ไอบีเอ็มประกาศทิศทางธุรกิจปีนี้ เน้นสร้าง Client Value พร้อมเปิดโครงการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบ Collaborative Citizenship

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday May 30, 2007 14:52 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 พ.ค.--ไอบีเอ็ม ประเทศไทย
ชูเทคโนโลยีช่วยให้การใช้พลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด แถลงทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2007 ที่จะมุ่งเน้น 2 เรื่องใหญ่ คือ การช่วยให้ลูกค้าสามารถประยุกต์ใช้ความเชี่ยวชาญที่ไอบีเอ็มมีและ Business Insights มาใช้ในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และการแสดงความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคมในรูปแบบ ‘Collaborative Citizenship’ ซึ่งหัวใจสำคัญอยู่ที่ “การร่วมมือกับทุกภาคฝ่ายที่เกี่ยวข้องในระบบ” พร้อมทั้งประกาศนโยบายการประยุกต์ใช้ไอทีเพื่อสิ่งแวดล้อม ที่เน้นการผสานระหว่างรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบใหม่กับเทคโนโลยีทันสมัยเพื่อช่วยให้การใช้พลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ธุรกิจด้าน IT Infrastructure ของไอบีเอ็มในปีนี้จะมุ่งเน้นการนำนวัตกรรมของไอบีเอ็มไปช่วยลูกค้าเสริมความแข็งแกร่งของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ทั้งในส่วนของซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และบริการด้านไอที เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจและเสริมมูลค่าทางธุรกิจให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดย 4 แนวทางหลักที่ไอบีเอ็มต้องการผลักดัน ได้แก่
Leveraging Information หรือการพัฒนาการบริหารจัดการข้อมูลในองค์กร เพื่อให้ลูกค้าสามารถนำข้อมูลมาใช้นำการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสม โดยล่าสุด ไอบีเอ็มได้เข้าไปเสริมศักยภาพด้านไอทีให้กับบริษัทอาร์เอส จำกัด (มหาชน) โดยไอบีเอ็มได้เข้าไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้กับอาร์เอส พร้อมนำเสนอโซลูชั่นในการจัดการข้อมูลแบบครบวงจร ที่ช่วยให้ผู้บริหารและบุคลากรของอาร์เอสสามารถดึงข้อมูลที่เป็น Business Insights ต่างๆ อาทิ ยอดขายของแต่ละอัลบั้ม ความนิยมในตัวศิลปินแต่ละคน ริงโทนที่มียอดดาวน์โหลดสูงสุด จากฐานข้อมูลมาใช้ประกอบการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที
IT Optimization แนวคิดการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อผลักดันให้องค์กรสามารถใช้ทรัพยากรด้านไอทีที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและได้รับประโยชน์สูงสุด ซึ่งไอบีเอ็มต้องการผลักดันเทคโนโลยีในส่วนของการจัดการ Data Center และ Virtualization
Business Continuity การนำไอทีมาใช้พัฒนาระบบไอทีในองค์กรเพื่อให้สอดรับกับระบบธรรมาภิบาล นำเทคโนโลยีมาใช้บริหารความเสี่ยงและรักษาความปลอดภัยให้กับระบบ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง
Business Flexibility หรือการเพิ่มความยืดหยุ่นให้องค์กร โดยเน้นหนักไปในเรื่องของการช่วยลูกค้าปรับระบบไอทีและกระบวนการภายในไปตามสถาปัตยกรรม Service-Oriented Architecture (SOA) เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจ
สำหรับ Client value ไอบีเอ็มมีทีมงานที่ให้คำปรึกษา ทีมงานบริการ ทีมขายที่ดูแลลูกค้าในแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งร่วมกันนำเสนอโซลูชั่นที่รวมเอาความเชี่ยวชาญ (Expertise) ความรู้ความเข้าใจและวิสัยทัศน์ในสายธุรกิจ (Business Insights) และนวัตกรรม (Innovation) เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจของลูกค้าเฉพาะในแต่ละอุตสาหกรรม อาทิ
Consumer-Driven Business Model Innovation ธุรกิจในอุตสาหกรรมบันเทิงและสื่อสาร กลุ่มธุรกิจรีเทล ธนาคารลูกค้ากลุ่มย่อย ซึ่งลักษณะเฉพาะของธุรกิจประเภทนี้จำเป็นต้องมีศักยภาพทั้งทางด้าน Business Process, IT และมี Business Model innovation ที่สามารถตอบสนองความต้องการของ "ผู้บริโภค" ซึ่งเป็นหัวใจของความสำเร็จของธุรกิจกลุ่มนี้มากที่สุด
Smart Moves with RFID ไอบีเอ็มยังคงเดินหน้าแนะนำและช่วยลูกค้าในกลุ่มธุรกิจที่ต่างๆ ที่มี business process ที่ต้องควบคุมสินค้าหรือ assets ที่ต้องเคลื่อนย้ายบ่อยๆ อาทิ Asset Management, Security & Access Control ให้ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีของ RFID ทั้งนี้ ไอบีเอ็มมีทั้งผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าที่เริ่มจากมีความสนใจ และที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ รวมไปถึง โซลูชั่นครบวงจร
Healthcare Reform -- Patient Centric Care สำหรับอุตสาหกรรม Healthcare ไอบีเอ็มเล็งเห็นว่าอุตสาหกรรมนี้จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เพื่อยกระดับคุณภาพความเป็นอยู่ของประชาชนควบคู่ไปกับการลดต้นทุนการรักษาพยาบาล โดยการปรับเปลียนระบบการบริการทางการแพทย์และการดูแลรักษาสุขภาพไปสู่รูปแบบที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางนั้น จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนโมเดลการดำเนินงานในระยะยาว ซึ่งตัวอย่างของระบบ Healthcare ที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ได้แก่ การที่ผู้ป่วยสามารถสืบค้นและเข้าถึงประวัติการรักษาของตน ข้อมูลสุขภาพ ต้นทุนการดำเนินการ และข้อมูลของแพทย์ผู้รักษาได้อย่างง่ายดายผ่านทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงระบบมาตรฐานเปิดทางด้านเทคนิคที่รองรับการใช้งานร่วมกัน
นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “นอกจากการมุ่งเป็นผู้นำทางธุรกิจไอทีและการให้บริการที่เป็นเลิศแก่บริษัทชั้นนำต่างๆ แล้ว ไอบีเอ็มยังยืนหยัดอยู่บนวิสัยทัศน์ที่ว่า การมีระบบบริหารจัดการอยู่บนค่านิยมที่ถูกต้องและการดำเนินธุรกิจอย่างสร้างสรรค์เป็นวิถีที่สร้างให้ธุรกิจของไอบีเอ็มรุ่งเรือง ควบคู่ไปกับการสร้างประโยชน์เกื้อกูลให้กับสังคมที่ไอบีเอ็มเข้าไปทำธุรกิจอยู่ และการแสดงความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคมที่ไม่เพียงเป็นการ “ตอบแทนสังคม” หรือ “การให้เพื่อประชาสัมพันธ์องค์กร” แต่ไอบีเอ็มกำลังจะเสนอแนวทางในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบ ‘Collaborative Citizenship’ ซึ่งหัวใจสำคัญอยู่ที่ “การร่วมมือกับทุกภาคฝ่ายที่เกี่ยวข้องในระบบ” มิใช่องค์กรเป็นฝ่ายให้อยู่ข้างเดียวเหมือนอย่างที่เคยเป็นมา อีกทั้ง โครงการเพื่อสังคมของไอบีเอ็มไม่เพียงแต่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมเท่านั้น แต่ไอบีเอ็มยังคาดหวังว่าจะต้องเปลี่ยนแปลงหรือส่งผลกระทบทางด้านนโยบายและเปลี่ยนแปลงรูปแบบในวงกว้าง”
ไอบีเอ็มให้ความสำคัญกับเรื่องของการสร้างทักษะของบุคคลากรของประเทศ ไอบีเอ็มได้ประกาศเจตนารมย์ชัดเจนที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ โดยไอบีเอ็มได้ร่วมมือกับรัฐบาลไทยและสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศหลายแห่งพัฒนาหลักสูตร Services Sciences, Management, and Engineering (SSME) ซึ่งเป็นแขนง
วิชาใหม่ที่มีหลักสูตรการสอนเน้นหนักไปในเรื่องการสร้างนวัตกรรมการให้บริการ และเร่งพัฒนาบุคลากร ที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญ ทั้งด้านวิศวกรรมไอทีและการบริหารธุรกิจ มุ่งไปที่เรื่องของทักษะ ความเชี่ยวชาญ และคุณสมบัติเฉพาะให้ตอบกับตลาดแรงงานในยุคเศรษฐกิจใหม่ เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีทักษะทางด้าน Service Sciences ป้อนตลาด และยกระดับศักยภาพของอุตสาหกรรมบริการด้านไอทีของไทย
นอกจากนี้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นไอบีเอ็มเป็นสิ่งที่ไอบีเอ็มคำนึงถึงมาโดยตลอด ไอบีเอ็มได้กำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม (IBM’s corporate environmental policy) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2514 ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวได้ประกาศเจตนารมย์ของไอบีเอ็มชัดเจนที่ต้องการเป็นองค์กรผู้นำในการดำเนินธุรกิจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินงาน ผลิตภัณฑ์ และการให้บริการ ซึ่งทุกกิจกรรมที่กล่าวมาล้วนแล้วแต่มีระบบการจัดการรองรับเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น
ไอบีเอ็มเป็นบริษัทข้ามชาติบริษัทแรกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ISO14001 ในปี1997 นอกจากนี้ไอบีเอ็มมีระบบการจัดการขยะไอทีและผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุ (End-of-Life Products) อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไอบีเอ็มทั่วโลกได้ใช้ทางเลือกใหม่ในการจัดการกับขยะไอที อาทิ การนำไปรีไซเคิล นำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งช่วยให้ไอบีเอ็มลดปริมาณการนำขยะไอทีไปฝังกลบเหลือเพียงแค่ 1.6% และจากการดำเนินนโยบายด้านการประหยัดพลังงานอย่างจริงจังของไอบีเอ็ม ไอบีเอ็มสามารถช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศได้ถึง 9 ล้านตัน ในช่วงปี 1990 ถึงปี 2005 จากการลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลง 17.2 พันล้านกิโลวัตต์
สำหรับเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปีนี้ไอบีเอ็มจะเน้นให้บริการด้านเทคโนโลยีที่ช่วยให้การใช้พลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การช่วยลูกค้าแปรสภาพดาต้าเซ็นเตอร์ปัจจุบันไปเป็นดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีภายใต้ CoolBlue พอร์ตโฟลิโอ ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีที่โดดเด่น อาทิ Virtualization และ PowerExecutive ที่จะช่วยจัดการการใช้พลังงานของดาต้าเซ็นเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเทคโนโลยีประหยัดพลังงานอื่นๆ เช่น เซิร์ฟเวอร์ BladeCenter และ System x ซึ่งจะช่วยทั้งลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์โดย บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
คุณอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ โทร 02-273-4117 อีเมล์ onumav@th.ibm.com
คุณปรีติ ประพันธ์วิทยา โทร 02-273-4418 อีเมล์ preeti@th.ibm.com
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ