กรุงเทพฯ--5 ก.ค.--สวทช.
ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย ร่วมกับ โครงการ BRT สวทช. ขอเชิญทุกท่านร่วมงานเสวนา “เอเลี่ยนสปีชีส์” ภัยร้ายความหลากหลายทางชีวภาพ ในวันพุธที่ 7 กรกฎาคม 2553 เวลา 10.00 — 12.00 น. ณ ห้อง 720 ชั้น 7 อาคาร สวทช. โยธี ถ. พระรามที่ 6
วิทยากรโดย
- ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ดร.รัฐชา ชัยชนะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ดร.สิริพร ซึงสนธิพร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
- คุณโสมวรรณ สุขประเสริฐ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ดำเนินการเสวนาโดย นายจุมพล เหมะคีรินทร์ ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย
องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ปีค.ศ.2010 เป็นปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเสริมสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ โดยทั้งนี้หนึ่งในสาเหตุที่นำมาซึ่งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่หลายประเทศกำลังเผชิญอย่างหนัก คือ การรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ด้วยเหตุนี้ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย จึงร่วมกับโครงการBRT จัดงานเสวนา เรื่อง “เอเลี่ยนสปีชีส์”…ภัยร้ายความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อกระตุ้นให้คนในสังคมได้ตระหนักถึงปัญหาและร่วมกันหาแนวทางป้องกันการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ประเด็นที่น่าสนใจ !!!
- รายงานสถานการณ์การรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
- เปิดผนึกชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ภัยคุกคามเงียบที่คนไทยอาจยังไม่รู้!
- เจาะลึกงานวิจัย “ปลากดเกราะ” (ซัคเกอร์) มีผลกระทบต่อปลาพันธุ์พื้นเมืองจริงหรือไม่
- นอกจาก “ผักตบชวา” แล้ว ยังมีพันธุ์พืชรุกรานต่างถิ่นชนิดใดบ้างที่ต้องจับตามอง
- ประเทศไทยมีนโยบายในการรับมือกับปัญหาการรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นอย่างไรบ้าง
ผู้ที่สนใจสามารถสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ที่ ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช.
โทร 02-5647000 ต่อ 1461-1462 แฟกซ์ 02-5647000 ต่อ 1482 หรือทางอีเมล thaismc@nstda.or.th
กำหนดการเสวนา
เรื่อง “เอเลี่ยนสปีชีส์”…ภัยร้ายความหลากหลายทางชีวภาพ
วันพุธที่ 7 กรกฎาคม 2553
เวลา 9.30-12.00
ณ ห้องประชุม 720 ชั้น 7 อาคาร สวทช. (โยธี) ถ.พระรามที่ 6
จัดโดย ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. ร่วมกับโครงการ BRT
09.30 — 10.00 น. ลงทะเบียน
10.00 — 11.30 น. เสวนา “เอเลี่ยนสปีชีส์” ภัยร้ายความหลากหลายทางชีวภาพ
“Top rank สปีชีส์ต่างถิ่นที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของไทย”
โดย ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“ปลากดเกราะ” ผลกระทบต่อความหลากหลายของปลาพื้นเมือง
โดย ดร.รัฐชา ชัยชนะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
“ภัยร้ายพันธุ์พืชต่างถิ่นที่รุกราน”
โดย ดร.สิริพร ซึงสนธิพร นักวิชาการเกษตรชำนาญการ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
“นโยบายการรับมือ สิ่งมีชีวิตต่างถิ่น”
โดย คุณโสมวรรณ สุขประเสริฐ เจ้าหน้าที่ความหลากหลายทางชีวภาพ
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
11.30 - 11.40 น. ตอบคำถามผู้ร่วมเสวนา
11.40 น. สรุปและปิดการเสวนา
ดำเนินรายการโดย นายจุมพล เหมะคีรินทร์ ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย