คณะวิทย์ฯ จุฬาลงกรณ์ฯ ครบรอบ 90 ปี เตรียมจัดยิ่งใหญ่ ร่วมเทิดพระเกียรติ “ในหลวงนักวิทยาศาสตร์”

ข่าวทั่วไป Monday January 15, 2007 17:05 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 ม.ค.--จุฬาลงกรณ์ฯ
คณะวิทย์ฯ จุฬาลงกรณ์ฯ ครบรอบ 90 ปี เตรียมจัดยิ่งใหญ่ ร่วมเทิดพระเกียรติ “ในหลวงนักวิทยาศาสตร์” ชวนศิษย์ทุกรุ่น พร้อมกัน 27 มกราคม 2550 นี้
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับย่างก้าวแห่งความสำเร็จด้านการศึกษาที่ประสาทวิชาความรู้ให้กับนักศึกษามาแล้วหลายต่อหลายรุ่น นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระมหากรุณาธิคุณแก่ปวงชนชาวไทย โดยการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นเพื่อเป็นพระราชอนุสรณ์แด่สมเด็จพระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2459 คณะวิทยาศาสตร์ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น โดยแรกเริ่มเป็นส่วนหนึ่งของคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และได้พัฒนาปรับการเรียนการสอนโดยมี ศ.ดร.แถบ นีละนิธิ ในสมัยนั้นเป็นคณะบดี ได้เริ่มผลักดันให้คณะวิทยาศาตร์มีหลากหลายสาขาวิชาเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนและสังคมมากยิ่งขึ้น
ศาสตราจารย์ ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต คณะบดี (คนปัจจุบัน) กล่าวว่า คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันประกอบด้วยภาควิชาต่าง ๆ 14 ภาควิชา 54 หลักสูตร โดยจัดให้มีการเชื่อมโยงแต่ละภาควิชาเข้าหากัน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มวิทยาศาสตร์ กายภาพ
2. กลุ่มวิทยาศาสตร์ ชีวภาพ
3. กลุ่มวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ
4. กลุ่มวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ปัจจุบันสามารถผลิตบัณฑิตในทุกระดับที่จบออกไปสร้างเครือข่ายในวงการวิชาการและวงการอุตสาหกรรมทั้งในภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ นอกจากนี้การจัดกลุ่มยังส่งเสริมให้เกิดการดำเนินการวิจัยที่มีลักษณะบูรณาการมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการกรุยทางให้มีการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น อาคารสถานที่ เครื่องมือวิเคราะห์วิจัย และบุคลากรสายสนับสนุนร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงถือว่าเป็นองค์กรหนึ่งที่มีความพรั่งพร้อมและหลากหลายที่มีบทบาทสำคัญในยุคโลกาภิวัตน์ในการใช้ศาสตร์ต่าง ๆ ของวิทยาศาสตร์ เข้ามาช่วยพัฒนาประเทศ เพื่อตอบปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปัจจุบันคณะวิทยาสตร์ จุฬาฯ มีบัณฑิตที่จบการศึกษาแล้วมากกว่า 15,000 คน บัณฑิตที่จบการศึกษาไปแล้วสามารถออกไปประกอบอาชีพได้หลายแขนง เพราะวิทยาศาสตร์ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของหลาย ๆ อาชีพ ไม่ว่าจะเป็น แพทย์ , วิศวะกร , นักเคมี , นักชีววิทยา เป็นต้น ทั้งในภาครัฐและเอกชน ตัวอย่างเช่นในส่วนของราชการก็อาจจะเข้าไปเป็นนักวิชาการกระทรวงสาธารณสุข , กระทรวงวิทยาศาสตร์ , กระทรวงอุตสาหกรรม และอีกหลาย ๆ วงการ แม้กระทั่งวงการเกษตรกรรมในปัจจุบันก็ได้นำหลักวิชาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยพัฒนาปรับปรุงให้ผลผลิตดีขึ้น จะเห็นได้ว่าความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ก็คือความจริงโดยใช้การของเหตุผลที่สามารถพิสูจน์ได้
ในโอกาสที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครบรอบ 90 ปี ในวันเสาร์ที่ 27 มกราคม 2550 ซึ่งถือว่าเป็นปีมหามงคลของชาวไทยทั้งประเทศ ขอร่วมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะ “ในหลวงนักวิทยาศาสตร์” โดยจัดทำสารคดีในหลวงนักวิทยาศาสตร์ไว้เปิดในวันงานด้วย การจัดงานครั้งนี้เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้ทุกคนเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาประเทศและเพื่อเป็นการพบปะสังสรรค์ระหว่างศิษย์แต่ละรุ่น รวมถึงครูบาอาจารย์ จึงขอเชิญชวนนิสิตทุกรุ่น , ศิษย์ใหม่และศิษย์เก่า ร่วมพบปะสังสรรค์ในงาน “คืนสู่เหย้า ชาววิทยา จุฬาฯ” ตั้งแต่เวลา 07.00 — 22.00 น. งานนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ฟรี หรือหากนิสิตท่านใดสนใจจะร่วมสบทบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาในระดับปริญญาตรี, โท และเอก สามารถแจ้งความประสงค์มอบทุนการศึกษาได้ที่หมายเลข 02-218-5004 — 5 เพื่อร่วมพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์ของเมืองไทยให้ก้าวหน้าต่อไป / ศ.ดร.เปี่ยมศักดิ์ มานะเศวต กล่าวส่งท้าย
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ