๆ ตลอดปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทย ในไตรมาสแรกของปี 2553 ยังคงอยู่ที่ระดับเดิม โดยเพิ่มขึ้นเพียงหนึ่งจุดเมื่อเทียบกับ ผลการสำรวจเมื่อหกเดือนที่แล้ว ความคาดหวังในด้านการงานยังไม่ดี การสำรวจพบว่าผู้บริโภคชาวไทยกว่าครึ่ง (56%) มีความคิดว่าในอีก 12 เดือนข้างหน้านี้ โอกาสในด้านการงานของตนยังไม่ค่อยดีนัก และผู้บริโภคจำนวนสี่สิบเปอร์เซ็นต์ ยังไม่ค่อยมีความมั่นใจกับสถานะทางการเงินของตน ความรู้สึกดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงจากการสำรวจเมื่อหกเดือนที่ผ่านมา หากเปรียบเทียบในแต่ละทวีปแล้ว ความเชื่อมั่นในแถบเอเชียแปซิฟิค เพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลก โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นอย่างมากของดัชนีในไต้หวัน ([บวก 14) สิงคโปร์ ([บวก 11) ชาวเอเชียในรอบ 18 เดือนที่แล้วมีการตัดค่าใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต อย่างมาก แต่จากการสำรวจรอบล่าสุดของเรา พบว่าผู้บริโภคในแถบเอเชีย แปซิฟิค ระบุว่าพวกเขาวางแผนจะเพิ่มการใช้จ่าย เกี่ยวกับสิ่งบันเทิงนอกบ้าน การซื้อสินค้าเทคโนโลยี่ใหม่ๆ การท่องเที่ยว และการซื้อเสื้อผ้าใหม่ เมื่อเทียบกับหกเดือนที่ผ่านมา การใช้จ่ายเงินของผู้บริโภคชาวไทย ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลำดับที่สองในทวีเอเชียแปซิฟิค ที่พบคนออมเงินมากที่สุดรองจากสิงคโปร์ ผู้บริโภคชาวไทยระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินหลังจากการใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้นจาก 57 เปอร์เซ็นต์ในรอบหกเดือนที่แล้ว เป็น 72 เปอร์เซ็นต์ในรอบล่าสุด ผู้บริโภคกว่าครึ่ง (59%) เชื่อว่าขณะนี้ไม่ใช่เป็นช่วงเวลาที่ดีในการซื้อสินค้าที่ตนต้องการในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ทางเลือกอื่นๆที่นิยมเป็นลำดับต่อมาที่นิยม คือ การท่องเที่ยว (45 %) การซื้อสินค้าเทคโนโลยี่ใหม่ๆ (26 %) การลงทุนในตลาดหุ้น หรือ กองทุนรวม (25%) เป็นลำดับ นีลเส็นยังเผยผลสำรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคเกี่ยวกับการซื้อของและการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคชาวไทย โดยผลการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคชาวไทยพยายามลดรายจ่ายดังต่อไปนี้ ? ประหยัดค่าไฟ (60%) ? ซื้อเสื้อผ้าใหม่ (58%) ? ลดสิ่งบันเทิงนอกบ้าน (53%) ? ประหยัดค่าโทรศัพท์ (44%) ปัญหาที่ผู้บริโภคชาวไทยกังวลมากที่สุดในอีก 6 เดือนข้างหน้า และเป็นไปตามที่เราคาดการณ์ไว้ ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จัดเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบให้ผู้บริโภคชาวไทยกังวลมากเป็นอันดับหนึ่ง (39%) รองลงมาคือปัญหาทางเศรษฐกิจ ( 36%) ความมั่นคงในด้านการงาน (16%) และสิ่งที่น่าสนใจที่เราพบจากการสำรวจในรอบนี้ก็คือ ผู้บริโภคชาวไทยให้ความสนใจกับปัญหาโลกร้อนมากขึ้น โดยเพิ่มจากเก้าเปอร์เซ็นต์ เมื่อหกเดือนที่แล้ว เป็นสิบห้า เปอร์เซ็นต์ในการสำรวจล่าสุด คุณแอรอน ครอส กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี ประเทศไทย กล่าวว่า “ คนไทยยังคงชะลอการใช้จ่าย โดยจะเห็นได้จากจำนวนคนออมที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมากจากการสำรวจในไตรมาสที่หนึ่ง อย่างไรก็ตามผู้บริโภคยังคงใช้จ่ายกับสิ่งของที่จำเป็นที่ต้องใช้ในบ้าน โดยจะเห็นได้จากภาคอุตสาหกรรมกลุ่มสินค้าอุปโภค บริโภคยังคงเติบโตได้ดี ในไตรมาสแรกของปี 2553 ข้อมูลของนีลเส็นระบุว่า ยอดขายของสินค้าอุปโภค บริโภค เติบโตในเชิงมูลค่าที่ 6.1 % และ 1.7 % ในเชิงปริมาณ เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีที่ผ่านมา ” คุณแอรอน ยังกล่าวต่อไปอีกว่า “ ท่ามกลางความระมัดระวังในการใช้จ่ายของกลุ่มผู้บริโภคนั้น พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจยังคงมีอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือผู้บริโภคจะมีความความอ่อนไหวต่อราคาสินค้า อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงไปใช้สินค้ายี่ห้อห้างมากขึ้น และติดกับสินค้าที่มีโปรโมชั่น สิ่งต่างๆเหล่านี้ ยังคงเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคที่ปัจจุบันมีความรอบคอบในเรื่องของราคามากขึ้น ให้ความสำคัญมากที่สุด ” ข้อสังเกต การทำการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคของไตรมาสแรกถูกจัดทำขึ้นในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 8 งถึง 26 มีนาคม 2553 ท่ามกลางการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลในกรุงเทพ นีลเส็นคาดการณ์ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทยอาจจะมีทิศทางที่จะเป็นบวก ลดน้อยลง ในการสำรวจในไตรมาสที่สอง สืบเนื่องมาจากความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ยังคงมีอยู่ เกี่ยวกับการสำรวจ ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกเป็นการสำรวจความเชื่อมั่นและความคิดเห็นออนไลน์ของผู้บริโภคทั่วโลก โดยมีจุดมุ่งหมายในการสำรวจระดับความเชื่อมั่น, พฤติกรรม/แนวโน้มการใช้จ่าย ปัจจัยกังวลของผู้บริโภคทั่วโลก ระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคถูกประเมินจาก ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับตลาดงาน สถานภาพทางการเงิน และความพร้อมในการใช้จ่าย การสำรวจครั้งล่าสุดถูกจัดทำขึ้นในช่วงวันที่ 8 -26 มีนาคม 2553 จากผู้ใช้อินเตอร์เน็ตประมาณ 27,000 คน จาก 55 ประเทศ ใน ทวีปยุโรป เอเชียแปซิฟิค อเมริกาเหนือ ละติน อเมริกาและ ประเทศในแถบตะวันออกกลาง เกี่ยวกับนีลเส็น บริษัท นีลเส็น จำกัด เป็นบริษัทชั้นนำของโลกที่ให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลทางการตลาด และข้อมูลทางสื่อ ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักในแวดวงการตลาดเป็นอย่างดี โดยบริษัทให้บริการด้านข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภค รวมถึงการบริการการตรวจวัดและจัดเก็บข้อมูลทางด้านสื่อต่างๆ นีลเส็นเป็นบริษัทเอกชนที่เปิดดำเนินการมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก โดยมี สำนักงานใหญ่อยู่ที่ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา สนใจหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.nielsen.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ