กรุงเทพฯ--27 พ.ค.--โกลบ์เบิล ครีเอชั่น
สศอ.เผยดัชนีอุตฯเม.ย.ยังพุ่ง 23% กำลังการผลิต 57.9% กลุ่มยานยนต์ Hard disk drive การแปรรูปสัตว์น้ำ การผลิตเหล็ก ยอดผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น แม้เกิดชุมนุมการเมือง
นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)และรองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน 2553 ขยายตัว 23% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีแม้จะเป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งทางการเมืองที่เริ่มทวีความรุนแรง ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้มีการเตรียมแผนรองรับไว้ในระดับหนึ่งแล้ว และการส่งออกยังมีการขยายตัวต่อเนื่องอยู่อย่างไรก็ตามหากพิจารณา MPI เดือนเมษายน 2553 เทียบกับเดือนมีนาคม พบว่าอัตาการขยายตัวติดลบ 15.6% ซึ่งถือเป็นการติดลบค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนที่การขยายตัวติดลบเพียง 8.7% ซึ่งเป็นผลมาจากเหตุความขัดแย้งทางการเมือง ขณะที่อัตรากการใช้กำลังการผลิตในเดือนเม.ย.อยู่ที่ 57.9% โดยอุตสาหกรรมหลักที่ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกยังมีทิศทางการขยายตัวได้ดีตามทิศทางการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก
นางสุทธินีย์ กล่าวว่า การผลิตยานยนต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการผลิตและจำหน่ายขยายตัวถึง 83%และ 73% ตามลำดับ ซึ่งเป็นการขยายตัวของทุกรถยนต์ทุกประเภท เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและตลาดส่งออกยังขยายตัวได้ดี ขณะที่ผลจากการชุมนุมทางการเมืองเป็นปัจจัยที่ทำให้กลุ่มผู้บริโภคในประเทศมีความกังวลอยู่บ้าง แต่ยังเชื่อว่ายอดจำหน่ายในประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง โดยคาดว่ายอดจำหน่ายในประเทศทั้งปีจะอยู่ประมาณ 600,000 — 700,000 คันจากการปรับประมาณการผลิตที่ 1.4-1.6 ล้านคัน
การผลิต Hard disk drive เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่าย ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากถึง 43.5% และ 35.2% ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว และการปรับตัวของผู้ผลิตที่สามารถผลิตสินค้าที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค และมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมากระตุ้นตลาดอย่างต่อเนื่องทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น จึงส่งผลต่อการขยายตัวของยอดการผฃลิตและจำหน่ายดังกล่าว
การผลิตอาหารแปรรูปจากสัตว์น้ำ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายปรับตัวเพิ่มขึ้น 31.3% และ 53.8% ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกที่ขยายตัวเป็นอย่างดี โดยเฉพาะสินค้าหลัก เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง ปลาซาร์ดีนกระป๋อง กุ้งแช่แข็ง และเนื้อปลาแช่แข็ง ซึ่งเป็นที่นิยมของกลุ่มลูกค้าจากทั่วโลกเนื่องจากผู้ประกอบการไทยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี จึงสามารถรรักษาตลาดหลักที่มีอยู่เดิมและขยายกลุ่มลูกค้าใหม่ได้เป็ยนอย่างดี จึงส่งผลต่อยอดการผลิตและส่งออกที่เพิ่มขึ้น
การผลิตเหล็ก เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น 40.9% และ 53.7% ตามลำดับ ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์ เนื่องจากเป็นไปตามทิศทางการขยายตัวของธุรกิจก่อสร้าง และโครงการใหญ่ของรัฐบาลในด้านการก่อสร้างสาธารณุปโภคขั้นพื้นฐานในด้านต่างๆมีความชัดเจนยิ่งขึ้น แม้จะมีเหตุชุมนุมทางการเมืองที่เกิดขึ้นก็ตาม โดยโครงการหลักยังคงสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องตามนโยบาลรัฐบาลในการฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศ
นอกจากนี้ นางสุทธินีย์ ยังได้สรุปภาพรวมภาพรวม MPI เดือนเมษายน 2553 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดังนี้
ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 179.34 เพิ่มขึ้น 23.0% จากระดับ 145.85 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 174.76 เพิ่มขึ้น 28.0% จากระดับ 139.20 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 113.89 เพิ่มขึ้น 12.2% จากระดับ 101.50 ดัชนีผลิตภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 134.88 เพิ่มขึ้น 4.7% จากระดับ 128.83 ขณะที่ ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 178.97 ลดลง 21.0% จากระดับ 205.24 โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 57.9%
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต
Index 2552 2553
เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย.
ดัชนีผลผลิต 146.66 159.24 170.14 167.78 169.36 186.59 180.19 180.37 194.66 179.62 183.31 211.73 179.34
อุตสาหกรรม
อัตราการเปลี่ยนแปลง (MOM) % -8.7 9.2 6.6 -1.3 0.8 10.1 -3.3 0.03 8.0 -7.9 2.0 15.6 -15.6
อัตราการ -12.8 -12.4 -6.8 -9.0 -8.6 1.0 -0.5 7.5 30.7 29.1 31.1 32.6 23.0
เปลี่ยนแปลง (YOY) %
อัตราการใช้ 51.4 55.0 55.7 57.0 57.2 60.1 61.0 60.3 61.8 60.4 60.6 67.9 57.9
กำลังการผลิต %
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม