กรุงเทพฯ--15 ก.ค.--โททัล ควอลิตี้ พีอาร์
เดอะ ศาลา ไวน์ บาร์ แอนด์ บิสโทร ศูนย์ต้อนรับนักท่องเที่ยว ณ ไร่องุ่นหัวหินฮิลส์ อ.หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สร้างชื่อให้กับประเทศไทย ด้วยการคว้ารางวัลชมเชยจาก World Architecture Community โดยชูผลงานโดดเด่นด้านภูมิสถาปัตย์ที่เน้นการดึงเอาความสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมไทยแบบดั้งเดิม เข้ามาผสานไว้กับการออกแบบแนวร่วมสมัย ฝีมือการออกแบบจาก คุณซิลเวีย โซะ ชนะใจคณะกรรมการ จาก World Architecture Communityได้เป็นผลสำเร็จ
เมื่อเร็วๆนี้ สยาม ไวเนอรี่ ได้ส่งผลงานเดอะ ศาลา ไวน์บาร์แอนด์ บิสโทร ศูนย์ต้อนรับนักท่องเที่ยวแบบครบวงจรและร้านอาหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ไร่องุ่นหัวหินฮิลส์ เข้าร่วมในการประกาศรางวัล 20+10+X Awards ซึ่งจัดขึ้นโดยเว็บไซท์ด้านการสถาปัตยกรรมชื่อดัง World Architecture Community โดยรางวัล 20+10+X Awards นี้ เป็นการประกาศรางวัลทางด้านสถาปัตยกรรมระดับนานาชาติ แบบออนไลน์ ซึ่งจัดขึ้นโดย World Architecture Community* ซึ่งถือเป็นรางวัลอันทรงเกียรติ สืบเนื่องจากสมาชิกคณะกรรมการอันทรงคุณวุฒิและการยอมรับอย่างกว้างขวางในบรรดาผลงานที่เคยได้รับรางวัลมาแล้วในการแข่งขัน 6 รอบที่แล้ว
สำหรับการคัดเลือกผู้ที่ได้รับรางวัล20+10+X Awards นั้น จะจัดขึ้นเป็นรอบ ทุกๆ 3 เดือน โดยผลรางวัลจะได้รับการตีพิมพ์ไปยังสำนักพิมพ์ระดับนานาชาติ ทั้งนี้โดยความร่วมมือกับวาราสารทางด้านสถาปัตยกรรมในประเทศต่างๆ โดยในแต่ละรอบนั้น มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมชิงชัยถึงกว่า 1,000 โครงการ จากนั้น จะถูกคัดให้เหลือ 250
ผลงานเพื่อเปิดให้โหวตและตัดสินหาผู้ชนะทั้งหมด 35 โครงการ พร้อมด้วยโครงการพิเศษอีก 30-40 โครงการที่ได้รับการอ้างอิงถึง โดยทั้งหมดจะได้รับการเผยแพร่ในสื่อด้านสถาปัตยกรรมต่างๆทั่วโลก
สำหรับการมอบรางวัลรอบที่ 7 นี้ มีชื่อของ เดอะ ศาลา ไวน์ บาร์ แอนด์บิสโทร ณ ไร่องุ่นหัวหินฮิลส์ จากอำเภอหัวหิน สร้างชื่อให้กับประเทศไทย โดยติดอันดับในโครงการที่ได้รับการอ้างอิงถึงจากสมากชิกผู้ทรงเกียรติ โดยโครงการศูนย์ต้อนรับนักท่องเที่ยวดังกล่าว เป็นฝีมือการออกแบบโดย คุณซิลเวีย โซะ สถาปนิกสัญชาติมาเลเซีย ที่พำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาหลายปี
โดยคุณซิลเวีย กล่าวถึงที่มาที่ไปของการออกแบบในครั้งนี้ว่า “วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร (คุณเฉลิม อยู่วิทยา — กรรมการผู้จัดการ บริษัทสยาม ไวเนอรี่) ก็คือการสร้างพื้นที่สำหรับการชมวิวแบบมุมกว้างบริเวณยอดเขา เพื่อที่จะได้วิวของไร่องุ่นที่มีความสวยงาม โดยเทือกเขาวางตัวอยู่เบื้องหลังอย่างสวยงาม”
“ดังนั้นการออกแบบงานในครั้งนี่ เน้นที่การดึงเอาความสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมไทยแบบดั้งเดิม เข้ามาผสานไว้กับการออกแบบแนวร่วมสมัย เราได้สร้างความสัมพันธ์ซึ่งผสานกันเป็นหนึ่งเดียว ระหว่างตัวอาคารและบริเวณโดยรอบ และให้เกิดการผสมผสานกันของธรรมชาติ สิ่งปลูกสร้าง รวมถึงวัฒนธรรมให้ลงตัวมาก
ที่สุด และเพื่อตอบโจทย์นี้ การออกแบบจึงคำนึงถึง 2 เรื่องเป็นสำคัญ ประการแรก คือ การใช้รูปทรงและวัสดุท้องถิ่น เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจในการออกแบบ ประการที่สอง คือ การใช้เทคนิคด้านทิศทางลม ซึ่งเป็นความรู้ที่สืบทอดกันมาหลายทศวรรษ” คุณซิลเวียกล่าวให้ข้อมูลเพิ่มเติม
สำหรับเดอะ ศาลา ไวน์ บาร์แอนด์บิสโทรนั้น การออกแบบตัวอาคาร มีการนำรูปทรงเส้นโค้งเข้ามาใช้ ซึ่งเป็นแบบไทยดั้งเดิมที่พบเห็นได้ตามบ้านและวัด โครงสร้างลักษณะหลังคาเป็นพื้นผิวแนวโค้ง มุงด้วยฟางซึ่งตัดกันกับภาพวิวเบื้องหลังของภูเขาที่วางตัวอย่างสวยงาม
นอกจากนั้น ตัวอาคารได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบจากหลักเศรฐกิจพอเพียง ที่มุ่งให้มีอายุการใช้งานที่ยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงมีการนำเอาวัสดุท้องถิ้น เช่น อิฐทำมือ เรื่อยไปถึงไม้ไผ่ซึ่งขึ้นในท้องถิ่นเข้ามาใช้เป็นวัสดุหลักทางสถาปัตยกรรม
เพื่อเป็นการลดการใช้พลังงาน ตัวอาคารมีการนำกลยุทธ์การออกแบบเพื่อรับความเย็นมาใช้ ในช่วงหน้าร้อน อาจใช้เครื่องปรับอากาศเพื่อเพิ่มคาวมเย็น ส่วนในเดือนที่มีอุณหภูมิไม่สูงมาก จะใช้กลไกการระบายอากาศแบบธรรรมชาติ โดยที่หน้าต่างและประตูทุกบานสามารถเปิดรับและนำอากาศเย็นจากธรรมชาติเข้ามาในตัวอาคารได้ การทำความเข้าใจและสังเกตุทิศทางของลมในพื้นที่จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในการออกแบบครั้งนี้ นอกจากนี้ พื้นที่หลักมีการเปิดโล่ง ทำให้แสงสามารถส่องเข้ามาในตัวอาคารได้อย่างทั่วถึงในช่วงกลางวัน ต้นไม้ใหญ่และไม้ไผ่ ทำหน้าที่เป็นแนวบังแดดตลอดด้านหน้าอาคาร
ตัวอาคารมีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อนมากนัก โดยประสบการณ์การเดินทางเยี่ยมชมเดอะ ศาลา ไวน์ บาร์ แอนด์ บิสโทร เริ่มขึ้นด้วยส่วนที่เป็นแกลอรีแบบโอเพ่น-แอร์ จากนั้นเดินลึกเข้ามาเพื่อพบกับส่วนขายของที่ระลึกและส่วนร้านอาหารตามลำดับ จากนั้นช่วงปลายของอาคารจะเป็นบาร์สำหรับการชิมไวน์ ซึ่งเป็นมุมที่มีวิวทิวทัศน์แนวกว้าง ซึ่งมองเห็นพื้นที่ไร่องุ่นได้ครอบคลุมและมีวคามสวยงามมากที่สุด
ห้องทั้งสาม ได้แก่ ส่วนแกลอรี่ ร้านอาหาร และส่วนพื้นที่ชิมไวน์ เชื่อมต่อกันด้วยกำแพงอิฐทรงโค้ง และแบ่งสัดส่วนด้วยช่องทางเดินที่จะนำเข้าไปสู่ด้านหลังของตัวอาคาร ส่วนด้านหลัง ประกอบไปด้วยห้องเก็บไวน์ ครัว และห้องน้ำ ห้องเก็บไวน์ ได้รับการออกแบบให้วางตัวอยู่ในชั้นใต้ดิน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ใช้สอยด้านการเก็บรักษาความเย็นด้วยวิธีธรรมชาติ สำหรับการออกแบบภูมิทัศน์ มีการปลูกต้นองุ่นโดยรอบ รวมถึงภายในอาคารบางส่วน ทั้งนี้เพื่อสร้างบรรยากาศและให้มีความกลมกลืนกับอาคาร ได้อย่างลงตัว
*เกี่ยวกับ World Architecture Community
คลังข้อมูลแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายและเวทีพูดคุยในโลกของสถาปัตยกรรม
World Architecture Portal คือ คลังข้อมูลด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบในรูปแบบอินเตอร์แอคทีฟ ที่มุ่งสร้างสรรค์เครือข่ายระดับโลกระหว่างสถาปนิกจากประเทศต่างๆทั่วโลก ถือเป็นชุมชนระดับนานาชาติด้านการออกแบบที่เปิดให้โครงการสถาปัตยกรรมร่วมสมัยจากทุกประเทศได้มีโอกาสที่เท่าเทียมกันในการนำเสนอผลงานการออกแบบไปทั่วโลก เยี่ยมชมได้ที่ www.worldarchitecture.org
สื่อมวลชนที่ต้องการข้อมูล หรือรูปภาพเพิ่มเติม
กรุณาติดต่อ ภาริสา ฉายากุล/ อังคณา บุญสวัสดิ์
บริษัทโททัล ควอลิตี้ พีอาร์ ประเทศไทย โทร: 02-2605820 ต่อ 113/125 หรือ อีเมล์ samui@tqpr.com/ ple@tqpr.com