กรุงเทพฯ--20 ก.ค.--สหมงคลฟิล์ม
1ใน 6 ผู้กำกับภาพยนตร์ในแนวอีโรติกอาร์ทจากโปรเจ็คต์ “น้ำตาลแดง”
ผ่านมุมมองของ “เซ็กส์”จากผู้กำกับหญิงเพียง 1 เดียว
Q. ก่อนอื่นแนะนำตัวเองก่อนว่าทำไมถึงหลงใหลในศิลปะที่เรียกว่า“ภาพยนตร์”จนทำให้กลายมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ในวันนี้
กิตติยาภรณ์ : เราเกิดที่หาดใหญ่ แต่โตกรุงเทพ ตอนเด็กๆ จำได้ว่าร้านเช่าวีดีโอจะอยู่ข้างบ้าน ทุกวันศุกร์-เสาร์แม่จะให้โควต้าเช่าหนังคนละเรื่องกับน้องชาย จนมาอยู่กับพ่อๆก็จะชอบเปิดหนังและนั่งดูด้วยกัน หรือไม่ก็พาไปดูหนังทุกวันเสาร์-อาทิตย์ พ่อชอบหาหนังมาดูตลอด จนเป็นความทรงจำและรู้สึกว่าอยากทำบ้าง แต่พอโตขึ้นอยากเป็นสัตว์แพทย์เพราะเรารู้สึกว่าเวลาที่สัตว์เจ็บหรือไม่สบายมันพูดไม่ได้ แต่คนยังพูดได้ว่ามีอาการยังไง จนเอ็นฯติดที่ มอ.สงขลา สาขาชีวะภาพ แต่ตอนนั้นแม่ย้ายไปอยู่โคราช เห็นว่ามันไกลบ้านจึงสละสิทธ์ แล้วมาเรียนที่ม.รังสิตแทน จำได้ว่าวันที่ตัดสินใจตอนนั้นนั่งรถกับพ่อแล้วได้ยินประกาศทางวิทยุเกี่ยวกับสาขาภาพยนตร์ที่ม.รังสิต ก็เลยขอแม่มาเรียนที่นี้ เรารู้สึกว่าแปลกใหม่และน่าสนใจ ท้าทายดี บวกกับที่ชอบดูหนังเลยถามตัวเองว่าอะไรที่เราชอบรองลงมาจากสัตว์แพทย์ เมื่อได้ยินประกาศก็เลยตัดสินใจทันทีว่าอยากมาเรียนที่นี้ ตอนที่เอ็นฯ เราเขียนอันดับแรกคือสัตว์แพทย์ อันดับสองคือนิเทศศาสตร์ ด้วยสัญญาว่าจะตั้งใจเรียนและโทรหาแม่ทุกวัน ทุกวันหยุดต้องกลับบ้าน แม่จึงยอมให้มาเรียนที่นี้
สาเหตุสำคัญทำให้ที่เราตัดสินใจอยากเรียนภาพยนตร์เพราะท้าทายแล้ว เราได้แรงบันดาลใจมาจากคนๆหนึ่งซึ่งเป็นคนที่เรารู้สึกด้วยมากๆนั่นคือคุณดวงกมล ลิ่มเจริญ วันหนึ่งเรานั่งดูหนัง(จำไม่ได้เรื่องอะไร) แล้วเห็นผู้หญิงคนหนึ่งในทีวีตั้งแต่เด็ก จนเราโตขึ้นในช่วงวัยรุ่นและเริ่มสนใจวงการบันเทิง เราก็เห็นท่านอีกครั้งในบทบาทคนเบื้องหลัง เราสนใจและติดตามท่านมาตลอดก่อนเข้าเรียนมหาลัย ในความรู้สึกและในสายตาของเรา ผู้หญิงคนนี้เก่งและเราอยากเก่งเหมือนท่าน ท่านเป็นผู้หญิงคนหนึ่งเหมือนกับเรา แต่เป็นผู้หญิงที่ต่อสู้ในสิ่งที่ท่านรักและศรัทธา ท่านทำอย่างเต็มที่ให้ถึงที่สุดแม้จะเป็นลมสุดท้ายของท่านเอง ทำให้เรารู้สึกว่า การทำในสิ่งที่รักแม้จะตายจากไปก็ไม่เสียดายเพราะเราได้ทำอย่างเต็มที่ที่สุดแล้ว ดีกว่าไม่ลงมือทำอะไรเลย พ่อแม่และคุณดวงกมลทำให้เรารู้สึกว่าชีวิตนี้มีค่ามากมาย และมีอะไรหลายอย่างให้ทำ แต่สุดท้ายมันขึ้นอยู่ที่เราว่าจะทำหรือไม่ทำ เวลาเดินตลอดไม่มีหยุด จะหยุดก็ต่อเมื่อมันเป็นนาฬิกาตาย เมื่อเวลายังไม่หยุดแล้วเราจะหยุดทำไม เราต้องเดินไปข้างหน้าเพื่อความฝันและยังมีครอบครัวอยู่ข้างหลัง เราก็เป็นผู้หญิงคนหนึ่งที่มีidolเป็นที่ตั้ง และอยากทำให้ได้อย่างเขาหรือได้แค่ครึ่งของเขาก็ยังดี เราอยากจะพิสูจน์และทำให้เห็น ทำให้รู้สึกให้ได้ว่า ผู้หญิงคนหนึ่ง..คนนี้ก็สามารถทำอะไรได้หลายอย่างกว่าที่คิด เราคาดหวังมาตลอดว่า เราอยากฝึกงานกับท่าน อยากเรียนรู้และรู้จักท่าน แต่แล้วเมื่อวันหนึ่ง เราได้ข่าวว่าท่านได้สิ้นลมจากไปแล้ว เราร้องไห้และเสียใจที่สูญเสียคนที่เก่งและต่อสู้ในสิ่งที่รัก เราอยากไปร่วมงานศพท่านมาก เราอยากเห็นท่านเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายแม้เราจะไม่รู้จักกัน เพราะเราอยากเห็นท่านมาตลอด เรามารู้ตอนเย็นๆว่าคณบดีนิเทศศาสตร์จะไปร่วมงาน เราก็ใจกล้าเดินเข้าไปหาเพื่อขอไปงานศพด้วย แต่ไม่ทันท่านคณะบดีเดินทางออกไปแล้ว ตอนที่เราดูนั่งเรื่องthe Letter (แอน-ทองประสม กับ หนุ่ม-อรรถพล) เราร้องไห้เพราะความรักของคนคู่นี้ และเราก็ร้องไห้ในความรักของคุณดวงกมลที่ทำจนนาทีสุดท้ายแม้จะจากไปก่อนจะถ่ายทำเสร็จ และความรักของคุณผอูนที่มีต่อเพื่อนและหนังเรื่องนี้ ตลอดระยะเวลาคุณดวงกมลเป็นกำลังใจให้ฉันเดินหน้าสู้ต่อไป แม้จะเป็นผู้หญิง เป็นกำลังที่ควบคู่กับกำลังใจจากพ่อแม่
ด้วยประสบการณ์ที่ได้เก็บเกี่ยวในสมัยเรียน ทำให้รู้สึกว่าเราชอบจัดการ เราชอบวางแผน จนอยากเป็นโปรดิวเซอร์ในตอนแรก เข้าปี1ใหม่ๆ พวกเราก็เริ่มมีเพื่อนใหม่ๆแล้วก็เริ่มลงตัว จนพวกเราเอก โอ ปั้น โจ้เป็นเพื่อนที่สนิทและรวมกลุ่มทำกิจกรรมเสมอ(ซึ่งต่อมาได้ร่วมเป็นผู้กำกับรุ่นใหม่ในโปรเจ็คต์น้ำตาลแดง) ไม่ว่าจะกิจกรรมของมหาลัยหรือกิจกรรมในคลาสเรียน เรามักจะทำงานกลุ่มเดียวกัน ตั้งแต่ทำฉาก คัตเอาท์เพื่องานต่างๆที่ได้รับมอบมาจากอาจารย์ ด้วยระยะเวลาและวิชาเรียนที่ทำให้คิดและโตไปด้วยกัน ทำให้แต่ละคนเริ่มรู้ตัวเองว่าชอบอะไร อยากทำอะไร พวกเรามักจะเป็นตัวแทนสาขาภาพยนตร์อยู่เสมอๆไม่ว่าจะเป็นงานอะไร อย่างถ้าเป็นงานสาขาตัวเราก็มักจะได้เป็นพิธีกรที่จะพูดดำเนินรายการเกี่ยวกับสาขาภาพยนตร์สมัยเรียนเราเคยคิดว่า เราเหมาะที่จะเป็นProducer แต่เมื่อเวลาผ่านไปพร้อมประสบการณ์ที่ผ่านมา มันทำให้รู้สึกว่าเราอยากเป็นคนทำและถ่ายทอดความรู้สึกและไอเดียของตัวเองบ้าง ในแบบตัวเอง เราแค่รู้สึกว่าผู้หญิงเป็นที่ยอมรับยากในสังคม กว่าจะเป็นที่ยอมรับได้ก็ต้องใช้ระยะเวลาและการพิสูจน์เพื่อให้ทุกคนยอมรับว่าเราเป็นผู้หญิงก็จริง แต่มีสมองที่มีความคิดและมีกำลังกายที่เต็มเปี่ยม มีใจที่สู้ไม่ถอยเช่นกัน ไม่ต่างกับผู้ชายหลายๆอย่างมันทำให้เรารู้สึกว่าเราก็ทำได้นะ จนวันหนึ่งเพื่อนๆเรา(โอ,เอก,โจ้,ปั้นและเพื่อนๆ)พูดกับเราเช่นกัน หลายๆอย่างมันทำให้เรากล้ามากขึ้นกว่าเก่า และรู้สึกอยากจะทำ หรือพิสูจน์ให้เพื่อนๆ(เอก.โอ.ปั้น เพื่อนผู้ชายสมัยเรียน) เชื่อและยอมรับในความคิดหรือการตัดสินใจของเรา แต่ทั้งหมดก็ต้องใช้เวลาเช่นกัน กว่าที่จะมาถึงวันนี้ได้โดยผ่านการลงมือทำอย่างจริงจังและแน่วแน่ โดยเรามีความเชื่อมั่นในตัวเราว่าเราต้องทำให้ได้ เพราะเราทำด้วยใจรักจริงๆ
ครั้งแรกที่ออกกองคือตอนปี1 เริ่มในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการกอง เป็นโครงการภาพยนตร์ต้นแบบ2 ซึ่งจะมีทุกปี โครงการนี้จะมีการแข่งขันกันด้วยการที่ส่งบท แล้วอาจารย์จะเลือกมาบทเดียวพร้อมกับให้กำกับ ตอนนั้นภาพยนตร์เรื่องกระบือลือลั่นได้ และคนที่กำกับก็คือพี่กังฟู(ผู้กำกับ “กะปิ” หนังอีกเรื่องของสหมงคลฟิล์มที่เปิดโอกาสให้ผู้กำกับหน้าใหม่ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์อีกโปรเจ็คต์หนึ่งโดยตัวบทได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 15 เรื่องสุดท้ายในโครงการไทยแลนด์สคริปต์โปรเจ็คต์โดยนนทรีย์ นิมิบุตร,เป็นเอก รัตนเรือง) ไปถ่ายทำที่ต่างจังหวัด มีเราและโอ เอก โจ้ ปั่นและเพื่อนอีกไม่กี่คนที่ไป ด้วยความที่เป็นปีหนึ่งก็ได้รุ่นพี่สอนงานและให้ความรู้มากมาย เราก็ทำหมดทุกอย่าง จำได้ตอนนั้น เราต้องเซฟเงินที่จะไม่ซื้อข้าวกล่องและมาทำกับข้าวกันเอง แต่ไม่มีใครทำเป็นเลย เราเลยเสนอตัวเองทำกับข้าวและให้ทุกคนช่วยเราหั่นนู้น ทุบนี้ อันนี้ต้องยกความดีให้แม่เราที่พาเราเข้าครัวและจ่ายตลาดเสมอ ตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา ทุกคนเริ่มรู้จักเรามากขึ้น จนกระทั่งปี2 ครั้งแรกที่ได้นั่งตำแหน่งโปรดิวเซอร์ ตอนนั้นอาจารย์เรียกเราเข้าไปพบและพูดคุยว่าอยากให้เราไปเป็นโปรดิวเซอร์ ซึ่งเป็นหนังของรุ่นพี่ ซึ่งเป็นเพื่อนพี่กังฟู ด้วยความที่เป็นครั้งแรกของเราๆตื่นเต้นกลัวทำไม่ได้ แต่ด้วยความบ้าและใจสู้ เราจึงตอบตกลงและเตรียมงาน หาเอกสารทุกอย่าง โทรปรึกษารุ่นพี่ตลอดและหาเตรียมทุกอย่างโดยยกกองไปถ่ายที่สุพรรณบุรี ทุกอย่างผ่านไปด้วยดีจนถ่ายทำเสร็จ เรารู้สึกดีกับตัวเองมากตอนนั้น มันทำให้เรามั่นใจในตัวเองมากขึ้นจำได้แม่นไม่ลืมกับงานๆหนึ่งในปีเดียวกัน(ปี2003/2546) พวกเราได้รับมอบหมายให้จัดงานเพื่อออกบู๊ตโชว์สาขาภาพยนตร์ ที่หน้าโรงหนังลิโด้ เราก็เป็นพิธีกรของงานทุกวัน จำได้ว่ามีหนังหลายเรื่องมาโปรโมทมากมายตลอดทั้งเส้นถนนหน้าโรงหนังลิโด้ มีทั้งเรื่องความรักครั้งสุดท้าย กุมภาพันธ์ จังหวัดที่77 หลายเรื่องมาก พอช่วงพักแบกเราก็ไปเดินเก็บแฮนด์บิลและของที่ระลึกที่แจกฟรี เราได้พบเจอและพูดคุยกับผู้กำกับหลายท่านมาก และหลายท่านที่เข้ามาแวะชมบู๊ตเรา จำได้พี่อังเคิลเข้ามาในบู๊ตเราและถามเรามากมาย และด้วยความที่เราเคยดูงานและชื่นชมงานของพี่เขา เราก็เลยถามไปว่า "เมื่อไหร่ พี่จะมีผลงานให้หนูและพวกเราได้ชมอีกค่ะ หนูดูหนังเกือบทุกเรื่องของพี่เลยค่ะ" พี่อังเคิลมองหน้าเราด้วยรอยยิ้มและพี่เขาก็พูดขึ้นว่า"ดูทันด้วยหรือ" เราก็"ค่ะ" พี่เขาก็พูดต่ออีกว่า"เดี่ยวนี้มีผู้กำกับและเด็กรุ่นใหม่เกิดขึ้นมากมาย ยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้ว" เราก็เลยบอกพี่เขากลับไปว่า"ไม่หรอกค่ะ หนูว่ามีหลายคนที่อยากดูหนังของพี่อีก หนูยังอยากดูหนังของพี่อีกเลย" แล้วพี่เขาก็ยิ้มเดินออกไป เราก็ยิ้มเช่นกันในรายวิชาภาพยนตร์กำกับภาพยนตร์ ซึ่งอาจารย์จะให้ประโยคมาประโยคหนึ่งที่ยาวมากๆ และตีความหมายคิดเอาเอง ซึ่งเราต้องเขียนบทและกำกับเอง ตอนนี้แหละที่เป็นจุดประกายแรกที่ทำให้เรารู้สึก เราคิด เขียนบทและกำกับภาพยนตร์เองเรื่อง"Time" ซึ่งตอนนั้นได้เอกมาช่วยเป็นตากล้องและโอ๊ตมาเล่นเป็นนักแสดงคู่กับเพื่อนผู้หญิงเรา เราตัดเองทำเองทุกอย่าง และเอาไปฉายโชว์ในห้องแดง(ห้องเรียนที่เหมือนโรงหนังขนาดเล็ก) เราได้คำชมจากอาจารย์และเพื่อนๆ จนอาจารย์เรียกเราไปคุยต่อในห้องพักของท่านแบบนอกรอบ เป็นความรู้สึกที่ผลักดันเรา แต่พอมีงานกลุ่ม เราต้องทำงานกลุ่มกัน ในตอนนั้น จะมีกลุ่มโอ กลุ่มเอก กลุ่มโจ้(เวลาทำงานส่งอาจารย์) ส่วนเราอยู่กลุ่มเอก อาจจะเพราะว่าเราทำงานกับเอกเยอะจนความคิดหรืออะไรหลายมันเข้ามือ และเอกมักจะสอนบอกเราเสมอ อาจจะเพราะตอนนั้นเราเป็นเหรัญญิก เอกเป็นประธาน โจ้เป็นรองประธาน แต่เมื่องานใครถ่ายก่อนหรือถ่ายหลังเราก็จะไปช่วยงานเพื่อนอีกกลุ่มเสมอ คือเราจะช่วยกันตลอด พูดคุยกันตลอด พอมีงานกลุ่ม เรารู้สึกว่าเอกเหมาะที่จะเป็นผู้กำกับมากกว่าเรา อาจจะเพราะว่าเอกมีประสบการณ์มากกว่า อายุมากกว่า และเราก็ยังไม่พร้อมด้วย แต่พวกเราก็จะช่วยกันดูตลอดเหมือนทุกคนเป็นผู้กำกับเหมือนกัน เพราะมันเป็นงานของทุกคน เราจะต่างคนต่างเขียนบทและเอามาอ่านกันว่าเรื่องไหนน่าสนใจก็จะเอาไปให้อาจารย์ดู แล้วเอากลับมาปรับเปลี่ยนแก้ไข พวกเราเคยทะเลาะกันรุนแรง แต่ไม่เคยโกธรจนไม่พูดใส่กัน หริอหักดิบกัน พวกเราจะพูดตรงๆเปิดอกกันมาตลอด เพราะเราจะได้เข้าใจกันมากขึ้น ปี2004/2547 ปี3 เราก็ได้ทำหนังสั้นเรื่องแรกที่ถ่ายฟิล์มชื่อว่า “กระเป๋าสตางค์” ซึ่งเป็นภาพยนตร์เงียบและงานกลุ่ม ต่อมาเราได้โดนวางตัวให้เป็นผู้ช่วยโปรดิวเซอร์รุ่นพี่ในโครงการภาพยนตร์ต้นแบบ3เรื่อง"ใกล้จบ" ไม่ใช่แค่เอมแต่มีทั้งเอก โอ ปั่น โจ้และเพื่อนๆอีกบ้างคน เราต้องทำจดหมายขอสปอนเซอร์และโทรพูดคุยมากมาย ทำงบประมาณกับรุ่นพี่ตลอด จนกระทั่งวันหนึ่งพี่โปรดิวเซอร์ออก เพราะธุระภารกิจบางอย่างทำให้ไม่สามารถทำต่อได้อาจารย์และผู้กำกับจึงให้เราเป็นโปรดิวเซอร์แทน เป็นครั้งแรกที่เป็นโปรดิวเซอร์ที่ต้องดูแลทั้งกองซึ่งมีทั้งรุ่นพี่รุ่นน้องร่วมทั้งเพื่อนเรา ตอนนั้นเราค่อนข้างประหม่าตัวเองมาก แต่สุดท้ายเราก็ทำจนจบและทุกอย่างออกมาเรียบร้อย หนังสั้นเรื่องนี้ได้รับรางวัลสุพรรณหงษ์ครั้งที่14 และรางวัลช้างเผือกชมเชย จากมูลนิธิหนังไทย เทศกาลภาพยนตร์ครั้งที่8ในเวลาเดียวกัน หลังจากที่ถ่ายทำภาพยนตร์สั้นเรื่อง"ใกล้จบ"เสร็จ ก็ได้มีกิจกรรมหนังนักเรียน 7 สถาบัน ซึ่งมีเราและโอกับเพื่อนอีก2-3คนเป็นตัวแทนมหาลัย เราได้เป็นคณะกรรมการฝ่ายจัดหาผู้สนับสนุนกิจกรรม วันที่จัดงานนี้ที่โรงหนังHouse RCAเป็นวันเดียวกับที่มีงานสุพรรณหงษ์ครั้งที่14 เราอยู่ที่งานจนเปิดและขอตัวเพื่อไปขึ้นรับรางวัลที่งานสุพรรณหงษ์ เป็นครั้งแรกที่เราได้มางานสุพรรณหงษ์ด้วย แต่เราไปถึงแต่ไม่ทันขึ้นเวที พอเราวิ่งเข้าไป เราเห็นพี่ผู้กำกับ(พี่โก้) เอกและโอ อยู่บนเวทีขึ้นไปรับรางวัลแล้ว เราเสียดายน่ะแต่เราภูมิใจและดีใจมากกว่า เรารู้สึกว่าแม้เราไม่ได้ขึ้นไป แต่เราก็วิ่งเข้ามารับรางวัลพร้อมกันหนังที่เรามีส่วนร่วมได้มาถึงจุดนี้ มันเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งและเป็นพลังที่เพิ่มให้เราที่อยากจะทำและสู้ต่อไป
ปี2005/2548 ปี4ในเทอมแรก ตอนนั้นมีโครงการประกวดของ สสส. เกี่ยวกับภาพยนตร์รณรงค์กับ สสส. เราและเพื่อนสนใจกัน ก็เลยเขียนบทส่ง ซึ่งถ้าใครชนะก็จะได้ทำเป็นภาพยนตร์สั้น เพื่อเอาไปฉายรณรงค์ เราได้รางวัลรองชนะเลิศจากบทภาพยนตร์สั้นเรื่อง"เลียนแบบ" ส่วนบทที่ชนะเลิศจนได้ผลิตเป็นภาพยนตร์สั้นเป็นของปั้น(ตากล้องปรารถนา)
หลังจากนั้นเราก็มาฝึกงานเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ3 ภาพยนตร์เรื่องอาจารย์ใหญ่ หรือ ศพ ของพี่ดุลยสิทธิ์(ผู้กำกับ) ที่บริษัทกานจาบ เราฝึกงานจนครบก็กลับมาทำตำแหน่งโปรดิวเซอร์และบันทึกเสียง ในรายวิชาผลิตภาพยนตร์2 ซึ่งเป็นงานกลุ่ม ในภาพยนตร์เรื่อง"บุรุษไปรษณีย์" ได้เข้ารอบ1ใน5เรื่อง สาขารางวัลถ่ายภาพ Competition Kodak จากมูลนิธิหนังไทย เทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 11 และตำแหน่งโปรดิวเซอร์ ในโครงการภาพยนตร์ต้นแบบ 4 เรื่อง"มัจฉาลำพัง"ในช่วงเทอมแรกนี้เราได้เป็น ผู้ดำเนินงานของสาขาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ กิจกรรมOPEN HOUSE มหาวิทยาลัยรังสิตกับโจ้(ผู้กำกับ คู่รักบนดาวโลก) เราตั้งเป้าจนเรียนจบ3ปีครึ่ง เพราะเราอยากอยากหาตัวเองให้เจอว่าชอบอะไรกันแน่ เพราะตอนนั้นก็ชอบหลายอย่างและอยากลองอะไรหลายอย่าง ว่าจริงๆแล้วมันใช่และเหมาะกับตัวเองหรือเปล่า เราคิดว่าครึ่งเทอมนี้เราจะทำงานและหาตัวเองให้เต็มที่ก่อนที่จะมีคู่แข่งหรือตัวเปรียบเทียบที่จบมาใหม่
ครึ่งเทอมหลังเราได้มีโอกาสไปทำรายการอร่อยช่อง5 ทำให้เรารู้ว่าความสนใจของเราคือการออกกองอยากคิดอยากเขียนและทำหลายๆอย่างด้วยความคิดตัวเองมากกว่าที่จะนั่งโต๊ะ เลยตัดสินใจลาออก และเป็นจังหวะที่เราต้องกลับมาทำThesis โดยกลับมาทำตำแหน่งโปรดิวเซอร์และบันทึกเสียง ภาพยนตร์สั้นปริญญานิพนธ์(Thesis) "ความ(น่า)เชื่อ" ซึ่งคว้ารางวัลช้างเผือกชมเชย และได้เข้ารอบ1ใน5เรื่อง ของมูลนิธิหนังไทย สาขารางวัลถ่ายภาพCompetition Kodak จากมูลนิธิหนังไทย เทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 11 ปี2007/2550 และ Finalist Kodak Competition FilmSchool (ฉายโชว์ ) หนังสั้นเรื่องนี้ยังเข้ารอบ 6 เรื่องของ YoungThai Artist Award 2007ซึ่งงานThesis เราถ่ายด้วยฟิล์ม35 ส่วนใหญ่งานกลุ่มเหล่านี้พวกเราต้องออกเงินกันเองและหาสปอนเซอร์ ผู้สนับสนุนกันเอง ซึ่งตั้งแต่งานแรกจนงานจบ เราก็จะเป็นคนหาและติดต่อผู้สนับสนุนและแบ่งให้เพื่อนกลุ่มอื่นบ้าง งานปริญญานิพนธ์อันเป็นที่สุดแห่งความตั้งใจ ภาพยนตร์สั้นเรื่อง“ความ(น่า)เชื่อ”เป็นหนังขาวดำ เป็นหนังที่มีนัยยะทางการเมือง ถ่ายทอดผ่านหมู่บ้านในชนบท พอเสร็จThesis เราก็ได้งานใหม่เป็นฝ่ายติดต่อประสานงานให้กับกองถ่ายภาพยนตร์ที่มาจากต่างประเทศ ที่เข้ามาถ่ายทำในประเทศไทยบ้านเรา ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ให้กับบริษัท Indo Bangkok CO.,LTD, และบริษัท สตาร์ฮัท (Casting) โดยรับผิดชอบในตำแหน่งผู้ช่วยคัดเลือกนักแสดงโฆษณา ในช่วงนั้นเรารับงานอยู่แค่2บริษัทนี้ เพราะแค่ออกกองหนังต่างประเทศก็ใช้ระยะเวลายาวแล้ว ไปอยู่กิน เดินทางด้วยตลอด เรากลับมารับปริญญาอย่างตัวดำไม่สวยเหมือนคนอื่นเขา หลังรับปริญญา เราก็มีเวลากับครอบครัวไม่มากนัก ก็เริ่มกลับไปทำแคสติ้งและรับjobอินเดียบ้างเล็กน้อยมีช่วงหนึ่งที่เราว่างงาน เพราะไม่มีออกกองและงานเข้า มีพี่โปรดิวซ์ฯโทรมาชวนไปทำSmile TV ของMTV Thailand แต่เป็นช่องเคเบิล เราตกลงเพราะเราอยากลองอยากรู้และก็ไม่อยากว่างงาน เราคิดว่าโทรทัศน์กับภาพยนตร์ก็คล้ายๆกัน มันสามารถเอามาปรับเปลี่ยนและเรียนรู้จากพี่ๆเขาก็ได้ ทำในตำแหน่งผู้ช่วยโปรดิวซ์ก่อน อาจจะเพราะเราไม่ได้จบโทรทัศน์มาโดยตรง ถนัดแต่เขียนบท พอมอบหมายงานให้เขียนสคริปต์รายการ ก็โดนว่าประจำว่า"ไม่ใช้หนังน่ะ" เมื่อออกนอกสถานที่เราก็ลุยกว่า คล่องมากซะจนโดนออกนอกสถานที่บ่อยๆ ให้ไปถ่ายรายการ เมื่อกลับมาก็ควบคุมการตัดต่อหรือตัดต่อเองบ้างแล้วค่อยเอาออกอากาศ หลายๆคำพูดที่มักจะได้ยินเสมอคือ"นี้มันโทรทัศน์ ไม่ใช่หนัง" เราทำทุกอย่างอย่างเต็มที่ จนประสบการณ์สอนให้รู้แข็งแกร่งจังหวะนั้นประมาณปี2007 พี่มีนรุ่นพี่ที่เคยร่วมงานตอนสมัยเรียนมหาลัยโทรมาถามและชวนว่า สนใจทำหนังมั้ย ช่วงนี้ว่างอยู่หรือเปล่า เราก็บอกเขาไปตรงๆว่า เราทำตรงนี้อยู่ จนเราตัดสินใจลาออกจากSmile TV และมาเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ2 ภาพยนตร์ลองของ2 เราเป็นคนขอออกมา เพราะเราอยากทำหนังมากกว่า เราอยากทำในสิ่งที่เราเรียนมาและเรารัก หลายๆอย่างทำให้เราตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นคำพูด สังคมและความต้องการที่สุดของเรา ไม่ว่าจะทำอะไร เราถามตัวเองก่อนและจะถามเพื่อนๆเพื่อขอข้อคิดเห็นหลังจากเสร็จจากลองของ2 เราก็ได้ถูกชักชวนจากพี่มินท์ เป็นรุ่นพี่ที่เคยร่วมงานตอนสมัยมหาลัยให้มาทำโฆษณา เราตัดสินใจมาทำโฆษณาที่บริษัทFast Time ผลิตภาพยนตร์โฆษณาเมืองนอก ในตำแแหน่ง Assistance Manager เราอยากลองและไม่อยากว่างงาน ไม่อยากเสียโอกาส แต่หลายๆอย่างก็ทำให้เรารู้สึก จนตัดสินใจที่จะกลับมาทำหนังอีกครั้งจากคำชวนของพี่แหม่มซึ่งเป็นรุ่นพี่เช่นกัน ปี2008 เราออกจากโฆษณามาทำหนังแต่ในตำแหน่งติดต่อประสานงานให้พี่ป๊อบและทีมงานเขียนบท Project: Behind The Scene ของบริษัท บาแรมยู จนกระทั่งProjectก็ได้มาพักไว้ก่อน เราว่างงาน เราเริ่มท้อและเอาโอกาสตรงนี้กลับบ้าน มีเวลาให้พ่อแม่และพักผ่อน จนระยะเวลาหนึ่งเรารู้สึกหงุดหงิดที่อยู่เฉย มันทำให้เรารู้สึกช้า เราก็เลยโทรคุยกับเอกโอ โจ้ ปั้นและตัดสินใจขึ้นมาจากภูเก็ต นัดเจอกลุ่มเพื่อน ด้วยความที่เราคุยกันทำให้เราอยากจะทำและสู้อีกครั้ง
ช่วงปี2009-2010 เรากับเพื่อนๆ เอก โอ โจ้ ปั้นเรานัดมาคุยกันและชวนอีก2คนคือต้นและโอ๊คมา แล้วพวกเราก็ได้รวมตัวกัน จนเกิดเป็นProject ขึ้นมา พวกเราเตรียมงาน รวบรวมทุกอย่างเข้าไปปรึกษาพี่ปรัชๆสนใจเอาเข้าไปเสนอเสี่ยเจี่ยง จนทางพี่ๆและผู้ใหญ่ให้โอกาสได้ก่อเกิดมาเป็นโปรเจ็คต์นํ้าตาลแดงที่ยังคงเดินต่อมาทีละก้าว ทีละขั้น จนทุกวันนี้ตลอดระยะเวลาที่เราเริ่มทำงานหรือใช้ชีวิตมา เราจะลุยตลอดแม้จะลุยคนเดียว เราไม่กลัว แม้จะมีหวาดๆบ้าง เพราะเราไม่อยากพลาสโอกาสดีๆ เราคิดเสมอว่าจังหวะและโอกาสมันไม่มาหาใครทุกคน ถ้าเราไม่คว้าและทำ แล้วเราจะไปถึงฝันเมื่อไหร่ เราต้องเรียนรู้จากโอกาสให้มากๆเพื่อประสบการณ์และหาตัวเองให้เจอ เราบอกกับตัวเองตลอดว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมันอยู่ที่ตัวเราและใจของเราๆตั้งใจอยากทำอะไรก็ทำ ดีกว่ารอ แล้วเมื่อไหร่จะได้ทำ เวลารู้สึกไม่ดีหรือรู้สึกดียังไงก็จะชอบระบายด้วยการวาดรูปใส่สมุดเล่มเล็กๆ หรือเขียนบรรยายในภาษาของตัวเอง ที่คนอื่นอาจจะต้องตีความหน่อย เวลาว่างๆก็เดินดูหนังสือแล้วซื้อมาอ่าน ส่วนใหญ่ก็เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับหนัง, ดูหนังและซื้อหนัง, สะสมใบปิดหนังและแฮนด์บิลหนังจนตอนนี้มี3รังแล้ว,สะสมTrailersหนังทั้งไทยและเทศ ฯลฯ เวลากับประสบการณ์สอนและทำให้รู้สึกว่า เราอยากเป็นผู้กำกับที่เขียนบทเอง จะได้ถ่ายทอดความเป็นตัวเอง หรือในมุมมองที่ไม่มีใครรู้สึกให้รู้สึกและรับรู้ในหนังที่เราทำ อย่างในโปรเจ็คต์น้ำตาลแดง ในส่วนที่เรารับผิดชอบ มีชื่อเรื่องว่าปรารถนา เราใส่ความรู้สึกของตัวเองเข้าไปเช่นกันว่าผู้หญิงไม่ได้หมายถึงเรื่องSexเสมอไป สรีระของผู้หญิงมีความลับ มีส่วนเว้า ส่วนโค้งที่น่าหลงใหลและมีความลับมากมาย เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชายๆจะเป็นเหมือนเส้นตรง ส่วนใหญ่ดูที่หน้ามากกว่า แต่ผู้หญิงต่อให้หน้าตาไม่ดีมากแต่หุ่นดีใครๆก็มอง แม้แต่ผู้หญิงด้วยกัน เอาง่ายๆ แค่รูปปั้นผู้หญิงเปลือยหรือภาพวาดผู้หญิง ไม่ว่าหญิงหรือชายก็ยังจ้องมองเลย เราแค่อยากบอกในหนังว่า ผู้หญิงมีค่ามากกว่าSexหรือแค่ผ่อนคลายทางอารมณ์เท่านั้น ผู้หญิงไม่จำเป็นต้องเปลือยก็มีเสน่ห์ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ผู้หญิงก็เปรียบเสมือนงานศิลป์ชิ้นหนึ่งที่ดูแล้วน่าหลงใหลและอยากดูนานๆหนังส่วนใหญ่มักจะเอาผู้หญิงมาโป๊เปลือยด้วยอารมณ์ทางกามมากกว่า มักจะนำเสนอในแบบSexมากกว่า แต่เราอยากนำเสนอในความงามของผู้หญิงและความรู้สึกที่เราอยากบอกทุกคนน่ะว่าผู้หญิงไม่ใช้เครื่องหมายทางเพศ คนทุกคนมีค่าในตัวเองเสมอ ถ้าคุณไม่ตัดสินเขาแค่เพียงภายนอก แต่เปิดเพื่อใช้ใจสัมผัสอย่างแท้จริง
Q.ทราบมาว่ามีกลุ่มภาพยนตร์ของตัวเองด้วย ลองให้คำจำกัดความและรายละเอียดในความเป็นกลุ่ม Going Berserkers Group ว่ามีแนวคิดแนวทางอย่างไร
กิตติยาภรณ์ : โกอิ้งเบอร์เซิร์กในความหมายที่เอก(ผู้กำกับหลุมพราง)นำเสนอและเล่าให้ฟังก็คือ กลุ่มคนชาวไวกิ้งยุคโบราณที่มีความมุ่งมั่นในการรบมากและพร้อมตลอดไม่ว่าจะเป็นเวลาไหน ที่ไหน อย่างไร ไม่จำเป็นต้องแต่งตัวใส่ชุดอะไร แค่ถือดาบเล่มเดียวก็ออกรบได้เลย คือลุยด้วยใจอย่างเดียว เรากับพวกเพื่อนๆฟังดูแล้วมันน่าสนใจ มันบอกความเป็นพวกเราที่เป็นคนรุ่นใหม่ได้ ในความคิดเราๆรู้สึกว่ามันเหมือนเรามาทำโปรเจ็คต์นี้ด้วยใจจริงๆ ทำอย่างที่ทุกคนอยากจะทำภายใต้ตัวโจทย์คือหนังอีโรติก เพราะถือว่ามันเป็นหนังใหญ่และหนังโรงเรื่องแรกของพวกเราและมันเป็นโอกาส ก็เลยลองลุยกันดู เพราะมันก็น่าสนุก น่าท้าทายดี อีกอย่างมันเป็นความสดด้วย เพราะในแวดวงสังคมไทยหนังอีโรติกมันห่างหายไปนาน คือจริงๆแล้วไม่ใช่ว่ามันไม่เคยมี แต่มันหายไปมากกว่า ก็คิดว่าตรงนี้ที่มันน่าสนใจ และเป็นความน่าสนใจในตัวของมันเองอีกด้วย รวมทั้งความสดที่พวกเราเป็นหน้าใหม่สำหรับหนังใหญ่หรือหนังสตูดิโอ ความสดของเรื่องที่นำเสนอในความเป็นอีโรติก เราคิดเสมอว่ามันเป็นหนังที่มีแง่คิดและให้มุมมองใหม่ๆ สิ่งที่เราถ่ายทอด เราใส่ความเป็นศิลปะเข้าไปอยู่ในงานด้วย ไม่ว่าจะเป็นภาพที่เราต้องการนำเสนอที่นอกจากสวยแต่แฝงนัยยะ คือเราคิดว่าน่าจะมีความแตกต่างบนฐานเดิมที่มีอยู่ในแวดวงภาพยนตร์
Q.อยากให้เล่าถึงความเป็นมาของโปรเจ็คต์ “น้ำตาลแดง” เป็นไงมาไงถึงได้มีโอกาสได้เข้ามาทำในโปรเจ็คต์นี้กัน
กิตติยาภรณ์ : ด้วยความที่เราเรียนที่เดียวกันและทำงานด้วยกันมาตลอด เราก็มักจะได้พบเจอและพุดคุยกันตลอดเช่นกัน จนกระทั่งวันหนึ่งเราคุยกันว่าอยากที่จะทำหนังด้วยกัน เลยเริ่มต้นคิดเป็นโปรเจ็คต์ขึ้นมาซึ่งในขณะนั้นตัวเราเองกำลังสนใจเกี่ยวกับพิงค์ฟิล์ม และตัวเราเองเป็นคนโยนไอเดียว่าทำหนัง"อีโรติก"กัน เพราะเราอยากนำเสนอแง่มุมของผู้หญิงที่ไม่ใช้Sexบวกกับที่โจ้(ผกก.คู่รักบนดาวโลก)พูดขึ้นมาว่า"หนังไทยส่วนใหญ่ที่เราดูกันเมื่อถึงฉากเข้าได้ เข้าเข็มที่ไร ก็ตัดไปภาพอื่นทันที" มันทำให้เรานึกถึงภาพยนตร์เรื่อง"น้องเมีย" และย้อนคิดกลับไปถึงภาพยนตร์ไทยในอดีตอีกหลายๆเรื่อง ที่ล้วนต่างเคยถูกนำเสนอมาตั้งแต่เรายังไม่เกิดด้วยซ้ำ นักแสดงที่เล่นจริง โป๊จริง จูบจริงๆ แต่ปัจจุบันมันได้หายไป เมื่อเอาทุกคำพูดที่พวกเราพูดคุยกันและเราคิดตามจนกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ว่าเมื่อเราโยนคำว่า"อีโรติก"เข้าไปในวงสนทนา ทุกคนรู้สึกสนใจ แต่สิ่งที่ทุกคนต้องคิดต่อก็คือว่าแล้วจะนำเสนอยังไง ถ่ายทอดยังไงให้เป็นอีโรติกที่มีเรื่องราวอย่างมีชั้นเชิงไม่ยังงั้นมันอาจจะทำให้คนดูรู้สึกว่ามันเหมือนเป็นหนังAVหรือหนังโป๊ เพราะด้วยความเข้าใจของคนกลุ่มใหญ่มักจะเข้าใจว่าอีโรติกคือหนังโป๊เพราะมันมีฉากโป๊เปลือย และเราตั้งโจทย์ไว้ว่านักแสดงต้องเล่นเองโดยไม่ใช่Stand In เพื่อความสมจริงและทำออกมาต้องได้ฉายจริงๆเช่นกัน เพราะด้วยช่วงนั้นการจัดเรทติ้งยังไม่เสร็จสมบูรณ์ จึงทำให้เราลังเล แต่ตัดสินใจที่จะลุยทำกัน พวกเรากลับไปคิดกันอย่างเต็มที่ โดยยึดหลักความเป็นจริงในสังคม พวกเราไม่ใช่คนกลุ่มแรกที่บุกเบิกหนังอีโรติก แต่พวกเราอยากนำเสนอสิ่งที่เคยมีแต่มันหายไป บางกลุ่มบางคนมองว่ามันน่าเกลียดที่จะสื่อสารเรื่องเหล่านี้ ทั้งที่เราสามารถเลือกที่จะนำเสนอได้ว่าจะให้ออกมาอีโรติกแบบไหน บวกกับในจังหวะนั้นพี่ปรัช(คุณปรัชญา ปิ่นแก้ว)กำลังต่อสู้เรื่องพรบ.อยู่ด้วย มันเลยยิ่งทำให้พวกเรารู้สึกอยากจะทำเพราะมันท้าทาย เมื่อเรทติ้งกำลังต่อสู้อยู่และอาจจะผ่านแล้ว(ในตอนนั้น)มันก็เป็นโอกาสที่ดีที่พวกเราจะทำอะไรที่มันสามารถเทียบเท่าต่างชาติได้บ้าง ด้วยความรู้สึกที่อยากถ่ายทอดภาษาภาพยนตร์ที่เรามี และความชื่นชอบและความรักในการทำภาพยนตร์ ทำให้พวกเราทุกคนกลับไปคิดเนื้อเรื่องกันมาอย่างเต็มที่แล้วนัดมาคุยกันที่บ้านโอ(ผกก.รักต้องลุ้น)อีกครั้ง เพื่อมาcommentบทของแต่ละคน แล้วนำกลับไปแก้ไขให้ดีที่สุด เมื่อสรุปว่าบทของพวกเราทุกคนพร้อมแล้ว พวกเราก็เอาบทและประวัติพร้อมกับหนังสั้นของทุกคนที่คิดว่าดีที่สุดเข้าไปปรึกษาพี่ปรัช โดยที่พวกเราเล่าเรื่องของตัวเองแบบสั้นๆ เมื่อเล่ากันจบ...พี่ปรัชสนใจจึงเอาโปรเจ็คต์ไปเสนอเสี่ยเจี่ยง จนได้ทำกันและได้พี่อ็อดบัณฑิตเข้ามาเป็นที่ปรึกษาในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาพที่จะนำเสนอหรือเนื้อหา โดยพี่ปรัชและพี่อ็อดไม่เข้ามายุ่งกับบท มีแต่จะให้คำปรึกษาและแนะนำ โดยเฉพาะฉากที่หวือหวาที่เราจะนำเสนอ ว่ามันโอเคมั้ย มันได้หรือเปล่า เพราะเราไม่อยากนำเสนอออกมาแล้วต้องโดนตัดทิ้งหรือไม่ได้ฉาย เราค่อนข้างระมัดระวังในการนำเสนอ ซึ่งก็ให้พวกเราได้ทำกันอย่างเต็มที่ในเรื่องความคิด หลังจากนั้นก็เป็นไปตามกระบวนการและขั้นตอนของการถ่ายทำจนกระทั่งเสร็จสิ้นจนถึงวันนี้
Q.แล้วทำไมต้อง “น้ำตาลแดง” สิ่งที่โปรเจ็คต์น้ำตาลแดงต้องการนำเสนอคืออะไร
กิตติยาภรณ์ : เราก็มีการพูดคุยกันอีก ต่างคนต่างเสนอชื่อกันมากมาย จนโจ้(ผู้กำกับคู่รักบนดาวโลก)เสนอชื่อนี้มาแล้วพวกเราก็ตีความหมายกันและรู้สึกน่าสนใจ ความหมายน้ำตาลแดงก็เหมือนน้ำตาลที่ยังไม่ผ่านการกลั่นหรือแปลงไปเป็นน้ำตาลทรายขาว เป็นน้ำตาลที่สดใหม่และเข้มข้น แต่พอเอามาตีความอีกความหมายหนึ่ง ก็คือ น้ำตาลที่แปลว่าหวาน บวกกับแดงที่แปลว่าความเร่าร้อน,กิเลส,ตัณหา,สงครามและความรัก เมื่อบวกกันจึงเป็นความรู้สึกที่เข้มข้นเราจะพูดถึงความรัก ความรู้สึกของคนและSex ตัณหา ราคะ ความใคร่และขอบเขตศีลธรรมในตัวเองที่มันมีในทุกคนและมีจริง เราบอกเล่าความเป็นธรรมชาติของคน อีกทั้งความเป็นน้ำตาลแดงยังมีความสดในตัวของมันเองที่ไม่ได้ผ่านการปรุงแต่งอะไรมาก มันโยงถึงกันหมด เพราะโปรเจ็คต์น้ำตาลแดงก็คือการทำหนัง6 เรื่องโดยมีจุดเชื่อมกันคือความเป็นอีโรติก โดยผ่านมุมมองของพวกเรา6คนที่มีความคิดหรือความรู้สึกที่ไม่เหมือนกัน
Q. แล้วทำไมต้องอีโรติก-อาร์ท
กิตติยาภรณ์ :อีโรติกมีในหนังทุกประเภท ไม่ว่าจะแขนงไหน ส่วนArtเรารู้สึกว่างานทุกอย่างเป็นอาร์ท เพราะทุกงาน ทุกอย่างมีความเป็นศิลปะอยู่ในตัวมันเอง เมื่อเอาอีโรติกกับอาร์ทมารวมกัน มันจะเป็นเสมือนงานศิลปะที่เล่าเรื่องผ่านเรือนร่าง อารมณ์ ความรู้สึกอย่างมีเนื้อเรื่องและแง่คิด เหมือนเรามองดูภาพวาดหรืองานศิลป์สักชิ้นแล้วเรารู้สึกกับมัน นี่แหละคือความเป็นอาร์ท ซึ่งความรู้สึกและการตีความอาจจะแตกต่างกันไป เพราะคำว่าอีโรติกมักจะถูกเข้าใจผิดเสมอว่าเป็นหนังโป๊ คนส่วนน้อยหรือคนบางกลุ่มเท่านั้นที่จะรู้ความหมายจริงๆ เราจึงเป็นอีโรติก-อาร์ท เพราะหนังของพวกเราไม่ใช่อีโรติกอย่างเดียวแต่มีศิลป์ผสมผสานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นภาพ,แสง,อารมณ์ของหนัง,เนื้อเรื่องและภาษาพูด
Q.อีโรติก-อาร์ทในมุมมองของแต่ละคนคงแตกต่างกัน สำหรับของเราเองมองว่าเป็นอย่างไร
กิตติยาภรณ์ : เรามองว่าอีโรติก คืออารมณ์ ความรู้สึกอาร์ท คือศิลปะและความเป็นตัวตน เมื่อเราเอามารวมกัน ก็เป็นงานที่พูดถึงความรู้สึก อารมณ์อย่างมีศิลปะ คำสองคำที่สัมพันธ์กันและไปด้วยกันได้ การใช้ภาษาภาพยนตร์ถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่องราว โดยมีหลักเหตุผลความเป็นจริงที่มีจริงในสังคมหรือที่เราพบเจอเห็นมา มีความเป็นศิลปะอย่างมีชั้นเชิงที่ดูดี ไม่น่าเกลียดมีความหมาย มีแง่คิดและข้อคิด ใช้ความรู้สึกสัมผัสอย่างจริงใจ
Q.ที่บอกว่าอีโรติก-อาร์ท,อาร์ทตรงไหน อีโรติกอย่างไร แล้วเราเองมีวิธีการจัดวางกระบวนการมอง คิดหรือถ่ายทอดออกมาเป็นภาพยนตร์ที่มีความสมดุลหรือลงตัวระหว่างอาร์ทกับอีโรติกอย่างไร
กิตติยาภรณ์ : พอใจและมีความสุขกับสิ่งที่ทำ ปรารถนา ที่ไม่ใช่ความใคร่ ในความรู้สึกของเราๆรู้สึกและคิดว่าความปรารถนาเป็นความรู้สึกที่อยู่ในขอบเขตจิตสำนึกและความคิด ส่วนความใคร่เป็นความต้องการทางอารมณ์มากซะจนไม่มีขอบเขตและไม่คิดด้วย สังคมที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา คนก็เปลี่ยนไปตามเช่นกัน ด้วยสภาวะแวดล้อมที่มีแต่แสงสีเสียงยั่วยุและกามารมณ์ซะส่วนใหญ่ ค่าของคนที่บางคนตีค่าความหมายไม่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่จะตีค่าไปทางกามารมณ์มากกว่า แต่จริงๆแล้วค่าของคนมีในทุกคนแต่มันอยู่ที่ว่าเราเปิดใจที่รู้จักเขาดีหรือยังก่อนตัดสินว่าเขาเป็นแบบนั้นแบบนี้ เพราะคนสมัยนี้มักมองคนแค่เพียงภายนอกและตัดสินคนแค่ที่เห็นโดยยังไม่รู้จักหรือพูดคุยกัน ความรักและอารมณ์มีในทุกคน และไม่ใช่เรื่องเล่นหรือของเล่นที่สนุก เมื่อคุณปรารถนาใครสักคน คุณต้องเริ่มที่จะรู้จักเขาก่อนอย่างเป็นขั้นตอนด้วยใจทะนุถนอม ถ้าไม่พร้อมก็อย่าไปทำร้ายเพราะเพียงแค่อารมณ์ความใคร่เท่านั้น ทุกคนมีอดีตที่ยังยึดติดอยู่ในใจและความทรงจำ เพราะเมื่อคุณได้รู้สึกอะไรมากๆกับมัน คุณก็นึกถึงและคิดถึงมันเสมอ ต่อให้ทำอะไรมากมายจนลืมไปแล้วก็ตาม มันก็จะเข้ามาให้เรานึกถึงและคิดถึงเสมอเช่นกัน ความทรงจำหรือประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตคนเรามักจะทำให้เราเข้มแข็งขึ้น และสร้างกำแพงขึ้นมาเช่นกัน กำแพงที่ทำลายยาก แม้ตัวเองก็ทำลายยากเช่นกัน แต่เมื่อใดที่มีใครสักคนเข้ามาค่อยๆทำลายกำแพงนั้นอย่างทะนุถนอม เขาหรือเธอก็จะเปิดใจเพื่อรู้จักอีกครั้ง
Q.คอนเซ็ปท์และไอเดียที่ต้องการนำเสนอใน “ปรารถนา”
กิตติยาภรณ์ : ไอเดียเกิดจากตัวเราเอง เรามองจากตัวเราก่อนและค่อยมองจากคนรอบข้างเราว่าเราสนใจอะไรและมีเรื่องราวอะไรในใจอยากบอกกล่าว ด้วยความที่เราชอบนวดและชอบTattoo บวกกับชอบไปเดิน ไปเที่ยวถนนข้าวสาร สิ่งเหล่านี้มันทำให้เราเห็นอะไรมากมาย และหลายแง่มุมมากกว่าแค่เราเป็นนักท่องเที่ยวไปเที่ยวหรือเมาเท่านั้นด้วยความที่เราเป็นคนชอบพูดคุย เพราะเรารู้สึกว่าการพูดคุยคือการแลกเปลี่ยนความคิด แง่คิด เราก็เลยค่อนข้างมีเพื่อนหรือคนรู้จักที่ทำงานอยู่ข้าวสาร ไม่ว่าจะอาชีพพนักงานเสิร์ฟร้านเหล้า เพื่อนที่เป็นคนผสมเหล้าให้ลูกค้า ซึ่งร้านอยู่บนฟุตบาท คนถือป้ายเรียกลูกค้าบนถนน คนขายข้าว ขายน้ำส้ม พนักงานนวด เพื่อนที่ทำงานอยู่ร้านสัก ตลอดจนกระเทยที่ขายบริการ..เราก็เคยคุย มันทำให้เราได้ความคิดและรู้อะไรมากมาย จนเราอยากถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่องราวในสไตล์ของตัวเราเองอยากบอกทุกคนว่าทุกคนมีค่าและมีความหมาย ไม่ว่าเขาจะอยู่ในสังคมยังไงหรือแบบไหน อย่าตัดสินคนแค่เพียงภายนอก เราเลือกนำเสนอข้าวสารเพราะมันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงจนคนทั่วโลกรู้จักไปพร้อมกับขายบริการ แต่เราอยากเสนอให้ทุกคนรู้ว่าคนทุกคนมีค่า ไม่ว่าอาชีพอะไร เราเลยหยิบเอาอาชีพนวดแผนไทยกับช่างสัก เพราะเป็นอาชีพที่ดังเช่นกัน และเราก็พบเห็นตั้งแต่เด็ก การนวดเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่ต้องถูกเนื้อต้องตัว โดยหมอนวดผู้หญิงที่เราไม่รู้จัก แต่บางคนก็มักจะฉวยโอกาสตรงนี้กับหมอนวดผู้หญิงเช่นกัน อย่างเช่นในภาพยนตร์เรื่องปรารถนาก็จะมีฉากที่ส้ม(รับบทโดยอุ้มลักขณา วัธนวงส์ศิริ ดารา,นักแสดง,นางแบบ ตำนานกระสือ, นัดกับนัด(TVช่อง9),ถ่ายปฏิทินลีโอปี2010) นวดให้อิฐ(รับบทโดยบลูม-วรินทร ญารุจนนทน์ นายแบบ, 1 ใน 10 ของหนุ่มmen’s health)จนเกิดความรู้สึกทางเพศ ประกอบกับด้วยลีลาการนวดที่เหมือนจะมีSEXกัน หรือแม้แต่ฉากที่อิฐสักให้ส้มก็เช่นกัน ทั้งบรรยากาศที่เป็นใจ แต่ด้วยความรับผิดชอบทำให้ทั้งคู่ต่างก็เคารพและปฏิบัติตามหน้าที่ต่อไป ถึงแม้ว่าทั้งคู่ต่างฝ่ายต่างมีความปรารถนาต่อกันก็ตาม แต่ด้วยความคิดที่ทั้งคู่พึงระลึกอยู่เสมอว่านี่คือเรื่องของหน้าที่ ไม่ใช่การยึดเอาอารมณ์มาเป็นหลัก มันเป็นอารมณ์ส่วนตัวของคนๆหนึ่งที่เป็นผู้หญิง คนทุกคนไม่ว่าชายหรือหญิงมีอารมณ์และความต้องการ แต่มันอยู่ที่ว่าจะระบายออกอย่างไร ส้มที่มีความรู้สึกดีต่ออิฐอยู่แล้วเมื่อมานวดให้อิฐก็ใส่อารมณ์เข้าไปอีกเวลานวด มือที่สัมผัสร่างกายเกือบทั้งตัว และเนื้อที่แทบจะแนบเนื้อเป็นคนเดียวกัน มันทำให้เกิดอารมณ์บางอย่างที่ทำให้ตัวละครตัวนี้ต้องเผยความรู้สึกออกมา
นอกจากเรื่องนวดแล้วในภาพยนตร์การสักก็มีรายละเอียดที่น่าสนใจ สาเหตุที่เราเลือกลายสักเป็นลายนกยูงเพราะนกยูงเป็นสัตว์ที่มีศักดิ์ศรี มันจะไม่ยอมลำแพนง่ายๆถ้ามันไม่เจอคู่ที่ถูกใจ ก็เลยเลือกสัญลักษณ์ตรงนี้มาสื่อความหมาย หรือทำไมต้องมีแมวในเรื่อง เพราะแมวเป็นสัตว์ที่เดาใจยาก ไม่อยู่กับที่แต่สุดท้ายมันก็จะกลับมาที่เดิม มันก็เหมือนคนสองคนที่เดาใจยาก แต่ยังไงก็ต้องเจอกันทุกวันเพราะทำงานที่เดียวกัน เอมจะเล่าเรื่องที่เป็นธรรมชาติ กิริยาท่าทางความรู้สึกจริงๆที่คนเราทุกคนเคยเป็นหรือรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นการไหว้ การกล่าวขอบคุณหรือสวัสดีที่พูดจนติดปาก หรือเวลาที่ขึ้นบันได ผู้หญิงทุกคนก็จะกลัวคนข้างล่างเห็นก็จะเอากระเป๋าหรือเอาอะไรมาปิดก้นไว้ หรือการยิ้มเพื่อทักทาย การไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะความเชื่อ ในเรื่องอิฐไม่เก็บเงินค่าสักกับส้ม เพราะเรารู้มาจากเพื่อนเราคนหนึ่งที่ทำร้านสักว่าเมื่อคนสักคนพอใจหรือถูกใจใครก็จะสักให้โดยไม่คิดเงิน เพราะการสักเป็นงานศิลปะ ที่มันอยู่ที่ความพอใจรูปที่เป็นลายเส้นจากปากกาดำ รูปผู้หญิงกับนกยูง รูปที่อยู่ในสมุดของส้ม เราเป็นคนวาดเอง มันเป็นรูปจากความรู้สึกของเราจริงๆ และเราเอามาสื่อในหนังกับตัวละครและเนื้อเรื่อง
Q.ปรารถนาเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร
กิตติยาภรณ์ : เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคน2คนที่รู้สึกดีต่อกัน แต่ไม่พูดกันไม่แสดงออกต่อกันแต่เมื่อวันหนึ่งต้องมาเจอกันโดยผ่านหน้าที่ของฝ่ายหญิง จึงทำให้ความรู้สึกที่มีต่อกันเพิ่มมากขึ้นและกล้าที่เดินเข้าไปหาอีกฝ่าย โดยมีป้าศรี(รับบทโดยวาสนา ชลากร นักแสดงอาวุโส แปดวันแปลกคน)ที่ยึดติดกับอดีตพูดให้แง่คิดกับสิ่งที่แกพลาดมาในอดีต เมื่อรู้สึกดีกับใครก็บอกให้เขารับรู้ซะ ก่อนที่จะสายไปเหมือนป้าที่ต้องเสียดายจนทุกวันนี้ อาจจะเพราะสังคมสมัยก่อนการที่ฝ่ายหญิงเดินเข้าไปหาก่อนเป็นสิ่งที่ไม่ดี แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไปแล้ว เราจะเสียโอกาสและมาเสียดายเหมือนป้าศรีหรือเปล่า มันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของคนคู่หนึ่งที่อาจจะพัฒนาไปเป็นแฟนหรือเพื่อนหรืออาจจะใช้ชีวิตคู่เป็นสามีภรรยากันก็ได้
Q.ระดับความหวือหวา อีโรติกของโปรเจ็คต์มีขอบเขต มากน้อยเพียงไร
กิตติยาภรณ์ : ตอนที่คิดเรื่อง เราใส่มันเต็มที่แล้วก็ปรึกษาพี่อ็อดตลอดว่าได้หรือไม่ จนออกมาเป็นภาพอย่างที่เราต้องการ ความหวือหวาของลีลาการนวดที่แนบเนื้อกัน มือที่สัมผัสไปทั่วร่างกายและแทบจะโดนส่วนนั้นของผู้ชาย เสื้อที่ส้มใส่ก็จะค่อยๆหลุดไปตามกำลังที่ลงแรงนวด จนผ่านเห็นร่องอกและเนินนมด้านข้างผ่านเสื้อที่ผูกด้วยเชือก ตัวละครส้มที่เกิดความรู้สึกบางอย่างจากแรงปรารถนาในส่วนลึก ก็เริ่มทำอะไรบางอย่างด้วยการเริ่มสัมผัสร่างกายตัวเอง เสื้อผ้าจะค่อยๆหลุดไปตามจังหวะและแรงบวกกับอารมณ์ที่ปลดปล่อยเต็มที่ของผู้หญิงคนหนึ่งทุกอย่างดูเป็นธรรมชาติและความเป็นตัวเองเหมือนผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่ง
Q.การทำหนังอีโรติกอาร์ทแบบนี้มีวิธีการสื่อสารหรือกำกับนักแสดงให้เข้าใจหรือกล้าถ่ายทอดหรือนำเสนอในสิ่งที่ตัวผกก.ต้องการมากน้อย แค่ไหน อย่างไร
กิตติยาภรณ์ : การสื่อสารค่อนข้างมีเช่นกัน เพราะเราต้องหาคำพูดที่ให้เกียรติเขามากๆและอธิบายให้เขาเข้าใจคอนเซ็ปท์ก่อนตอนแรก และเล่าเรื่องให้เขาฟังว่าตัวละครเป็นยังไง และมีความรู้สึกและเบื้องหลังยังไง เราจะบอกว่าเราอยากให้เล่นเองโดยไม่ใช้สแตนอิน เพราะเราอยากให้ดูสมจริง และซีนที่เล่นหรือภาพที่ออกมาไม่น่าเกลียดหรือไม่ได้ดูออกมาไม่ดีแน่นอน ก่อนถ่ายเราก็จะเอาภาพพวกREFERENCEให้เขาดูพร้อมอธิบาย ก็เตรียมคลิปที่ตัดออกมาจากหนังเรื่องหนึ่งให้อุ้ม(ลักขณา)ดู พร้อมกับอธิบายมุมกล้องว่าจะถ่ายแบบไหน เราตกลงกับอุ้มว่า จะให้อุ้มเล่นเอง บิวท์อารมณ์ตัวเองจนเสร็จเองแล้วเดินออกจากเฟรมไป แล้วเอมจะสั่งคัตซึ่งเราขอถ่าย3มุม แล้วก็ผ่านทั้ง3 มุมแบบไม่มีtake อุ้มเล่นยาวด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่เราบอกและอธิบายทุกอย่าง การทำแบบนี้เพราะเราต้องสร้างความเชื่อใจและเชื่อมั่นกับนักแสดง ไม่ใช้แค่นักแสดงที่เราพูดคุย เราจะเตรียมและหาREF.ทุกอย่างที่เราต้องการมาพูดคุยกับทีมงานไม่ว่าจะเสื้อผ้า,แต่งหน้า,ฉาก,ไฟหรือโทนแสงและภาพและก่อนถ่ายเราก็จะพูดและให้ดูอีกครั้งก่อนถ่ายทุกครั้ง เพื่อสร้างความเข้าใจกันก่อนถ่ายจริง จะได้ไม่เสียเวลาหรือเข้าใจไม่ตรงกันเช่นก่อนจะถ่ายฉากที่อุ้มต้องทำอะไรบางอย่างกับร่างกายตัวเองในห้องน้ำ เราเอาคลิปให้อุ้มดูพร้อมกับอธิบาย ก็บอกอุ้มไปว่า ถ้าเล่นไม่ได้เดี๋ยวเราซื้อไวเบรเตอร์ให้ เพื่อช่วยในการแสดง แต่อุ้มเขาบอกว่าเล่นได้เมื่อเราคุยกับอุ้มเสร็จเราก็ไปคุยทีมกล้องว่า ตอนถ่ายทำเราอยากให้ทีมกล้องออก แต่ให้กดบันทึกทิ้งไว้ พออุ้มเล่นเสร็จเราค่อยเข้ามากัน เพราะเรารู้สึกถึงการให้เกียรติผู้หญิง แม้อุ้มจะเป็นนักแสดงที่ต้องเล่นตามบทก็ตาม แต่เราก็อยากทำอะไรหลายๆให้นักแสดงรู้สึกสบายใจและเต็มที่กับงาน พอตอนจะถ่าย ทุกคนเข้าmark พอตากล้องกับเราเดินจะเดินออกอุ้มถามขึ้นว่าไปจะไหน พอเราอธิบายให้อุ้มฟัง อุ้มกลับบอกว่า "ไม่เป็นไร..เราเล่นได้" และอุ้มก็แสดงออกมาดี เพราะจริงๆแล้ว ภาพที่เราจะสื่อออกมาเป็นประมาณนี้ เราก็ให้อุ้มดูภาพที่เราจะถ่ายแบบไหน และเราก็บอกกับอุ้มอีกว่า ตอนถ่ายฉากนี้ คนที่อยู่ในห้องดูมอนิเตอร์มีแค่เรากับContinueสองคนเท่านั้น เมื่อถ่ายเสร็จแต่ละครั้งเราจะให้อุ้มดูก่อนว่าโอเคมั้ย ถ่ายออกมาแล้วไม่น่าเกลียดและออกมาอย่างที่เราบอกอธิบายจริง เราจะทำงานค่อนข้างให้เกียรตินักแสดงโดยเฉพาะอุ้ม อาจจะเพราะเราเป็นผู้หญิงเหมือนกันและมันทำให้นักแสดงเชื่อมั่นในตัวเรามากขึ้นด้วย อุ้มกับบลูมเต็มที่กับงานและให้ใจกับงานเรามากๆ เรารู้สึกดีที่คนมีชื่อเสียงอย่างเขาหรือทีมงานเชื่อและมั่นใจในตัวเรา และเชื่อในงานของเราจำได้ว่าตอนที่คุยกับอุ้มครั้งแรกเอมพูดจนอุ้มร้องไห้เลย ตอนนั้นเราตกใจว่าพูดอะไรผิดหรือเปล่า หรือเป็นอะไร พอถามอุ้มๆก็บอกว่า"มันโดนจุดข้างใน" ตั้งแต่แรกเราตกลงกับผู้ช่วยว่าเราต้องการส้มที่ผิวสีแทนเข้มมีเสน่ห์ ดูเป็นไทย ผมดำยาว ส่วนอิฐ เราก็อยากได้คนที่มีรอยสักจริงๆและดูเป็นชายไทย ไม่ขาวและไม่ดำ กว่าจะหานักแสดงได้ก็นานเช่นกัน จนมาเจออุ้มกับบลูมโชคดีมากๆเพราะเป็นอย่างที่เราต้องการทุกอย่าง เราพาอุ้มไปเรียนท่าทางการนวด โดยที่เราเลือกมาแล้วว่าจะใช้ท่าไหน เพราะเราบอกอุ้มว่า ส้มในเรื่องเป็นพนักงานนวดที่ผ่านการนวดมามากมาย ฉะนั้นต้องดูเป็นมืออาชีพและดูเป็นธรรมชาติ และก็บอกไม่ให้อุ้มกันคิ้วเพราะอยากให้ดูเป็นผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่งเหมือนคนทั่วไป ส่วนบลูม เราก็ให้ไปซ้อมประกอบเครื่องมือและเรียนรู้กับช่างจริงๆเพราะเราก็อยากให้ดูเป็นธรรมชาติและเป็นมืออาชีพจริงๆเช่นกัน ซึ่งตลอดเวลาที่มีการworkshop เราไม่ให้อุ้มกับบลูม เพราะเราอยากให้เจอกันครั้งแรกในฉากตอนถ่ายทำเลย เพราะมันจะได้ความรู้สึกจริงๆ เขินอายจริงๆ เราก็ขอให้บลูมเตรียมร่างกายให้ฟิตดูมีกล้าม บลูมก็เตรียมพร้อมมาอย่างดี เพราะมันมีฉากที่ต้องถอดเสื้อเห็นหน้าอกและกล้าม และก็ให้ช่างแต่งหน้าทำผิวของบลูมให้เข้มขึ้นอีกนิดหนึ่ง
Q.การหันมาทำหนังในระบบ ตัวสตูดิโอเองเปิดโอกาสให้เราได้นำเสนอ,ถ่ายทอดสิ่งที่เราต้องการสื่อสารกับตัวโปรเจ็คต์มากน้อยเพียงไร
กิตติยาภรณ์ : เปิดโอกาสมากๆสำหรับพวกเรา ให้โอกาสทั้งงานและความคิดของพวกเราเป็นเหมือนพี่น้องและเจ้านายลูกจ้างในเวลาเดียวกัน คอยให้คำปรึกษาแนะนำสิ่งต่างๆว่าได้หรือไม่ได้ คุยด้วยเหตุผล แลกเปลี่ยนแง่คิด และทำให้เราเป็นมืออาชีพจากคนธรรมดาที่มีความฝันกับความกล้าที่อยากจะทำ แล้วก็ได้โอกาสจริงๆจนได้มาอยู่จุดนี้ เป็นโอกาสที่ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนเสมอไป เราเลยอยากทำมันออกมาให้เต็มที่ที่สุดและไม่อยากทำให้พี่ๆและผู้ใหญ่ผิดหวังในตัวเรา เป็นโอกาสที่ดีมาก เป็นบุญคุณมากๆ
Q.จากการเป็นคนทำหนังอิสระแล้วมีโอกาสได้เข้ามาทำหนังที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนดูในกระแสหลัก ต้องมีการปรับตัวหรือไม่อย่างไร รวมไปถึงกระบวนการทางความคิด ในการผลิตภาพยนตร์หรือสร้างงานอย่างโปรเจ็คต์ “น้ำตาลแดง” แตกต่างจากการทำหนังอิสระหรือการทำหนังในกระแสหลักหรือไม่อย่างไร
กิตติยาภรณ์ : แตกต่างน่ะ เพราะมีกระบวนการ มีระบบ ระเบียบแบบแผน และทำให้เราเป็นมืออาชีพ เพราะเราได้เรียนรู้มากมาย ที่ในตำราเรียนไม่มี เราก็มีการปรับตัวบ้าง เช่นต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกคน แม้เราจะได้โอกาสแต่เพราะว่าเรายังใหม่และเด็กกว่า ครั้งแรกที่เราหาทีมงานเราบอกกับพี่เก๋(ผู้ช่วยโปรดิวเซอร์)ว่าเรามีแค่ตากล้อง แต่ทีมงานรบกวนให้พี่จัดให้เราเลยล่ะกัน เราบอกพี่เก๋ว่าอยากได้ผู้ช่วยที่มาช่วยเราจริงๆที่ไม่ใช้มาลองภูมิหรืออีโก้ใส่เรา หรือไม่เชื่อในงานเรา วันแรกที่เราได้เจอผู้ช่วย เราก็พูดคุยกัน แล้วเราก็พูดตรงๆอย่างมีสัมมาคาราวะไปว่า "พี่อ่านบทแล้วชอบมั้ย อยากร่วมงานกับเอมไหมค่ะ เอมพูดตรงๆน่ะพี่ เอมรู้ว่าเอมเด็ก และยังมีประสบการณ์ไม่เท่าพี่ เอมได้โอกาสมาทำตรงนี้ เอมดีใจแต่เอมอยากได้คนช่วยเอมจริงๆ ให้งานเอมออกสำเร็จอย่างที่หวัง แต่เอมไม่มีประสบการณ์เหมือนพี่ เอมเลยอยากให้พี่เอาประสบการณ์มาช่วยเอม ทำให้มันสำเร็จไปด้วยกัน เรามาแชร์กันและช่วยกันน่ะค่ะ พี่มีอะไรก็แนะนำเอมได้ เอมรับฟังแต่ถ้าเอมคิดแบบไหนเอมก็พูดตรงๆเช่นกันค่ะ" แล้วเราก็ได้พี่โดมมาเป็นผู้ช่วยที่ดีมากหรือพี่เจี๊ยบ ฝ่ายศิลป์ เราก็จะเสนอแบบที่เราชอบไป เอานู้นนี้นั้นให้ดู แล้วพี่เจี๊ยบก็ทำมาให้ แล้วเราก็มักจะถามพี่เจี๊ยบเสมอว่า "พี่คิดว่าไง ถ้าเอมเอาแบบนี้" พี่เจี๊ยบก็จะบอกความคิดของแก แล้วเราก็จะเอามาบวกกับความคิดของเราจนออกมาเป็นข้อสรุป อย่างเช่นลายนกยูง, ลายแมว ที่ต้องทำTattooมันมีความสำคัญในการสื่อความหมายของตัวละครและเนื้อเรื่องที่เราวางไว้เราจะปรึกษาและพูดคุยกับพี่ๆทุกคนและทีมงานทุกคนตลอด เพราะเราคิดว่าบ้างที่เรารู้ แต่บางอย่างเราอาจจะไม่รู้ ก็ไม่แปลกที่เราจะถาม และไม่เห็นจะเสียหน้า รู้สึกไม่ดีที่เราไม่รู้และอยากจะรู้หรือพูดคุยให้รู้ ปรึกษาให้รู้เรื่องกัน เพราะเราอยากให้งานออกมาดี และเราก็ได้ความรู้เพิ่มด้วยทุกคนมีใจให้เราเหมือนที่เรามีใจให้กับเขา
Q.คิดว่าอะไรคือเสน่ห์ความน่าสนใจของโปรเจ็คต์นี้
กิตติยาภรณ์ : ความแปลกใหม่ ที่สดใหม่ และความท้าทายต่อตัวเองและแวดวงภาพยนตร์หรืออาจจะท้าทายคนดู ภาษาภาพและการเล่าเรื่องที่มีเนื้อเรื่องแบบอีโรติกซึ่งอยู่ในระบบของการจัดเรทติ้ง พร้อมกับผู้กำกับหน้าใหม่ที่มีความคิด ความกล้า ความตั้งใจที่อยากจะนำเสนอ ซึ่งมันมีความสดใหม่อยู่ในตัวพอสมควร ถึงแม้จะไม่สดใหม่ซะทีเดียว แต่เป็นความสดใหม่บนฐานเดิมที่มีอยู่
Q.เมื่องานเสร็จแล้วเราพอใจในผลงานหรือโปรเจ็คต์ของตัวเองมากน้อยแค่ไหนอย่างไร
กิตติยาภรณ์ : มีความพึงพอใจมาก ปกติพอดูหนังตัวเองแล้วก็มีความรู้สึกบ้างว่า "ไม่พอว่ะ..นี้อีกหน่อย นั้นอีกนิด" อาจจะเพราะอยากทำให้ดีที่สุด
Q.การเป็นคนทำหนังในกลุ่มแวดวงอิสระมาก่อนเป็นข้อดี หรือส่งผลให้มุมมองหรือตัวงานที่นำเสนอมีเสน่ห์ความโดดเด่นที่แตกต่างจากผลงานของผู้กำกับหรือคนทำหนังในกระแสหลักอย่างไร
กิตติยาภรณ์ : แตกต่าง อยู่ในเรื่องระบบ กระบวนการ ข้อตกลง งานของเราๆรู้สึกว่าเทียบกับผู้กำกับผู้ใหญ่ท่านอื่นๆไม่ได้หรอก เพราะพวกท่านเหล่านั้นเขารุ่นใหญ่ที่สร้างตำนานให้กับวงการภาพยนตร์ไทยมามากมาย และท่านบ้างคนก็เป็นเสมือนแรงผลักดันให้เราอยากจะทำอยากจะเก่งเหมือนท่าน เรารู้สึกว่าเราแตกต่างในเรื่องประสบการณ์ มันเป็นเรื่องของงานและช่วงเวลา ทุกคนมีความตั้งใจอยากจะทำออกมาให้ดีที่สุด ทุกคนใส่ใจเข้าไปในงาน ส่วนจะออกมาดีหรือไม่ดีมันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถึงเราจะใหม่มีความคิดไอเดียใหม่แต่เราก็ยังสู้ไม่ได้เราไม่คิดที่จะไปเปรียบเทียบ
Q.หลังจากโปรเจ็คต์ “น้ำตาลแดง” ที่ถือกำเนิดขึ้นมาในแวดวงคนดูหนัง คิดว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนหรือส่งผลต่อรูปแบบการผลิตหรือการทำหนังที่ฉายในโรงบ้านเราต่อไปหรือไม่อย่างไร รวมไปถึงจะมีผลต่อพฤติกรรมการดูหนังในบ้านเราอย่างไร
กิตติยาภรณ์ : เราว่าอยู่ที่แต่ละบุคคลมากกว่า เพราะคนดูหรือคนทุกคนมีความคิด ความอ่านเป็น คนดูหนังเป็นขึ้น แล้วเดี่ยวนี้ก้มีกฎหมายเรทติ้งออกมาใช้ เราว่าต่อไปคงมีหนังที่openมากกว่านี้ แต่มันอยู่ที่ว่าคนทำหนังจะเสนออย่างไรออกมาให้คนดูรู้สึกดีมากกว่ารู้สึกสะอิดสะเอี้ยนในแง่ลบ
Q.แสดงว่าโอกาสในการเกิดของหนังในแบบอีโรติกถือว่าเป็นผลพวงที่เกิดขึ้นจากการที่บ้านเรามีการกำหนดเรื่องพรบ.การกำหนดเรทติ้งภาพยนตร์
กิตติยาภรณ์ : ใช่ เพราะหนังเรื่องนี้อาจจะทำออกมาเพื่อรองรับเรทติ้งก็ว่าได้ เพราะตลอดเวลาเราคิดมาตลอดตั้งแต่แรก
Q.แสดงว่าในท้ายที่สุดแล้วเมื่อพรบ.ภาพยนตร์ที่มีการกำหนดเรื่องเรทติ้งออกมาก็จะเริ่มส่งผลให้มีการเปิดกว้างทางความคิด อย่างคนทำหนังก็มีโอกาสหรือช่องทางในการผลิตหนังที่แตกต่างได้ ในขณะเดียวกันคนดูก็จะได้ดูหนังที่ไม่มีการปิดกั้นอีกต่อไป
กิตติยาภรณ์ : เราว่ามันอยู่ที่ทั้งสองฝ่ายคือ ฝ่ายนำเสนอ กับฝ่ายเลือกเสพหรือคนดู ถ้าเรามีโอกาสที่ดีตรงนี้แล้วเรานำเสนออย่างเต็มที่ที่อยู่ในขอบเขต หรือจิตสำนึก มันก็เหมือนการคิดวางแผนดีไซน์ภาพและการเล่าเรื่องอย่างมีศิลป์หรือชั้นเชิงที่ดี เหมาะสมกับความเป็นภาพยนตร์จริงๆ ภาพยนตร์เป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่สวยงาม มันอยู่ที่เราจะทำให้มันออกมาสวยงามแบบไหน แล้วผู้เสพก็จะได้เห็นงานดีๆและรู้สึกดี แวดวงหนังไทยก็จะได้ดูดีไปด้วย ทุกอย่างมันเป็นวัฏจักร
Q.ทำไม โปรเจ็คต์อย่างน้ำตาลแดงถึงเป็นหนังที่ควรจะดู
กิตติยาภรณ์ : เป็นหนังที่ถือว่าใหม่ในวงการภาพยนตร์ไทยตอนนี้ กับผู้กำกับหน้าใหม่6คนที่กล้าและท้าทายมาก ความคิดอิสระอย่างเต็มที่โดยมีศีลธรรมเป็นรากฐาน บวกกับพรบ.เรทติ้งที่สดๆร้อนๆ การแสดงที่เล่นจริงๆไม่ใช้แสตนอินเพื่อความสมจริงและเป็นธรรมชาติ เป็นหนังอีโรติก-อาร์ท ที่มีเนื้อหากับฉากโป๊ที่สวยงามอย่างมีชั้นเชิงฉายบนจอในโรงภาพยนตร์ทั่วไปครั้งแรก เราอยากทำให้ทุกคนรู้และเข้าใจว่า"อีโรติก" ไม่ใช้หนังโป๊หรือหนังAV และอยากทำให้คนต่างชาติได้รับรู้ว่าคนไทยอย่างเราก็ทำได้เช่นกัน