กรุงเทพฯ--24 พ.ค.--โรงพยาบาลสมิติเวช
ต้อหินเกิดจากเซลล์ประสาทตาถูกทำลายในอัตราที่เร็วกว่าอายุ ไม่ได้หมายถึงมีก้อนอะไรไปอุดอย่างที่เราเห็นจากต้อเนื้อหรือต้อกระจกที่ทำให้เลนส์ตาขุ่น ไม่มีอาการบอกเหตุล่วงหน้า จะรู้เมื่อตรวจพบกลุ่มเสี่ยงนอกจากพบในรายที่มีอายุเพิ่มขึ้น ยังมีสาเหตุมาจาก
- การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
- บางรายสายตายาวหรือสั้นมากๆ (+500) ก็พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเป็นต้อหิน
- กระจกตาและจอประสาทตาบาง
- ความดันในลูกตาสูง (ค่าความดันปกติอยู่ที่ 10-20) ปกติตาของเราจะมีการผลิตน้ำหล่อเลี้ยงพร้อมมทางระบายออก หากการผลิตกับการระบายไม่สัมพันธ์กันหรือทางระบายตีบแคบ จะเกิดแรงดันสะสม จนสามารถทำลายจอประสาทตาด้านหลัง กับอีกแบบคือ เกิดอาการเฉียบพลัน มุมตาปิดแคบกะทันหัน ความดันตาขึ้นจาก 10 กว่า ขึ้นไปถึง 50 คนไข้จะมาด้วยอาการปวดตามาก การมองเห็นลดลงจนต้องเข้าห้องฉุกเฉิน แต่ส่วนมากความดันจะค่อยสะสมจนไม่รู้สึกถึงความผิดปกติ เนื่องจากร่างกายปรับตัวตามไปเรื่อยๆ กว่าจะรู้สึกตัว อาการก็หนัก มองเห็นได้น้อยมาก จนขับรถข้ามเลนไม่รู้ตัว
- ประสบอุบัติเหตุที่ตาซึ่งมีผลกับความดันในลูกตา
- บางรายพบว่าเป็นโรคเบาหวานหรือโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดไปเลี้ยงประสาทตาซึ่งมีผลกับการเป็นต้อหิน แต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ชัดเจน
ด่านตรวจตา
1. วัดสายตา
2. วัดความดันตา โดยเครื่องมือจะเป่าลมเข้าตา
3. ตรวจลูกตาส่วนหน้า (Slit Lamp) โดยมองผ่านกล้อง
4. ถ่ายภาพจอประสาทตา (Fundus Camera) เพื่อเช็คเรื่องจุดรับภาพ
5. ตรวจหาต้อหินและดูความผิดปกติของจอประสาทตาด้วยเครื่องโอซีที (Optical Coherence Tomography) กลุ่มที่ปกติกับรายที่เป็นต้อหินแน่ๆ เนื่องจากมีประวัติร่วมด้วยนั้นวินิจฉัยไม่ยาก แต่กลุ่มที่มีความดันตาปริ่มๆ ประวัติกลางๆ ไม่ชี้ชัด เครื่องโอซีทีจะช่วยในการวินิจฉัยได้มาก
6. ในรายที่มีแนวโน้มเป็นต้อหิน คุณหมอจะให้ตรวจลานสายตา (Visual Field) เพิ่มด้วย โดยให้มองตรง
เมื่อเห็นแสงสวางวาบขึ้นตรงไหนให้กดปุ่มเช็คความสามารถในการมองเห็นด้านข้าง
สำหรับ “นุช” คุณหมอบอกว่าจอประสาทดี ความดันตาไม่มีปัญหา เพียงแต่สายตาข้างซ้ายสั้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนตุ่มใสมาจากการแพ้ฝุ่นและสารเคมีในเครื่องสำอางหรือครีมต่างๆที่ล้างออกไม่หมด คุณหมอจัดการเจาะตุ่มน้ำให้และแนะนำว่า ืหากเป็นอีกให้ใขคัตต้อนบัดชุบน้ำอุ่นกดให้ตุ่มแตก ทางที่ดีควารใช้สบู่สำหรับเด็กถูเบาๆ รอบดวงตาแพขนตาล้างให้สะอาด พร้อมแนะนำวิธีดูแลรักษาดวงตาให้ด้วย
5 ตัวช่วยให้ตาสวยใส
1. กินผักผลไม้ที่มีวิตามินเอ
2. ใส่แว่นกันแดดเมื่ออยู่ข้างนอก
3. การทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ควรกระพริบตาบ่อยๆ ป้องกันตาแห้ง ล้า และควรพักสายตาทุกครึ่งชั่วโมงสัก 20 วินาทีโดยหลับตา หรือมองไปไกลๆ
4. เมื่อตาบวม ใช้ถุงชาอุ่นประคบคลายเส้นเลือดลดการบวม อักเสบ ถ้าบวมแบบแพ้ใช้แตงกวาฝานแช่เย็นแทน ถ้าตาล้าลองถูมือสองข้างจนรู้สึกอุ่น แล้วประคบที่ตาสัก 10 วินาที ช่วยผ่อนคลายได้
5. ออกกำลังกายให้ตาบ้าง โดยเหยียดแขน ยกนิ้วโป้งขึ้นแล้วมองที่จมูก มองนิ้วโป้ง มองไกลกว่านิ้ว ทำสัก 5 รอบ เป็นการบรหารกล้ามเนื้อในการมองใกล้-ไกล จากนั้นมองซ้าย-ขวา บน-ล่าง มองเฉียงบนซ้าย-ล่างขวา บนขวา-ล่างซ้าย สัก 5 รอบ เป็นการบริหารกล้ามเนื้อในการกลอกตา
พึงระลึกว่า ดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญที่เราไม่สามารถเรียกคืนในส่วนที่ชำรุดไปแล้ว ทำได้เพียงหยุดความเสียหายไม่ให้มากไปกว่านั้น รักษาไว้จึงดีกว่าแก้
บทความจาก: นิตยสารแพรว
บทสัมภาษณ์ จาก พ.ญ. วิชชุดา โพธ์เมือง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจักษุวิทยา โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท