กรุงเทพฯ--23 มิ.ย.--มาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์
ม.อ.ค้นพบค้างคาวกินแมลงพันธุ์ใหม่ในไทย ตั้งชื่อ “ค้างคาวมงกุฎสามใบพัดเทาดำ” ที่เขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี จ.ราชบุรี ชี้เป็นสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับค้างคาวมงกุฎสามใบพัด ระบุค้างคาวในไทยบางพันธุ์ มีการขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น เชื่อมีโอกาสพบค้างคาวสายพันธุ์ใหม่อีกไม่ต่ำกว่า 10 สายพันธุ์
นายพิพัฒน? สร้อยสุข นักวิจัยหน่วยวิจัยค้างคาว คณะวิทยาศาสตร? มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ เปิดเผยว่า คณะผู้วิจัยของหน่วยวิจัยค้างคาว ม.อ. ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้สำรวจพบค้างคาวมงกุฎ (Rhinolophus beddome) พันธุ์ใหม่ ในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ติดกับพื้นที่เทือกเขาตะนาวศรี ติดกับชายแดนพม่า ซึ่งจากเดิมมีรายงานก่อนหน้านี้ว่า จะพบค้างคาวชนิดนี้ได้เพียงบริเวณฝั่งตะวันตกของประเทศอินเดียเท่านั้น
ทั้งนี้ การค้นพบค้างคาวพันธุ์ใหม่ในครั้งนี้ รูปร่างค้างคาวมีขนาดและลักษณะใกล้เคียงกับค้างคาวมงกุฎสามใบพัด (Rhinolophus trifoliatus) ซึ่งมีแผ่นจมูกและสีขนเป็นสีเทาอมเหลือง แต่ค้างคาวที่ค้นพบ มีแผ่นจมูกและสีขนเป็นสีเทาดำ ทางคณะผู้วิจัยจึงได้ตั้งชื่อว่า “ค้างคาวมงกุฎสามใบพัดเทาดำ” ซึ่งเป็นค้างคาวกินแมลงในวงศ์ Rhinolophidae จัดอยู?ในกลุ?ม trifoliatus group มีลักษณะเด่น ตรงที่มีแผ?น หนังรูปร?างคล?ายใบพัดยื่นออกมาทั้งสองข?างของจมูก มักอาศัยอยู่ตามซอกหลืบของโขดหินหรือตามโพรงไม้ ซึ่งมักพบอาศัยอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็กๆ เพียง 1-3 ตัว
“ค้างคาวมงกุฎสามใบพัดเทาดำที่ค้นพบในไทยในครั้งนี้ มีเพียงตัวอย่างเดียว และเป็นการกระจายที่น่าสนใจ เนื่องจากค้างคาวชนิดนี้เคยพบเฉพาะที่ประเทศอินเดียหรือศรีลังกาเท่านั้น คณะผู้วิจัยจึงได้ทบทวนการจัดหมวดหมู่ของค้างคาวทั้งหมดในกลุ่มนี้เพิ่มเติม ร่วมกับการทดสอบพันธุกรรมเพิ่มเติม จึงพบว่าเป็นสายพันธุ์ค้างคาวชนิดใหม่ของโลก จึงได้ตีพิมพ์ในวารสาร Tropical Natural History เพื่อเผยแพร่แล้ว” นายพิพัฒน์ กล่าว
นักวิจัยหน่วยวิจัยค้างคาว คณะวิทยาศาสตร? ม.อ. กล่าวว่า การค้นพบค้างคาวสายพันธุ์ใหม่ในครั้งนี้ ทำให้ปัจจุบันมีรายงานการค้นพบค้างคาวในประเทศไทยแล้วกว่า 124 ชนิด จากข้อมูลการค้นพบค้างคาวทั่วโลก 1,100 ชนิด และขณะนี้ทีมงานนักวิจัย หน?วยวิจัยค?างคาว กำลังทำการศึกษาวิจัยและตีพิมพ์รายงานอย่างเป็นทางการทั้งค้างคาวชนิดใหม?และการพบครั้งแรกในประเทศไทยอีกไม่น้อยกว่า 10 สายพันธุ์ด้วย
นอกจากนี้ ทีมนักวิจัยหน่วยวิจัยค้างคาว ยังได้ทำการสำรวจและศึกษาพบว่า ค้างคาวหน้ายักษ?จมูกปุ่ม (Hipposideros halophyllus) ที่สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ หรือ IUCN ได้รายงานว่าเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ของไทยนั้น จากการสำรวจพบว่า ค้างคาวพันธุ์ดังกล่าวมีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่สถานภาพยังน่าเป็นห่วง เนื่องจากที่อยู่อาศัยที่เป็นถ้ำหินปูน ที่มีลักษณะเป็นหลุมยุบ ปากถ้ำเป็นเหวลึก โดยมักกระจายอยู่ในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกของไทย ได้แก่ พื้นที่ในจังหวัดลพบุรี และสระแก้ว ซึ่งได้ถูกทำลายลงเป็นจำนวนมาก แต่จากการสำรวจค้นพบครั้งล่าสุด ได้พบการกระจายตัวของค้างคาวหน้ายักษ?จมูกปุ่ม ในพื้นที่ขยายกว้างขึ้นตั้งแต?ภาคเหนือในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม?ไปจนถึงภาคกลาง ได้แก่ อุทัยธานี ลพบุรี สระแก้ว ราชบุรี และภาคใต้ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช และพังงา ทำให?เชื่อได้ว่าประชากรค้างคาวชนิดนี้ จะไม่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์สูงอย่างที่เคยประเมินในช่วงที่ผ่านมา
เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์โดยบริษัท มาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ (ในนามมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม : พิภพ ฆ้องวง (ท๊อป)
โทร. 0-2248-7967-8 ต่อ 118
e-mail address : c_mastermind@hotmail.com เว็บไซต์ : www.mtmultimedia.com