แผลพุพอง ป้องกัน รักษาได้

ข่าวทั่วไป Wednesday July 28, 2010 11:39 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 ก.ค.--โรงพยาบาลผิวหนัง อโศก ช่วงนี้อากาศร้อนและชื้น เด็กเล็กๆต้องระวังโรคแผลพุพอง (Impetigo หรือ pyoderma) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังบริเวณหนังกำพร้า โดยสังเกตอาการง่ายๆ คือ จะมีผื่นลักษณะเป็นตุ่มน้ำใส และกลายเป็นหนองอย่างรวดเร็ว หรืออาจะมีอาการตุ่มแตกออกเป็นสะเก็ด มีน้ำเหลือง โดยมากจะพบบริเวณใบหน้า ลำตัว และ แขนขา ซึ่งหากมาพบคุณหมอตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ส่วนใหญ่จะไม่มีแผล และปลอดภัยจากโรคแทรกซ้อน หากเกิดอาการดังกล่าวแล้ว การรักษาสามารถทำได้โดยการทานยาปฏิชีวนะ และ ทายา ประมาณ 7-10 วัน สำหรับบริเวณที่มีน้ำเหลืองหรือสะเก็ด ให้ใช้น้ำเกลือ ประคบแผลครั้งละ 10 นาที เช้า -เย็น วิธีนี้เรียกว่า wet dressing รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการเล่นคลุกคลีหรือใช้ของร่วมกับเด็กคนอื่นๆ เนื่องจากเชื้อโรคจะอยู่ตามนิ้วมือหรือผ้าเช็ดตัว พร้อมทั้งควรตัดเล็บให้สั้น หากมีอาการคันควรรับประทานยากลุ่มแอนติฮีสตามีนร่วมด้วย สำหรับภาวะแทรกซ้อนอันตรายของโรคนี้ที่พึงระวัง คือ ภาวะไตอักเสบเฉียบพลัน พบว่าร้อยละ 10-15 ของเด็กที่เป็น แผลพุพอง(impetigo) จะมีอาการดังกล่าว โดยตัวจะบวม ความดันโลหิตสูง และปัสสาวะมีเลือดปน ซึ่งจะเกิดหลังจากการติดเชื้อจากทางผิวหนัง 14-21 วัน (บางรายอาจนานถึง 6 สัปดาห์) ผู้ปกครองจึงควรสังเกตและดูแลอาการของลูกหลานอย่างใกล้ชิด เมื่อมีอาการระยะเริ่มต้นให้รีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที TIP: ส่วนใหญ่ เด็กๆที่มีแผลพุพองจะตรวจพบเชื้อ Staph aureus ในจมูกด้วย (เนื่องจากเกาแผลร่วมกับการแคะจมูก) ให้ป้ายยา mupirocin ในจมูกเช้าเย็นเป็นเวลา 5 วันจะช่วยป้องกันโรคอีกวิธีค่ะ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02 2465111 พญ.ฐิตาภรณ์ โรงพยาบาลผิวหนัง อโศก
แท็ก แบคทีเรีย  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ