กรุงเทพฯ--30 ม.ค.--สสวท.
ศ.ดร.สุรินทร์ พงศ์ศุภสมิทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดเผยว่า ตามที่สสวท.เป็นผู้ประสานงานหลักและดำเนินการโครงการ GLOBE (Global Learning and Observations to Benefit the Environment) ในประเทศไทยโดยมุ่งพัฒนานักเรียนให้ทำงานวิจัยค้นคว้าร่วมกับครู นักวิทยาศาสตร์และชุมชนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติโลกทั้งระบบ ด้วยการเก็บข้อมูลอย่างถูกต้องครอบคลุมพื้นที่ เข้าใจรูปแบบความสัมพันธ์ของข้อมูล แบบจำลองและทำนายปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก ซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่นจนถึงระดับที่สูงขึ้น โดยเน้นกิจกรรมการเรียนรู้จากการวิจัยความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น บูรณาการกับมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นต่างๆ นั้น สสวท.จึงได้จัดทำโครงการการวิจัยและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตตามฤดูกาล (Phenology) โดยวิจัยและพัฒนาหลักวิธีดำเนินการตรวจวัดที่เป็นมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการออกดอกของพืช (Flowering Phenology Protocol)ในท้องถิ่นของไทย รวมทั้งออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อใช้หลักวิธีตรวจวัดที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้ในการพัฒนาพฤติกรรมวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนด้วย ดังนั้นจึงได้จัดประชุมพิจารณาร่างหลักวิธีดำเนินการและกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบเรื่องการออกดอกของต้นไม้( Flowering Protocol ) ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา 9.00 น.— 16.00 น. ณ ห้องประชุม 1412 อาคารอำนวยการ สสวท.
สินีนาฎ ทาบึงกาฬ
โทร. 0-2712-3604, 089-122-6513
โทรสาร 0-2392-3167