ผลการศึกษาในไทยและต่างประเทศ ตะลึงผู้บริโภคไม่เคยรู้กระดาษผลิตจากอะไร

ข่าวทั่วไป Wednesday June 6, 2007 16:10 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 มิ.ย.--คิธ แอนด์ คินฯ
เผยงานวิจัยของออสเตรเลีย ระบุ กระดาษจากทั่วโลกร้อยละ 71 ยังผลิตจากการตัดไม้ป่าธรรมชาติ สอดคล้องกับผลการศึกษาในไทยที่พบว่าร้อยละ 41 ไม่ทราบว่ากระดาษผลิตจากอะไร และหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ยังให้ความสำคัญกับแหล่งที่มาของวัตถุดิบเพียงร้อยละ 47 และทั้งผลการศึกษาในไทยและต่างประเทศพบว่าผู้บริโภคเชื่อมั่นกระดาษจากไม้ปลูกสามารถช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากช่วยลดการทำลายป่า และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร แต่คนไทยกว่า เท่านั้น ขณะที่ดั๊บเบิ้ล เอ มีต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมต่ำสุด และผู้ผลิตที่มีต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมสูงสุด อยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต เปิดเผยว่า จากการสำรวจของ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ถึงการรับรู้ของประชาชนเรื่อง “กระดาษ” โดยทำการสำรวจจากประชาชนที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 484 คน ระหว่างวันที่ 9 — 12 มีนาคม 2550 พบว่า ถึงแม้ทุกคนต่างให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่มีประชาชนเกือบครึ่งหนึ่ง หรือ 41.32% ที่ไม่ทราบว่ากระดาษผลิตจากอะไร และองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ยังให้ความสำคัญกับแหล่งที่มาของวัตถุดิบในการเลือกซื้อกระดาษเพียง 46.69% เท่านั้น โดยมีความคิดที่จะตัดสินใจเลือกซื้อกระดาษที่ผลิตได้จากไม้ปลูกของเกษตรกรถึง 96.07% เพราะเห็นว่าช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ ลดการทำลายป่า และเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม และยังเห็นว่าความคิดเห็นที่ควรจะทำเพื่อสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้นในที่ทำงานถึง 94.21%
Mr.Steve Brown ผู้อำนวยการของ Access Economics องค์กรที่ทำหน้าที่ศึกษาวิจัยทางสังคมและเศรษฐกิจที่มีชื่อเสียงในประเทศออสเตรเลีย เปิดเผยว่า ได้จัดทำการศึกษาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมกระดาษ เพื่อศึกษาแหล่งที่มาของวัตถุดิบไม้ที่ใช้ในการผลิตกระดาษ และวิเคราะห์ต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมของผู้ผลิตกระดาษทั่วโลก โดยพบว่า ผู้ผลิตกระดาษของโลกร้อยละ 17 ยังใช้วัตถุดิบจากการตัดไม้จากป่าธรรมชาติและปล่อยทิ้งไว้ให้ป่าฟื้นฟูเอง ร้อยละ 37 ใช้วัตถุดิบจากป่าธรรมชาติซึ่งตัดแล้วมีการปลูกใหม่ทดแทน ร้อยละ 15 ใช้วัตถุดิบจากป่าธรรมชาติทางตอนเหนือของโลก ขณะที่ร้อยละ 1 ยังคงใช้ไม้จากป่าฝนเขตร้อน และอีกร้อยละ 1 จากป่าไม้เหนือแข็งทางตอนเหนือของอเมริกา ยุโรป และทางตอนใต้ของอเมริกาใต้ รวมถึงแอฟริกาใต้ อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาระบบการผลิตของดั๊บเบิ้ล เอ ซึ่งเป็นกระดาษของไทยรายหนึ่งในตลาดออสเตรเลีย พบว่า กระดาษจากไม้ปลูกของเกษตรกร เป็นการดำเนินการที่ดูแลสิ่งแวดล้อมได้ดีในระดับโลก
ทั้งนี้ ทาง ACCESS ECONOMICS ได้ทำการศึกษาโมเดลต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม (environmental cost model คือดัชนีชี้วัดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม) ของผู้ผลิตกระดาษชั้นนำจากทั่วโลก อาทิ อเมริกา แคนนาดา ยุโรป แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ไทย เปรียบเทียบกัน 8 ราย โดยใช้วิธีการเปรียบเทียบจากหลายปัจจัย เช่น วัตถุดิบ การใช้น้ำ น้ำเสีย การฝังกลบ และการดูดซับคาร์บอน ผลของการศึกษาพบว่า กระดาษดั๊บเบิ้ล เอ ซึ่งผลิตจากไม้ปลูกของเกษตรกรไทย มีต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นมูลค่า 0.04 ดอลลาร์ออสเตรเลียหรือ1.10 บาทต่อรีม ขณะที่ผู้ผลิตชั้นนำรายอื่นในออสเตรเลียมีต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นมูลค่า 0.20 ดอลลาร์ออสเตรเลียหรือ 5.49 บาทต่อรีม ผู้ผลิตจากอเมริกา มีต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม 0.27 ดอลลาร์ออสเตรเลียหรือ 7.41 บาทต่อรีม เป็นต้น และที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูงที่สุดอยู่ในประเทศอินโดนีเซียคือมีต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมที่ 0.39 ดอลลาร์ออสเตรเลียหรือ 10.71 บาทต่อรีม
คอนเซ็ปต์กระดาษจากไม้ปลูก (Farmed Trees) นี้ ถือว่ามีข้อแตกต่างจากสวนไม้ (Plantation) หรือ ป่าปลูกอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากไม่มีการถางพื้นที่เพื่อเข้าไปปลูกทดแทน แต่เป็นการทำบนพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเกษตรกร และยังเป็นการรักษาความหลากหลายของธรรมชาติ เนื่องจากมีลักษณะการปลูกตามหัวไร่ คันนาในลักษณะของสวนผสม เช่นปลูกตามพื้นที่แปลงคันนา หรือปลูกระหว่างขอบแปลงมันสำปะหลัง ข้าวโพด เป็นต้น
จากกระแสความตระหนักและความเป็นห่วงต่อภาวะโลกร้อน จึงน่าจะถึงเวลาที่ผู้ผลิตจะต้องตรวจสอบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคกระดาษจะต้องถามหาแหล่งวัตถุดิบของกระดาษที่ใช้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
บริษัท คิธ แอนด์ คินฯ คุณบังอร โทร. 02 663 3226 ต่อ 68
คุณบังอร แก้วบวร 081 904 7907
คุณมารยาท จำปาทุม 081-839-3673
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ