การฟอกเงิน เป็นการก่อการร้ายแนวใหม่ จริงหรือ วิธีการป้องกันอาชญากรรมทางการเงิน

ข่าวทั่วไป Wednesday July 7, 2010 14:46 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 ก.ค.--คอร์แอนด์พีค ปัจจุบันผู้ก่อการร้ายได้ใช้แนวทางปฏิบัติทางธุรกิจที่ซับซ้อนไม่ต่างจากองค์กรข้ามชาติที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในการบรรลุเป้าหมายของตน จะเห็นได้ว่าผู้ก่อการร้ายไม่เพียงขโมยเงิน แต่พวกเขากำลังขโมยข้อมูลบัตรเครดิต หมายเลขประกันสังคม ซึ่งเป็นข้อมูลประจำตัวทั้งหมด และจำหน่ายรข้อมูลดังกล่าวเพื่อทำกำไร ตัวอย่างเช่น กลุ่มอัลไกด้า ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าได้ให้การสนับสนุนและคำแนะนำแก่กลุ่มก่อการร้ายขนาดเล็กต่างๆ ด้วยการให้เงินสนับสนุนในการดำเนินการก่อการร้ายผ่านการก่ออาชญากรรมทางการเงินที่หลากหลาย การคุกคามของการก่อการร้ายได้เปลี่ยนแปลงมุมมองด้านภูมิศาสตร์การเมือง โดยทุกคนต่างกังวลในเรื่องนี้ รวมถึงความเสี่ยงด้านชื่อเสียงที่เกี่ยวข้อง ยังไม่มีเทคโนโลยีใดที่จะทำงานได้อย่างดีเยี่ยมในการตรวจหาการดำเนินการทางการเงินของการก่อการร้ายได้สำร็จ และเครื่องมือจำนวนมากที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจถูกมองว่าเป็นเครื่องมือวินิจฉัยเชื้อชาติหรือชาติพันธุ์ ที่ถือเป็นการละเมิดเสรีภาพของพลเมืองได้ นายทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า “อย่างไรก็ตาม เราสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกกฎหมายในการติดตามตรวจสอบพื้นที่สำคัญสามส่วน ได้แก่ สถาบันและองค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐ (เอ็นจีโอ) ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น มูลนิธิ หรือองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร; รายชื่อที่ถูกคว่ำบาตร; และภูมิศาสตร์ที่มีความเสี่ยงสูง” สำหรับสถาบันและเอ็นจีโอที่มีความเสี่ยงสูง การทำธุรกรรมสามารถถูกติดตามและตรวจสอบ ได้อย่างละเอียด เพื่อตรวจหารูปแบบและพฤติกรรมที่น่าสงสัยได้ ขณะที่การใช้รายชื่อที่ถูกคว่ำบาตร สามารถดำเนินการติดตามตรวจสอบให้สอดคล้องกับสำนักงานควบคุมทรัพย์สินต่างประเทศ (Office of Foreign Asset Control) โดยธนาคารจำเป็นต้องคัดกรองการทำธุรกรรมข้ามประเทศสำหรับบุคคล รายชื่อต่างๆ และหน่วยงานที่โดนคว่ำบาตร ตัวอย่างเช่น ธนาคารในสหรัฐอเมริกาไม่ได้รับอนุญาตให้ทำธุรกิจร่วมกับธนาคารกลางของอิหร่าน นอกจากนี้ ในส่วนของภูมิศาสตร์ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งขณะนี้มีประมาณ 50-70 ประเทศ กำลังถูกติดตามตรวจสอบอย่างเข้มงวดและมีเครือข่ายโยงใยขนาดใหญ่ ก็กำลังได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดด้วย ดังนั้นสถาบันการเงินต่างๆ จะต้องดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ทั้งสามส่วนนี้อย่างใกล้ชิด การรับมือกับกระบวนการฟอกเงิน ในด้านการฟอกเงิน นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า “เจ้าหน้าที่สำนักกำกับดูแลกิจการกำลังเผชิญหน้ากับสภาพแวดล้อมของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและต้องการบรรเทาความเสี่ยงด้านกฎข้อบังคับและด้านชื่อเสียงของตน ตลอดจนจะต้องสามารถดำเนินการด้วยต้นทุนการเป็นเจ้าของที่สมเหตุสมผล” จะเห็นได้ว่าสภาพแวดล้อมของกฎระเบียบกำลังเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมากและหน่วยงานด้านกฎระเบียบกำลังกำหนดแนวทางตรวจสอบให้กับเจ้าหน้าที่สำนักกำกับดูแลกิจการมากขึ้นกว่าเดิม “ปัจจุบันเราอยู่ในโลกที่แตกต่างไปจากเดิม เนื่องจากลักษณะของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช่ปัญหาแค่ธนาคารกลางทางการเงินเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของสถาปันการเงินทุกแห่ง” นายทวีศักด์ตั้งข้อสังเกตว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้นยังเกี่ยวพันกับเครื่องมือทางการเงินต่างๆ ด้วย เช่น บัตรเติมเงิน เทคโนโลยีการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ การเล่นพนันทางอินเทอร์เน็ต และธุรกิจบริการทางการเงินอื่นๆ สำหรับการต่อสู้กับกระบวนการฟอกเงิน นายทวีศักดิ์แนะนำว่าองค์กรต่างๆ ต้องสามารถดำเนินการดังต่อไปนี้ได้ ? ประเมินข้อมูลปริมาณมากและตรวจสอบลูกค้ารวมถึงความสัมพันธ์ทั้งหมดโดยใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น เทคนิคการวิเคราะห์การเชื่อมโยง การวิเคราะห์กลุ่มคลัสเตอร์หรือกลุ่มที่มีความใกล้ชิดกัน ? สนับสนุนสภาพแวดล้อมการสืบสวนตรวจสอบแบบรวม เพื่อเร่งความเร็วในกระบวนการตัดสินใจ ? ให้คะแนนความเสี่ยงและวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าในสายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ? นำระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) ไปใช้ผ่านการวิเคราะห์เฉพาะกิจ เพื่อให้ระบบสามารถมองย้อนกลับไปที่ข้อมูลและเรียนรู้จากข้อมูลนั้นได้ “การใช้การวิเคราะห์ขั้นสูงและแนวทางเชิงรุก เพื่อให้สามารถติดตามตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้สถาบันทางการเงินได้สร้างความยุ่งยากมากขึ้นสำหรับการจัดการให้การสนับสนุนด้านการก่อการร้าย” นายทวีศักดิ์กล่าวเพิ่มเติม และเสริมอีกว่า “ด้วยการตรวจสอบโดยละเอียดที่เพิ่มขึ้นในองค์กรที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ ผู้ก่อการร้ายจะต้องเริ่มมองแหล่งอื่นๆ สำหรับการดำเนินการทางการเงินของตนแทน” ดังนั้นผู้นำทางธุรกิจในระยะยาวจะต้องเปลี่ยนแปลงความคิดของตนจากกรอบการดำเนินงานปัจจุบันไปสู่นวัตกรรมรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง จะเห็นได้ว่าผู้ก่อการร้ายยังคงเข้าร่วมอยู่ในระบบเศรษฐกิจทั้งใต้ดินและบนดิน เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และความต้องการทางการเงินของตนอยู่ แม้ว่าพวกเขาจะไม่เคยออกมายอมรับอย่างเปิดเผยในการใช้ประโยชน์ จากข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางการเงินที่ขโมยมา แต่ก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่านี่เป็นปัญหาใหญ่กว่าที่หลายคนคาดคิดไว้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: คุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ บริษัท คอร์แอนด์พีค จำกัด โทร. 02 439 4600 ต่อ 8300 อีเมล์ srisuput@corepeak.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ