World of Muslim 2007 คึกคัก บริษัทผู้ประกอบการไทยและเอสเอ็มอีกว่า 200 ราย ตื่นตัว เข้าร่วมงาน

ข่าวทั่วไป Thursday August 30, 2007 11:36 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 ส.ค.--เจดับบลิวที พับบลิค รีเลชั่นส์
World of Muslim 2007 คึกคัก บริษัทผู้ประกอบการไทยและเอสเอ็มอีกว่า 200 ราย ตื่นตัว เข้าร่วมงาน เตรียมพร้อมเปิดประตูรับการลงทุนมหาศาลกับประเทศมุสลิม
“World of Muslim 2007” คึกคัก ผู้ประกอบการหลากหลายธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชนจากไทย และประเทศมุสลิมแห่ร่วมงานเพียบ อาทิ ซีพี พรานทะเล กรีน สปอต ทิปโก้ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกลางอิสลาม เมืองไทยประกันชีวิตโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ สถานทูตบังคลาเทศ และกลุ่ม SME พร้อมใจเข้าร่วมงานเพียบกว่า 200 ราย เผยรายละเอียดการประชุมสัมมนาในวัน Thailand Day เจาะลึกโอกาสในการค้าขายกับประเทศมุสลิมอย่างละเอียด ส่วนการประชุมของ OIC มุ่งเปิดเผยหลากหลายธุรกิจที่มีแนวโน้มลงทุนร่วมกันได้ เช่น ท่องเที่ยว การเงิน ฯลฯ เผยมกุฎราชกุมาร ของซาอุดิอาระเบีย บินตรง มาเผยแพร่ และแนะแนวนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวของโลกมุสลิมด้วย คาดรายได้สะพัดในงานไม่ต่ำกว่า 400 ล้านบาท
นายขวัญชัย โหมดประดิษฐ์ รักษาการ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. กล่าวว่า จากการที่ สสปน.ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานร่วมมือกับ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมนักธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย - มุสลิม TITIA (Thai-Islamic Trade and Industrial Association) และศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน “World of Muslim 2007” ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน 2550 ณ อิมแพค เมืองทองธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายความร่วมมือและโอกาส ด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ตลอดจนการเผยแพร่วัฒนธรรมกับกลุ่มประเทศมุสลิม รวมทั้งยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ตั้งแต่ระดับภาครัฐ และเอกชน ไปจนถึงประชาชนในระดับรากหญ้า และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวต่างชาติ และชาวมุสลิมทั่วโลก เกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตสินค้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามของผู้ประกอบธุรกิจไทย
ล่าสุดนี้ ผลตอบรับจากบรรดาผู้เข้าร่วมงาน World of Muslim 2007 เพื่อแนะนำบริษัทต่อกลุ่มประเทศมุสลิม มีผู้ประกอบการธุรกิจประเภทต่างๆของไทยเป็นจำนวนมากให้ความสนใจเข้าร่วมออกบูธภายในงาน กว่า 200 ราย ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยประกอบด้วยบริษัทผู้ประกอบการด้านอาหาร สถาบันการเงิน โรงพยาบาล สายการบิน โรงแรม ท่องเที่ยว สถานทูต สถาบันการศึกษา สถาบันเอสเอ็มอี มีเดีย โดยเฉพาะผู้ประกอบการด้านธุรกิจอาหาร ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาลที่ถูกต้องตามหลักการของศาสนาอิสลามแล้ว มีสัดส่วนเกินครึ่งของผู้เข้าร่วมงาน ได้แก่ ผู้ผลิตอาหารรายใหญ่แบบครบวงจร อาทิ ซีพีกรุ๊ป พรานทะเลมาร์เก็ตติ้ง รวมทั้ง ซีแวลู มาลีเอ็นเตอร์ไพรซ์ มาลินีฟู้ดแอนด์เอ็นเตอร์ไพรซ์ กรีนสปอต ทิปโก้ฟู้ดแอนด์เบฟเวอร์เรจ ไทย อะกริฟู้ดส์ หยั่น หว่อ หยุ่น มรกตอินดัสตรี้ พิบูลย์ชัย แม่ประนอม และฯลฯ ในส่วนของสถาบันการเงินและประกันภัย ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย บลจ.เอ็มเอฟซี ทิพยประกันภัย ไทยสมุทรประกันภัย ดีบีเอส วิคเคอร์ส แอคคินซัน สายการบิน ได้แก่ การบินไทย คูเวตแอร์ไลน์ กัลฟ์แอร์ รอยัล จอร์แดน แอร์เอเชีย สถานพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ปิยะเวท นครธนบางกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล ไทยนครินทร์ สถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต โรงแรมรอยัลพาราไดซ์แอนด์สปา ป่าตอง หน่วยงานราชการที่เข้าร่วม อาทิ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมส่งสริมการส่งออก กรมประมง กรมปศุสัตว์ สถาบันอาหาร สถาบันมาตรฐานฮาลาล บีโอไอ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา สถานทูตบังคลาเทศ สถานทูตอินโดนีเซีย หอการค้าไทย —ปากีสถาน มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นต้น
นอกจากนั้น สิ่งที่สำคัญและน่าสนใจภายในงาน World of Muslim 2007 คือ การเป็นเวทีสำหรับการประชุมและการแสดงสินค้า โดยแบ่งเป็นส่วนการจัดประชุมและการจัดนิทรรศการ สำหรับการประชุมนั้นได้แยกเป็น 2 กิจกรรมที่สำคัญ คือ การจัดประชุมสัมมนาในวันแรก เป็นการประชุมในรูปแบบ Thailand Day การนำเสนอข้อมูลและศักยภาพความพร้อมของประเทศไทย โดยการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงและองค์กรต่างๆ ร่วมมือกันนำเสนอข้อมูลของประเทศไทยให้ประเทศมุสลิมได้รับทราบ โดยเฉพาะจุดเด่นที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ฮาลาล, ธุรกิจการดูแลสุขภาพ,การท่องเที่ยว การเงิน และ ฯลฯ เช่น การสัมมนาเรื่อง แนวทางการผลิตอาหารฮาลาล สำหรับผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร โอกาสทางการค้าธุรกิจฮาลาลในยุคเศรษฐกิจใหม่ ทำธุรกิจกับมุสลิมอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ เป็นต้น
สำหรับในวันที่สอง เป็นการประชุม The 2nd International Islamic Economic, Cultural and Tourism Conference in Thailand 2007 ซึ่งเป็นการจัดประชุมประจำปีของสมาชิกประเทศมุสลิมว่าด้วยเรื่อง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของกลุ่มประเทศมุสลิมกับองค์กรมุสลิมต่างๆประกอบไปด้วย Organization of the Islamic Conferencหรือ OIC เพื่อที่จะได้รับทราบนโยบายของ OIC เกี่ยวกับอนาคตในการพัฒนาของกลุ่มประเทศมุสลิม 57 ประเทศ และจะได้ทราบนโยบายของหน่วยงานด้านการค้าและการลงทุน Islamic Chamber of Commerce and Industry รวมทั้ง Islamic Development Bank ซึ่งถือว่า เป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากมกุฎราชกุมาร ของซาอุดิอาระเบีย HRH Prince Sultan Bin Salman Bin Abd Al-Aziz Al-Saud, The Secretary General & Member of the Board, The Supreme Commission for Tourism ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการ มาเผยแพร่และแนะแนวนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวของโลกมุสลิมในการประชุมในหัวข้อที่เกี่ยวกับ Islamic Tourism Conference อีกด้วย ทั้งนี้ ในการประชุมดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานสามารถรับฟังการนำเสนอข้อมูลทั้งในส่วนของประเทศไทยและในส่วนของ OIC-ICCI ได้
สำหรับในส่วนของการแสดงสินค้านั้น จะมีสถาบันที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 200 รายที่ร่วมออกบูธ นอกจากนี้ยังมีการจัดประชุมสัมมนาย่อยที่น่าสนใจอีกมากมาย โดยการสนับสนุนจาก Organization of the Islamic Conference (OIC) และ Islamic Chamber of Commerce and Industry (ICCI) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเป็นสื่อกลางการเจรจาการค้าและธุรกิจ วัฒนธรรม ของกลุ่มประเทศมุสลิมที่มีสมาชิก 57 ประเทศทั่วโลก ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานดังกล่าวประมาณกว่า 15,000 คน และจะสร้างเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศประมาณ 400 ล้านบาท
นายขวัญชัยย้ำว่า “งานนี้ยังเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าประเทศไทยมีความพร้อมแล้วที่จะเปิดประตูการค้าสู่ประเทศมุสลิม นับเป็นการจุดประกายให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลทุกภาคส่วน ตั้งแต่ระดับรัฐบาล เอกชน จนถึงระดับรากหญ้า ด้วยการที่ประเทศไทยมีหน่วยงานสนับสนุนด้านวิชาการและเทคโนโลยีอย่าง ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในขณะเดียวกันประเทศไทยเองก็มีธุรกิจที่พร้อมสำหรับการลงทุนของชาวมุสลิม อาทิ ธุรกิจโรงพยาบาลและการดูแลสุขภาพ การเงิน และอาหาร รวมทั้งยังมีหน่วยงานของมุสลิมที่ให้การสนับสนุนการลงทุน เช่น ธนาคารอิสลาม และกองทุน Sakad ที่รัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่เช่นกัน”
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.)
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) คือองค์กรของภาครัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกา ออกโดยพระราชกิจจานุเบกษาฉบับวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2545 สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการได้เริ่มเปิดทำการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการมีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุนและประสานงานด้านการจัดการประชุม การจัดงานเพื่อเป็นรางวัล การจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการต่าง ๆ ซึ่งมักเรียกโดยรวมเป็นคำย่อว่า ‘MICE’ มีที่มาจากการจัดประชุม การจัดงานเพื่อเป็นรางวัล การจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการในประเทศไทย การจัดตั้งสสปน.ขึ้นมานี้เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเติบโตของไทยในการเป็นตัวเลือกหนึ่งของสถานที่จัดงานประชุมงานแสดงสินค้าและนิทรรศการระดับนานาชาติ
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.)
คุณปาริฉัตร เศวตเศรนี
โทร 0-2694-6000 Ext. 6091 หรือ 08-1840-4701
อีเมลล์: parichat_s@tceb.or.th
คุณอริสรา ธนูแผลง
โทร 0-2694-6000 ต่อ 6092 หรือ 08-1561-4745
อีเมลล์ : arisara_t@tceb.or.th
เจดับบลิวที ประเทศไทย : เจดับบลิวที พับบลิค รีเลชั่นส์
คุณวงจันทร์ ตั้งทรงศักดิ์
โทร. 0-2204-8221 หรือ 08-9127-2089
อีเมลล์ : wongchan.tangsongsak@jwt.com
คุณกรรณภร ภิรมย์อรรถ
โทร 0-2204-8232 หรือ 08-1402-0218
อีเมลล์ : kaanporn.piromautta@jwt.com
คุณญาดา ศรีสัมมาชีพ โทร. 0-2204-8214 หรือ 08-4640-0058
อีเมลล์ : yada.srisammasheep@jwt.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ