กรุงเทพฯ--16 ม.ค.--สหมงคล ฟิล์ม
ชื่อภาพยนตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
กำกับการแสดง ม.จ. ชาตรีเฉลิม ยุคล
อำนวยการสร้าง หม่อมกมลา ยุคล, คุณคุณากร เศรษฐี
บทภาพยนตร์ ม.จ. ชาตรีเฉลิม ยุคล และดร. สุเนตร ชุตินทรานนท์
ผู้ช่วยผู้กำกับ คุณวชิระ ชอบเพื่อน, คุณกิตติกร เลียวศิริกุล
ผู้ออกแบบงานสร้างและ คุณประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล
กำกับงานศิลป์ คุณประเสริฐ โพธิ์ศรีรัตน์
ช่างภาพ Stanislav Dorsic, คุณณัฐวุฒิ กิติคุณ
ออกแบบเครื่องแต่งกาย หม่อมกมลา ยุคล
เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ คุณฐิติกรณ์ ศรีชื่น, คุณสุกัญญา มะเรืองประดิษฐ์
ช่างแต่งหน้าและช่างทำผม คุณมนตรี วัดละเอียด, คุณทิฆัมพร แซ่หลิม
ทุนสร้าง 500 ล้านบาท
ระยะเวลาดำเนินการ 2546 — 2549
ระยะเวลาถ่ายทำ ปลายปี 2547 — 2549
กำหนดฉาย 18 มกราคม 2549 ทุกโรงทั่วประเทศ
“ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ภาพยนตร์แห่งอิสรภาพ
ราวคริสตศตวรรษที่ ๑๖ อันเป็นยุคที่นักเดินทางแห่งโลกตะวันตก ได้ล่องทะเลออกเผชิญโชคเพื่อแสวงหาเส้นทางใหม่สู่แหล่งสินค้าหายากโดยมี
ประเทศในแถบเอเชียโพ้นทะเลเป็นเป้าหมาย ชาวโปรตุเกสเป็นชาติแรกๆ ที่เข้ามายังพม่า อโยธยา ตลอดจนมลายู ชวา ฯลฯ ในขณะที่บ้านเมืองในลุ่มน้ำอิระวดี
เจ้าพระยา และลุ่มน้ำโขง ต่างทำสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่เช่นเดียวกับประเทศต่างๆ ในยุโรป ซึ่งมีทั้งที่มุ่งขยายอำนาจให้แผ่ไพศาลและที่ต้องต่อสู้
เพื่อปกป้องเอกราชอธิปไตย
สงครามระหว่างหงสาวดีและอโยธยานับเป็นมหาสงครามแห่งยุคนั้น ด้วยความเข้มข้น แรงร้อน และ เกริกไกร จนเกินจะจินตนาการถึงปริมาณไพร่พล
จักรกลสงคราม อาวุธยุทธโธปกรณ์ ตลอดจนพาหนะที่ใช้ขับเคี่ยวในสมรภูมิ สงครามระหว่างสองอาณาจักรนี้ยังฝังแน่นอยู่ในความทรงจำของผู้คนและยังถูกเล่า
ขานสืบต่อมาไม่ขาดช่วงตลอดหลายร้อยปี
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์เรื่อง “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ถ่ายทอดความทรงจำของมหายุทธสงครามครั้งนั้น จารึกลงบนแผ่นฟิล์มเป็นเรื่องราง
ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กษัตริย์นักรบผู้มีระบือนามที่สุดพระองค์หนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของอโยธยาและอุษาคเนย์ยุคนั้น พระองค์ทรงมีชีวิตวัย
เยาว์ที่ถูกส่งไปเป็นองค์ประกันในแดนศัตรู โดยถูกพระเจ้าบุเรงนองนำไปเลี้ยงไว้ยังกรุงหงสาวดีราชธานีของพม่า หลังจากที่อโยธยาพ่ายศึก ทรงฝึกฝน
ศิลปวิทยาในการรณรงค์สงครามกับพระมหาเถรคันฉ่อง — สงฆ์มอญผู้ทรงภูมิจนเชี่ยวชาญในเชิงยุทธและกลศึกเกินหน้าพระราชโอรสและพระราชนัดดาของพระเจ้าบุเ
รงนอง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชต้องทรงเสี่ยงภัยลอบหนีจากพุกามประเทศสู่มาตุภูมิ อโยธยา เมื่อทรงหยั่งรู้ว่า พระอัจฉริยภาพที่ทรงมีเหนือพระยุพราชของ
หงสาวดีกำลังชักนำภยันตรายมาสู่พระองค์ ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่วันแห่งการประกาศเอกราชของอโยธยาให้พ้นจากอุ้งหัตถ์ของกษตริย์พม่า
"ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ได้ฟื้นอดีตให้เห็นถึงกุศโลบายและพิชัยยุทธที่ทรงใช้ต้านศึกพม่าหลายครั้งภายหลังการประกาศอิสรภาพทั้งที่
กำลังรบของอโยธยาตกเป็นรองในทุกด้าน จนท้ายที่สุดก็ทรงสามารถมีชัยชนะเหนือผู้รุกรานได้อย่างเด็ดขาด
ภาพยนตร์เรื่องนี้จะทำให้ประวัติศาสตร์กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ทั้งเมืองพม่ารามัญ อโยธยา ป้อมค่ายคูประตูหอรบโบราณ และวิถีชีวิตชาว
บ้าน-ชาววัง ด้วยทุนสร้างที่สูงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะฉากสงคราม ภาพกระบวนทัพนับหมื่นชีวิตทำศึกชิงเมืองชิงค่าย การลอบสังหารด้วยจารชน
การสู้รบบนสะพานแพข้ามแม่น้ำสะโตงไปจนถึงทำยุทธหัตถีบนหลังช้างศึกที่เกรี้ยวกราดตกมันแต่ภายใต้บรรยากาศที่ความขัดแย้งคุกรุ่นจนปะทุเป็นไฟสงคราม
ร้อนแรงนั้น ยังคงมีบทรักระหว่างรบสอดแทรกสร้างสีสันได้อย่างลงตัว
ภาพยนตร์เรื่อง “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” จะสร้างประวัติศาสตร์ให้วงการภาพยนตร์ไทย โดย ม.จ. ชาตรีเฉลิม ยุคล ผู้กำกับ มุ่งมั่นที่
จะสร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติ วีรกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่เกรียงไกรและให้ทั่วโลกได้ตระหนักในฝีมือและผลงานภาพยนตร์ของคนไทยที่ทัดเทียมต่างประเทศ
รายชื่อนักแสดงหลัก
ภาพยนตร์เรื่อง “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช”
นักแสดงหลัก
1. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช รับบทโดย พ.ต.วันชนะ สวัสดี
2. สมเด็จพระเอกาทศรถ รับบทโดย พ.ท.วินธัย สุวารี
3. ออกพระราชมนู รับบทโดย นพชัย ชัยนาม
4. ออกพระชัยบุรี รับบทโดย ปราบต์ปฎล สุวรรณบาง
5. ออกพระศรีถมอรัตน์ รับบทโดย พ.ต.คมกริช อินทรสุวรรณ
นักแสดงรุ่นใหญ่
6. พระมหาเถรคันฉ่อง รับบทโดย สรพงษ์ ชาตรี
7. สมเด็จพระมหาธรรมราชา รับบทโดย ฉัตรชัย เปล่งพานิช
8. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ รับบทโดย ศรัณยู วงษ์กระจ่าง
9. สมเด็จพระมหินทราธิราช รับบทโดย สันติสุข พรหมศิริ
10. พระราเมศวร รับบทโดย สถาพร นาควิไล
11. พระยาท้ายน้ำ รับบทโดย คมน์ อรรฆเดช
12. พระยาพิชัย รับบทโดย กรุง ศรีวิไล
13. พระยาสวรรคโลก รับบทโดย มานพ อัศวเทพ
14. พระยาจักรี รับบทโดย ไพโรจน์ ใจสิงห์
15. ขุนรัตนแพทย์ รับบทโดย โกวิท วัฒนกุล
16. เศรษฐี รับบทโดย ดี๋ ดอกมะดัน
นักแสดงฝ่ายพม่า
17. พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง รับบทโดย สมภพ เบญจาธิกุล
18. พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง รับบทโดย จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์
19. พระมหาอุปราชา รับบทโดย นภัสกร มิตรเอม
นักแสดงฝ่ายหญิง
20. มณีจันทร์ รับบทโดย ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ
21. เลอขิ่น รับบทโดย อินทิรา เจริญปุระ
22. หมอกมู รับบทโดย อภิรดี ทศพร
23. พระวิสุทธิกษัตรี รับบทโดย ปวีณา ชารีฟสกุล
24. พระเทพกษัตรี รับบทโดย ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์
25. พระสุพรรณกัลยา รับบทโดย เกรซ มหาดำรงค์กุ
26. พระนางจันทราเทวี รับบทโดย เปรมสินี รัตนโสภา
27. มเหสีพระมหินทร์ (1) รับบทโดย ปริศนา กล่ำพินิจ
28. มเหสีพระมหินทร์ (2) รับบทโดย ปรารถนา ตันติพิพัฒน์
29. ท้าววรจันทร์ รับบทโดย อำภา ภูษิต
30. แม่นมพุดกรอง รับบทโดย นัยนา จันทร์เรียง
31. แม่นมทองสุก รับบทโดย เฉลา ประสพศาสตร์
นักแสดงรุ่นเล็ก
32. พระนเรศวร (เด็ก) องค์ดำ รับบทโดย ด.ช. ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์ (น้องบีเจ)
33. พระเอกาทศรถ(เด็ก) องค์ขา รับบทโดย ด.ช. กรัณย์ เศรษฐี (น้องเก้า)
34. ออกพระราชมนู (เด็ก) ไอ้ทิ้ง รับบทโดย ด.ช. จิรายุ ละอองมณี (น้องเก้า)
35. มณีจันทร์ (เด็ก) รับบทโดย ด.ญ.สุชาดา เช็คลีย์ (น้องดาด้า)
และนักแสดงที่ร่วมเข้าฉากอีกมากมาย
36. สุระกำมา รับบทโดย โสธรณ์ รุ่งเรือง
37. ลักไวทำมู รับบทโดย สมชาติ ประชาไทย
38. พระยาสีหราชเดโช รับบทโดย ธนา สินประสาธน์
39. พระยาราม รับบทโดย ประดิษฐ์ ภักดีวงษ์
40. พระยาพิชัยรณฤทธิ์ รับบทโดย อานนท์ สุวรรณเครือ
41. พระยาพิชิตรณรงค์ รับบทโดย พยัคฆ์ รามวาทิน
42.พระยาราชวังสรรค์ รับบทโดย ร.อ.กัมปนาท อั้งสูงเนิน
43 พระยาเสนาภิมุข รับบทโดย YANO KAZUKI
ฉากใหญ่ / ฉากสำคัญ
- ฉากการเจรจาหย่าศึกระหว่างอโยธยากับหงสาวดี
หลังจากพม่าเข้าตีพิษณุโลกได้ โดยสมเด็จพระมหาธรรมราชาจำต้องยอมสวามิภักดิ์ ด้วยเกิดโรคระบาดและขาดไพร่พล พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองจึง
ขอตัวพระนเรศ (สมเด็จพระนเรศวร) ซึ่งยังทรงพระเยาว์เพียง 9 พรรษา ไปเป็นตัวประกัน จากนั้นได้ยกทัพมาเตรียมเข้าตีอยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
จึงขอเจรจาหย่าศึก โดยฝ่ายพม่าขอตัวพระราเมศวรและพระยาจักรี พร้อมกับช้างเผือก 4 เชือกด้วย
(ฉากนี้เป็นการรวมนักแสดงรุ่นใหญ่ทั้งฝ่ายอโยธยาและฝ่ายพม่า)
- ฉากประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง
เมื่อแผ่นดินหงสาวดีผลัดมือมาอยู่ในปกครองของพระเจ้านันทบุเรง สัมพันธไมตรีระหว่างอยุธยาและหงสาวดีก็เริ่มสั่นคลอน ด้วยพระเจ้าหงสาว
ดีพระองค์ใหม่มิได้วางพระทัยในสมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระนเรศวรเองก็หาได้เคารพยำเกรงในบุญบารมีของพระเจ้านันทบุเรง ทั้งยังทรงแสดงพระปรีชา
สามารถให้เป็นที่ปรากฏครั่นคร้าม พระเจ้านันทบุเรงทรงเกรงว่าในอนาคตสมเด็จพระนเรศวรจะเป็นภัยต่อพระราชวงศ์ และแผ่นดิน
หงสาจึงหาเหตุวางกลศึกหมายปลงพระชนม์สมเด็จพระนเรศวรเสียที่เมืองแครง แต่พระมหาเถรคันฉ่องพระราชครูลอบนำแผนประทุษร้ายนั้นมาแจ้งให้
ศิษย์รักได้รู้ความสมเด็จพระนเรศวรจึงถือเป็นเหตุประกาศเอกราช หลั่งทักษิโณทกตัดสัมพันธไมตรีกับหงสาวดี และกวาดต้อนครัวไทยครัวมอญข้ามแม่น้ำสะโต
งกลับคืนพระนครซึ่งเป็นชนวนให้พระเจ้านันทบุเรงเปิดมหายุทธสงครามส่งทัพเข้ารุกรานราชอาณาจักรอยุธยาสืบแต่นั้นเป็นต้นมา
(เป็นฉากสำคัญตามประวัติศาสตร์ที่ทำให้ตระหนักถึงความยิ่งใหญ่ของคำว่า“อิสรภาพ”)
- ฉากการซุ่มโจมตีที่ช่องเขาขาด
หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรทรงหลั่งทักษิโณทกประกาศอิสรภาพแล้ว ทรงให้ไพร่พลเร่งสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสะโตงเพื่อนำชาวไทยชาวมอญ
ทั้งหลายกลับอยุธยา ระหว่างนั้นกองทัพพม่าก็ติดตามมา จึงทรงมอบหมายให้ออกพระราชมนูทหารเอกนำกำลังบางส่วนไปยั้งทัพไว้โดยซุ่มโจมตีทัพพม่าที่ช่อง
เขาขาด โดยใช้ยุทธวิธีการรบแบบกองโจร ด้วยฝ่ายไทยมีกำลังน้อยกว่าพม่ามาก นอกจากจุดนี้แล้วก็ยังมีกองกำลังของออกพระชัยบุรี และออกพระศรีถมอรัตน์
ที่จัดไว้ยั้งทัพพม่าอีกเป็นระยะ เพื่อถ่วงเวลาให้การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสะโตงแล้วเสร็จ
(เป็นฉากรบที่น่าตื่นตาตื่นใจ และมีการใช้เทคนิคพิเศษหลายรูปแบบทั้งในขณะถ่ายทำ โดยใช้ลูกไฟซึ่งท่านมุ้ยคิดค้นวิธีการขึ้นเอง ทำจาก
ฟางเคลือบชันหุ้มด้วยโครงไม้ไผ่สาน และในช่วงตัดต่อโดยการใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิคช่วยให้ดูยิ่งใหญ่อลังการ)
- ฉากพระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตง
หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครงแล้ว ก็ทรงกวาดต้อนชาวไทยชาวมอญพาข้ามแม่น้ำสะโตงเพื่อกลับสู่อโยธยา ฝ่ายพม่า
ก็ส่งทหารออกติดตามมาทันกันที่แม่น้ำสะโตงนี้ และเกิดการสู้รบกันครั้งใหญ่ โดยสมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงปืนนกสับยาวเก้าคืบยิงข้ามแม่น้ำสะโตง
ถูกสุระกำมา-แม่ทัพของพม่าตกจากคอช้างเสียชีวิตอันนับว่าเป็นเรื่องอัศจรรย์มาก ด้วยแม่น้ำกว้างเหลือกำลังปืน เมื่อกองทัพพม่าเห็นว่าแม่ทัพของตน
ตายด้วยพระบรมเดชานุภาพจึงเลิกติดตาม สมเด็จพระนเรศวรจึงนำไพร่พลกลับอโยธยาได้
(ฉากยิ่งใหญ่ที่มีนักแสดงหลักและนักแสดงประกอบมากมาย และใช้เทคนิคการถ่ายทำอย่างน่าสนใจ)
ความยิ่งใหญ่อลังการของภาพยนตร์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ามีหลายด้านที่เป็นการปฏิวัติ วงการภาพยนตร์ไทย ได้แก่
- ด้านเทคนิค ทั้งเทคนิคในการถ่ายทำและตัดต่อ การใช้ visual effect, special effect รวมถึงการทำ computer graphic ซึ่งมี
supervisor จากต่างประเทศที่มีผลงานจากภาพยนตร์ระดับโลกของ Hollywood มาร่วมงาน
- ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ เช่น Spider Cam ที่ท่านมุ้ยปรับประยุกต์ให้สามารถใช้งานได้ในรูปแบบเดียวกันกับของต่างประเทศ แต่มีต้นทุน
ค่าใช้จ่ายต่างกันหลายเท่าตัว
- ด้าน Production มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการสร้างฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก, เครื่องประดับตกแต่ง รวมทั้งเครื่องใช้เบ็ดเตล็ดต่าง
ๆ โดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีในรูปแบบเดียวกันกับที่ใช้ในภาพยนตร์เรื่อง Lord of the Ring จาก WETAประเทศนิวซีแลนด์ (ของ Peter Jackson — ผู้
กำกับ) ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เวลา และแรงงานได้เป็นอย่างมาก ผลงานที่ผลิตออกมามีรายละเอียดที่ประณีต เหมือนจริง
- ม้าศึกประมาณ 30 ตัวที่ใช้ในเรื่องนี้นำเข้าจากต่างประเทศ (ออสเตรเลีย) โดยเป็นม้าที่ได้รับการฝึกสำหรับการแสดงโดยเฉพาะ มีความ
สามารถพิเศษ เช่น เป็นม้าล้มและมีขนาดเหมาะสม โดยบางส่วนเป็นม้าที่แสดงในเรื่อง The Last Samurai
- หากเทียบกับ “สุริโยไท” ท่านมุ้ยได้วางเป้าหมายเรื่องนี้ไว้ว่าจะต้องทำให้ดีกว่าสุริโยไทในทุกด้าน โดยมี scope ของการทำงานใหญ่
กว่า,ฉากต่างๆ มีความยิ่งใหญ่อลังการกว่า, นักแสดงหลักและนักแสดงประกอบมีจำนวนมากกว่า, ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ มากกว่า
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net