พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม จัดฉาย 11 ภาพยนตร์ไทยคุณภาพในงานเทศกาลภาพยนตร์ไทยเกียรติยศนานาชาติ

ข่าวบันเทิง Wednesday August 11, 2010 11:47 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 ส.ค.--เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ร่วมกับ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม จัดงาน “เทศกาลภาพยนตร์ไทยเกียรติยศนานาชาติ (International Award Winning Thai Films)” ภายใต้โครงการ “รวมมิตร ร่วมสมัย” สร้างสรรค์ไทยสู่สากล ด้วยการจัดฉายภาพยนตร์ไทยคุณภาพที่ได้รับรางวัลจากเวทีการประกวดภาพยนตร์จากต่างประเทศ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ รวมทั้ง เป็นการเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัยในฐานะทุนทางวัฒนธรรมและเป็นการต่อยอดศิลปร่วมสมัยสู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ระหว่างวันที่ 18-22 สิงหาคม 2553 ณ โรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ภาพยนตร์ไทยที่ได้รับคัดเลือกให้จัดฉายในงาน เทศกาลภาพยนตร์ไทยเกียรติยศนานาชาติครั้งนี้ มีภาพยนตร์รวมทั้งสิ้น 11 เรื่อง ได้แก่ พลเมืองจูหลิง (Citizen Juling) โดย อิ๋ง เค สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์, มานิต ศรีวานิชภูมิ และ ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ, ผมชื่อชาติ (Lost Nation) โดย ศาสตร์ ตันเจริญ, A LETTER TO UNCLE BOONMEE โดย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, GRACELAND โดย อโนชา สุวิชาพงศ์, LIKE REAL LOVE (ดุจ จิต ใจ) โดย อโนชา สุวิชาพงศ์, WAITING (2002) โดยอาทิตย์ อัสสรัตน์, 705/1_SUKHUMVIT 55 (2003) โดย อาทิตย์ อัสสรัตน์, RELATIVITY PLUS QUANTUM สัมพันธภาพบนหลักของความไม่แน่นอน โดย ศาสตร์ ตันเจริญ, RED MAN โดย ณัฐพงศ์ หอมชื่น, LOVE YOU IF ME DARE โดย พิชญะ ไชยดี, เวลา...รัก โดย ขนิษฐา ขวัญอยู่ ซึ่งภาพยนตร์ไทยคุณภาพทั้ง 11 เรื่องนี้ จะจัดฉายให้ผู้ที่สนใจเข้าชมระหว่างวันที่ 18-22 สิงหาคม 2553 ณ โรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์ สามารถซื้อบัตรเข้าชมภาพยนตร์ได้ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคมเป็นต้นไป ณ เคาน์เตอร์จำหน่ายบัตรชมภาพยนตร์ ชั้น 5 พารากอน ซีนีเพล็กซ์ พิเศษ...นักเรียน นิสิต นักศึกษา ซื้อบัตรเข้าชมได้ในราคาเพียง 80 บาท ประชาชนทั่วไป ราคา 120 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.02-129-4632 รายละเอียดภาพยนตร์ พลเมืองจูหลิง (Citizen Juling) ความยาว 222 นาที ผลงานการกำกับของ 3 ผู้กำกับคนดัง คือ อิ๋ง เค สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์, มานิต ศรีวานิชภูมิ และ ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ คว้ารางวัล คม ชัด ลึก อวอร์ด ครั้งที่ 7 สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และได้รับเชิญให้ไปเปิดตัวรอบปฐมทัศน์ในงาน เทศกาลภาพยนตร์โตรอนโต (Toronto International Festival Official Selection 2008), เทศกาลภาพยนตร์เมืองเบอร์ลิน (Berlin Internation Film Festival), เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ (Bangkok International Film Festival) ภาพยนตร์เรื่องราวของ จูหลิง ปงกันมูล หญิงสาวชาวพุทธจากเชียงราย ครูสอนศิลปะช่างฝัน ผู้เปี่ยมด้วยอุดมการณ์ ความรักในแผ่นดินและเพื่อนมนุษย์ นอนจมกองเลือดท่ามกลางของเล่นที่ตกกระจายบนพื้นโรงเรียนอนุบาลประจำหมู่บ้านมุสลิมเล็ก ๆ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรื่องโหดร้ายนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ? นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ วุฒิสมาชิกและนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน ออกเดินทางค้นหาคำตอบ ทั้งในภาคใต้ ในกรุงเทพฯ และขึ้นเหนือไปยังหมู่บ้านของพ่อแม่ครูจูหลิงที่เชียงราย ระหว่างทางเขาได้รับฟังความทุกข์จากคำเล่าของผู้สูญเสียทั้งที่เป็นชาวพุทธและชาวมุสลิม ซึ่งล้วนเป็นคนไทยด้วยกันทั้งนั้น ถึงแม้ว่าสิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นเรื่องเศร้า และสารคดีเรื่องนี้ดูจะหาตอนจบที่สุขสันต์อย่างภาพยนตร์ที่สร้างมาจากนิยายไม่ได้ แต่จิตวิญญาณของคนไทยทุกคนใน ‘พลเมืองจูหลิง’ ซึ่งสุดท้ายแล้วพร้อมเสมอที่จะให้อภัย คือ ความงดงามที่น่าพิศวง ‘พลเมืองจูหลิง’ ไม่ได้เป็นเพียงการสืบสวนเหตุการณ์ไม่สงบในสามจังหวัดภาคใต้เท่านั้น สารคดีไม่ธรรมดาเรื่องนี้ พาเราขึ้นเหนือล่องใต้ลงลึกเข้าไปในจิตวิญญาณของความเป็นไทย ซึ่งบางครั้ง อาจแปลกประหลาดเกินความคาดหมาย ตั้งแต่ฉากแรกที่ลานพระบรมรูปทรงม้า วันที่ 9 มิถุนายน 2549 ท่ามกลางพลเมืองที่จงรักภักดีและปลื้มปีติ ถึงฉากสุดท้ายท่ามกลางฝูงชนที่กำลังเฉลิมฉลองรถถังและทหารที่ทำการรัฐประหาร 19 กันยายน โดยไม่ได้คาดหมายการถ่ายทำ ‘พลเมืองจูหลิง’ ได้กลายเป็นการบันทึกบรรยากาศของสี่เดือนสุดท้ายภายใต้รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เข้มข้นมากในอารมณ์และความรู้สึก ผมชื่อชาติ (Lost Nation) ความยาว 100 นาที ผลงานการกำกับของ ศาสตร์ ตันเจริญ เคยได้รับเกียรติให้ฉายในเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพ ครั้งที่ 7 (World Film Festival of Bangkok 2009) ภาพยนตร์เรื่องราวของชายไทยชื่อ “ชาติ” หลงทางกลางป่า ขณะที่ตัวเขากำลังจะสูญหายไปในป่าเขียวครึ้ม ตัวตนของเขาค่อย ๆ แทรกซึมปรากฏชัดขึ้นในความทรงจำของผู้คน ที่ต่างพูดคุยเกี่ยวกับการหายไปของเขา คนเหล่านั้นที่ไม่เคยที่ไม่เคยใส่ใจการมีอยู่ของ “ชาติ” บัดนี้กลับพยายาม จะสร้าง “ชาติ” ขึ้นจากความทรงจำที่กำลังจะผุกร่อนเลือนหายกระจัดกระจายไปในป่ารกลึก จดหมาย ถึงลุงบุญมี (A Letter to Uncle Boonmee) ความยาว 20 นาที ผลงานการกำกับของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับไทยที่ได้รับรางวัลปาล์มทองคำหรือปาม ดอร์ (Palm D’or) จากงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ครั้งที่ 63 เป็นภาพยนตร์สั้น ความยาว 20 นาที เคยฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์โตรอนโต (Toronta International Film Festival 2009),เทศกาลภาพยนตร์ Wide Angle-Short Film Showcase 3 และ เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพ ครั้งที่ 1 (World Film Festival of Bangkok 2009) ภาพยนตร์จากเสียงเล่าขานถึงลุงบุญมีผู้ระลึกชาติได้ในหมู้บ้านที่อยากลืมอดีต รัตติกาลกำลัง โรยตัวที่บ้านนาบัว ถ้อยความถึงลุงบุญมีผู้ระลึกชาติถูกขับขานสู่นิทานปรัมปราจากแดนไกลและบทกวีแห่งพงไพร Graceland ความยาว 17 นาที ผลงานการกำกับของ อโนชา สุวิชากรพงศ์ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง เจ้านกกระจอก ที่ไปคว้ารางวัล "วีพีอาร์โอ ไทเกอร์ อวอร์ดส์" จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติร็อตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ และเคยร่วมฉายในเทศกาลภาพยนตร์ต่าง ๆ คือ Cannes Film Festival 2006 โปรแกรม Cinefondation, Telluride Film Festival, Sundance Film Festival, Busan Asian Short Film Festival (Awarded Best Film), Hong Kong Asian Film Festival, Rio de Janero International Short Film Festival, International Film Festival Rotterdam, Hong Kong Independent Short Film & Video Awards - IFVA และ Tampere Film Festival (Awarded Diploma of Merit) เรื่องราวเกิดขึ้นในคืนหนึ่ง ณ กรุงเทพฯ จ้อนได้พบกับหญิงสาวผู้ลี้ลับ ทั้งสองออกเดินทางไปสู่ดินแดนแปลกหน้า ดินแดนแห่งหัวใจคน ดุจ จิต ใจ (LIKE REAL LOVE) ความยาว 38 นาที ผลงานการกำกับของ อโนชา สุวิชากรพงศ์ เคยได้รับรางวัล Screened at 13th Hong Kong Independent Short Film & Video Awards (Grand Prize) และ 54th Internationale Kurzfilmatage Oberhausen (Special Mention Award) นอกจากนี้ยังเคยเข้าร่วมฉายในเทศกาล Rotterdam and recently a festival in Indonesia, Premiered at 37th International Film Festival Rotterdam (The Netherlands), 24th Hamburg International Short Film Festival (Germany) และในงาน Cinemanila International Film Festival (Philippines) ดุจ จิต ใจ เป็นภาพยนตร์สั้นสามตอนที่เกี่ยวกับความรักในรูปแบบต่างๆ “ดุจ” เป็นเรื่องของความรักหนุ่มสาว “จิต” เป็นเรื่องของความรักระหว่างแม่กับลูก และ “ ใจ” เป็นเรื่องของความรักเพื่อนมนุษย์ รอ (Waiting) 2002 ความยาว 25 นาที ผลงานการกำกับของ อาทิตย์ อัสสรัตน์ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Wonderful Town ภาพยนตร์เรื่อง Waiting เคยได้รับเชิญให้ร่วมฉายในเทศกาลภาพยนตร์ต่าง ๆ คือ เทศกาลหนังสั้น Singapore Shorts Festival ในปี 2002 โดยเฉพาะปี 2003 ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เข้าร่วมฉายและได้รับรางวัลในงานเทศกาลต่าง ๆ อาทิ Torino Film Festival (Cinemavenire Grand Prize), Siena International Short Film Festival, Uppsala International Short Film Festival, Drama International Short Film Festival, Shortcuts Cologne Film Festival, Montreal Festival of Cinema and New Media, Sao Paulo International Short Film Festival, Barcelona Asian Pacific Short Film Festival (Grand Prize), Vila do Conde International Short Film Festival, Pusan Asian Short Film Festival, Singapore International Film Festival, Aspen Shortsfest, Thai Film Foundation Short Film Festival (Special Mention), Thai Takes NYC, Hong Kong IFVA Awards, Bangkok International Film Festival และ San Francisco Asian American Film Festival ภาพยนตร์เรื่องของการรอคอยของชายอายุเกือบ 70 ปี จากอีสาน ได้สิ้นสุดลงเมื่อเขาตัดสินใจเดินทางลงใต้เป็นครั้งแรกในชีวิต 705/1 SUKHUMVIT 55 (2003) ความยาว 5 นาที ผลงานการกำกับของ อาทิตย์ อัสสรัตน์ เคยร่วมฉายในงานเทศกาล Substation Asian Film Symposium Screening, Singapore Shorts Festival, Hong Kong IFVA Awards, Thai Film Foundation Short Film Festival, Tokyo Short Shorts Film Festival, Pusan Asian Short Film Festival และ Mar Del Plata Film Festival ภาพยนตร์เรื่องราวของบ้านหลังหนึ่งกลางซอยสุขุมวิท เล่าผ่านเรื่องราวของชายผู้หญิงซึ่งอดีตเคยอาศัยอยู่ สัมพันธภาพบนหลักของความไม่แน่นอน (Relativity plus quantum) ความยาว 15 นาที ผลงานการกำกับของ ศาสตร์ ตันเจริญ เคยได้รับรางวัลและเข้าร่วมฉายในเทศกาลต่างๆ อาทิ งานเทศกาล 14th Curtas Vila do Conde International Film Festival, Protugal เทศกาล CJ Entertainment Asian Film Festival, South Korea และ งานเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพ ครั้งที่ 3 (World Film Festival of Bangkok, Thailand) รวมทั้ง ได้รับรางวัล Second prize for the White Elephant category the 9th Short Film & Video Festival, Thailand และรางวัล Best Cinematography Kodak Awards the 9th Short Film & Video Festival, Thailand Red Man ความยาว 8 นาที ผลงานการกำกับของ ณัฐพงศ์ หอมชื่น ร่วมฉายในเทศกาลภาพยนตร์ German Competition ปี 2009 และได้รับรางวัลจากมูลนิธิหนังไทย สาขาถ่ายภาพยอดเยี่ยม Kodak Filmschool Competition ภาพยนตร์เรื่องราวของชายคนหนึ่งที่จำเป็นต้องใส่เสื้อแดงไปทำงานในวันจันทร์ด้วยเหตุผล สุดวิสัย ซึ่งทั้ง ๆ ที่บริษัททุกคนใส่เสื้อเหลืองไปทำงาน Love You If Me Dare ความยาว 17 นาที ผลงานการกำกับของ พิชญะ ไชยดี เคยได้รับรางวัลหนังสั้นรางวัลสุพรรณหงส์ ครั้งที่16 ปี 2006 เข้าร่วมฉายในเทศกาล Fat-rama, รายการ Short fiction และ เทศกาล Bim Festival ภาพยนตร์ของ ชายขี้อายใช้ไดอารี่เพื่อบอกความในใจกับสาว ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตแต่ละวันของเขา เขาไม่กล้าแม้แต่จะคุยกับสาว ๆ เหล่านั้น จนกระทั่งวันหนึ่งเขาพบว่าความกล้าเท่านั้นที่จะทำให้เขาได้สาวที่เขาชอบมาครอบครอง เวลา...รัก (The Moment of Love) ความยาว 22 นาที ผลงานการกำกับของ ขนิษฐา ขวัญอยู่ ภาพยนตร์เรื่องนี้ถือเป็นต้นแบบของเรื่อง ความจำสั้น แต่รักฉันยาว ทางบริษัท GTH ได้นำบทภาพยนตร์สั้น เรื่อง เวลา...รัก พัฒนาเป็นบทภาพยนตร์ขนาดยาว เคยได้รับรางวัลจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปี 2550 ประเภทภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยม, บทภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยม, ผู้กำกับภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยม, นักแสดงนำยอดเยี่ยม และกำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม นอกจากนี้ ยังเคยได้รับรางวัลป๊อบปูล่าโหวตอันดับที่ 2 และเข้ารอบสุดท้ายชิงรางวัลช้างเผือก จากมูลนิธิหนังไทยปี 2551 รวมทั้ง ยังเคยเข้าฉายในงานเทศกาลต่าง ๆ อาทิ งาน Broadcasting idea market 2550 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, งาน Open house มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, งาน Bangkok show cast มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, งานหนังสั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รายการ Short fiction เทปที่ 192 ออกอากาศวันที่ 16 พฤศจิกายน 2551, งาน Thai short film feat 12th,เทศกาลศิลปะการแสดงนานาชาติ ณ บางกอก Bangkok fringe festival และ ถูกนำไปฉายเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ภาพยนตร์เรื่องราวความรักของคนสองคนในวัยเริ่มร่วง ที่กำลังดำเนินไปในทางที่ดี แต่แล้วก็ต้องพบกับอุปสรรคบางอย่างที่ทำให้เขาทั้งสองต้องผ่านมันไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ